
เปิดขุมทรัพย์พลังงานทดแทน 10 บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ครองมาร์เก็ตแคป 240,000 ล้านบาท "ซุปเปอร์ บล๊อก" รายเดียวกวาดโรงไฟฟ้าโซลาร์สูงสุด 700 MW โบรกฯชี้อนาคตหุ้นกลุ่มนี้สดใส ขณะที่รัฐบาลพร้อมที่จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนในสัดส่วนเพิ่มอีก 40% ตอบสนองความพร้อมภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนในพลังงานสะอาดต่อเนื่อง
ขุมทรัพย์พลังงานทดแทน 19,634 เมะวัตต์ (MW) ที่ 3 การไฟฟ้าพร้อมที่จะรับซื้อไฟจากภาคเอกชนที่ลงทุนไปแล้วกว่า 250,000 ล้านบาท ปรากฏโรงไฟฟ้าชีวมวลครองแชมป์การลงทุนสูงสุดที่ประมาณ 250,000 ล้านบาท รองลงมาคือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไบโอก๊าซและโรงไฟฟ้าขยะ ตามลำดับ จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุสถานะการรับซื้อไฟฟ้าล่าสุดที่ผลิตเข้าระบบและมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) รวม 9,265 MW โดยผู้ผลิตไฟฟ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แทบทั้งสิ้นและครองมาร์เก็ตแคปถึง 240,000 ล้านบาทอยู่ในปัจจุบัน
ซุปเปอร์ บล๊อก ผงาดโซลาร์
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รวบรวมกำลังผลิตจากทั้งผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่า 1) การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทซุปเปอร์ บล็อก จำกัด (มหาชน) รวม 700 MW ซึ่งเดิมที บริษัทซุปเปอร์ บล๊อก ทำธุรกิจผลิตแผ่นพื้นและผนังคอนกรีต หลังจากนั้นได้หันมาลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ทั้งในและต่างประเทศ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัทสุวินทวงส์ โกลด์ แอสเซ็ท จำกัด ร้อยละ 20.5 และนายประเดช กิตติอิสรานนท์ ร้อยละ 10.3 ขณะที่บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ตามมาเป็นอันดับสอง กำลังผลิตรวม 270 MW และอันดับสาม บริษัทเอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) รวม 190 MW
2) การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทมิตรผลไบโอ-เพาเวอร์ รวม 170 MW รองลงมาได้แก่ บริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ รวม 125 MW และบริษัทในเครือน้ำตาลขอนแก่น รวม 92 MW 3) การไฟฟ้าจากขยะ มีเอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่งคือ บริษัททีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) รวม 73 MW อันดับที่สอง บริษัทซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) กำลังผลิต 9.8 MW ส่วนบริษัทอื่น ๆ เป็นโรงขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตไม่ถึง 5 MW
3) การผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซ เอกชนที่มีกำลังผลิตมากที่สุดอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) รวม 4.5 MW ส่วนรายอื่น ๆ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตเพียง 1-2 MW เท่านั้น 4) การผลิตไฟฟ้าจากลม เอกชนที่มีกำลังผลิตสูงสุด ได้แก่ บริษัทวินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 180 MW แต่ยังไม่มีการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ
มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัทเคพีเอ็น เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร้อยละ 59 อันดับสอง บริษัทเฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด กำลังผลิต 90 MW และอันดับสาม บริษัทเขาค้อ วินด์ เพาเวอร์ จำกัด กำลังผลิต 60 MW อย่างไรก็ตาม ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2557-2560) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังไม่มีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มเติม แม้ว่าภาคเอกชนจะมีความพร้อมที่จะลงทุนก็ตาม
ตั้งเป้าพลังงานทดแทน 40%
