คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ทำแบบที่สามนะ
เพราะว่า ถ้ามีไฟรั่ว ไฟจะดับ ฉะเพราะห้อง ที่มีไฟรั่วเท่านั้น
ไฟฟ้าของบ้าน ยังใช้ได้ปรกติดี
หาจุดเสียง่ายๆและซ่อมง่ายด้วย
และบ้านใหม่ ปลั๊กไฟมีสายดินด้วยปลอดภัยชั้นหนึ่งแล้ว
เพราะว่า ถ้ามีไฟรั่ว ไฟจะดับ ฉะเพราะห้อง ที่มีไฟรั่วเท่านั้น
ไฟฟ้าของบ้าน ยังใช้ได้ปรกติดี
หาจุดเสียง่ายๆและซ่อมง่ายด้วย
และบ้านใหม่ ปลั๊กไฟมีสายดินด้วยปลอดภัยชั้นหนึ่งแล้ว
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ไฟฟ้า
เบรกเกอร์
ระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
อิเล็กทรอนิกส์
ถามเรื่องระหว่าง RCBO กับ Safety Breaker+ELCB แตกต่างกันรึเปล่าครับ
แล้วการไฟฟ้าแจ้งว่านอกจากที่ต้องเปลี่ยนสายเมนกับเมนเบรคเกอร์แล้ว ตามระเบียบใหม่ต้องมีเบรคเกอร์กันดูดด้วย
เลยกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเบรคเกอร์กันดูดและวางแผนวงจรในบ้านครับ
ความเข้าใจผมตอนนี้ (ถ้าผิดตรงไหนรบกวนแนะนำด้วยนะครับ)
- Safety breaker (SB) => ป้องกันไฟเกิน ไฟลัดวงจร
- ELCB/RCD => ป้องกันไฟดูด ไฟรั่ว
- RCBO => ป้องกันไฟเกิน ไฟลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว
ตอนนี้ผมวางแผนไว้ 3 แบบ ถ้าผิดตรงไหนรบกวนแนะนำด้วยครับ
1. เมน RCBO(น่าจะ safe t cut) กับ ลูกย่อย Safety Breaker ธรรมดา (ไม่ค่อยอยากใช้แบบนี้เท่าไหร่ เพราะเมน RCBO 100A หายากและแพง และคิดว่าเวลาไฟรั่วจะดับทั้งบ้าน ตรวจสอบแก้ไขยาก)
2. เมน SB ธรรมดา กับ ลูกย่อย RCBO สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการกันไฟดูด + ลูกย่อย SB ธรรมดา สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ
3. เมน SB ธรรมดา กับ ลูกย่อย SB+ELCB สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการกันไฟดูด + ลูกย่อย SB ธรรมดา สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ
อยากถามว่าว่าแบบ 2 กับ 3 มีผลแตกต่างกันรึเปล่าครับ ?
ถ้าไม่แตกต่างกันคิดว่าน่าจะใช้แบบ 3 เพราะว่ามีตู้ Consumer Unit Square D (ช่องยังเหลือเยอะ) กับลูกย่อยธรรมดาอยู่หลายตัว ซื้อเพิ่มแค่ ELCB
แล้วก็อยากทราบว่าอุปกรณ์ที่การไฟฟ้าบังคับให้มีกันดูดมีอะไรบ้างครับ (พอดีลืมถามตอนคุยกับการไฟฟ้าครับ
กับอุปกรณ์ที่ควรมีกันดูดนอกเหนือจากที่การไฟฟ้าบังคับมีอะไรบ้างครับ
ขอบคุณมากๆครับ