เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่า"ช็อป"เป็นเครื่องแบบนักศึกษาของนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเสื้อช็อปสำหรับนิสิตวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีความหมายต่อตัวนิสิตที่มากกว่าการเป็นแค่เสื้อหรือเครื่องแบบ บางคนฝ่าฟันกันมาตั้งแต่ข้อสอบของโรงเรียนเพื่อให้ได้เกรดสูงๆ จะได้มีสิทธิสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ บางคนสอบเข้ามาแล้วก็ยังไม่ได้ใส่ช็อปเพราะต้องรอให้ถึงวันปลดไทค์ใส่ช็อป บางคนต้องรอช็อปจากรุ่นพี่ บางคนต้องผ่านการเป็นพี่เลี้ยงน้องเข้าใหม่ก่อนถึงจะได้ใส่ และอีกหลายๆ คนก็ได้ใส่เอาตอนปี 2 ปี 3
"เสื้อช็อป" มีไว้ทำไม? จุดประสงค์ที่แท้จริงของการมีเสื้อช็อปคืออะไร? แล้วใครจะสวมใส่ได้บ้าง?
ครั้งหนึ่งเราเคยมีโอกาสได้ทราบจากรุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่งว่า "สำหรับพี่ เสื้อช็อปเป็นผ้ากันเปื้อนที่มีคุณค่าและมีความหมาย เป็นเสื้อที่ช่วยให้เราปฎิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและคล่องแคล่ว" ตั้งแต่นั้นมา มุมมองของเราก็เปลี่ยนไป เราไม่ได้มองเสื้อช็อปว่าเป็นเครื่องแบบที่ใส่แล้วเท่ห์อย่างแต่ก่อน แต่เรามองไปถึงความหมายที่พี่เคยบอกไว้ รอยยิ้มภาคภูมิใจขณะที่พี่พูดถึงช็อป ความพยายามที่แต่ละคนทุ่มเทมา เรารู้แล้วว่าสำหรับเรา "เสื้อช็อปไม่ใช่แค่เครื่องแบบที่ใส่แล้วเท่ห์ แต่เป็นเครื่องแบบที่เราภาคภูมิใจที่ได้พยายามมาจนถึงจุดนี้"
แต่ในช่วงหลังๆ มานี้ นิสิตอีกหลายๆ คณะก็จะมีเสื้อช็อปใส่เช่นเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างก็จะแยกกันที่ "สีของเสื้อช็อป" , "ตัวย่อคณะที่ปัก" , "ตรามหาลัย" เป็นต้น
แล้วถ้านักเรียนมัธยมปลายที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ใส่ช็อป?? จะแยกนักเรียนมัธยมกับนิสิตมหาลัยยังไงดีคะ
ความเข้าใจพื้นฐานของเรา คือชุดนักเรียน-นักศึกษา มีไว้เพื่อไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำในสังคมของการศึกษาแล้วแบบนี้ น้องๆ มัธยมที่ยังต้องใส่ชุดนักเรียนม.ปลาย กับน้องๆ มัธยมปลายที่ใส่ช็อป จะไม่เกิดความรู้สึก"ไม่เท่าเทียม"กันหรอคะ?
ขนาดนักเรียนห้องเรียนโปรแกรมปกติกับห้องเรียนโครงการพิเศษที่ใส่ชุดนักเรียนเหมือนกัน ยังมีความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันเลย (ประสบการณ์ส่วนตัว คนอื่นๆอาจจะไม่คิดอย่างเรา) ซึ่งมันไม่ได้มีใครผิด เพราะแต่ละคนล้วนมีสมองไม่เท่ากัน ถนัดต่างกัน ทุน
ทรัพย์ต่างกัน และอีกหลายๆ อย่างที่ต่างกัน แต่มันก็ยังดีที่ชุดนักเรียนเรายังเหมือนกัน ยังปักตราโรงเรียนเดียวกัน
เราอาจจะอายุน้อยเกินไปที่จะหาเหตุผลและคำตอบให้กับคำถามนี้ เราเลยอยากขอ
ความคิดเห็นจากหลายๆ คนเพื่อหาข้อสรุปให้กับความคิดและความเข้าใจของตัวเราเอง
ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อยู่ที่แต่ละคนว่าจะยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นได้มากน้อยแค่ไหน วอนขอ ***อย่าว่า อย่าด่า อย่าดูถูก ความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะโลกใบนี้ไม่ได้มีใครดีไปกว่าใคร ทุกคนล้วนมีสิ่งดีที่แตกต่างกัน***
ขอบคุณค่ะ
ปล.เรื่องเล็กน้อยที่ปล่อยไป อาจจะกลับมาเป็นปัญหาได้ในอนาคต
คิดอย่างไร? ถ้าน้องๆ มัธยมปลายสามารถใส่ช็อปเป็นเครื่องแบบนักเรียนได้ เหมือนกับพี่ๆ ระดับมหาลัย
"เสื้อช็อป" มีไว้ทำไม? จุดประสงค์ที่แท้จริงของการมีเสื้อช็อปคืออะไร? แล้วใครจะสวมใส่ได้บ้าง?
