“ปรัชญา” ไม่โกรธ ถูกจิตแพทย์ดังวิพากษ์ภาพยนตร์ “ของขวัญ” ตอน The Letter ไม่มีความสมจริง ลั่นชอบที่อีกฝ่ายวิจารณ์ แต่มองว่าคงเป็นแค่คนเดียวที่ออกมาพูดในมุมแบบนี้ ชี้บางอย่างต้องเหนือจริง ศิลปะโลกภาพยนตร์บางอย่างต้องโกหก แต่ยอมรับละเลยความสมจริง อยากเล่นกับความรู้สึกของคนมากกว่า
เป็นผู้กำกับภาพยนตร์มือทองคนหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ สำหรับ “ปรัชญา ปิ่นแก้ว” ที่สร้างภาพยนตร์โด่งดังมาแล้วมากมาย แต่ล่าสุดถูก “นพ. กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล” จิตแพทย์ชื่อดังออกมาวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งแรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เรื่อง ของขวัญ ในตอน The Letter ซึ่งปรัชญากำกับอย่างถึงพริกถึงขิง โดยซัดว่าทำหนังไม่มีความเป็นจริงเลย
ล่าสุดเจอผู้กำกับคนดังในงานรอบสื่อมวลชนภาพยนตร์จากหนึ่งแรงบันดาลใจแห่งหัวใจคนไทย ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เจ้าตัวก็น้อมรับทุกคำวิจารณ์ และบอกว่าคำวิจารณ์จากคุณหมอท่านนี้แตกต่างจากคนอื่นโดยสิ้นเชิง
“ผมว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะการทำภาพยนตร์มันทำให้คนส่วนใหญ่ดู และคนทำก็ต้องเปิดกว้างพร้อมที่จะให้คนดูเขาวิจารณ์ การวิจารณ์ก็มีหลายแบบ บางคนก็วิจารณ์ตามใจตัวเอง บางคนก็มีหลักการ ส่วนของคุณหมอท่านนี้ผมว่าเขาก็มีหลักการของเขา มีเหตุมีผลของเขา ก็เป็นข้อดีที่เขาวิจารณ์และกล้าพูดออกมา ผมก็ชื่นชมในการที่เขากล้าพูดออกมา โดยที่ผมว่าไม่เคยมีใครวิจารณ์ได้เหมือนเขา นั่นแสดงว่าเขารู้สึกยังไงก็พูดมาอย่างนั้นในมุมของเขา”
“ถามว่ามีผลกับคนที่จะเข้าไปดูมั้ย ก็มีผลแหละครับ ผมไม่รู้ว่าเขาดูหนังแล้ววิจารณ์เป็นปกติและมีคนติดตามประจำหรือเปล่า ถ้ามีก็มีผลแน่ๆ เพราะว่าก็มีคนที่ชอบงานวิจารณ์ของเขา ก็ไม่แน่เหมือนกันบางครั้งวิจารณ์เชิงติเตียน แต่ก็ทำให้คนอยากไปพิสูจน์เหมือนกัน เป็นการเรียนรู้เหมือนกันว่าที่เขาวิจารณ์มาเขาเห็นคล้อยตามมั้ย”
“ถ้าถามผลกระทบกับผม คือถ้าเราทำหนังเราต้องพร้อมที่จะเปิดรับทุกความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกเชิงลบ แต่เราจะดูเจตนาของผู้วิจารณ์ ถ้าวิจารณ์แบบไม่มีหลักการ จะมุ่งทำลายอย่างไม่มีเหตุผล อันนั้นเราก็ดูออก มันก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกอะไร แต่คนที่วิจารณ์แล้วมีหลักการมีเหตุมีผลอันนี้เราจะฟังถึงคำวิจารณ์นั้นจะเป็นเชิงลบหรือเชิงบวก ส่วนอันนี้ผมอ่านแล้วก็เฉยๆ เพราะเคยเจอคนวิจารณ์หนังผมบางเรื่องแบบไม่ได้ใช้หลักการเลย ใช้ทัศนะส่วนตัว ไม่รู้ว่าส่วนตัวเราไปทำอะไรให้เขาโกรธหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าคนดูหนังทุกวันนี้เขาดูหนังเป็น บางคนถ้าวิจารณ์ออกมาไม่ดีมันก็คือผลงานของเขานะ เพราะคนก็อ่านงานของเขา ก็สามารถวิจารณ์เขาได้ว่างานวิจารณ์ของเขาเป็นอย่างไร”
บอกที่คุณหมอวิจารณ์ในเรื่องของความเป็นจริงก็ถูก แต่ในโลกของภาพยนตร์มันเป็นไปได้มากกว่านั้น
“ถ้าจะให้ชี้แจง ผมก็อ่านคำวิจารณ์เรื่องเดอะเลตเตอร์มาเยอะเหมือนกันนะครับ แต่ของเขาไม่เหมือนคนอื่นเลย โดยส่วนใหญ่ค่อนข้างคล้อยตามไปกับเรื่องราวได้ เพราะเรื่องของผมมันเป็นเชิงจินตนาการ มันก็ต้องมีโอเวอร์บ้าง เหตุผลที่คุณหมอเขาติในเรื่องของความเป็นจริงมันก็ถูกอย่างที่คุณหมอพูดว่ามันเป็นไปได้ยังไง แต่ในโลกของภาพยนตร์มันเป็นไปได้มากกว่านั้นอีก เอาเข้าจริงๆ ผมต้องการให้เด็กแอบเข้าไปหลังรถด้วยซ้ำ และผมเชื่อว่าคนดูจะติน้อยกว่าแอบไปในรถหลังคนขับ แต่ทางไปรษณีย์ไม่ยอม เพราะเขาบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะไปรษณีย์ก็ดูเท่ากับว่าทำงานหละหลวม แต่ถึงเขาจะยอมให้เราเข้าไปก็ตาม เพราะมันเป็นเด็กเข้าไปก็เป็นไปได้ เล็ดลอดสายตา แต่การอยู่ในรถนั้นจะขาดอากาศหายใจและตาย ซึ่งผมบอกว่าในโลกภาพยนตร์มันโกหกได้ว่าไม่ตาย เพราะคนไม่ทันคิด มันตายก็ได้ ไม่ตายก็ได้หนังมีเยอะแนะเต็มไปหมด”
“คือบางอย่างเราก็ทำเหมือนว่าเป็นเรื่องจริง แต่บางอย่างมันเหนือจริงโดยคนดูไม่รู้ตัว ศิลปะของภาพยนตร์บางอย่างมันโกหก มันอยู่ที่การเล่าเรื่องครับ ผมต้องการให้คนได้จินตนาการตาม เราต้องการพูดถึงอารมณ์ เพราะเรารู้สึกว่าคนไทยทุกคนรักในหลวง หนังเรื่องนี้ผมเน้นเรื่องอารมณ์ เนื้อหาไม่ค่อยมีอะไรหรอกครับ ผมเชื่อว่ามันเป็นความรู้สึกเดียวกันของคนไทยที่รักในหลวง ถ้าคนดูไม่เกิดติดขัดอะไรบางอย่างถ้าดูจบแล้วมันจะอิ่มครับ แต่ถ้าเราติดเรื่องเหตุผลมันก็จะไม่ได้เจตนาที่ผมจะเล่า”
“คือโปรเจกต์นี้เราคุยกันตั้งแต่ตอนแรกว่าเราจะพูดถึงในหลวงในอีกสเต็ปหนึ่ง ก็คือหลังจากที่เราสูญเสียพระองค์ไปแล้ว เราควรจะเดินต่อไปข้างหน้า เราตั้งชื่อคอนเซ็ปต์ว่า pay it forward คือเดินไปข้างหน้า หยุดเสียใจกัน หยุดเศร้าโศกกันได้แล้ว เดินไปข้างหน้าตามคำสอนของพระองค์ท่าน แต่ละเรื่องแต่ละผู้กำกับทำออกมาเราปล่อยให้เป็นอิสระทางความคิดว่าคุณจะไหลลื่นยังไงภายใต้คอนเซ็ปต์นี้ ซึ่งผู้กำกับอีก 3 ท่านทำเรื่องอะไรผมก็ไม่รู้ ผมมาเห็นตอนที่เสร็จแล้ว แต่ตอนที่ทำเราจะไม่รู้เรื่องซึ่งกันและกัน”
ชื่นชมกับคำวิจารณ์ของคุณหมอท่านนี้ ยอมรับตนอาจจะละเลยเรื่องของความเป็นจริงไปบ้าง