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายด้านพลังงานทดแทนปัจจุบันกำหนดไว้ใน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกว่า จะต้องมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน คือพลังงานแสงอาทิตย์-ขยะ-ลม-ชีวมวล และไบโอก๊าซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 หรือจำนวน 19,648 MW ซึ่งในปัจจุบันกำลังผลิตที่ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบและมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA แล้วถึงร้อยละ 50 แต่ในอนาคตอาจจะดำเนินการ "ปรับเพิ่ม" กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 40 ตามนโยบายของรัฐบาล "ก็สามารถดำเนินการได้" ด้วยเหตุผลที่ว่า ภาครัฐมีเครื่องมือในการบริหารจัดการที่ดี ต้นทุนเทคโนโลยีลดลงต่อเนื่อง ศักยภาพด้านเชื้อเพลิงในประเทศค่อนข้างสูง และภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะลงทุน
โดยเงื่อนไขสำหรับการรับซื้อไฟฟ้าต่อจากนี้จะเน้นไปที่ 1) พลังงานที่ใช้วัตถุดิบที่เหลือจากภาคเกษตรเป็นเชื้อเพลิง 2) เจ้าของโรงไฟฟ้าจะต้องปลูกพืชพลังงานเอง และ 3) โรงไฟฟ้าจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าและมีสายส่งรองรับ เพื่อลดการลงทุนด้านสายส่งที่มากเกินความจำเป็น
"จะมีการโฟกัสเป็นรายภาคเลยว่าควรมีพลังงานทดแทนประเภทใด เราจะไม่ปล่อยให้ต่างคนต่างทำเหมือนในอดีต และส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น แย่งวัตถุดิบ สายส่งไม่พอ จากนี้จะดูกันตั้งแต่ต้นทางว่าแต่ละพื้นที่ควรพัฒนาพลังงานอะไร นอกจากจะได้ไฟฟ้ามารองรับการใช้แล้ว ยังทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรมีราคามากขึ้น และเกษตรได้ประโยชน์" นายอารีพงศ์กล่าว
10 บจ.มาร์เก็ตแคป 2.4 แสน ล.
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่าบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนเพียงอย่างเดียวมีราว 10 บริษัท ได้แก่ บมจ.บีซีพีจี (BCPG), บมจ.เด็มโก้ (DEMCO), บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA), บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL), บมจ. อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC), บมจ.เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี (PSTC), บมจ.เอสพีซีจี (SPCG), บมจ.ซุปเปอร์ บล๊อก (SUPER), บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์โฮลดิ้ง (TPCH) และ บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี (TSE) คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) รวมประมาณถึง 244,489 ล้านบาท
โดยนางลลินรัตน์ กิตติกำพลรัตน์ ผู้อำนวยการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส กล่าวว่า ทิศทางผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนในปัจจุบันค่อนข้างจะหลากหลาย เนื่องจากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเปิดประมูลสัญญาขายไฟไม่ค่อยมาก ส่งผลให้บริษัทที่ไม่มีโครงการในมือต้องรอลุ้นการประมูลรอบใหม่ ๆ ซึ่งกว่าจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างและเดินเครื่องโรงไฟฟ้าก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน-1 ปี สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก แต่สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่คาดว่าจะใช้เวลามากกว่าหรือราว 1 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนที่ฝ่ายวิจัยของ บล.เอเซีย พลัส ทำบทวิเคราะห์มี 2 แห่ง ได้แก่ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) กับ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ซึ่งถือว่ามีทิศทางการเติบโตของผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีโครงการที่อยู่ในมือแล้วค่อนข้างมาก และเป็นตัวหลักของธุรกิจพลังงานทดแทนในตลาดหุ้น มีมูลค่ามาร์เก็ตแคปรวมกันกว่า 130,659 ล้านบาท
โดยประเมินว่า ปีนี้ GUNKUL จะมีกำไรเติบโตกว่า 40% จากปีก่อนหรือคิดเป็นมูลค่าเฉียด 1,000 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้ EA จะมีกำไรเติบโตแตะระดับ 4,430 ล้านบาทจากปีก่อนที่ทำได้ 3,252 ล้านบาท
