หากท่านใดได้ชมภาพยนตร์หรือซีรีย์เกาหลีแนวย้อนยุคจะได้เห็นสตรีมากหน้าหลายตาที่โลดแล่นอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ บ้างมีตัวตนจริงๆ บ้างก็แต่งเติมเข้าไป ในวันนี้ ผมขอแนะนำ 4 สตรีที่ขึ้นชื่อว่า “ร้ายกาจ” ที่สุดในวัติศาสตร์เกาหลีสมัยโชซอนครับ
สตรีนางแรก ชื่อว่า “จางนกซู” (장녹수) เกิดในรัชสมัยพระเจ้าซองจง ปี ค.ศ.1480 เป็นบุตรีนอกสมรสของจางฮันพิล ขุนนางราชสำนัก ชะตาชีวิตของนางเริ่มต้นจากการเป็นคีแซงหรือหญิงนางโลม ต่อมาก็เป็นนางระบำอยู่ในจวนของพระองค์ชายเจอัน (제안대군) พระเจ้าอาของพระองค์ชายยอนซัน
องค์ชายยอนซัน (연산군) นี้ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซองจง พระราชาองค์ที่ 10 ของราชวงศ์ลีแห่งโชซอน เมื่อพระเจ้าซองจงสวรรคต พระองค์ชายยอนซันก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาองค์ที่ 11
พระราชายอนซัน ได้พบนางโลมจางนกซูในงานเลี้ยงของพระองค์ชายเจอัน พระองค์หลงใหลในความงามล่มเมืองถึงขั้นแต่งตั้งนางขึ้นเป็นพระสนมซุกวอน ขั้นชง 4 พุม ต่อมา ก็เลื่อนขึ้นเป็นพระสนมซุกยง ขั้นชง 3 พุม มีพระธิดา 1 พระองค์ คือ องค์หญิงยองซู (영수옹주)
ความเหลวแหลกของราชสำนักสมัยพระราชายอนซัน เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีมูโอและปีคัปจา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพระราชทานยาพิษอดีตพระมเหสีเจฮอน สกุลยุน (제헌왕후) ซึ่งเป็นพระราชมารดาในพระองค์และเป็นอดีตพระมเหสีของพระเจ้าซองจง ล้วนถูกประหารชีวิตสิ้น พระราชายอนซัน ประพฤติตนไม่อยู่ในศีลธรรม ไม่สนใจราชกิจ ภายในพระราชวังเต็มไปด้วยเหล่านางโลมจนก่อให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นโดยเหล่าขุนนาง และได้ปลดพร้อมทั้งเนรเทศไปยังเกาะคังฮวา ในประวัติศาสตร์จึงเรียกพระองค์แต่เพียงว่า “องค์ชายยอนซัน”
ส่วนพระสนมจางนกซู ต้นเหตุที่ทำให้องค์ชายยอนซันหลงมัวเมาในสุรานารี จนเสียการงานบ้านเมือง ก็ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลต่อมานั่นเอง
สตรีคนที่ 2 ชื่อว่า “ชองนานจอง” (정난정) ธิดานอกสมรสของชองยุนคยอม ขุนนางราชสำนัก เดิมเป็นคีแซงหรือหญิงนางโลม ภายหลังเป็นอนุภรรยาของยุนวอนฮยอง (윤원형) พระเชษฐาของพระมเหสีมุนจอง ในพระเจ้าจุงจง รัชกาลต่อมาจากองค์ชายยอนซันนั่นเอง
พระเจ้าจุงจง มีพระชายาอยู่องค์หนึ่ง มาจากตระกูลซินแห่งซองอึน เมื่อยึดอำนาจองค์ชายยอนซันได้แล้ว เหล่าขุนนางก็ถวายราชสมบัติให้พระเจ้าจุงจง ส่วนพระชายาเดิมก็ได้รับการสถาปนาเป็นพระมเหสีทันกยอง (단경왕후) แต่อยู่ได้เพียง 7 วันก็ถูกเหล่าขุนนางปลดออก เหตุเพราะบิดาของพระนางที่ถูกฆ่าตายในการยึดอำนาจเป็นฝ่ายองค์ชายยอนซัน จึงเกรงว่าพระนางจะมาแก้แค้น
มเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าจุงจง มาจากตระกูลยุนแห่งพาพยอง คือพระมเหสีจางกยอง (장경왕후) แต่มีพระชนม์ไม่นาน ก็สิ้นพระชนม์ ทิ้งไว้แต่องค์ชายรัชทายาทลีโฮ ซึ่งสนับสนุนโดยยุนอิม (윤임) พระเชษฐาของพระนางเองและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก
มเหสีองค์ที่สาม คือพระมเหสีมุนจอง ตระกูลยุนแห่งพาพยอง เมื่อพระนางประสูติพระโอรสคือองค์ชายกยองวอน (경원대군) จึงเกิดขั้วอำนาจและการแบ่งฝ่ายขึ้น โดยผู้สนับสนุนองค์ชายรัชทายาท เรียกกันว่าฝ่ายยุนใหญ่ นำโดยยุนนิม และฝ่ายสนับสนุนองค์ชายกยองวอน เรียกว่าฝ่ายยุนเล็ก นำโดยยุนวอนฮยอง พระเชษฐาพระมเหสีมุนจอง
การขับเคี่ยวแย่งชิงอำนาจเกิดขึ้น โดยฝ่ายยุนเล็กมีชองนานจองเป็นมันสมอง คอยวางแผนปลุกปั่น เมื่อพระเจ้าจุงจงสวรรคต การขึ้นครองราชย์ขององค์รัชทายาทเป็นพระเจ้าอินจง เหมือนเป็นจุดจบของฝ่ายยุนเล็ก แต่ด้วยความอดทนของพระพันปีมุนจอง กอปรกับความฉลาดของชองนานจองก็ประคับประคองอำนาจมาจนกระทั่งพระเจ้าอินจงสวรรคตอย่างไม่คาดฝัน องค์ชายกยองวอนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามยองจงในรัชกาลถัดมา
ชองนานจอง จากอนุภรรยาตัวเล็กๆ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นจองคยองบูอิน ตำแหน่งฮูหยินขั้น 1 สูงที่สุดเท่าที่ภรรยาของขุนนางในราชสำนักจะได้รับ เสวยอำนาจกับสามีจนกระทั่งพระพันปีมุนจองสิ้นพระชนม์ ยุนวอนฮยองกับนางก็ถูกตัดสินประหารชีวิต
[ประวัติศาสตร์เกาหลี] 4 สตรีที่ขึ้นชื่อว่าสุดร้ายกาจแห่งสมัยโชซอน
สตรีนางแรก ชื่อว่า “จางนกซู” (장녹수) เกิดในรัชสมัยพระเจ้าซองจง ปี ค.ศ.1480 เป็นบุตรีนอกสมรสของจางฮันพิล ขุนนางราชสำนัก ชะตาชีวิตของนางเริ่มต้นจากการเป็นคีแซงหรือหญิงนางโลม ต่อมาก็เป็นนางระบำอยู่ในจวนของพระองค์ชายเจอัน (제안대군) พระเจ้าอาของพระองค์ชายยอนซัน
องค์ชายยอนซัน (연산군) นี้ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซองจง พระราชาองค์ที่ 10 ของราชวงศ์ลีแห่งโชซอน เมื่อพระเจ้าซองจงสวรรคต พระองค์ชายยอนซันก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาองค์ที่ 11
พระราชายอนซัน ได้พบนางโลมจางนกซูในงานเลี้ยงของพระองค์ชายเจอัน พระองค์หลงใหลในความงามล่มเมืองถึงขั้นแต่งตั้งนางขึ้นเป็นพระสนมซุกวอน ขั้นชง 4 พุม ต่อมา ก็เลื่อนขึ้นเป็นพระสนมซุกยง ขั้นชง 3 พุม มีพระธิดา 1 พระองค์ คือ องค์หญิงยองซู (영수옹주)
