ภิกษุ ! สำหรับปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้
ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้เลย ; อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :-
“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม
ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ในที่ไหน ? นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้ต่างหาก.
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :-
“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,
นั้นมีอยู่ ; ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ ;
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทสืบไปของวิญญาณ ; ดังนี้แล.
- สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.
“? ทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย, ? เพราะความดับแห่งวิญญาณ ความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี. ? เพราะรู้โทษนั่นแห่ง
วิญญาณว่า ทุกข์มีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย,
ภิกษุจึงหมด
สิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ เพราะความ
เข้าไปสงบรำงับแห่งวิญญาณ”.
ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด ; ในที่นั้นดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง ;
ในที่นั้น, ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ ; ในที่นั้น, ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง ; แต่ความมืด.@
ก็มิได้มีอยู่, ในที่นั้น.
ในกาลใด, มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ ได้รู้แจ่มแจ้ง (ในสิ่งที่กล่าวนี้) ด้วยตนเอง ด้วยความรู้ ;
ในกาลนั้น, มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป ย่อมพ้นไปจากอรูป,
ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์ โดยสิ้นเชิง, ดังนี้แล.
- อุ. ขุ. ๒๕/๘๕/๕๐.
@เป็นดวงประทีป(ทีปะ)ที่พึ่งของสัตว์ผู้ตกจมอยู่ในความมืดคืออวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป.
ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ :
นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย
เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. ...ความรู้ชัดเช่นนั้นนั่นแหละ
“? สัตว์เหล่าใด ไปสู่สังสาระแห่งชาติและมรณะร่ำไป;
ประเดี๋ยวอย่างนั้นประเดี๋ยวอย่างอื่น; ? อวิชชานั่น
แหละ เป็นคติ (เครื่องไป ) ของสัตว์เหล่านั้น.
? อวิชชานี้แลเป็นความมืดอันใหญ่หลวง คือทำให้สัตว์
ต้องท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสาร ตลอดกาลนาน.
? สัตว์เหล่าใด เป็นผู้ไปด้วยวิชชา. สัตว์เหล่านั้น
ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่”.
ความมืดคือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ.
เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่งที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น,
เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย.
ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ
ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้เลย ; อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :-
“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม
ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ในที่ไหน ? นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้ต่างหาก.
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :-
“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,
นั้นมีอยู่ ; ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ;
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ ;
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทสืบไปของวิญญาณ ; ดังนี้แล.
- สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.
“? ทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย, ? เพราะความดับแห่งวิญญาณ ความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมไม่มี. ? เพราะรู้โทษนั่นแห่ง
วิญญาณว่า ทุกข์มีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย,
ภิกษุจึงหมด
สิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ เพราะความ
เข้าไปสงบรำงับแห่งวิญญาณ”.
ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด ; ในที่นั้นดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง ;
ในที่นั้น, ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ ; ในที่นั้น, ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง ; แต่ความมืด.@
ก็มิได้มีอยู่, ในที่นั้น.
ในกาลใด, มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ ได้รู้แจ่มแจ้ง (ในสิ่งที่กล่าวนี้) ด้วยตนเอง ด้วยความรู้ ;
ในกาลนั้น, มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป ย่อมพ้นไปจากอรูป,
ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์ โดยสิ้นเชิง, ดังนี้แล.
- อุ. ขุ. ๒๕/๘๕/๕๐.
@เป็นดวงประทีป(ทีปะ)ที่พึ่งของสัตว์ผู้ตกจมอยู่ในความมืดคืออวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป.
ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ :
นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย
เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. ...ความรู้ชัดเช่นนั้นนั่นแหละ
“? สัตว์เหล่าใด ไปสู่สังสาระแห่งชาติและมรณะร่ำไป;
ประเดี๋ยวอย่างนั้นประเดี๋ยวอย่างอื่น; ? อวิชชานั่น
แหละ เป็นคติ (เครื่องไป ) ของสัตว์เหล่านั้น.
? อวิชชานี้แลเป็นความมืดอันใหญ่หลวง คือทำให้สัตว์
ต้องท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสาร ตลอดกาลนาน.
? สัตว์เหล่าใด เป็นผู้ไปด้วยวิชชา. สัตว์เหล่านั้น
ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่”.
ความมืดคือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ.
เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่งที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น,
เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย.