"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับทางเลือก "ลี้ภัยทางการเมือง" หรือ "เอกสิทธิคุ้มกันทางการฑูต"

กระทู้สนทนา
เมื่อ ยิ่งลักษณ์อาจไม่ขอลี้ภัยทางการเมืองแต่จะได้มาซึ่งเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการฑูต (แทน)
........................................................................................................
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับทางเลือก "ลี้ภัยทางการเมือง" หรือ "เอกสิทธิคุ้มกันทางการฑูต"
........................................................................................................
จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ที่ใกล้ชิด อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดความคืบหน้าความเคลื่อนไหวล่าสุดของ อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โดยได้รายงานข่าวว่า........
........................................................
อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขณะนี้อยู่ในที่ปลอดภัย และอาจไม่ขอลี้ภัยทางการเมืองกับประเทศใดๆ แต่จะใช้ช่องทางให้ได้มาซึ่ง "เอกสิทธิคุ้มกันทางการฑูต" เหมือน พี่ชายของเธอ อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร เพราะจะได้รับความเอกสิทธิ์ และความสะดวกมากกว่ากันในทุกๆกรณี รวมถึงสิทธิต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การคุ้มครองการละเมิดต่างๆ การคุ้มครองสถานที่พัก และการคุ้มครองทางการศาล ในกรณีต่างๆ .....
ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
ความคุ้มกันทางการทูตพอจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล หมายความถึงความละเมิดมิได้ในตัวแทนทางการทูต ปลอดจากการจับกุม หรือกักขัง เป็นต้น
2. ความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานที่ หมายความถึง ความละเมิดมิได้ในสถานที่ทำการของผู้แทนทางการทูตและที่อยู่ส่วนตัวของผู้แทนทางการทูตด้วย รัฐผู้รับจำต้องงดเว้นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการบังคับ เช่น การบุกรุกเข้าไปในสถานทูตเป็นต้น
3. ความคุ้มกันทางศาล หมายความถึง การหลุดพ้นจากอำนาจศาลในรัฐผู้รับ ความคุ้มกันนี้มีได้ทั้งทางคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๓ ให้รัฐผู้ส่งคณะทําการทางกงสุล สถานทําการทางกงสุล หัวหน้าสถานทําการทางกงสุล เจ้าพนักงานกงสุล ลูกจ้างทางกงสุล สมาชิกในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ บุคคลในครอบครัวของสมาชิกในสถานทําการทางกงสุล และสมาชิกในคณะคนรับใช้ส่วนตัว รวมตลอดถึงสถานที่ บรรณสารทางกงสุล และบรรดาทรัพย์สินของสถานทําการทางกงสุลและของสมาชิกในสถานทําการทางกงสุล หรือของบุคคลในครอบครัวของสมาชิกในสถานทําการทางกงสุล ตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งทําเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกนทางกงสุลตามที่ก ั าหนดไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว
ความละเมิดมิได้ของสถานที่ทางกงสุล
๑. สถานที่ทางกงสุลจะถูกละเมิดมิได้เท่าที่กาหนดไว้ในข้อนี ้
๒. เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับจะไม่เข้าไปในส่วนใดของสถานที่ทางกงสุล ซึ่งใช้เพื่อความมุ่งประสงค์ในการปฏิบัติงานของ สถานทําการทางกงสุลเฉพาะเว้นแต่ด้วยความยินยอมของหัวหน้าสถานทําการทางกงสุลหรือผู้ที่หัวหน้าสถานทําการทางกงสุลมอบหมาย หรือ หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตของรัฐผู้ส่ง อย่างไรก็ดี ในกรณีเพลิงไหม้หรือวินาศภัยอื่นที่จําต้องกระทําการป้ องก ันโดยพลัน อาจถือว่าได้รับความ ยินยอมของหัวหน้าสถานทําการทางกงสุลแล้ว
๓. ภายใต้บังคับของบทบัญญัติของวรรค ๒ ของข้อนี้ รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดําเนินการทั้งปวงที่เหมาะสมเพื่อ คุ้มครองสถานที่ทางกงสุลจากการบุกรุก หรือความเสียหายใด และเพื่อป้องกันการรบกวนต ่อความสงบของสถานทําการทางกงสุล หรือการทําให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีของสถานทําการทางกงสุล
๔. สถานที่ทางกงสุลและเครื่องเรือน ทรัพย์สินและพาหนะของสถานทําการทางกงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากการเรียกเกณฑ์ไม่ว่าในรูปใดเพื่อความมุ่งประสงค์ในการป้องกนประเทศหรือ สาธารณูปโภค หากจําเป็นต้องมีการเวนคืนเพื่อความมุ่งประสงค์เช่นว่านั้น จะต้องดําเนินการทั้งปวงที่เป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และจะต้องจ่ายค่าทดแทนที่เพียงพอและมีประสิทธิผล แก่รัฐผู้ส่งโดยพลัน
ความคุ้มกันจากเขตอํานาจ
๑. เจ้าพนักงานกงสุลและลูกจ้างทางกงสุล จะไม่อยูภายใต้เขตอํานาจของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมหรือเจ้าหน้าที่ปกครองของรัฐผู้รับในส่วนที่เกี่ ยวกบการกระทําในการปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล
