จะต้องมีมูลเหตุเท่าใด จึงเกิดการทำสังคายนา ในศาสนาพุทธขึ้นมาได้ ?

กระทู้คำถาม
เป็นกระทู้คำถามนะครับ
มีความสงสัยว่า จักต้องมีมูลเหตุเพียงเท่าใด จึงเกิดการทำสังคายนา ในศาสนาพุทธขึ้นมาได้ ?
คำถามคือ - ด้วยสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ท่านคิดว่า มีมูลเหตุเพียงพอที่จะต้องทำการสังคายนา ในศาสนาพุทธหรือไม่? หรือเป็น พระวินิจฉัย ของสมเด็จพระสังฆราช, หรือต้องเป็น พระราชวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, หรือมีมูลเหตุใดๆ บ้าง.....

------------

พอลองอ่านข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สังคายนาในศาสนาพุทธ

พบว่า มูลเหตุของการทำปฐมสังคายนา เกิดขึ้นเมื่อ พระสุภัททะ ได้กล่าวว่า "หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง เกรงบัญชาใคร" ภายหลังจากที่ได้เห็นเหล่าภิกขุร่ำไห้คร่ำครวญต่อการปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คล้อยหลังเพียง 7 วัน ..... เพียงเท่านี้ พระมหากัสสปะ จึงเห็นควรที่จะประชุมสงฆ์ และทำการสังคายนากันขึ้น

และในครั้งที่สอง ..... พระยสกากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะกากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

และในครั้งที่สาม ..... เมื่อพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ

ส่วนหลังจากนี้ มีข้อเห็นแย้ง ในการนับครั้งการสังคายนา ที่มีความแตกต่างกันในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท กับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นอกจากนี้ แม้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกันเองก็ยังนับครั้งการสังคายนาไม่ตรงกัน

----------

ส่วนในประเทศไทย เท่าที่ทราบข้อมูล มีการทำสังคายนาครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ.2530 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ณ พระตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) เป็นประธาน และมีองค์อุปถัมภ์คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์อุปถัมภ์ พร้อมด้วยรัฐบาล อันมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้เวลา 2 ปี จึงสำเร็จ โดยมีมูลเหตุการสังคายนา เนื่องจาก สมเด็จพระสังฆราชทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และตีพิมพ์ขึ้นเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี พ.ศ.2530 จึงได้เจริญพรขอความอุปถัมภ์ไปยังรัฐบาลและถวายพระพรให้การสังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อได้รับงบประมาณและพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว จึงได้ดำเนินการสังคายนา เริ่มแต่ปี พ.ศ.2528 และเสร็จสิ้นลงเมื่อปี พ.ศ.2530 นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในประเทศไทย
อ้างอิง http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/theravade26.htm
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่