“ผมทำหนังมาหลายปี ผมเจอมาทุกรูปแบบแล้ว แต่ผมเลือกที่จะใส่ใจกับคำวิจารณ์ที่มีหลักการ ไม่ว่าจะหลักการเชิงวิชาภาพยนตร์หรือหลักการเชิงศาสตร์ของอะไรก็ตาม หรือเชิงของคุณหมอท่านนี้ ผมว่าเป็นหลักการชีวิตจริง อันนี้ผมก็ยอมรับในเหตุผลนั้น ผมชอบนะที่ท่านวิจารณ์มาแบบนี้ (ยิ้ม) อันนี้จากใจจริงนะครับ แต่ผมมองว่ามีท่านคนเดียวแหละครับที่พูดมุมนี้ คนอื่นไม่พูดเลย ส่วนใหญ่จะพูดในเจตนาที่ผมอยากจะได้ ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจในสิ่งที่ผมตีความ ถ้าเกิดคุณเข้าถึงในหลวงได้ก็จบ เพราะผมหาข้อมูลแล้วว่าถ้าเด็กคนหนึ่งเขียนถึงในหลวง แล้วอยากจะตามจดหมายไปตามความคิดของเด็ก ปลายทางจะเป็นยังไงจะเจออะไรและจบยังไง”
“ความจริงผมพยายามติดต่อสำนักพระราชวังขอข้อมูลจริง นับจากปัจจุบันที่เราสูญเสียพระองค์ท่านไป ถ้ามีเด็กคนนี้เขียนจดหมายไปมันจะไปถึงใคร ใครจะเป็นคนรับ ใครจะเป็นคนอ่าน ผมมองว่าเด็กคนนี้จะไปถึงหน้าสำนักพระราชวังที่รับจดหมาย อาจจะเจอเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง แล้วเจ้าหน้าที่นั้นพากลับบ้านก็ว่ากันไป แต่ว่าช่วงนั้นสำนักพระราชวังเขาไม่อยากยุ่งเรื่องอะไรเลย นั่นก็แปลว่าเราไปยุ่งกับสำนักพระราชวังไม่ได้ แม้กระทั่งที่ตรงสนามหลวงตรงนั้นเขาก็ไม่ให้มีการถ่ายทำใดๆ ทั้งสิ้น ผมก็เลยต้องจบแบบนี้ แต่ผมชอบนะ มันได้ความรู้สึกมากกว่า หนังผมเล่าความรู้สึกครับ ยอมรับว่าละเลยความจริงบางอย่างเพื่อเอาความรู้สึก”
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/entertainment/detail/9600000109960
“ปรัชญา” ไม่โกรธ จิตแพทย์ดังอัดหนังไร้ความสมจริง ชี้ศิลปะโลกภาพยนตร์ บางอย่างต้องโกหก!
“ปรัชญา” ไม่โกรธ ถูกจิตแพทย์ดังวิพากษ์ภาพยนตร์ “ของขวัญ” ตอน The Letter ไม่มีความสมจริง ลั่นชอบที่อีกฝ่ายวิจารณ์ แต่มองว่าคงเป็นแค่คนเดียวที่ออกมาพูดในมุมแบบนี้ ชี้บางอย่างต้องเหนือจริง ศิลปะโลกภาพยนตร์บางอย่างต้องโกหก แต่ยอมรับละเลยความสมจริง อยากเล่นกับความรู้สึกของคนมากกว่า
เป็นผู้กำกับภาพยนตร์มือทองคนหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ สำหรับ “ปรัชญา ปิ่นแก้ว” ที่สร้างภาพยนตร์โด่งดังมาแล้วมากมาย แต่ล่าสุดถูก “นพ. กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล” จิตแพทย์ชื่อดังออกมาวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งแรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เรื่อง ของขวัญ ในตอน The Letter ซึ่งปรัชญากำกับอย่างถึงพริกถึงขิง โดยซัดว่าทำหนังไม่มีความเป็นจริงเลย
ล่าสุดเจอผู้กำกับคนดังในงานรอบสื่อมวลชนภาพยนตร์จากหนึ่งแรงบันดาลใจแห่งหัวใจคนไทย ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เจ้าตัวก็น้อมรับทุกคำวิจารณ์ และบอกว่าคำวิจารณ์จากคุณหมอท่านนี้แตกต่างจากคนอื่นโดยสิ้นเชิง
