แหล่งอาหารสำหรับนกแร้ง

ครั้งหนึ่ง บรรดาฝูงนกกินสัตว์เน่าตาย
เคยเกาะอยู่ตามหลังคาบ้าน
และเสาโทรเลขทั่วประเทศเนปาล
แต่ตอนนี้จะสามารถพบเห็นพวกมันได้
ในเขตพื้นที่อนุรักษ์และสงวนพันธุ์สัตว์ป่า

1. ดวงตะวันแผดเผาหมอกควันในยามเช้า
ที่แหล่งอาหาร Pithauli
วนอุทยานแห่งชาติ Chitwan
ฝูงนกแร้งฝูงหนึ่งกำลังเกาะกิ่งไม้
พร้อมสยายปีกเพื่อรับไออุ่นจากแสงแดด
นกแร้งเทาหลังขาวกับนกแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย
จะพบเห็นพวกมันได้จากที่นี่
.
.

.
.


วนอุทยานแห่งชาติ Chitwan National Park เนปาล
คือ แหล่งที่อยู่ของนกแร้ง 9 สายพันธุ์
แต่ 5 สายพันธุ์ รวมทั้งนกแร้งเทาหลังขาว
ต่างตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้
เพราะประชากรนกแร้งลดลงกว่าร้อยละ 99
ในช่วงระยะเวลาเพียง  20 ปีนี้

ในปี 1990 ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า
พวกนกกินเนื้อเป็นอาหาร
ต่างทนทุกข์ทรมานจากอาการโรคไต
เพราะมีการใช้ยารักษาอาการอักเสบ
ของสัตว์เลี้ยง-วัว อย่างแพร่หลาย
ชื่อตัวยา Diclofenac ไดโคลฟีแนค
ยิ่งในเขตที่ชาวบ้านไม่นิยมกินเนื้อวัว
เพราะความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม
ชาวนาต่างปล่อยให้วัวของตนเอง
ตายอย่างโดดเดี่ยวในทุ่งนา
เพื่อให้นกแร้งกำจัดพวกมัน
แต่เมื่อพวกนกแร้งกินมันเข้าไปเป็นอาหาร
ต่างพากันเจ็บป่วย/ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก

พวกนกกินเนื้อสัตว์ที่เน่าตาย
มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศ
เพราะช่วยป้องกันการแพร่กระจาย
และการระบาดของเชื้อโรคและจุลชีพ
ที่ก่อให้เกิดโรคในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ในปี 2006
รัฐบาลเนปาล จึงมีคำสั่งห้ามใช้ Diclofenac
และผลการอนุรักษ์นกจาก NGO ในเนปาล
ด้วยการสนับสนุนจากนานาชาติ
จึงได้จัดตั้งแหล่งอาหารสำหรับนกแร้งหลายแห่ง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์นกแร้ง
และขยายสายพันธุ์นกแร้งเพิ่มขึ้น

มีท้องถิ่นที่ดำเนินการในเรื่องนี้ถึง 7 ชุมชน
ด้วยการจัดหาอาหารให้พวกนกแร้งเป็นประจำ
โดยใช้เนื้อที่ปลอดภัยที่ไม่ได้ใช้ยาที่เป็นอันตราย
ทำให้พวกนกแร้งมีโอกาสเจริญเติบโต/ขยายพันธุ์ได้
ผลการอนุรักษ์ดังกล่าวนำไปสู่
การผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
.
.

2. ในกรงที่ใกล้เคียง Yam Bahadur
ชาวเนปาลกับลูกชายของเขา
ซึ่งเป็นคนเลี้ยงวัวที่ Pithauli
ได้ชำแหละวัวเพื่อเตรียมไว้
ให้เป็นอาหารของฝูงนกแร้ง
.
.

.
.


3. Yam Bahadur นำซากวัว
ที่ชำแหละแล้วไปยังที่โล่ง
ขณะที่ฝูงนกแร้งกำลังเฝ้าดูอยู่
โดยมีซากวัวตัวก่อนหน้านี้
เหลือเพียงแค่กองกระดูกแล้ว
ซากวัวตัวใหม่จะถูกจัดเตรียมไว้ภายในกรง
เพื่อดึงดูดฝูงนกแร้ง/กันนกแร้งเข้าไปจิกกิน
.
.

.
.


4. ภายในตำแหน่งสถานที่ที่เงียบสงบ
คนนำทางที่แนะนำการชมนกแร้ง Pithauli
และชุมชนนักตรวจนับจำนวนนกแร้ง
ที่นำโดย Hewal Chaudhary
ได้แจกแจง/นับนกแร้งชนิดที่แตกต่างกัน
และนับจำนวนนกแร้งที่กำลังกินอาหาร

" ที่นี่เป็นแหล่งอาหารนกแร้งแห่งแรกในเนปาล
ในช่วงเริ่มต้น มีนกแร้งจำนวนน้อยมากที่ลงมากิน
ตอนนี้ เรามีสถานที่ต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 56 ชุมชน
ที่ประกาศว่าปลอดยาแก้อักเสบ  Diclofenac  "
Hewal Chaudhary  ให้สัมภาษณ์
.
.

