ปีนี้อายุ20ครับ แต่จำไม่ได้ว่าขึ้นทะเบียนทหารไปยัง

เรื่องมันเยอะครับ ผมจะลำดับให้ง่ายๆคือ
1. ตอนแรกอยู่กับพ่อที่เขตทวี ไปทำบัตรปชช.ตอนอายุ17 (ซึ่งจำไม่ได้ว่าไปขึ้นทะเบียนทหารด้วยรึปล่าว)
2. ตอนอยู่ม.6กำลังจะขึ้นปี1 พ่อมีปัญหากับเจ้าของบ้านเช่า ทำให้
      - บ้านโดนยึด
      - พ่อไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ชื่ออยู่ทะเบียนกลาง
      - เอกสารอะไรที่มีก็น่าจะหายไปตอนย้ายบ้าน
      - ตอนนี้พ่ออาศัยอยู่กับญาติแต่ญาติไม่ให้เอาชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
      - ตัวผมย้ายมาอยู่กับแม่ที่อีกเขตนึง ตอนนี้น่าจะ3ปีแล้ว ชื่ออยู่ทะเบียนบ้านแม่
3. ตอนนี้อายุ20 จะผ่อนผันเพราะจำได้ว่าเกณฑ์ทหารมัน21เลยจะไปทำเรื่องที่เขตแต่ก็อย่างที่บอกคือ จำไม่ได้ว่าขึ้นไปรึยัง
4. ทีนี้คุยกับพ่อ พ่อจำไม่ได้เหมือนกัน เลยคุยกับสัสดีต่อว่าจะขอขึ้นทะเบียนทหารที่นี่ใหม่เลย แต่ไม่ได้เพราะชื่อพ่ออยู่ทะเบียนกลาง(เขาหมายถึงมันมีแต่ชื่อไม่มีบ้านลงอะไรซักอย่าง) ทำให้ไม่สามารถขึ้นได้ และต้องใช้เอกสารตัวจริงหมด

คำถามคือ
ผมต้องไปติดต่อกับสัสดีเขตทวีเพื่อไปตรวจสอบชื่อใช่มั้ย
ตรวจสุขภาพหาโรคประจำตัวราคาเท่าไหร่ แล้วใบรับรองแพทย์นี้ใช้ได้ภายในกี่เดือนอะครับ
เอกสารที่ใช้พวกสด.ต่างๆมันมีอะไรบ้าง จำได้ว่ามี 8 9 35 อะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียน สมาชิกหมายเลข 855984

ขออนุญาตตอบคำถามเป็นข้อ ๆ นะครับ

ข้อที่ 1 แนะนำให้คุณไปตรวจสอบรายชื่อกับสัสดีว่ามีการขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้วหรือยัง
- ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนแล้ว ให้เตรียมไปรับหมายเกณฑ์เมื่อมีอายุย่างเข้า 21 (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) ในปี พ.ศ.นั้น โดยไปรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ยื่นเพียงใบสำคัญ (แบบ สด.9) อย่างเดียวเพื่อให้เจ้าหน้าที่สัสดีค้นหาชื่อ ถ้าหากค้นหาชื่อเจอแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้คุณเซ็นชื่อในต้นขั้วหมายเรียก และให้หมายเรียกใบสำคัญ (แบบ สด.35) เมื่อได้หมายเรียกแล้ว ก็ลองอ่านดูทั้งด้านหน้าและหลัง  ถ้าเห็นว่า เขียนชื่อ นามสกุล ชื่อพ่อ ชื่อแม่ บ้านเลขที่ผิด  ก็บอกให้สัสดีแก้ไขให้  และที่สำคัญต้องจดจำวันเกณฑ์ทหาร และ สถานที่ไว้ให้ได้

- ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ก็สามารถแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินได้ โดยจะมีการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 300 บาท และทางเจ้าหน้าที่อาจมีการเรียกเก็บในส่วนของค่าธรรมเนียมเอกสาร สด.9 ประมาณ 20 บาท
เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐาน

ข้อที่ 2 : ถ้าสงสัยว่าตนเอง อาจมีโรคหรืออาการที่ขัดต่อการเข้ารับราชการทหาร สามารถเข้าเข้ารับการตรวจโรค ได้ที่โรงพยาบาลทหารสังกัดกองทัพบก 20 แห่ง  โดยไม่จำกัดภูมิลำเนาทหาร
เอกสารและหลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
- หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.35)
ระยะเวลาเปิดให้บริการ: เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 12:00 น.)
ไม่เสียค่าธรรมเนียม (ยกเว้นกรณีที่ต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม)
กำหนดช่วงการตรวจ : ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 20 กุมภาพันธ์ ของปีที่เกณฑ์ทหาร

ตอบขัอที่ 3 เอกสารทางทหารที่เกี่ยวข้อง
สด.9 = ใบสำคัญทหารกองเกิน ได้ตอนที่ขึ้นทะเบียนทหารกองเกณฑ์
สด.35 = หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ได้ตอนที่ไปรับหมายเรียก
สด.8 = หนังสือสำคัญของสมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ 1 จะได้กรณีที่เรียนหลักสูตร รด.
สด.43 = ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกอง ประจำการ(ใบผ่านเกณฑ์)

Bunyakiat
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่