รายงานการพบเห็น วาฬเพชรฆาต หรือ ออร์ก้า ในประเทศไทย เท่าที่มีการบันทึกมา ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

รายงานการพบเห็น วาฬเพชรฆาต หรือ ออร์ก้า ในประเทศไทย เท่าที่มีการบันทึกมา ในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอ้างอิงการพบเห็นที่มีหลักฐานยืนยัน

เกร็ดสั้นๆเกี่ยวกับเจ้าออร์ก้า
วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (อังกฤษ: Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษย์




เอาละ มาดูบันทึกการพบเห็นในไทยที่มีหลักฐานยืนยันกันครับ

25 มีนาคม 1993 พบที่หมู่เกาะสิมิลัน ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 65 กิโลเมตร ประมาณ 30 ตัว เข้ามาว่ายวนเรือสปีดโบทนักท่องเที่ยว และมีผู้เห็นว่า มันกำลังโจมตีกระเบนนก
/
/
19 กันยายน 1994 พบที่ด้านเหนือของเกาะไม้ท่อน พบประมาณ 4 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 60 กิโลเมตร ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
1 มกราคม 1995 พบที่เกาะเต่า 2 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 70 กิโลเมตร ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
18 เมษายน 1997 พบที่เกาะราชา พบ 4 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 68 กิโลเมตร ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
พฤศจิกายน 2000 กองหินริเชริว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 40 กิโลเมตร พบหลายครั้งตลอดทั้งดือนตั้งแต่ 1-10 ตัว ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
ธันวาคม 2000 กองหินริเชริว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 40 กิโลเมตร พบหลายครั้งตลอดทั้งดือนตั้งแต่ 1-10 ตัว
ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
9 ตุลาคม หมู่เกาะสุรินทร์ 2002 พบ 6 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 58 กิโลเมตร ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว
/
/
1 มกราคม 2006 หมู่เกาะสุรินทร์ พบ 3 ตัว พ่อ แม่ ลูก ว่ายวนรอบเรือประมาณ 1 ชั่วโมง ยืนยันด้วยภาพถ่ายของ คุณธนากร แสงดาว
/
/
28 มกราคม 2006 พบระหว่างกองหินริเชริว ไปยัง เกาะตาชัย 2 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้ามาว่ายวนเรือนักท่องเที่ยวดำน้ำและมีผู้เห็นว่า มันกำลังโจมตี กระเบนนก
/
/
19 มีนาคม 2007 พบที่หมู่เกาะสุรินทร์ 3-4 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 40 กิโลเมตร เข้ามาว่ายวนเรือสปีดโบทนักท่องเที่ยว และมีผู้เห็นว่า มันกำลังไล่ต้อนฝูงปลา
/
/
มีนาคม 2007 พบที่เกาะราชา พบ 4 ตัว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 68 กิโลเมตร ยืนยันโดยการบอกเล่าของนักท่องเที่ยว และหนังสือพิมพ์ข่าวสด

27 มีนาคม 2007 ช่องเขาขาด ใกล้กับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา จำนวน 4 ตัว
/
/
ธันวาคม 2008 กองหินริเชริว ห่างจากฝั่ง(แผ่นดิน)ประมาณ 40 กิโลเมตร พบเห็นโดย นายเอ็ดวิน วีก (และเรืออีก 3 ลำ)
/
/
มีนาคม 2013 พบที่ฝั่งอ่าวไทย บริเวณเกาะช้าง โดยเป็นวาฬตัวเมียขนาดเล็กที่ได้รับบาดเจ็บ 2 ตัว ซึ่งในตอนแรกเชื่อว่าเป็นโลมาอิรวดี แต่ภายหลังพบว่าเป็น วาฬเพชฌฆาต (ไม่มีรูปยืนยันว่าเป็น วาฬหูดำหรือออก้า)
/
/
พฤศจิกายน 2013 พบที่ใกล้เกาะมะริด ประเทศพม่า เป็นออก้าขนาดใหญ่ที่สุด พบโดยกลุ่มนั่งท่องที่ยวที่เช่าเรือใบระหว่างกำลังล่องจากไทยไปพม่า โดย 1 ในนักท่องเที่ยวที่พบได้ตัดสินใจลงไปว่ายพร้อมถ่ายวีดีโอกับ ออร์ก้าด้วย
/
/
29 มกราคม 2014
พบวาฬเพชฌฆาต ถูกคลื่นซัดเกยหาดคอสน จ.ชุมพร ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลฯนำซากตรวจสอบสาเหตุ ซึ่งภายหลังพบว่าเป็น วาฬเพชฌฆาตดำ แต่สำนักข่าวที่รีบรายงานใช้ภาพ วาฬออร์ก้า ในการนำเสนอข่าวจึงทำให้เข้าใจผิด
ภาพที่ใช้ประกอบข่าวตอนนั้น