วรรณฯ ชี้พลังงานทดแทนสดใส
นายพจน์ หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้คาดการณ์โอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกมีความน่าสนใจลงทุน เนื่องจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐในการให้ใบอนุญาต คาดว่าภายในปีนี้จะเปิดประมูลใบอนุญาตอีกกว่า 1,000 MW และน่าจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่มเติมด้วย
ส่วนแนวโน้มหลักทรัพย์กลุ่มโรงไฟฟ้ายังเติบโตตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2559-2568) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี ขณะที่จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015) ความต้องการพลังงานของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในช่วง 20 ปีข้างหน้า (2558-2578) โดยอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจาก 29.1 กิโลวัตต์ เป็น 49.7 กิโลวัตต์ ส่วนอุปทานจะเพิ่มขึ้นจาก 37.6 กิโลวัตต์ เป็น 70.3 กิโลวัตต์ และสัดส่วนโครงสร้างแหล่งพลังงานในส่วนของพลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้นเป็น 21% จากเดิมที่ 14%
อีกทั้งผลประกอบการของหุ้นโรงไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปี 2559-2561 อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้ประมาณ 16.7% ต่อปี ขณะที่กลุ่มกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของโรงไฟฟ้าแบบเดิม (Conventional) มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยที่ 13.6% และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (Renewable) เติบโตเฉลี่ยที่ 52.5% ต่อปี
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาอาจมีบางคนนำพลังงานทดแทนไปสร้างสตอรี่ "ปั่นหุ้น" เนื่องจากช่วงแรก ๆ ธุรกิจกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จสูงพราะคู่แข่งน้อยมาก แต่ต่อมาเมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น ประกอบกับแรงจูงใจของรัฐบาลที่เริ่มลดลง รวมถึงมีผู้ประท้วงการตั้งโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจโยกการลงทุนไปญี่ปุ่นและลาวมากขึ้น
ที่มาแหล่งข่าว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490505328
"หุ้นพลังงานทดแทน"ฝุ่นตลบ! มาร์เก็ตแคป 2 แสนล้าน เล็งผลิตไฟเพิ่ม 40%
เปิดขุมทรัพย์พลังงานทดแทน 10 บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ครองมาร์เก็ตแคป 240,000 ล้านบาท "ซุปเปอร์ บล๊อก" รายเดียวกวาดโรงไฟฟ้าโซลาร์สูงสุด 700 MW โบรกฯชี้อนาคตหุ้นกลุ่มนี้สดใส ขณะที่รัฐบาลพร้อมที่จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนในสัดส่วนเพิ่มอีก 40% ตอบสนองความพร้อมภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนในพลังงานสะอาดต่อเนื่อง
ขุมทรัพย์พลังงานทดแทน 19,634 เมะวัตต์ (MW) ที่ 3 การไฟฟ้าพร้อมที่จะรับซื้อไฟจากภาคเอกชนที่ลงทุนไปแล้วกว่า 250,000 ล้านบาท ปรากฏโรงไฟฟ้าชีวมวลครองแชมป์การลงทุนสูงสุดที่ประมาณ 250,000 ล้านบาท รองลงมาคือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไบโอก๊าซและโรงไฟฟ้าขยะ ตามลำดับ จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุสถานะการรับซื้อไฟฟ้าล่าสุดที่ผลิตเข้าระบบและมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) รวม 9,265 MW โดยผู้ผลิตไฟฟ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แทบทั้งสิ้นและครองมาร์เก็ตแคปถึง 240,000 ล้านบาทอยู่ในปัจจุบัน
ซุปเปอร์ บล๊อก ผงาดโซลาร์
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รวบรวมกำลังผลิตจากทั้งผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่า 1) การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทซุปเปอร์ บล็อก จำกัด (มหาชน) รวม 700 MW ซึ่งเดิมที บริษัทซุปเปอร์ บล๊อก ทำธุรกิจผลิตแผ่นพื้นและผนังคอนกรีต หลังจากนั้นได้หันมาลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ทั้งในและต่างประเทศ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัทสุวินทวงส์ โกลด์ แอสเซ็ท จำกัด ร้อยละ 20.5 และนายประเดช กิตติอิสรานนท์ ร้อยละ 10.3 ขณะที่บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ตามมาเป็นอันดับสอง กำลังผลิตรวม 270 MW และอันดับสาม บริษัทเอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) รวม 190 MW
2) การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทมิตรผลไบโอ-เพาเวอร์ รวม 170 MW รองลงมาได้แก่ บริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ รวม 125 MW และบริษัทในเครือน้ำตาลขอนแก่น รวม 92 MW 3) การไฟฟ้าจากขยะ มีเอกชนที่มีกำลังผลิตมาเป็นอันดับหนึ่งคือ บริษัททีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) รวม 73 MW อันดับที่สอง บริษัทซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) กำลังผลิต 9.8 MW ส่วนบริษัทอื่น ๆ เป็นโรงขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตไม่ถึง 5 MW
3) การผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าซ เอกชนที่มีกำลังผลิตมากที่สุดอันดับหนึ่ง ได้แก่ บริษัทยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) รวม 4.5 MW ส่วนรายอื่น ๆ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตเพียง 1-2 MW เท่านั้น 4) การผลิตไฟฟ้าจากลม เอกชนที่มีกำลังผลิตสูงสุด ได้แก่ บริษัทวินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 180 MW แต่ยังไม่มีการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ
มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัทเคพีเอ็น เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร้อยละ 59 อันดับสอง บริษัทเฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด กำลังผลิต 90 MW และอันดับสาม บริษัทเขาค้อ วินด์ เพาเวอร์ จำกัด กำลังผลิต 60 MW อย่างไรก็ตาม ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2557-2560) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังไม่มีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มเติม แม้ว่าภาคเอกชนจะมีความพร้อมที่จะลงทุนก็ตาม
ตั้งเป้าพลังงานทดแทน 40%
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายด้านพลังงานทดแทนปัจจุบันกำหนดไว้ใน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกว่า จะต้องมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน คือพลังงานแสงอาทิตย์-ขยะ-ลม-ชีวมวล และไบโอก๊าซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 หรือจำนวน 19,648 MW ซึ่งในปัจจุบันกำลังผลิตที่ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบและมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA แล้วถึงร้อยละ 50 แต่ในอนาคตอาจจะดำเนินการ "ปรับเพิ่ม" กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 40 ตามนโยบายของรัฐบาล "ก็สามารถดำเนินการได้" ด้วยเหตุผลที่ว่า ภาครัฐมีเครื่องมือในการบริหารจัดการที่ดี ต้นทุนเทคโนโลยีลดลงต่อเนื่อง ศักยภาพด้านเชื้อเพลิงในประเทศค่อนข้างสูง และภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะลงทุน
โดยเงื่อนไขสำหรับการรับซื้อไฟฟ้าต่อจากนี้จะเน้นไปที่ 1) พลังงานที่ใช้วัตถุดิบที่เหลือจากภาคเกษตรเป็นเชื้อเพลิง 2) เจ้าของโรงไฟฟ้าจะต้องปลูกพืชพลังงานเอง และ 3) โรงไฟฟ้าจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าและมีสายส่งรองรับ เพื่อลดการลงทุนด้านสายส่งที่มากเกินความจำเป็น
"จะมีการโฟกัสเป็นรายภาคเลยว่าควรมีพลังงานทดแทนประเภทใด เราจะไม่ปล่อยให้ต่างคนต่างทำเหมือนในอดีต และส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น แย่งวัตถุดิบ สายส่งไม่พอ จากนี้จะดูกันตั้งแต่ต้นทางว่าแต่ละพื้นที่ควรพัฒนาพลังงานอะไร นอกจากจะได้ไฟฟ้ามารองรับการใช้แล้ว ยังทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรมีราคามากขึ้น และเกษตรได้ประโยชน์" นายอารีพงศ์กล่าว
10 บจ.มาร์เก็ตแคป 2.4 แสน ล.
