"เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม"

"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม
เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"[1]
ยิ้ม

และ

"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"
(ละติน: "ACTA EXTERIORA INDICANT INTERIORA SECRETA";
อังกฤษ: "exterior act indicates interior secret" หรือ "intention may be inferred from a person's action")
เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย
ซึ่งตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า
"เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ"
แปลว่า
"เจตนานั่นแหละเป็นกรรม"
อันมาจากพุทธพจน์ว่า
"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"[1]

ภาษิตนี้เป็นหลักกฎหมายอาญา
มีไว้สำหรับพิจารณาพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดของจำเลย
โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ และยังใช้แยกเจตนาฆ่าออกจากเจตนาทำร้าย
เพราะเจตนาฆ่าย่อมมีโทษหนักกว่าเจตนาทำร้าย
ทั้งนี้ เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้
ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่าหรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น
จึงต้องถือหลักว่า "การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ"
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" นั่นเอง[2]


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2
ยิ้ม

ข้อสังเกต :  "เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"
บุคคลสามารถกระทำกรรมด้วย "ใจ"  เช่น การคิด การแผ่เมตตาในใจ หรือตรงข้ามการอาฆาต สาปแช่ง เป็นต้น
ใจที่คิดดีก็เป็น "กุศล เป็นบุญ"
ใจที่คิดไม่ดีก็เป็น "อกุศล เป็นบาป"

การเจริญสติ การทำสมาธิ เป็นกุศล เป็นบุญใหญ่
เพราะเป็นการพัฒนาจิตใจโดยตรง
ยิ้ม

ข้อสังเกต จากความเห็นที่ #2
-------------------
แม้ไม่มีเจตนาก็เป็นกรรมได้  เช่น ขับรถชนโดยประมาท ไม่เจตนา แต่ก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
หรือในทางศาสนา หากสัตว์หรือคนที่ถูกชนอาฆาต ตามจองเวร อันนี้ก็เป็นกรรมแม้เราจะไม่มีเจตนา
ซึ่งตรงนี้ เป็นสิ่งนอกเหนือการบังคับควบคุมของเรา
เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุโดยความประมาท
และเป็นเจตนาของคู่กรณีในกรณีอาฆาตจองเวร สร้างภพ สร้างกรรมกับเรา

ดังนั้น การมีสติยิ่งมีมากยิ่งดี เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความประมาท
ยิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่