
วันนี้ได้อ่านข่าวนี้ แล้วก็เกิดความหดหู่ปนเดือดดาล เพราะเป็นเรื่องที่เคยสังเกตมาเยอะ และก็บ่นให้คนสนิทกันฟังมาก็หลายครั้ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชุ่ยของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยบนท้องถนน แต่ไม่ทำหน้าที่ให้สมกับความรับผิดชอบสร้างความเสียหายให้คนจำนวนมาก
ข่าวที่พูดถึงสามารถอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/74301
สรุปสั้นๆ ในที่นี้คือ ผู้ขับขี่มอไซคนหนึ่ง ชื่อนายกัณฑ์ พักตร์พรหม หรือที่รู้จักกันว่า “กัณฑ์ คนแบกเป้” เพราะเป็นคนชอบเดินป่ามาแต่หนุ่มๆ ขี่มอไซช๊อปเปอร์ไปบนถนนวิภาวดี-รังสิต เมื่อถึงบริเวณฝั่งขาออกหน้าเซียร์รังสิต ซึ่งมีการปรับพื้นถนนอยู่ ทำให้เกิดเป็นทางต่างระดับขึ้น แต่ไม่มีการแจ้งเตือนให้เห็นชัดเจน จึงทำให้ไม่ทันระวัง เสียหลักล้มลง จนบาดเจ็บถึงแก่ความตาย
หน่วยงานทางหลวงเขตปทุมธานียอมรับว่าเกิดความบกพล่องในการแจ้งเตือน เพราะติดขัดเรื่องคนงานและเครื่องจักร
ก็ว่ากันไป ปัญหาคือนี่ไม่ใช่ที่แรกหรือกรณีแรกที่เวลามีการซ่อมแซมถนนแล้วไม่มีการแจ้งเตือนที่ดีพอ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น มันเกิดบ่อยหลายครั้งมาก บาดเจ็บไปก็เยอะ ตายก็หลาย แต่แทบจะไม่มีการเรียนรู้ที่จะทำให้ดีขึ้น ทุกวันนี้ถ้าเห็นการซ่อมแซมบนถนนหลวง โดยเฉพาะทางหลวง ลองสังเกตให้ดี จะเห็นความบกพร่องหลายๆ อย่าง
ที่เห็นอยู่เสมอก็คือ มักไม่มีระบบเตือนที่ดีพอ การแจ้งเตือนล่วงหน้าโดยการติดป้ายก่อนถึงจุดซ่อมแซมไม่เพียงพอ คือพอเห็นป้ายเตือนปุ๊ป ก็ถึงปั๊ป ต้องรีบเบี่ยงไปเบียดทางคนอื่น ส่วนมากไม่มีป้ายเตือนด้วยซ้ำ มีแต่ตั้งกรวยตรงบริเวณงาน พอเห็นกรวยก็แทบจะเบี่ยงออกไปอีกช่องจราจรไม่ทัน คงมีชนกันเพราะเหตุนี้ไม่น้อย ถ้าการซ่อมแซมใช้เวลานานหน่อย ก็อาจมีการตีเส้นเบี่ยงเลน แต่ส่วนใหญ่แล้ว เป็นการตีเส้นที่สับสนมาก ไม่รู้เส้นไหนเป็นเส้นไหน การติดตั้งไฟให้แสงสว่างก็เกือบจะไม่ได้คำนึงถึง ตอนกลางคืนแทบจะสังเกตไม่เห็น ยิ่งถ้าฝนตก ก็ยิ่งไปกันใหญ่
รถบนทางหลวงปกติวิ่งเร็วอยู่แล้ว พอมาถึงบริเวณซ่อมแซม ต้องชะลอ ถ้ามีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ จะลดอุบัติเหตุลงได้เยอะ ปัญหาก็คือไม่มีการกำกับดูแลจากวิศวกรจราจร ปล่อยให้ผู้รับเหมาหรือพนักงานหน่วยซ่อมทางทำกันเอง ที่มักเห็นกันก็คือทำแบบลวกๆ ขอไปที พูดง่ายๆ คือมักง่ายตามนิสัยแบบไทยๆ