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่าบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนเพียงอย่างเดียวมีราว 10 บริษัท ได้แก่ บมจ.บีซีพีจี (BCPG), บมจ.เด็มโก้ (DEMCO), บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA), บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL), บมจ. อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC), บมจ.เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี (PSTC), บมจ.เอสพีซีจี (SPCG), บมจ.ซุปเปอร์ บล๊อก (SUPER), บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์โฮลดิ้ง (TPCH) และ บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี (TSE) คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) รวมประมาณถึง 244,489 ล้านบาท
โดยนางลลินรัตน์ กิตติกำพลรัตน์ ผู้อำนวยการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส กล่าวว่า ทิศทางผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนในปัจจุบันค่อนข้างจะหลากหลาย เนื่องจากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเปิดประมูลสัญญาขายไฟไม่ค่อยมาก ส่งผลให้บริษัทที่ไม่มีโครงการในมือต้องรอลุ้นการประมูลรอบใหม่ ๆ ซึ่งกว่าจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างและเดินเครื่องโรงไฟฟ้าก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน-1 ปี สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก แต่สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่คาดว่าจะใช้เวลามากกว่าหรือราว 1 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนที่ฝ่ายวิจัยของ บล.เอเซีย พลัส ทำบทวิเคราะห์มี 2 แห่ง ได้แก่ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) กับ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ซึ่งถือว่ามีทิศทางการเติบโตของผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีโครงการที่อยู่ในมือแล้วค่อนข้างมาก และเป็นตัวหลักของธุรกิจพลังงานทดแทนในตลาดหุ้น มีมูลค่ามาร์เก็ตแคปรวมกันกว่า 130,659 ล้านบาท
โดยประเมินว่า ปีนี้ GUNKUL จะมีกำไรเติบโตกว่า 40% จากปีก่อนหรือคิดเป็นมูลค่าเฉียด 1,000 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้ EA จะมีกำไรเติบโตแตะระดับ 4,430 ล้านบาทจากปีก่อนที่ทำได้ 3,252 ล้านบาท
วรรณฯ ชี้พลังงานทดแทนสดใส
นายพจน์ หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้คาดการณ์โอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกมีความน่าสนใจลงทุน เนื่องจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐในการให้ใบอนุญาต คาดว่าภายในปีนี้จะเปิดประมูลใบอนุญาตอีกกว่า 1,000 MW และน่าจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่มเติมด้วย
ส่วนแนวโน้มหลักทรัพย์กลุ่มโรงไฟฟ้ายังเติบโตตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2559-2568) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี ขณะที่จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015) ความต้องการพลังงานของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในช่วง 20 ปีข้างหน้า (2558-2578) โดยอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจาก 29.1 กิโลวัตต์ เป็น 49.7 กิโลวัตต์ ส่วนอุปทานจะเพิ่มขึ้นจาก 37.6 กิโลวัตต์ เป็น 70.3 กิโลวัตต์ และสัดส่วนโครงสร้างแหล่งพลังงานในส่วนของพลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้นเป็น 21% จากเดิมที่ 14%
อีกทั้งผลประกอบการของหุ้นโรงไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปี 2559-2561 อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้ประมาณ 16.7% ต่อปี ขณะที่กลุ่มกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของโรงไฟฟ้าแบบเดิม (Conventional) มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยที่ 13.6% และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (Renewable) เติบโตเฉลี่ยที่ 52.5% ต่อปี
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาอาจมีบางคนนำพลังงานทดแทนไปสร้างสตอรี่ "ปั่นหุ้น" เนื่องจากช่วงแรก ๆ ธุรกิจกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จสูงพราะคู่แข่งน้อยมาก แต่ต่อมาเมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น ประกอบกับแรงจูงใจของรัฐบาลที่เริ่มลดลง รวมถึงมีผู้ประท้วงการตั้งโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจโยกการลงทุนไปญี่ปุ่นและลาวมากขึ้น
ที่มาแหล่งข่าว http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490505328