๒. อยางไรก็ ดี บทบัญญัติของวรรค ๑ ของข้อนี้ จะไม่ใช้ในส่วนที่เกี่ ยวกบการดําเนินคดีทางแพ่ง
(ก) ที่เกิดจากสัญญาที่ได้กระทําโดยเจ้าพนักงานกงสุลหรือลูกจ้างทางกงสุล ซึ่งมิได้ทําสัญญาในฐานะตัวแทนของรัฐผู้ ส่งอยางชัดแจ้งหรือโดยปริยาย หรือ
(ข) โดยบุคคลที่สาม สําหรับความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุในรัฐผู้รับอันเนื่องมาจากยานพาหนะ เรือ หรือเครื่องบิน
อ้างอิง:พระราชบัญญัติ ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. ๒๕๔๑
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ตัวอย่างเช่นเดียวกับกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับเอกสิทธิคุ้มครองทางการฑูตจากประเทศ นิคารากัว
รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ได้ส่งเอกสารไปยังสำนักข่าวต่างๆ เพื่อชี้แจงถึงความเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณในเวลานี้ โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีของนิการากัว ‘Daniel Ortega’ ได้ออกใบอนุญาตเกี่ยวกับกับกิจการโทรคมนาคมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เมือง “มานากัว” ซึ่งเป็นเมืองหลวงของนิการากัว
หนังสือดังกล่าวระบุด้วยว่า ปัจจุบันนิการากัว เป็นประธานสหพันธ์อเมริกากลาง ที่มี 7 ประเทศ อันประกอบด้วย นิการากัว, คอสตาริกา, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, เอลซัลวาดอร์, ปานามา และเวเนซูเอล่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารที่แพงมาก โดยการโทรศัพท์มายังเอเชีย จะตกนาทีละ 7 เหรียญสหรัฐ แต่เนื่องจากพ.ต.ท.ทักษิณมีดาวเทียมเป็นของตัวเอง ซึ่งได้รับปากว่า ภายใน 2 เดือนนับจากนี้ จะทำให้ค่าโทรศัพท์ลดลงเหลือแค่นาทีละ 1 เหรียญสหรัฐ โดยจะมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยที่พ.ต.ท.ทักษิณจะได้ 50 เซนต์ต่อนาที ขณะที่ทางนิการากัวจะได้ 50 เซนต์ต่อนาที
หนังสือชี้แจงดังกล่าว ระบุด้วยว่า จากการประเมินของทีมงานพ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า หากร่วมมือกับประเทศอเมริกากลางอื่นๆ เพื่อปรับปรุงโทรคมนาคม ในแต่ละเดือนจะมีรายได้สูงมากถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการลงทุนที่ประเทศนิการากัว เบื้องต้น พ.ต.ท.ทักษิณจะจ่ายให้ก่อน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะส่งผู้แทนระดับสูง 5 คนที่คัดเลือกแล้ว ไปดำเนินการ
นอกจากนี้ หนังสือชี้แจงดังกล่าว ยังระบุว่า เมื่อวันที่ 8-11 ก.พ.ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณได้นั่งเครื่องบินส่วนตัว ไปเยือน “มานากัว” เมืองหลวงของนิการากัว และได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติจากประธานาธิบดี ‘Daniel Ortega’ อีกทั้งยังได้เรียกรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและพลังงาน รวมถึงรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุมด้วย โดยที่มีการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรทางด้านเทเลคอมทาง เศรษฐกิจ และกลายเป็นข่าวใหญ่บนหน้านสพ.และโทรทัศน์ด้วย
หนังสือดังกล่าว ยังชี้แจงด้วยว่า ขณะเดียวกัน ทางประธานาธิบดี ‘Daniel Ortega’ ยังได้เซ็นคำสั่งแต่งตั้งให้พ.ต.ท.ทักษิณเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจพิเศษของ ประธานาธิบดีนิการากัว ซึ่งจะมีผลในวันที่ 23 ก.พ. และยังให้พ.ต.ท.ทักษิณเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของนิการากัว อีกทั้งยังมีตำแหน่งเป็นทูตพิเศษ และได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูตของสาธารณรัฐนิการากัวด้วย
หนังสือดังกล่าว ระบุต่อว่า ระหว่างที่เยือนนิการากัว พ.ต.ท.ทักษิณยังได้เซ็นสัญญาการลงทุนเกี่ยวกับการสร้างถนนข้ามจาก ‘นิการากัว’ ไปยัง ‘คอสตาริกา’ ความยาว 50 ไมล์ โดยมีเงินลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้แต่งตั้ง ‘คนสนิท’ ซึ่งเป็นอดีตรมว.คมนาคมของไทย นำคณะไปเยือนนิการากัวเพื่อดำเนินการเรื่องนี้
หนังสือดังกล่าว ระบุในตอนท้ายว่า เมื่อเดือนพ.ย. 2008 พ.ต.ท.ทักษิณได้รับสิทธิพิเศษเป็นพลเมืองถาวรของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ หรือ UAE ซึ่งขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณอาศัยอยู่ที่ดูไบ แต่ไม่นานมานี้ได้ไปเยือนประเทศฟิจิและราชอาณาจักรตองก้า ในแถบหมู่เกาะแปซิฟิค และยังได้ลงนามในความตกลงจำนวนหนึ่ง โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจากนายกรัฐมนตรีฟิจิ และได้รับสัมปทานโทรคมนาคมหมู่เกาะแปซิฟิคใต้และใบประกอบกิจการธนาคารท้อง ถิ่น
ใช้ร่วมกัน
ขอบคุณ : เสรีไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่