ผมเองเคยเจอเหตุคล้ายๆ กับกรณีนี้ เพียงแต่โชคดีไม่ใช่บนทางหลวง เป็นถนนในกทม.ที่มีการซ่อมแซม บริเวณซ่อมแซมไม่มีการติดป้ายเตือน ไม่มีการล้อมด้วยแผงกั้น ไม่มีไฟ แต่มีการวางแผ่นเหล็กหนาปิดตรงที่ขุดถนนไว้
ช่วงเกิดเหตุเป็นเวลาดึกแล้ว ผมขี่มอไซ Honda Phantom ไม่ใหญ่แต่ก็ไม่เล็ก มาถึงบริเวณซ่อมแซม มองไม่เห็นพื้นผิวที่ซ่อม ล้อหน้าไปชิดกับขอบแผ่นเหล็ก ทำให้ไม่มีพื้นที่สำหรับการทรงตัวได้ จึงเสียหลักและถลาล้มลง โชคดีมากๆ ยามนั้นไม่มีรถตามมา และไม่ได้วิ่งเร็วมาก จึงไม่บาดเจ็บมาก รถก็ไม่ได้เสียหายมากมาย แต่เจ็บใจที่กทม.ทำชุ่ย ซ่อมถนนแล้วไม่ระวังภัยให้ผู้ขับขี่
เข้าใจว่ากรณีคุณกัณฑ์ คนแบกเป้ ก็คงจะคล้ายๆ กัน เพราะพื้นผิวบริเวณเกิดเหตุต่างระดับ การขี่มอไซจะต้องมีการขยับแฮนด์ที่ควบคุมรถบ่อยๆ แม้เพียงน้อยนิดก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่คับแคบหรือคับขัน พอพื้นที่สำหรับการขยับปรับตัวนั้นหายไปหรือเสียสมดุล ก็ทำให้เสียหลัก จึงเกิดอุบัติเหตุ
ผมอยากเห็นครอบครัวคุณกัณฑ์ฟ้องกรมทางหลวงให้เป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ระมัดระวังให้มากขึ้น ลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่สร้างความเจ็บช้ำและเศร้าโศกให้กับครอบครัวอื่นๆ อีกต่อไป
กัณฑ์ คนแบกเป้ ไม่ควรตายเปล่า
วันนี้ได้อ่านข่าวนี้ แล้วก็เกิดความหดหู่ปนเดือดดาล เพราะเป็นเรื่องที่เคยสังเกตมาเยอะ และก็บ่นให้คนสนิทกันฟังมาก็หลายครั้ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชุ่ยของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยบนท้องถนน แต่ไม่ทำหน้าที่ให้สมกับความรับผิดชอบสร้างความเสียหายให้คนจำนวนมาก
ข่าวที่พูดถึงสามารถอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/74301
สรุปสั้นๆ ในที่นี้คือ ผู้ขับขี่มอไซคนหนึ่ง ชื่อนายกัณฑ์ พักตร์พรหม หรือที่รู้จักกันว่า “กัณฑ์ คนแบกเป้” เพราะเป็นคนชอบเดินป่ามาแต่หนุ่มๆ ขี่มอไซช๊อปเปอร์ไปบนถนนวิภาวดี-รังสิต เมื่อถึงบริเวณฝั่งขาออกหน้าเซียร์รังสิต ซึ่งมีการปรับพื้นถนนอยู่ ทำให้เกิดเป็นทางต่างระดับขึ้น แต่ไม่มีการแจ้งเตือนให้เห็นชัดเจน จึงทำให้ไม่ทันระวัง เสียหลักล้มลง จนบาดเจ็บถึงแก่ความตาย
หน่วยงานทางหลวงเขตปทุมธานียอมรับว่าเกิดความบกพล่องในการแจ้งเตือน เพราะติดขัดเรื่องคนงานและเครื่องจักร
ก็ว่ากันไป ปัญหาคือนี่ไม่ใช่ที่แรกหรือกรณีแรกที่เวลามีการซ่อมแซมถนนแล้วไม่มีการแจ้งเตือนที่ดีพอ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น มันเกิดบ่อยหลายครั้งมาก บาดเจ็บไปก็เยอะ ตายก็หลาย แต่แทบจะไม่มีการเรียนรู้ที่จะทำให้ดีขึ้น ทุกวันนี้ถ้าเห็นการซ่อมแซมบนถนนหลวง โดยเฉพาะทางหลวง ลองสังเกตให้ดี จะเห็นความบกพร่องหลายๆ อย่าง
