สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ที่ดินในสมัยโบราณแถบประเทศไทยถือเป็นที่ของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองแว่นแคว้นนครนั้นๆ ประชากรที่ต้องการทำประโยชน์ปลูกพืชผล สร้างบ้านเรือนสามารถทำได้โดยบอกกล่าวแก่เจ้าเมือง เมื่อหักร้างถางพงปลูกพืชผลไปเท่าใด ก็ถือว่าพื้นที่ได้ลงแรงไปนั้นเป็นของตน ต้องจ่ายภาษีอากรแก่เจ้าของแคว้นแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อเกิดการอพยพโยกย้ายหรือละทิ้งบ้านเรือนไม่ว่าสาเหตุใดๆ ก็ตาม ที่ดินนั้นจะกลับเข้าไปอยู่ในกรรมสิทธิ์ของเจ้าของตามเดิม ผู้ปกครองสามารถจัดสรรคนกลุ่มใหม่เข้าไปอยู่และทำกินแทนได้ อีกทั้งที่ดินในสมัยก่อนมีมากมาย แผ้วถางป่าทำไร่นาตามต้องการโดยไม่ต้องแย่งกันเหมือนในปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ดินเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการตัดถนนและคูคลองใหม่ เป็นการขยายเส้นทางการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ ผู้คนจึงเริ่มต้องการจับจองที่ดินเป็นของส่วนบุคคลเพื่อทำการค้าขาย และยึดเส้นทางคมนาคมเพื่อความสะดวกในด้านการเดินทางขนส่ง อีกทั้งจับจองแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การเปิดโอกาสให้คนจับจองที่ดินและทำโฉนดเป็นของราษฎรนี้ นับเป็นการเริ่มต้นให้อำนาจแก่ประชาชนของรัฐด้วย มิใช่ที่ดินทุกที่เป็นของหลวง จะเวนคืนเมื่อใดก็ได้เช่นยุคเก่า
**************************************************************
ก่อนที่จะมีการทำโฉนด ใบสำคัญในการครอบครองที่ดินก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๔ มีหลายรูปแบบคือ โฉนดตราแดง โฉนดตราจอง ใบเหยียบย่ำ โฉนดสวน และโฉนดป่า
โฉนดตราแดง
เป็นหนังสือการถือครองที่ดินได้ ๑๐ ปี ออกในบริเวณหัวเมืองคือ กรุงเก่า อ่างทอง สุพรรณบุรี และลพบุรี โดยให้นายแขวงเป็นผู้รับรองการเปลี่ยนแปลงสิทธิได้เพียงผู้เดียว ออกในสมัยพระยาสุรศักดิ์มนตรีดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และ พ.ศ. ๒๔๒๕ เท่านั้น
โฉนดตราจอง
เป็นหนังสือถือครองที่ดินได้ ๓ ปี ข้าหลวงกรมนาเป็นผู้ออกให้ เพื่อสะดวกในการเก็บค่านา
ใบเหยียบย่ำ
ซึ่งเป็นเอกสารที่มีปัญหามากที่สุดเพราะไม่มีรูปแบบชัดเจน ง่ายต่อการปลอมแปลง และมีการออกใบเหยียบย่ำซ้ำซ้อนกันเป็นคดีความกันมาก มีอายุครอบครองที่ดิน ๑ ปี ถ้าเกินกว่านั้นต้องไปทำเป็นโฉนดตราจอง
โฉนดสวน
ไว้สำหรับคิดอากรค่าสวนว่ามีต้นผลไม้กี่ต้นสำหรับเก็บอากร
โฉนดป่า
สำหรับที่สวนซึ่งปลูกพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก หรือไม้ล้มลุก เก็บอากรตามจำนวนเนื้อที่โฉนด
**************************************************************
การออกโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเริ่มทำที่เมืองกรุงเก่าก่อนเมื่อเดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ มีการตั้งหอทะเบียนและนายทะเบียนจัดเก็บเอกสาร เมื่อทดลองทำที่เมืองกรุงเก่าเป็นผลแล้วก็เริ่มขยายไปยังกรุงเทพฯ และมณฑลอื่นๆ ตามลำดับ
ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินก็คือ ก่อนอื่นเจ้าหน้าที่จะออกวัดพื้นที่ โดยกำหนดเขตเป็นตารางเรียกว่า “แผนที่ระวาง” ช่วงแรกที่ต้องออกพื้นที่สำรวจทำระวางที่ดินนั้น มีคณะคนไทยและฝรั่งทำงานร่วมกัน คณะคนต่างชาติก็คือ นายอาร์ ดับบลิว. กิบลิน จากกรมแผนที่มีหน้าที่ทำแผนที่ระวาง จากนั้นคณะทำงานไทยนำโดย พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) มาจัดทำโฉนดที่ดิน โดยทำโดยระบบทอร์เรนส์ (Torrens System) ให้เจ้าของที่ดินมานำชี้เขตที่ดินของตนให้กับข้าหลวงเกษตร โดยข้าหลวงเกษตรจะปักหลักเขตพร้อมทั้งออกโฉนดที่ดินใหม่ให้ และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินใหม่แล้วจะประกาศยกเลิกการใช้หนังสือแสดงการถือครองที่ดินเดิม การจัดพิมพ์โฉนดกรมแผนที่เป็นคนจัดการพิมพ์เอง
โฉนดฉบับแรกของไทย
โฉนดที่ดินฉบับแรกของไทยเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อข้าหลวงออกทำโฉนดแผนที่เมืองกรุงเก่าได้ระยะหนึ่ง พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์และพระยาประชาชีพภิบาล (ผึ่ง ชูโต) ได้นำโฉนดที่ดินขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรวม ๕ ฉบับ และกำนันหรุ่มบ้านวัดยม ๑ ฉบับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานโฉนดให้แก่เจ้าของที่ดินโดยพระหัตถ์เป็นปฐมฤกษ์ในฉบับแรก

