ย้อนรำลึกเหตุการณ์ รสช. 23 ก.พ. 2534 วีรบุรุษประชาธิปไตย ไม่ใช่ อาทิตย์ อุไรรัตน์ แต่คือ สุจินดา คราประยูร

กระทู้คำถาม
ตั้งหล่อไว้ว่า  จะเขียนเรื่องนี้ในวันที่ 23 ก.พ.   ครบรอบ 27 ปี เหตุการณ์ รสช. (พอ ๆ กับอายุ จขกท. อมยิ้ม01 )
แต่คิดว่า  เขียนตอนนี้เลยดีกว่า  เพราะวันที่ 23 ก.พ.  อาจไม่มีเวลาเขียน  อาจต้องเดินทางไกลไปแสวงหารักแท้

..................................................




คร่าว ๆ นะครับ  จากความจำที่เคยอ่าน   จะเล่าไปแบบหล่อ ๆ  แต่ไม่มีอ้างอิง  เพราะขี้เกียจค้น
OK



23 ก.พ. 2534    เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชาติชาย   โดยคณะนายทหาร ตำรวจ ที่เรียกว่า  รสช.

ก่อนหน้านั้นหลายเดือน  มีความไม่พอใจ  ขบเหลี่ยมกันอยู่มากพอสมควร  
ระหว่างรัฐบาล (นายกฯชาติชาย)  กับ กองทัพ    

มีเรื่องราวที่เป็นเชื้อให้เกิดรัฐประหารหลายเรื่อง  เช่น

พล.อ.ชาติชาย  ซึ่งเป็นญาติกับ พล.อ.อิสระพงศ์  หนุนภักดี (บิ๊กตุ๋ย)  รอง ผบ.ทบ.
เคยเรียกบิ๊กตุ๋ยเข้าพบพูดคุย ว่า จะให้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.  แม้ตอนนั้น  พล.อ.สุจินดา  จะเป็น ผบ.ทบ. อยู่ก็ตาม
แต่ พล.อ.อิสระพงศ์  ปฏิเสธ  ไม่หักหลัง พล.อ.สุจินดา รุ่นพี่  (ที่เป็นน้องเขยด้วย)

พล.อ.ชาติชาย  จะให้ (จำไม่ได้ว่าใคร) ขึ้นเป็น ผบ.สส. แทน พล.อ.สุนทร  คงสมพงษ์ (บิ๊กจ๊อด)
ซึ่งพอข่าวรั่วถึงหูบิ๊กจ๊อด   บิ๊กจ๊อดก็พูดเปรย ๆ ว่า  จะมาทำอะไรกู  กูอยู่แค่อีก 8-9 เดือนก็เกษียณแล้ว

และเหตุการณ์ที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายก็คือ  
การที่ พล.อ.ชาติชาย  นายกฯ  จะแต่งตั้งให้  พล.อ.อาทิตย์  กำลังเอก   เป็น รมช.กลาโหม

ขบเหลี่ยมกันอยู่แล้ว  หาทางเล่นกันอยู่แล้ว  ยังจะมาเอาคนไม่ถูกกันมาเป็นนายอีก
ก็  รสช.  น่ะสิ  เป็นคำตอบ

23 ก.พ. 2534   ผ่านมาจนถึงปี 35   ก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
อันเป็นบทจบของ รสช.    

เหตุการณ์เป็นอย่างไร  เกิดอะไรขึ้นบ้าง  คงไม่ต้องสาธยาย

เหตุการณ์ปี 2535   เกิด วีรบุรุษประชาธิปไตย  ที่ชื่อว่า ดร.อาทิตย์  อุไรรัตน์

ซึ่งตรงนี้แหละ  ที่หล่ออย่างผมไม่เห็นด้วย  
เพราะหล่ออย่างผมเห็นว่า วีรบุรุษประชาธิปไตยในเหตุการณ์ปี 35 นั้น   ควรคือ พล.อ.สุจินดา  คราประยูร  มากกว่า



17-20 พ.ค. 2535   เกิดความรุนแรง  
รัฐบาล พล.อ.สุจินดา และ กองทัพ  ปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องนายกฯจากการเลือกตั้ง  ตายและสูญหายหลายศพ

เหตุการณ์ก็เดินถึงจุดแตกหัก

พล.อ. ป.  ให้ลูกรัก นาม พล.อ. อ  ไปติดต่อกับ พล.อ.พัลลภ  ปิ่นมณี  
ให้เป็นหัวหน้ารัฐประหาร ล้มรัฐบาลสุจินดา   โค่นล้ม รสช.