8 มกราคม 2016 พบโดย คุณธัญลักษณ์ สะครุฑ ถ่ายภาพโดย โจ ฮาเรรอน หน้าหาดป่าตอง จ. ภูเก็ต
ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ว่า พบเจอ ออก้า ใกล้ฝั่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ภาพยืนยันถ่ายภาพโดย โจ ฮาเรรอน หน้าหาดป่าตอง จ. ภูเก็ต
/
/
10 มกราคม 2016 พบโดยคุณ Little Hongthong/ นสพ. มติชน ใกล้หาดกะรน จังหวัดภูเก็ต
/
/
10 มีนาคม 2016 พบวาฬเพชรฆาตดำ ใกล้ภูเก็ต แต่หลายสำนักข่าว นำเสนอว่าเป็น วาฬเพชรฆาต จึงเกิดความเข้าใจผิดขึ้น

8 ตุลาคม 2017 พบวาฬเพชรฆาต พบในเส้นทางระหว่างนางย่อน ไป ภูเก็ต พบโดยคุณไพโรจน์ ก้องสุวรรณคีรี พร้อมคลิป ระยะประมาณ 4 ไมล์ทะเลจากฝั่ง
.
.
.
เมื่อลองดูข้อมูลแล้ว ก็พบว่า ส่วนมากจะพบบริเวณห่างฝั่ง ซึ่งก็ตรงกับแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์และสมุทรศาสตร์ว่า มันน่าจะมาตามกระแสน้ำหรือไล่ตามกลุ่มอาหารตามกระแสน้ำของมหาสมทุรมา

ซึ่งมีเพียงครั้งเดียว ที่เข้ามาใกล้ฝั่งมากที่สุดก็คือ วันที่ 8 มกราคม 2016 ส่วนมากพบห่างฝั่งแทบทั้งหมด

อย่างที่เคยเล่าและเขียนไว้ ออร์ก้า เป็นสัตว์ที่เรายังคุ้นเคยกับมันน้อยมาก ดังนั้นเมื่อพบก็ควรรักษาระยะห่าง ของเรากับสัตว์นักล่าไว้ ตรงนี้ไม่มีใครบันทึกไว้ แต่ได้ยินจากวิทยุมดดำบนเรือ เจ้าหญิงน้อย (โปรดอ่านในใจเป็นภาษาใต้)

"มันมาวนรอบเรือสปีดโบท แล้วนักท่องเที่ยวจีนก็โดดลงไปว่ายกับมัน จนฝรั่งจากเรือที่มาจอดใกล้ๆ ตะโกนว่า "อิส นอท ดอลฟิน อิท ชาร์ค" เพื่อนคนจีนจึงตะโกนเป็นภาษาจีนให้ ผู้หญิงคนนั้นขึ้นมา"

ดูจากรายงานสรุปการพบเห็นแล้ว ก็หวังว่าจะทำให้คนที่ได้อ่านเข้าใจว่า มีการพบเห็นหลายครั้งแล้ว ไม่ได้อันตราย และยังไม่เคยพบรายการการทำร้ายคนเกิดขึ้น ดังนั้น แค่รับรู้ว่ามีอยู่ในทะเลไทยก็พอ ไม่ต้องตกใจ

จ ญ น ห อ ด ม
เรียบเรียง

อ้างอิงจาก
รายงานสรุปการพบเห็นวาฬเพชรฆาต ORCA ในทะเลไทย มหาวิทยลัยเกียวโต
เขียนโดย ADULYANUKOSOL, KANJANA; MANAWATTHANA,SONTAYA; ITAE, AMREE

และข้อมูลจาก
Thon Thamrongnawasawat
Mr.Thanakorn Saengdow,
Mr.Nut Sumont emi, Mr.Ranawan Boonprakob, Mr.Edwin
Wiek, and Mr.Suwan Pitaksinthorn for the
information and photographs of killer whales.
Photographs in 2006 and 2007 Saengdow were
obtained from Mr.Thanakorn. and the websites, www
talaythai.com and www.scubazoom.com
Records of killer whales (Orcinus orca) - กรมทรัพยากรทางทะเล

REFERENCES
Adulyanukosol, K., and Kittiwattanawong, K. (2004). Field
Guide of Cetaceans in Thai waters. Phuket Marine
Biological Center. 62 pp.
Chantrapornsyl,S., Adulyanukosol, K., and Kittiwattanawong, K. (1996).
Dolphins and whales of Thailand.
Phuket Marine Biological Center Research Bulletin. 61,39-63.
Chantrapornsyl, S., Adulyanukosol, K., and Kittiwattanawong, K. (1999).
Stranded cetaceans from
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่