คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1.ทำได้ครับ ไม่มีผลเสียใดๆนอกจากเสียสิทะิการเลือกตั้งในเขตนั้นๆ
2.ไม่ต้องคืนครับ เพราะเดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะปั๊มย้ายออกกลายเป็นทะเบียนบ้านว่าง เก็บเอาไว้ได้ครับ 3.แจ้งย้ายได้ทั้งต้นทางและปลายทางครับ
4.เอกสารที่ใช้ในการติดต่อเมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก ไม่เกินหนึ่งพันบาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเองและถ้าจะแจ้งย้ายปลายทาง
หลักเกณฑ์
การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายความว่า การแจ้งการย้ายที่อยู่โดยผู้ขอแจ้งย้าย สามารถไปขอแจ้งย้ายออก และขอแจ้งย้ายเข้า
ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้อง เดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนเดิมที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านจากทะเบียนบ้าน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
3. เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
5. หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไป ดำเนินการแจ้งย้ายได้)
6. หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตร ฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตร ฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (กรณีผู้แจ้งย้าย
ที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมาย 1 คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์ จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ไม่เกิน 3 คน และ
ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)
2.ไม่ต้องคืนครับ เพราะเดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะปั๊มย้ายออกกลายเป็นทะเบียนบ้านว่าง เก็บเอาไว้ได้ครับ 3.แจ้งย้ายได้ทั้งต้นทางและปลายทางครับ
4.เอกสารที่ใช้ในการติดต่อเมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก ไม่เกินหนึ่งพันบาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเองและถ้าจะแจ้งย้ายปลายทาง
หลักเกณฑ์
การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายความว่า การแจ้งการย้ายที่อยู่โดยผู้ขอแจ้งย้าย สามารถไปขอแจ้งย้ายออก และขอแจ้งย้ายเข้า
ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้อง เดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนเดิมที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านจากทะเบียนบ้าน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
3. เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
5. หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไป ดำเนินการแจ้งย้ายได้)
6. หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตร ฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตร ฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (กรณีผู้แจ้งย้าย
ที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมาย 1 คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์ จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ไม่เกิน 3 คน และ
ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)
แสดงความคิดเห็น
เจ้าบ้านย้ายทะเบียนบ้าน แล้วทะเบียนจะว่างได้ไหม
กรณีที่เป็นเจ้าบ้านและทะเบียนบ้านมีชื่อเจ้าบ้านคนเดียว ตอนนี้อยากจะย้ายออกจากทะเบียนบ้าน เพื่อมาเป็นเจ้าบ้านหลังอื่นที่กรุงเทพฯ
1. ไม่ทราบว่า การเป็นเจ้าบ้านสามารถย้ายออกจากทะเบียนเดิม แล้วปล่อยให้ทะเบี่ยนบ้านเดิม ว่างได้ไหม และผลเสียอะไรหรือเปล่า
2. ถ้าสามารถย้ายออกได้ แล้วทะเบียนบ้านเล่มเดิมต้องคืนไหมรัฐฯ หรือทำอย่างไรบ้าง
3. เนื่องจากทะเบียนบ้านเดิมอยู่ต่างจังหวัด ต้องไปทำเรื่องย้ายออก ที่จังหวัดเดิมไหม หรือสามารถไปย้ายปลายทางได้
4. เอกสารที่ใช้ในการย้าย บัตรประชชาน ทะเบียนบ้านเดิม ฉโนดบ้านใหม่ ทะเบียนบ้านใหม่ เหมือนกรณีย้ายบ้านทั่วไปไหม
ขอบคุณทุกคำตอบ