ประจักษ์พยานโลกร้อน!!! คุกคามญี่ปุ่น!!! ทั้งพายุ!!! น้ำท่วม!!! ลูกเห็บตก!!! ร้อนจัด!!!

ประจักษ์พยานโลกร้อน!!! คุกคามญี่ปุ่น!!! ทั้งพายุ!!! น้ำท่วม!!! ลูกเห็บตก!!! ร้อนจัด!!!

25 กรกฎาคม 2560 - โดย MGR Online

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ






ญี่ปุ่นเผชิญผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน
โดยในปีนี้ญี่ปุ่นพบกับภัยพิบัติสารพัดอย่างทั้งฝนตกหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี
น้ำท่วม ไปจนถึงอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเวลาเดียวกัน

เพียงแค่ย่างเข้าฤดูร้อนในปีนี้ ภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ผิดปกติ
ทั้งพายุฝนที่ให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่มที่เกาะคิวชู ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 34 คน
ฝนตกหนักที่จังหวัดอะคิตะ จนทางการท้องถิ่นต้องสั่งอพยพประชาชนกว่า 26,000
ขณะที่ในกรุงโตเกียวกลับมีลูกเห็บตกกลางฤดูร้อน
ส่วนภูมิภาคคันไซต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนทะลุปรอท

ในรอบไม่กี่ปีมานี้ ญี่ปุ่นเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นมากกว่าที่เคยมา แค่ช่วงต้นฤดูกาลในปีนี้ก็มีพายุไต้ฝุ่น 3-4 ลูก
ที่ก่อตัวจะพัดเข้าสู่ญี่ปุ่น ขณะที่ปริมาณฝนตกหนักมากที่สุดในรอบ 30-40 ปี
โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าฝนที่ตกมากกว่า 50 มม.ต่อชั่วโมง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า
“ฝนตกเหมือนน้ำตก” พบได้ถี่ขึ้นอย่างชัดเจน ฝนที่ตกกระหน่ำเช่นนี้ไม่เพียงสามารถ
ทำให้ต้นไม้บนภูเขาถูกซัดถอนรากถอนโคนและลอยเข้าซัดบ้านเรือน
ชาวบ้านเสียหายเท่านั้น แต่ในเมืองใหญ่ที่มีระบบระบายน้ำอย่างดีก็ยังเกินจะรับมือจนเกิดน้ำท่วมขึ้น

ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเกาะรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจนที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น
โดยน้ำทะเลรอบเกาะญี่ปุ่นทุกวันนี้สูงถึง 27-30 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมได้มากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญยังประเมินว่า ในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ยของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นราว 4.5 องศา
และโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่เพิ่มขึ้น 2เท่าตัว โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศา
จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดฝนตกหนักเพิ่มขึ้น 4-13%

ชาวญี่ปุ่นเคยภาคภูมิใจว่า แดนอาทิตย์อุทัยมีภูมิอากาศที่ดีที่สุด คือมี 4 ฤดูกาล
ที่แบ่งชัดเจน แต่ทุกวันนี้ภาวะโลกร้อยทำให้ฤดูกาลของญี่ปุ่นปั่นป่วน เกิดภัยพิบัติบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงที่เห็นได้กับตา สัมผัสได้จากประสบการณ์จริง
โดยญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด และทุกประเทศก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเฉกเช่นเดียวกัน.

http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075367
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่