[CR] ปรับปรุงห้องน้ำชั้นบน ควรทำระบบกันซึมที่พื้นด้วยหรือ ?

     

     เดิมเราๆ / ท่านๆเคยเข้าใจกันว่า  >>  บ้านเดิม / อาคารเดิมได้ทำผสมน้ำยากันซึมผสมในคอนกรีตเทพื้นห้องน้ำอยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาการรั่วซึมนั้น การปรับปรุงห้องน้ำใหม่ก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์ & กระเบื้องปูพื้น / ผนังก็เพียงเท่านั้น  >>  ซึ่งหากเราสังเกตุดีๆจะพบว่าในบ้าน / อาคารเก่าๆมักจะมีปัญหาการรั่วซึมจากพื้นห้องน้ำลงมาทำความเสียหายกับเพดาน & วัสดุตกแต่งด้านล่างอยู่เสมอๆ  และมักเข้าใจกันผิดๆว่าการปูกระเบื้องแล้วยาแนวรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้องใหม่แล้ว  ก็ไม่น่าจะมีปัญหา  เพราะเมื่อไรยาแยวมีจุดบกพร่องอีกการรั่วซึมก็จะกลับมาสร้างปัญหาอีกรอบ  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

   
    

     เรามาทำความเข้าใจในเรื่อง "น้ำยากันซึมผสมในคอนกรีต (Water Proof Agent)" กันก่อน  >>  น้ำยาประเภทนี้เป็นน้ำยาประเภท Plasticizer ที่ผสมในเนื้อคอนกรีตแล้ว  ทำให้ลดการใช้น้ำในคอนกรีตน้อยลง ทำให้คอนกรีตลดฟองอากาศ (ลดรูพรุนจากการระเหยของน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตขณะที่ปูนคอนกรีตกำลังเซตตัว) ทำให้คอนกรีตเนื้อทึบ / แน่น แข็งแรงทนต่อการกัดกร่อน  เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตทุกชนิด  ตั้งแต่งานฐานราก คานเสา ดาดฟ้า เทพื้นคอนกรีต ห้องใต้ดิน อ่างเก็บน้ำ รางระบายน้ำ งานอุโมงค์ แท้งค์น้ำ สระว่ายน้ำ / บ่อปลา และงานคอนกรีตอื่นๆ ที่ต้องการกันซึม  และเพิ่มความแข็งแรง

            

      แต่มักจะเห็นว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือแม้แต่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนั้น  ยังขาดความเข้าใจในการใช้น้ำยากันซึมอยู่มาก โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การใส่น้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมคอนกรีตนั้น  คือน้ำยาวิเศษที่ช่วยให้คอนกรีต  มีความสามารถกันน้ำได้ แล้วก็มีการใช้กันอย่างผิดๆซะเป็นส่วนใหญ่ ก็เลยคิดว่าข้อความในกระทู้นี้คงจะเป็น ประโยชน์บ้างกับชาวสมาชิก pantip / ชายคา  >>  อาจจะมีเนื้อหาไปทางวิชาการบ้าง  แต่ก็จะพยายามใช้คำง่ายๆ / ชาวบ้านๆ    

     ความสามารถกันน้ำของคอนกรีตนั้น  จะเพิ่มขึ้นตามค่ากำลังหรือความแข็งแรงของคอนกรีต  ซึ่งโดยปกติแล้ว คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป (ค่ากำลังอัดมากกว่า 210 กก./ตร.ซม.ขึ้นไป / อายุคอนกรีต 28 วัน)  ถ้ามีเนื้อคอนกรีตสม่ำเสมอที่ดี  ก็จะมีความสามารถ
ป้องกันการซึมของน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว  แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีความสามารถในการกันน้ำมากขึ้น  เช่น  พื้นห้องน้ำหรือ
พื้นดาดฟ้า  ก็จะต้องใช้คอนกรีตที่มีกำลังสูงขึ้น

          ซึ่งค่ากำลังของคอนกรีตนั้น  จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต  ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับปูนซีเมนต์กับน้ำ ที่เรียกว่าค่า
Water Cement Ratio (w/c)  เช่น ปูนซีเมนต์ 1 ถุง ปกติน้ำหนัก 50 กก.  ถ้าใส่น้ำ 25 กก.(หรือ 25 ลิตร)  จะได้ค่า w/c = 50/25 = 0.5