เครดิต
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6630
สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ดินเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการตัดถนนและคูคลองใหม่ เป็นการขยายเส้นทางการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ ผู้คนจึงเริ่มต้องการจับจองที่ดินเป็นของส่วนบุคคลเพื่อทำการค้าขาย และยึดเส้นทางคมนาคมเพื่อความสะดวกในด้านการเดินทางขนส่ง อีกทั้งจับจองแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การเปิดโอกาสให้คนจับจองที่ดินและทำโฉนดเป็นของราษฎรนี้ นับเป็นการเริ่มต้นให้อำนาจแก่ประชาชนของรัฐด้วย มิใช่ที่ดินทุกที่เป็นของหลวง จะเวนคืนเมื่อใดก็ได้เช่นยุคเก่า
**************************************************************
ก่อนที่จะมีการทำโฉนด ใบสำคัญในการครอบครองที่ดินก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๔ มีหลายรูปแบบคือ โฉนดตราแดง โฉนดตราจอง ใบเหยียบย่ำ โฉนดสวน และโฉนดป่า
โฉนดตราแดง
เป็นหนังสือการถือครองที่ดินได้ ๑๐ ปี ออกในบริเวณหัวเมืองคือ กรุงเก่า อ่างทอง สุพรรณบุรี และลพบุรี โดยให้นายแขวงเป็นผู้รับรองการเปลี่ยนแปลงสิทธิได้เพียงผู้เดียว ออกในสมัยพระยาสุรศักดิ์มนตรีดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และ พ.ศ. ๒๔๒๕ เท่านั้น
โฉนดตราจอง
เป็นหนังสือถือครองที่ดินได้ ๓ ปี ข้าหลวงกรมนาเป็นผู้ออกให้ เพื่อสะดวกในการเก็บค่านา
ใบเหยียบย่ำ
ซึ่งเป็นเอกสารที่มีปัญหามากที่สุดเพราะไม่มีรูปแบบชัดเจน ง่ายต่อการปลอมแปลง และมีการออกใบเหยียบย่ำซ้ำซ้อนกันเป็นคดีความกันมาก มีอายุครอบครองที่ดิน ๑ ปี ถ้าเกินกว่านั้นต้องไปทำเป็นโฉนดตราจอง
โฉนดสวน
ไว้สำหรับคิดอากรค่าสวนว่ามีต้นผลไม้กี่ต้นสำหรับเก็บอากร
โฉนดป่า
สำหรับที่สวนซึ่งปลูกพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก หรือไม้ล้มลุก เก็บอากรตามจำนวนเนื้อที่โฉนด
**************************************************************
การออกโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเริ่มทำที่เมืองกรุงเก่าก่อนเมื่อเดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ มีการตั้งหอทะเบียนและนายทะเบียนจัดเก็บเอกสาร เมื่อทดลองทำที่เมืองกรุงเก่าเป็นผลแล้วก็เริ่มขยายไปยังกรุงเทพฯ และมณฑลอื่นๆ ตามลำดับ
ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินก็คือ ก่อนอื่นเจ้าหน้าที่จะออกวัดพื้นที่ โดยกำหนดเขตเป็นตารางเรียกว่า “แผนที่ระวาง” ช่วงแรกที่ต้องออกพื้นที่สำรวจทำระวางที่ดินนั้น มีคณะคนไทยและฝรั่งทำงานร่วมกัน คณะคนต่างชาติก็คือ นายอาร์ ดับบลิว. กิบลิน จากกรมแผนที่มีหน้าที่ทำแผนที่ระวาง จากนั้นคณะทำงานไทยนำโดย พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) มาจัดทำโฉนดที่ดิน โดยทำโดยระบบทอร์เรนส์ (Torrens System) ให้เจ้าของที่ดินมานำชี้เขตที่ดินของตนให้กับข้าหลวงเกษตร โดยข้าหลวงเกษตรจะปักหลักเขตพร้อมทั้งออกโฉนดที่ดินใหม่ให้ และเมื่อได้ออกโฉนดที่ดินใหม่แล้วจะประกาศยกเลิกการใช้หนังสือแสดงการถือครองที่ดินเดิม การจัดพิมพ์โฉนดกรมแผนที่เป็นคนจัดการพิมพ์เอง
โฉนดฉบับแรกของไทย
โฉนดที่ดินฉบับแรกของไทยเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อข้าหลวงออกทำโฉนดแผนที่เมืองกรุงเก่าได้ระยะหนึ่ง พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์และพระยาประชาชีพภิบาล (ผึ่ง ชูโต) ได้นำโฉนดที่ดินขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรวม ๕ ฉบับ และกำนันหรุ่มบ้านวัดยม ๑ ฉบับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานโฉนดให้แก่เจ้าของที่ดินโดยพระหัตถ์เป็นปฐมฤกษ์ในฉบับแรก

เครดิต

https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6630
แสดงความคิดเห็น
เจ้าของที่ดินสมัยก่อนได้ที่ดินเหล่านั้นมาจากไหนคะ
หรือว่าสู้รบกันแล้วใครชนะก็เป็นของคนนั้นแล้วก็ทำเครื่องหมายอาณาเขตไว้จากนั้นก็ส่งต่อให้ลูกหลานแบบนี้หรือป่าวคะ
ขอบคุณค่ะ