.
.


5. Pithauli คือ แหล่งอาหารนกแร้งแห่งแรก
ที่ได้รับการบริหารจัดการโดยชุมชนแห่งแรกของโลก
ตั้งอยู่ภายในเขตกันชนของ Chitwan
ห่างจากถนนสายที่วุ่นวาย/อาคารสิ่งปลูกสร้าง
เกษตรกรท้องถิ่นจะขายวัวที่เจ็บป่วย
หรือได้รับบาดเจ็บเกินกว่าจะรักษา
ให้เป็นอาหารสำหรับฝูงนกแร้ง  
โดยฝูงวัวเหล่านี้จะถูกปล่อยเสรี
ให้เดินกินหญ้าจนกว่าจะตายลง
.
.

.
.


6. นกแร้งกินอาหารอย่างหมดจด
ยิ่งกว่าสัตว์ล่าเนื้อหรือสัตว์เล็มหญ้า
พวกมันใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง
ในการกินซากสัตว์ให้เหลือแต่กองกระดูก

ชาวบ้านบางคนเคยมองว่า
พวกนกแร้งเป็นสัตว์ที่แพร่กระจายโรค
และเป็นสัญญาณของความตาย
ที่กำลังจะมาถึงในบางวัฒนธรรม

" ในตอนแรกชาวบ้านไม่ชอบ
ที่นกแร้งอยู่ในพื้นที่นี้
เพราะถือว่าเป็นลางไม่ดี
แต่ตอนนี้ ชาวบ้านมีความสุขมากขึ้น
เพราะหลังจากที่เราสนับสนุนท้องถิ่น
ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ
และนำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาสู่ชุมชน "
Hewal Chaudhary ให้สัมภาษณ์
.
.

.
.


7. เศษกระดูกที่เหลือจากการกิน
ของฝูงนกแร้งจะเก็บรวบรวมไว้
และนำไปขายต่อได้เป็นสารตั้งต้น
และผสมเป็นอาหารไก่
เป็นรายได้เสริมสำหรับแหล่งอาหารนกแร้ง
.
.

.
.


8. " ในฤดูหนาว เมื่ออากาศหนาวเย็น
เรามักจะได้รับวัวที่ป่วยมากขึ้น
บางครั้งสัปดาห์ละสองตัว
เราเคยทดสอบเนื้อว่า
ปนเปื้อนยาแก้อักเสบ Diclofenac  หรือไม่
แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เพราะทางการจะตรวจสอบ
ฝูงสัตว์ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่า
ไม่ได้ขายยาตัวดังกล่าวแล้ว "
Hewal Chaudhary ให้สัมภาษณ์
.
.

.
.


9. Khusi Man Gurun คนดูแลฝูงวัว
ทำงานอยู่ที่แหล่งอาหารนกแร้ง
ที่ Ghachock ตั้งแต่ปี 2006

" การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
คือ เป้าหมายสำคัญสำหรับการอนุรักษ์
ฝูงนกแร้งของประเทศเนปาล
ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมาก
ต่างมาจากหมู่บ้านในท้องถิ่น
เราต้องการอนุรักษ์
ความหลากหลายทางชีวภาพ
และส่งเสริมระบบนิเวศ
ด้วยการรักษานกแร้งไว้ให้ปลอดภัย
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนรายได้ของชุมชน "
Khusi Man Gurun ให้สัมภาษณ์
.
.

.
.


10. แหล่งอาหารนกแร้งที่ Ghachock
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ Seti
ภายในพื้นที่อนุรักษ์ Annapurna
เป็นแหล่งอนุรักษ์นก
ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของเนปาล
นักวิจัยกล่าวว่านกในภูมิภาคนี้
ยังคงได้รับความทุกข์ทรมาน
จากผลกระทบของคนเรา
.
.

.
.


11. นกแร้งจำนวนหลายสิบตัว
นั่งรออยู่ตามแนวหน้าผา
สถานที่ทิ้งขยะของเมือง Pokhara
รอคนทิ้งขยะลงไว้ที่ด้านล่าง
เมื่อฝูงนกแร้งดูแล้วว่าปลอดภัย  
ก็จะบินลงมาและคุ้ยเขี่ย
พลาสติกและโลหะออกไป
เพื่อกินเศษอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี
ที่คนเราสร้างขึ้นมาในกระบวนการนี้
.
.

.
.


12. นกแร้งเทาหลังขาวเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
พบได้ที่ในบริเวณหลุมฝังกลบขยะของ Pokhara
แต่เดิมสายพันธุ์นี้มีจำนวนนับ 1,000,000 ตัว
แต่ตัวเลขล่าสุดในปี 2016
คาดว่าทั่วโลกเหลือเพียง 10,000 ตัว
ทาง BCN (Bird Conservation of Nepal)
เพิ่งจะปล่อยลูกนกแร้งเทาหลังขาว
ในเดือนพฤศจิกายนได้เป็นครั้งแรก
แต่นกแร้งวางไข่และออกลูก
เพียงครั้งละตัวเดียวเท่านั้น
ดังนั้นการขยายพันธุ์นกแร้ง
ให้ได้จำนวนเท่าเดิม
จะต้องใช้เวลานานอีกหลายปี
.
.