“ผมว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะการทำภาพยนตร์มันทำให้คนส่วนใหญ่ดู และคนทำก็ต้องเปิดกว้างพร้อมที่จะให้คนดูเขาวิจารณ์ การวิจารณ์ก็มีหลายแบบ บางคนก็วิจารณ์ตามใจตัวเอง บางคนก็มีหลักการ ส่วนของคุณหมอท่านนี้ผมว่าเขาก็มีหลักการของเขา มีเหตุมีผลของเขา ก็เป็นข้อดีที่เขาวิจารณ์และกล้าพูดออกมา ผมก็ชื่นชมในการที่เขากล้าพูดออกมา โดยที่ผมว่าไม่เคยมีใครวิจารณ์ได้เหมือนเขา นั่นแสดงว่าเขารู้สึกยังไงก็พูดมาอย่างนั้นในมุมของเขา”
“ถามว่ามีผลกับคนที่จะเข้าไปดูมั้ย ก็มีผลแหละครับ ผมไม่รู้ว่าเขาดูหนังแล้ววิจารณ์เป็นปกติและมีคนติดตามประจำหรือเปล่า ถ้ามีก็มีผลแน่ๆ เพราะว่าก็มีคนที่ชอบงานวิจารณ์ของเขา ก็ไม่แน่เหมือนกันบางครั้งวิจารณ์เชิงติเตียน แต่ก็ทำให้คนอยากไปพิสูจน์เหมือนกัน เป็นการเรียนรู้เหมือนกันว่าที่เขาวิจารณ์มาเขาเห็นคล้อยตามมั้ย”
“ถ้าถามผลกระทบกับผม คือถ้าเราทำหนังเราต้องพร้อมที่จะเปิดรับทุกความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกเชิงลบ แต่เราจะดูเจตนาของผู้วิจารณ์ ถ้าวิจารณ์แบบไม่มีหลักการ จะมุ่งทำลายอย่างไม่มีเหตุผล อันนั้นเราก็ดูออก มันก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกอะไร แต่คนที่วิจารณ์แล้วมีหลักการมีเหตุมีผลอันนี้เราจะฟังถึงคำวิจารณ์นั้นจะเป็นเชิงลบหรือเชิงบวก ส่วนอันนี้ผมอ่านแล้วก็เฉยๆ เพราะเคยเจอคนวิจารณ์หนังผมบางเรื่องแบบไม่ได้ใช้หลักการเลย ใช้ทัศนะส่วนตัว ไม่รู้ว่าส่วนตัวเราไปทำอะไรให้เขาโกรธหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าคนดูหนังทุกวันนี้เขาดูหนังเป็น บางคนถ้าวิจารณ์ออกมาไม่ดีมันก็คือผลงานของเขานะ เพราะคนก็อ่านงานของเขา ก็สามารถวิจารณ์เขาได้ว่างานวิจารณ์ของเขาเป็นอย่างไร”
บอกที่คุณหมอวิจารณ์ในเรื่องของความเป็นจริงก็ถูก แต่ในโลกของภาพยนตร์มันเป็นไปได้มากกว่านั้น
“ถ้าจะให้ชี้แจง ผมก็อ่านคำวิจารณ์เรื่องเดอะเลตเตอร์มาเยอะเหมือนกันนะครับ แต่ของเขาไม่เหมือนคนอื่นเลย โดยส่วนใหญ่ค่อนข้างคล้อยตามไปกับเรื่องราวได้ เพราะเรื่องของผมมันเป็นเชิงจินตนาการ มันก็ต้องมีโอเวอร์บ้าง เหตุผลที่คุณหมอเขาติในเรื่องของความเป็นจริงมันก็ถูกอย่างที่คุณหมอพูดว่ามันเป็นไปได้ยังไง แต่ในโลกของภาพยนตร์มันเป็นไปได้มากกว่านั้นอีก เอาเข้าจริงๆ ผมต้องการให้เด็กแอบเข้าไปหลังรถด้วยซ้ำ และผมเชื่อว่าคนดูจะติน้อยกว่าแอบไปในรถหลังคนขับ แต่ทางไปรษณีย์ไม่ยอม เพราะเขาบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะไปรษณีย์ก็ดูเท่ากับว่าทำงานหละหลวม แต่ถึงเขาจะยอมให้เราเข้าไปก็ตาม เพราะมันเป็นเด็กเข้าไปก็เป็นไปได้ เล็ดลอดสายตา แต่การอยู่ในรถนั้นจะขาดอากาศหายใจและตาย ซึ่งผมบอกว่าในโลกภาพยนตร์มันโกหกได้ว่าไม่ตาย เพราะคนไม่ทันคิด มันตายก็ได้ ไม่ตายก็ได้หนังมีเยอะแนะเต็มไปหมด”