ที่เห็นอยู่เสมอก็คือ มักไม่มีระบบเตือนที่ดีพอ การแจ้งเตือนล่วงหน้าโดยการติดป้ายก่อนถึงจุดซ่อมแซมไม่เพียงพอ คือพอเห็นป้ายเตือนปุ๊ป ก็ถึงปั๊ป ต้องรีบเบี่ยงไปเบียดทางคนอื่น ส่วนมากไม่มีป้ายเตือนด้วยซ้ำ มีแต่ตั้งกรวยตรงบริเวณงาน พอเห็นกรวยก็แทบจะเบี่ยงออกไปอีกช่องจราจรไม่ทัน คงมีชนกันเพราะเหตุนี้ไม่น้อย ถ้าการซ่อมแซมใช้เวลานานหน่อย ก็อาจมีการตีเส้นเบี่ยงเลน แต่ส่วนใหญ่แล้ว เป็นการตีเส้นที่สับสนมาก ไม่รู้เส้นไหนเป็นเส้นไหน การติดตั้งไฟให้แสงสว่างก็เกือบจะไม่ได้คำนึงถึง ตอนกลางคืนแทบจะสังเกตไม่เห็น ยิ่งถ้าฝนตก ก็ยิ่งไปกันใหญ่
รถบนทางหลวงปกติวิ่งเร็วอยู่แล้ว พอมาถึงบริเวณซ่อมแซม ต้องชะลอ ถ้ามีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ จะลดอุบัติเหตุลงได้เยอะ ปัญหาก็คือไม่มีการกำกับดูแลจากวิศวกรจราจร ปล่อยให้ผู้รับเหมาหรือพนักงานหน่วยซ่อมทางทำกันเอง ที่มักเห็นกันก็คือทำแบบลวกๆ ขอไปที พูดง่ายๆ คือมักง่ายตามนิสัยแบบไทยๆ
ผมเองเคยเจอเหตุคล้ายๆ กับกรณีนี้ เพียงแต่โชคดีไม่ใช่บนทางหลวง เป็นถนนในกทม.ที่มีการซ่อมแซม บริเวณซ่อมแซมไม่มีการติดป้ายเตือน ไม่มีการล้อมด้วยแผงกั้น ไม่มีไฟ แต่มีการวางแผ่นเหล็กหนาปิดตรงที่ขุดถนนไว้
ช่วงเกิดเหตุเป็นเวลาดึกแล้ว ผมขี่มอไซ Honda Phantom ไม่ใหญ่แต่ก็ไม่เล็ก มาถึงบริเวณซ่อมแซม มองไม่เห็นพื้นผิวที่ซ่อม ล้อหน้าไปชิดกับขอบแผ่นเหล็ก ทำให้ไม่มีพื้นที่สำหรับการทรงตัวได้ จึงเสียหลักและถลาล้มลง โชคดีมากๆ ยามนั้นไม่มีรถตามมา และไม่ได้วิ่งเร็วมาก จึงไม่บาดเจ็บมาก รถก็ไม่ได้เสียหายมากมาย แต่เจ็บใจที่กทม.ทำชุ่ย ซ่อมถนนแล้วไม่ระวังภัยให้ผู้ขับขี่
เข้าใจว่ากรณีคุณกัณฑ์ คนแบกเป้ ก็คงจะคล้ายๆ กัน เพราะพื้นผิวบริเวณเกิดเหตุต่างระดับ การขี่มอไซจะต้องมีการขยับแฮนด์ที่ควบคุมรถบ่อยๆ แม้เพียงน้อยนิดก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่คับแคบหรือคับขัน พอพื้นที่สำหรับการขยับปรับตัวนั้นหายไปหรือเสียสมดุล ก็ทำให้เสียหลัก จึงเกิดอุบัติเหตุ
ผมอยากเห็นครอบครัวคุณกัณฑ์ฟ้องกรมทางหลวงให้เป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ระมัดระวังให้มากขึ้น ลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่สร้างความเจ็บช้ำและเศร้าโศกให้กับครอบครัวอื่นๆ อีกต่อไป