.
.


เรียบเรียง/ภาพ/ที่มา


https://goo.gl/7df92c
.
.

.
ที่มา https://goo.gl/7CPoBo
.
.



ชาวธิเบตเชื่อกันว่านกแร้งเป็น ฑากิณี
ฑากิณีเทียบเท่ากับเทพเทวดา
ฑากิณี หมายถึง นักเต้นรำแห่งท้องนภา
ฑากิณีจะนำดวงวิญญาณคนตายสู่สรวงสวรรค์
เพราะเชื่อกันว่าพื้นที่สายลมท้องฟ้า
เป็นที่รอคอยของดวงวิญญาณที่จะรอเกิดต่อไปในภายหน้า

.
.
เรื่องเดิม
.
ฟากฟ้าฝังศพ
.

.
ที่มา  https://goo.gl/365Y22

.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


ในตำนานของพม่าก่อนสิ้นเมือง
กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ก็มักจะเล่ากันว่ามีฝูงแร้งบิน
เข้ามาหากินในกรุงหงสาวดี
แม้ว่าชาวบ้านจะพยายามขับไล่
ฝูงนกแร้งก็ไม่ยอมหนีไปไหน
ทำให้ในเวลาต่อมา พระนางศุภยารัต
ได้สั่งให้มีการสังหารข้าราชบริพาร
ในราชวังพม่าจำนวนมากมาย
ในเวลาต่อมาจนเป็นตำนานสยอง
ก่อนที่พม่าจะเสียเมือง
ให้กับอังกฤษไปในภายหลัง
.
.

สมัยผมยังเป็นเด็กยังจำได้ว่า
แถวหลังบ้านที่เดิมเป็นที่ว่าง
เป็นสนามฟุตบอลรถไฟห.ใ
ตอนนี้เป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน
ช่วงวันหยุดเรียนวันหนึ่ง  
มีข่าวว่านกแร้งลงมาอยู่
บนสนามฟุตบอลรถไฟ

ผมรีบวิ่งไปดูเป็นไทยมุงกับชาวบ้าน
แต่ทำได้แค่ยืนเหิด
(อาการลูกสุนัขแหงนมองเจ้าของ)
เพราะตัวเตี้ยเล็กมาก
แต่อาศัยเบียด ๆ ผู้ใหญ่เข้าไปดูได้
ทำได้แค่กลัว ๆ กล้า ๆ (จริง ๆ ปอดแหก)
พอสักพักก็มีคนงานรถไฟ
เดินเข้าไปไล่นกแร้ง
ก่อนที่มันจะขยับปีกบินขึ้นไปบนท้องฟ้า
.
.

มีตำนานเรื่องเล่าว่า
คนไทยเคยหลอกขายนกแร้งให้ฝรั่ง
โดยอ้างว่าเป็นไก่งวงพื้นบ้าน
เพราะฝรั่งจะนำไปทำอาหาร
ในวันเทศกาลอีสเตอร์
ที่มักจะนิยมกินไก่งวงอบกัน
แต่โชคร้ายฝรั่งจับไต๋ได้
เพราะนกแร้งบินหนีขึ้นไปบนท้องฟ้า

ความเชื่อของคนไทยเดิมเรื่อง นกแร้ง
ถ้าตามนิยายของหลวงเมือง  มักจะเขียนไว้ว่า
บ้านใดที่มีฝูงนกแร้ง
ไปเกาะบนหลังคาบ้าน
ยิ่งกว่าถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง
จำนวนสามครั้งติด ๆ กัน คือ
ห หายนะ ว วอดวาย ย ย่อยยับ/ยากจน

แต่ทางแก้เคล็ดต้องบอกว่า
พญาหงส์มาเกาะ
จะทำให้มีโชคลาภ/ถูกรางวัลที่หนึ่ง
ตามความเชื่อ/คำบอกเล่าสืบต่อกันมา


ในเมืองไทยก็มีตำนานที่โด่งดังคือ
แร้งวัดสระเกศ  ที่สัปเหร่อเผาศพไม่ทัน
ก็เลยแล่เนื้อศพโยนให้ฝูงแร้งกิน
ดังข้อเขียนของฝรั่งที่พบเห็น
และเนื้อความปราชญ์ชาวบ้าน
สถิตย์ เสมานิล ผู้หายสาบสูญ
.
.

.
ที่มาไทยรัฐ
.
.


เรื่องอื่น ๆ


แร้ง

ขยายพันธุ์  “อีแร้ง”
คืนสู่ธรรมชาติหลังสูญพันธุ์จากไทย

https://goo.gl/4vnDP7
https://goo.gl/N9jTLC

หมายเหตุ  กดสีเหลืองจะไปยังลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่