“คือบางอย่างเราก็ทำเหมือนว่าเป็นเรื่องจริง แต่บางอย่างมันเหนือจริงโดยคนดูไม่รู้ตัว ศิลปะของภาพยนตร์บางอย่างมันโกหก มันอยู่ที่การเล่าเรื่องครับ ผมต้องการให้คนได้จินตนาการตาม เราต้องการพูดถึงอารมณ์ เพราะเรารู้สึกว่าคนไทยทุกคนรักในหลวง หนังเรื่องนี้ผมเน้นเรื่องอารมณ์ เนื้อหาไม่ค่อยมีอะไรหรอกครับ ผมเชื่อว่ามันเป็นความรู้สึกเดียวกันของคนไทยที่รักในหลวง ถ้าคนดูไม่เกิดติดขัดอะไรบางอย่างถ้าดูจบแล้วมันจะอิ่มครับ แต่ถ้าเราติดเรื่องเหตุผลมันก็จะไม่ได้เจตนาที่ผมจะเล่า”
“คือโปรเจกต์นี้เราคุยกันตั้งแต่ตอนแรกว่าเราจะพูดถึงในหลวงในอีกสเต็ปหนึ่ง ก็คือหลังจากที่เราสูญเสียพระองค์ไปแล้ว เราควรจะเดินต่อไปข้างหน้า เราตั้งชื่อคอนเซ็ปต์ว่า pay it forward คือเดินไปข้างหน้า หยุดเสียใจกัน หยุดเศร้าโศกกันได้แล้ว เดินไปข้างหน้าตามคำสอนของพระองค์ท่าน แต่ละเรื่องแต่ละผู้กำกับทำออกมาเราปล่อยให้เป็นอิสระทางความคิดว่าคุณจะไหลลื่นยังไงภายใต้คอนเซ็ปต์นี้ ซึ่งผู้กำกับอีก 3 ท่านทำเรื่องอะไรผมก็ไม่รู้ ผมมาเห็นตอนที่เสร็จแล้ว แต่ตอนที่ทำเราจะไม่รู้เรื่องซึ่งกันและกัน”
ชื่นชมกับคำวิจารณ์ของคุณหมอท่านนี้ ยอมรับตนอาจจะละเลยเรื่องของความเป็นจริงไปบ้าง
“ผมทำหนังมาหลายปี ผมเจอมาทุกรูปแบบแล้ว แต่ผมเลือกที่จะใส่ใจกับคำวิจารณ์ที่มีหลักการ ไม่ว่าจะหลักการเชิงวิชาภาพยนตร์หรือหลักการเชิงศาสตร์ของอะไรก็ตาม หรือเชิงของคุณหมอท่านนี้ ผมว่าเป็นหลักการชีวิตจริง อันนี้ผมก็ยอมรับในเหตุผลนั้น ผมชอบนะที่ท่านวิจารณ์มาแบบนี้ (ยิ้ม) อันนี้จากใจจริงนะครับ แต่ผมมองว่ามีท่านคนเดียวแหละครับที่พูดมุมนี้ คนอื่นไม่พูดเลย ส่วนใหญ่จะพูดในเจตนาที่ผมอยากจะได้ ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจในสิ่งที่ผมตีความ ถ้าเกิดคุณเข้าถึงในหลวงได้ก็จบ เพราะผมหาข้อมูลแล้วว่าถ้าเด็กคนหนึ่งเขียนถึงในหลวง แล้วอยากจะตามจดหมายไปตามความคิดของเด็ก ปลายทางจะเป็นยังไงจะเจออะไรและจบยังไง”
“ความจริงผมพยายามติดต่อสำนักพระราชวังขอข้อมูลจริง นับจากปัจจุบันที่เราสูญเสียพระองค์ท่านไป ถ้ามีเด็กคนนี้เขียนจดหมายไปมันจะไปถึงใคร ใครจะเป็นคนรับ ใครจะเป็นคนอ่าน ผมมองว่าเด็กคนนี้จะไปถึงหน้าสำนักพระราชวังที่รับจดหมาย อาจจะเจอเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง แล้วเจ้าหน้าที่นั้นพากลับบ้านก็ว่ากันไป แต่ว่าช่วงนั้นสำนักพระราชวังเขาไม่อยากยุ่งเรื่องอะไรเลย นั่นก็แปลว่าเราไปยุ่งกับสำนักพระราชวังไม่ได้ แม้กระทั่งที่ตรงสนามหลวงตรงนั้นเขาก็ไม่ให้มีการถ่ายทำใดๆ ทั้งสิ้น ผมก็เลยต้องจบแบบนี้ แต่ผมชอบนะ มันได้ความรู้สึกมากกว่า หนังผมเล่าความรู้สึกครับ ยอมรับว่าละเลยความจริงบางอย่างเพื่อเอาความรู้สึก”
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/entertainment/detail/9600000109960