ครั้งหนึ่งเราเคยมีโอกาสได้ทราบจากรุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่งว่า "สำหรับพี่ เสื้อช็อปเป็นผ้ากันเปื้อนที่มีคุณค่าและมีความหมาย เป็นเสื้อที่ช่วยให้เราปฎิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและคล่องแคล่ว" ตั้งแต่นั้นมา มุมมองของเราก็เปลี่ยนไป เราไม่ได้มองเสื้อช็อปว่าเป็นเครื่องแบบที่ใส่แล้วเท่ห์อย่างแต่ก่อน แต่เรามองไปถึงความหมายที่พี่เคยบอกไว้ รอยยิ้มภาคภูมิใจขณะที่พี่พูดถึงช็อป ความพยายามที่แต่ละคนทุ่มเทมา เรารู้แล้วว่าสำหรับเรา "เสื้อช็อปไม่ใช่แค่เครื่องแบบที่ใส่แล้วเท่ห์ แต่เป็นเครื่องแบบที่เราภาคภูมิใจที่ได้พยายามมาจนถึงจุดนี้"
แต่ในช่วงหลังๆ มานี้ นิสิตอีกหลายๆ คณะก็จะมีเสื้อช็อปใส่เช่นเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างก็จะแยกกันที่ "สีของเสื้อช็อป" , "ตัวย่อคณะที่ปัก" , "ตรามหาลัย" เป็นต้น
แล้วถ้านักเรียนมัธยมปลายที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ใส่ช็อป?? จะแยกนักเรียนมัธยมกับนิสิตมหาลัยยังไงดีคะ
ความเข้าใจพื้นฐานของเรา คือชุดนักเรียน-นักศึกษา มีไว้เพื่อไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำในสังคมของการศึกษาแล้วแบบนี้ น้องๆ มัธยมที่ยังต้องใส่ชุดนักเรียนม.ปลาย กับน้องๆ มัธยมปลายที่ใส่ช็อป จะไม่เกิดความรู้สึก"ไม่เท่าเทียม"กันหรอคะ?
ขนาดนักเรียนห้องเรียนโปรแกรมปกติกับห้องเรียนโครงการพิเศษที่ใส่ชุดนักเรียนเหมือนกัน ยังมีความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันเลย (ประสบการณ์ส่วนตัว คนอื่นๆอาจจะไม่คิดอย่างเรา) ซึ่งมันไม่ได้มีใครผิด เพราะแต่ละคนล้วนมีสมองไม่เท่ากัน ถนัดต่างกัน ทุน
ทรัพย์ต่างกัน และอีกหลายๆ อย่างที่ต่างกัน แต่มันก็ยังดีที่ชุดนักเรียนเรายังเหมือนกัน ยังปักตราโรงเรียนเดียวกัน
เราอาจจะอายุน้อยเกินไปที่จะหาเหตุผลและคำตอบให้กับคำถามนี้ เราเลยอยากขอความคิดเห็นจากหลายๆ คนเพื่อหาข้อสรุปให้กับความคิดและความเข้าใจของตัวเราเอง
ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อยู่ที่แต่ละคนว่าจะยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นได้มากน้อยแค่ไหน วอนขอ ***อย่าว่า อย่าด่า อย่าดูถูก ความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะโลกใบนี้ไม่ได้มีใครดีไปกว่าใคร ทุกคนล้วนมีสิ่งดีที่แตกต่างกัน***
ขอบคุณค่ะ
ปล.เรื่องเล็กน้อยที่ปล่อยไป อาจจะกลับมาเป็นปัญหาได้ในอนาคต