ความเหลวแหลกของราชสำนักสมัยพระราชายอนซัน เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีมูโอและปีคัปจา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพระราชทานยาพิษอดีตพระมเหสีเจฮอน สกุลยุน (제헌왕후) ซึ่งเป็นพระราชมารดาในพระองค์และเป็นอดีตพระมเหสีของพระเจ้าซองจง ล้วนถูกประหารชีวิตสิ้น พระราชายอนซัน ประพฤติตนไม่อยู่ในศีลธรรม ไม่สนใจราชกิจ ภายในพระราชวังเต็มไปด้วยเหล่านางโลมจนก่อให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นโดยเหล่าขุนนาง และได้ปลดพร้อมทั้งเนรเทศไปยังเกาะคังฮวา ในประวัติศาสตร์จึงเรียกพระองค์แต่เพียงว่า “องค์ชายยอนซัน”
ส่วนพระสนมจางนกซู ต้นเหตุที่ทำให้องค์ชายยอนซันหลงมัวเมาในสุรานารี จนเสียการงานบ้านเมือง ก็ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลต่อมานั่นเอง
สตรีคนที่ 2 ชื่อว่า “ชองนานจอง” (정난정) ธิดานอกสมรสของชองยุนคยอม ขุนนางราชสำนัก เดิมเป็นคีแซงหรือหญิงนางโลม ภายหลังเป็นอนุภรรยาของยุนวอนฮยอง (윤원형) พระเชษฐาของพระมเหสีมุนจอง ในพระเจ้าจุงจง รัชกาลต่อมาจากองค์ชายยอนซันนั่นเอง
พระเจ้าจุงจง มีพระชายาอยู่องค์หนึ่ง มาจากตระกูลซินแห่งซองอึน เมื่อยึดอำนาจองค์ชายยอนซันได้แล้ว เหล่าขุนนางก็ถวายราชสมบัติให้พระเจ้าจุงจง ส่วนพระชายาเดิมก็ได้รับการสถาปนาเป็นพระมเหสีทันกยอง (단경왕후) แต่อยู่ได้เพียง 7 วันก็ถูกเหล่าขุนนางปลดออก เหตุเพราะบิดาของพระนางที่ถูกฆ่าตายในการยึดอำนาจเป็นฝ่ายองค์ชายยอนซัน จึงเกรงว่าพระนางจะมาแก้แค้น
มเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าจุงจง มาจากตระกูลยุนแห่งพาพยอง คือพระมเหสีจางกยอง (장경왕후) แต่มีพระชนม์ไม่นาน ก็สิ้นพระชนม์ ทิ้งไว้แต่องค์ชายรัชทายาทลีโฮ ซึ่งสนับสนุนโดยยุนอิม (윤임) พระเชษฐาของพระนางเองและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก
มเหสีองค์ที่สาม คือพระมเหสีมุนจอง ตระกูลยุนแห่งพาพยอง เมื่อพระนางประสูติพระโอรสคือองค์ชายกยองวอน (경원대군) จึงเกิดขั้วอำนาจและการแบ่งฝ่ายขึ้น โดยผู้สนับสนุนองค์ชายรัชทายาท เรียกกันว่าฝ่ายยุนใหญ่ นำโดยยุนนิม และฝ่ายสนับสนุนองค์ชายกยองวอน เรียกว่าฝ่ายยุนเล็ก นำโดยยุนวอนฮยอง พระเชษฐาพระมเหสีมุนจอง
การขับเคี่ยวแย่งชิงอำนาจเกิดขึ้น โดยฝ่ายยุนเล็กมีชองนานจองเป็นมันสมอง คอยวางแผนปลุกปั่น เมื่อพระเจ้าจุงจงสวรรคต การขึ้นครองราชย์ขององค์รัชทายาทเป็นพระเจ้าอินจง เหมือนเป็นจุดจบของฝ่ายยุนเล็ก แต่ด้วยความอดทนของพระพันปีมุนจอง กอปรกับความฉลาดของชองนานจองก็ประคับประคองอำนาจมาจนกระทั่งพระเจ้าอินจงสวรรคตอย่างไม่คาดฝัน องค์ชายกยองวอนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามยองจงในรัชกาลถัดมา
ชองนานจอง จากอนุภรรยาตัวเล็กๆ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นจองคยองบูอิน ตำแหน่งฮูหยินขั้น 1 สูงที่สุดเท่าที่ภรรยาของขุนนางในราชสำนักจะได้รับ เสวยอำนาจกับสามีจนกระทั่งพระพันปีมุนจองสิ้นพระชนม์ ยุนวอนฮยองกับนางก็ถูกตัดสินประหารชีวิต