          คอนกรีตที่มีความสามารถกันน้ำได้ดีควรจะมีค่า w/c ต่ำกว่า 0.4  หมายถึงว่า ผสมคอนกรีตโดยใช้ปูน 1 ถุงจะใส่น้ำได้ 20 กก.(หรือ 20 ลิตร)  >>  ถ้าผสมโดยใช้ส่วนผสมเช่นนี้ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา  แต่มักจะพบว่าถ้าทำการผสมคอนกรีตโดยใช้ปริมาณน้ำดังกล่าว  เมื่อใส่ทราย และหินลงไปแล้ว  คอนกรีตจะค่อนข้างข้นกว่าปกติ ซึ่งจะนำไปใช้งานหรือเทลงในแบบได้ยาก (ซึ่งจะเรียกว่ามีความสามารถเทได้ /workability ต่ำ ค่าดังกล่าวนี้นิยมวัดที่ค่าการยุบตัวของคอนกรีตที่เรียกกันว่า slump จะขอข้ามในรายละเอียดไปเพราะจะทำให้ยืดยาว)  แต่เอาเป็นว่า ถ้าคอนกรีตเหลวมาก  ก็จะมีค่า slump มากจะทำงานได้ง่าย  แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตเหลวเพิ่มขึ้น ก็ต้องใส่น้ำเพิ่มขึ้น  >>  ถ้าน้ำมากขึ้น ค่า w/c ก็จะเพิ่มขึ้น  กำลังคอนกรีตก็จะลดลง ดังนั้น น้ำยากันซึมก็จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้คือ  ทำให้คอนกรีตเหลวขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำ  เป็นการใช้ลดปริมาณน้ำลง  โดยเพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปแทน

          ซึ่งแท้ที่จริงแล้วน้ำยากันซึมก็ คือ สารลดน้ำ ในส่วนผสมคอนกรีตนั่นเอง (ซึ่งในการใช้งาน ถ้าใส่น้ำยากันซึมในส่วนผสมโดยไม่ลดปริมาณน้ำให้ได้ค่า w/c ที่ต่ำ แล้วใส่น้ำยาลงไปก็ไม่ช่วยให้กำลังสูงขึ้น เพียงแต่จะช่วยให้คอนกรีตเหลวขึ้นเท่านั้น)

          การใช้งานที่ไม่ถูกต้องนั้นมักจะพบว่า  ไม่ทำการศึกษารายละเอียดปริมาณการใช้งานให้ถูกต้องเสียก่อน (ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพจะระบุปริมาณน้ำและน้ำยาในส่วนผสมมาให้ด้วย)  ซึ่งการผสมจะต้องผสมในน้ำก่อนที่จะนำไปผสมในคอนกรีต  ถ้าหากใส่ลงไปภายหลังจากผสมคอนกรีตแล้ว และน้ำยาไม่กระจายตัวดีแล้วก็จะทำให้คอนกรีตไม่แข็งตัว

          สรุปสั้นตรงนี้ก็คือ ถ้าผสมคอนกรีตให้มีค่า w/c ต่ำกว่า 0.4 และนำไปใช้งานได้แล้ว  คอนกรีตก็จะมีประสิทธิภาพ / ความสามารถกันน้ำได้ดี แต่ . . . ถ้าคอนกรีตแห้ง / หนืดไปให้เพิ่มน้ำยากันซึมเข้าไปในส่วนผสมแทนการเพิ่มปริมาณน้ำ  >>  อย่างไรก็ตาม การใช้คอนกรีตที่มีค่า w/c ต่ำ  ก็ต้องมีการบ่มที่ดีด้วย  เพราะมักจะแตกร้าวได้ง่าย  เนื่องจากการใช้ปริมาณของปูนซีเมนต์ที่ค่อนข้างมาก (ถ้าจะกล่าวถึงอีกก็จะค่อนข้างยาวและเกี่ยวพันประเด็นอื่นอีก)

แนะนำอ่านบทความของ SCG : ร่วมด้วยช่วยกันซึมพื้นห้องน้ำ >> http://www.scgbuildingmaterials.com/th/HomeConsult/Blog/new-home/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.aspx  และ

บทความ :  ปัญหารั่วซึมจากพื้นห้องน้ำ >>  http://www.scgbuildingmaterials.com/th/HomeConsult/Blog/improve-care/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.aspx


          หวังว่ากระทู้นี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างกับผู้ที่ยังคงคิดว่า น้ำยากันซึมเป็นน้ำยาวิเศษที่ทำให้คอนกรีตป้องกันน้ำได้  แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าใช้งานไม่ถูกต้องก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินค่าน้ำยาโดยใช่เหตุ  แถมคอนกรีตยังกันน้ำซึมไม่ได้อีกด้วย

แนะนำดูประกอบ >  http://www.toagroup.com/th/product/66/185-ทีโอเอ-211-คอนกรีต-พลัส.html  และ  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hoonvi&month=12-06-2008&group=13&gblog=17
ชื่อสินค้า:   ปัญหาห้องน้ำรั่วซึม
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่