ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางฯ จากทั่วทุกภาค เตรียมแต่งดำเดินทางไปกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กดดันให้รัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาวิกฤติราคายาง ในวันที่ 13 พ.ย.นี้
(9 พฤศจิกายน 2560) นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลการประชุมของตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับภาคใต้ทั้งหมด เมื่อวานนี้ (8พ.ย.) ที่ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อปรึกษาหารือถึงปัญหาวิกฤติราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ จะออกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คันรถตู้
โดยมีกำหนดนัดหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงสายของวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แสดงความรับผิดชอบต่อการดำเนินนโยบายผิดพลาดในการจัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาวิกฤติราคายางอยู่ขณะนี้ ด้วยการแต่งกายด้วยชุดดำ เพื่อไว้อาลัย ,การอ่านแถลงการณ์ พร้อมป้ายไวนิลเรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรฯแสดงความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันจะยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน 3ข้อ.ผ่านไปถึงรัฐบาล คือ
1.ให้การยางแห่งประเทศไทยถอนหุ้นจาก บริษัท ร่วมทุน และจัดตั้ง บริษัทใหม่โดยถือหุ้นร่วมกับเกษตรกร
2.ให้ยึดระเบียบการบริหารราคายางพารา ตามตลาดกลางอย่างเคร่งครัด
และ 3.ให้รัฐบาลผลักดันนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เป็นการจับมือร่วมทุนกันระหว่างบริษัท 5 เสือการยาง กับ กยท.ร่วมทุนกันทุนละ 200 ล้านบาท รวมเงินทุนทั้งหมด 1,200 ล้านบาท เพื่อเข้าไปปัญหารักษาเสถียรภาพราคายางพารา ด้วยการเข้าไปประมูลยางพาราในตลาดกลางทั้ง6แห่งในประเทศ แต่ผลการบริหารจัดการที่ผ่านมาถูกชาวสวนยางออกมาวิพากษ์ว่า ล้มเหลว เพราะตั้งราคากลางสูงเกินไป บริษัท 5 เสือที่ร่วมทุน ไม่รับยางดังกล่าว แต่กลับไปซื้อยางนอกระบบตลาดกลาง กดดันราคาให้ตกต่ำ ,ฮั้วกับบริษัท 5 เสือการยาง ผลประโยชน์ตกกับนายทุน ไม่ใช่เกษตรกรตัวจริง และเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพารา ชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรยางที่ประกอบกิจการยาง จึงออกมาเรียกร้องขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าของนโยบาย, ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุน,และกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดการยาง )ดังที่ปรากฏตามข่าวในขณะนี้
JJNY : ปฏิรูปดี๊ดี...ซี้จุกสูญ เครือข่ายยางฯทั่วปท. เข้ากรุง13พ.ย.กดดันรมว.เกษตรฯ
(9 พฤศจิกายน 2560) นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลการประชุมของตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับภาคใต้ทั้งหมด เมื่อวานนี้ (8พ.ย.) ที่ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อปรึกษาหารือถึงปัญหาวิกฤติราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ จะออกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คันรถตู้
โดยมีกำหนดนัดหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงสายของวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แสดงความรับผิดชอบต่อการดำเนินนโยบายผิดพลาดในการจัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาวิกฤติราคายางอยู่ขณะนี้ ด้วยการแต่งกายด้วยชุดดำ เพื่อไว้อาลัย ,การอ่านแถลงการณ์ พร้อมป้ายไวนิลเรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรฯแสดงความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันจะยื่นข้อเรียกร้อง จำนวน 3ข้อ.ผ่านไปถึงรัฐบาล คือ
1.ให้การยางแห่งประเทศไทยถอนหุ้นจาก บริษัท ร่วมทุน และจัดตั้ง บริษัทใหม่โดยถือหุ้นร่วมกับเกษตรกร
2.ให้ยึดระเบียบการบริหารราคายางพารา ตามตลาดกลางอย่างเคร่งครัด
และ 3.ให้รัฐบาลผลักดันนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เป็นการจับมือร่วมทุนกันระหว่างบริษัท 5 เสือการยาง กับ กยท.ร่วมทุนกันทุนละ 200 ล้านบาท รวมเงินทุนทั้งหมด 1,200 ล้านบาท เพื่อเข้าไปปัญหารักษาเสถียรภาพราคายางพารา ด้วยการเข้าไปประมูลยางพาราในตลาดกลางทั้ง6แห่งในประเทศ แต่ผลการบริหารจัดการที่ผ่านมาถูกชาวสวนยางออกมาวิพากษ์ว่า ล้มเหลว เพราะตั้งราคากลางสูงเกินไป บริษัท 5 เสือที่ร่วมทุน ไม่รับยางดังกล่าว แต่กลับไปซื้อยางนอกระบบตลาดกลาง กดดันราคาให้ตกต่ำ ,ฮั้วกับบริษัท 5 เสือการยาง ผลประโยชน์ตกกับนายทุน ไม่ใช่เกษตรกรตัวจริง และเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพารา ชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรยางที่ประกอบกิจการยาง จึงออกมาเรียกร้องขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าของนโยบาย, ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุน,และกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดการยาง )ดังที่ปรากฏตามข่าวในขณะนี้