โดยจะมีกองกำลังให้  5  กองพัน  
จากนาวิกโยธิน (นย.)  3 กองพัน  และจากทหารเสือฯ ร 21 รอ.  อีก 2 กองพัน

(ยุคนั้น  รสช. คุมหมด  ทั้งทัพบก เรือ อากาศ ตำรวจ)

ซึ่ง พล.อ.พัลลภ  โอเค   แต่บอกว่า  มีหวังยิงกันเละ
ซึ่ง พล.อ. ป. ผู้บงการ  บอกว่า  เสียเท่าไรก็ยอมเสีย

บิ๊กสุ  รู้    รู้ว่าจะมีการเคลื่อนกำลังเข้าทำการรัฐประหาร
จปร.5  (รุ่นบิ๊กสุ)   ซึ่งคุมกำลังหลักในกองทัพไว้หมด  บอกพร้อมรบ สู้ ไม่มีถอย  ชนะแหงม ๆ อยู่แล้ว

แต่บิ๊กสุ  เห็นว่า หากสู้กัน  จะเกิดการสูญเสียมหาศาล  อาจมีทหารตายเป็นพัน ๆ นาย  เลือดนองแผ่นดิน
เลยเสนอทางออก  ด้วยการประสาน พล.อ. ป. นั่นแหละ  ขอให้นำตัวเองและจำลอง เข้าเฝ้าฯ


หลังการเข้าเฝ้าฯ    
บิ๊กสุ ขอจับมือกับจำลอง  เพื่อลบล้างความบาดหมางระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง (จปร.5 กับ จปร.7)
แต่จำลอง  ศรีเมือง  ไม่ยอมจับมือ


เมื่อบิ๊กสุยอมลาออก  บรรดาเพื่อน  ลูกน้อง   คณะ รสช. ก็ยอมแพ้ตาม  ยอมรับผิดชอบเหตุการณ์

พลเอกอิสระพงษ์  หนุนภักดี  ผบ.ทบ.   ถูกย้ายไปเป็นรองปลัดกลาโหม
พลเอกเกษตร  โรจนนิล  ผบ.ทอ.  ถูกเด้งไปเป็นจเรทหารทั่วไป

อวสาน  รสช.

อวสานอย่างง่าย ๆ    

หากแค่บิ๊กสุ  พล.อ.สุจินดา  คราประยูร   ไม่ประสานทำเรื่องขอเข้าเฝ้าฯเพื่อยุติเหตุการณ์ความขัดแย้ง
(ก็รู้กันดีนี่ครับ  ว่า พล.อ. ป.  คือผู้คุมเกม สั่งการ  มีจำลอง  ปชป. และพรรคการเมืองอีกสามสี่พรรคเป็นตัวเดินเกม)

หากบิ๊กสุ  ไม่ยอมลาออก    สงครามกลางเมืองเกิดแน่


เมื่อบิ๊กสุถอย  ทุกอย่างก็จบ  สงครามไม่เกิด  เลือดไม่นอง   ประชาธิปไตยกลับคืน



ผมจึงเห็นว่า  วีรบุรุษประชาธิปไตย  ตัวจริง  คือ พล.อ.สุจินดา  คราประยูร   ไม่ใช่ อาทิตย์  อุไรรัตน์
(ก็เลือดนองถนนเพราะอยากได้นายกฯจากการเลือกตั้ง  แต่อาทิตย์ดันทูลเกล้าฯนายกฯลากตั้ง  
  แล้วจะเป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยได้ไง  มันย้อนแย้ง)



คร่าว ๆ ครับ

ความจำจาก  บทความพิเศษ  ความจริงที่หายไปในพฤษภา’35   มติชนสุดสัปดาห์
กับ หนังสือ บันทึกคำให้การของ พล.อ.สุจินดา  คราประยูร  ของวาสนา  นาน่วม

เมื่อย  จบ
อมยิ้ม01
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่