สวัสดีครับ
ก่อนอื่นขอแสดงความดีใจ (ชั่วคราว) ให้กับผู้ใช้รถกะบะและผุ้ที่มีความจำเป็นต้องใช้รถกะบะในการเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปพบกับครอบครัว คนที่รัก และเพื่อนฝูงญาติมิตร รัฐบาลยอมผ่อนปรนชั่วคราวไปจนถึงวันที่ 18 เม.ย. 60
แต่หลังจากวันที่ 18 เป็นต้นไป จะมีทิศทางใดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?
คำสั่งมาตรา44 ที่14-15/2559 ให้บังคับใช้กฎหมายด้านจราจร ด้วยใช้เหตุผลว่าแคปมีไว้แค่บรรทุกของกับเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่อีกด้านสำหรับผู้ใช้รถก็มีเหตุผลในการขอความเห็นใจจากรัฐบาลด้วยเหตุผลด้านความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจครัวเรือน วิถีชีวิต วิถีสังคมท้องถิ่น การประกอบอาชีพ ประเพณี งานบุญ ความจำเป็นสำหรับการขนส่งบุตรหลาน รวมไปถึงเจตนาในการเลือกซื้อหารถกะบะมาใช้เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งานให้กับชีวิตตนเองและครอบครัว
แม้รัฐบาลจะยอมถอยมาหนึ่งก้าวแต่เป็นเพียงก้าวสั้นๆในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้แท่านั้น ตัวผมเองกลับมองไปที่หลังสงกรานต์เสียมากกว่าเพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อผู้ใช้รถกะบะในระยะยาว เป็นเรื่องของการกลับมาใช้ชีวิตตามปดติจริงๆ ว่าการบังคับตามคำสั่งนี้จะมีผลกระทบต่อประชาชนจริงๆหากนำมาบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนและยากต่อการปฏิบัติ หรืออาจเป็นการเปิดช่องให้เกิดการจับปรับของ จนท ตำรวจได้ตลอดไปเนื่องจากกฏหมายที่ออกมาไม่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนไทยจริงๆ แม้จะมาด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยก็ตาม
หลายวันมานี้เราคงได้อ่านเหตุผลต่างๆของผู้คัดค้านการบังคับใช้นี้มาก็มากแล้วทั้ง ใน pantip เอง หรือตามโซเชียลมีเดียร์ต่างๆ ส่วนทางด้านผู้ประกาศบังคับใช้ก่อนหน้านี้ก็จะเน้นเรื่องความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักแต่ไม่ได้ขยายความอะไรได้เท่ากับเหตุผลของประชาชนผู้คัดค้าน กระทู้นี้ผมจึงขออนุญาตพุดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักบ้าง เพราะการบังคับใช้ กม. ตามมาตรา 44 รัฐบาลใช้เหตุผลด้านความปลอดภัยมาบังคับใช้ห้ามนั่งแคปและกะบะ ส่วนผมจะขอยกเอาเหตุผลความปลอดภัยที่นอกเหนือจากการห้ามนั่งแคปและกะบะท้ายมาวิเคราะห์กัน โดยที่มุ่งเน้นไปที่สมมุติฐานว่าอุบัติเหตุมันเกิดจากคนขับไม่ใช่คนนั่ง เผื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านและเป็นฟันเฟืองเล็กๆในการช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงไปได้ ไม่ใช่แค่สงกรานต์นะครับ แต่รวมถึงทุกช่วงเวลาด้วย
สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จากสถิติของกรมทางหลวง พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางหลวงมากที่สุด คือการขับรถเร็ว รองลงมาคือการขับรถระยะกระชั้นชิด กระทู้นี้ผมจึงมุ่งเน้นไปที่บุคคลผู้ขับขี่เป็นหลัก
เรามาดูสาเหตุจากบุคคลผู้ขับยวดยานพาหนะกันครับว่าแบบไหนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ จะได้หาทางแก้ไขร่วมกันทั้งรับบาลและตัวประชาชนเอง
1 มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือหลับในสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว โรคลมชัก ตาบอดสี ตาพร่า น้ำตาลในเลือดต่ำ
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาส่วนบุคคล เราควรให้ความตระหนักเป็นอย่างมากในการเข้าไปจัดการกับปัญหา เราจะควบคุมบุคคลเหล่านี้ให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะได้อย่างไร เมื่อประมาณ 2-3 ปีมานี้ผมเคยจำได้ว่าเคยเกิดเหตุผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นลมชักในขณะขับรถใรโรงเรียนและควบคุมตัวเองไม่ได้ ชนเด็กนักเรียนตายคาโรงเรียน 4 ศพ ยังไม่รวมกรณีอื่นๆที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวอีกมากมาย เช่นหลับในข้ามเลนไปประสานงากับฝั่งที่วิ่งมาตรงข้ามเป็นต้น ทั้งนี้ทุกคนต้องรู้จักตัวเองด้วยสำคัญที่สุดว่าพร้อมหรือไม่พร้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคมแค่ใน สำนึกในความปลอดภัยของคนอื่นแค่ไหน และภาครัฐมีวิธีจัดการกับปัญหานี้อย่างไรต้องมาช่วยกันครับ อาจจะนำแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจร่างกายสำหรับผู้ขับขี่ที่ส่อว่าจะมีอาการดังกล่าว หากใช้วิธีนี้จะดีหรือไม่และประโยชน์ต่อประชาชนในทางอ้อมคือช่วยแก้ปัญหาด่านลอยของตำรวจนอกรีดได้
2 มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความกลัดกลุ้มใจ วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว มีความตึงเครียดทางอารมณ์
คนจำเทือกนี้ในทางปฏิบัติอันตรายพอๆกับเมาแล้วขับ ภาครัฐเข้าไปจัดการลำบากเพราะไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามกลุ้ม ห้ามวิตก ห้ามหงุดหงิด ห้ามเครียด ฯลฯ ผมเจอมาค่อนข้างเยอะพวกโมโหผัว โมโหเมีย โมโหเพื่อนร่วมงาน โมโหเพื่อนบ้าน เจ๊งบอล เสียไพ่ แล้วขับ อันตรายพอๆกับเมาแล้วขับเพราะพวกนี้สติจะไม่อยุ่กับร่องกับรอย ร่างกายหลั่งสารอะไรก็ไม่รู้ให้บ้าคลั่งเหยียบรถเอาความเร็วความที่ได้ปลดปล่อยมากกว่าสำนึกด้านความปลอดภัย ทางป้องกันไม่ให้พวกโมโหแล้วขับทำได้ยาก นอกเสียจากเพิ่มโทษคนพวกนี้ให้หนักหากขับขี่ยานพาหนะแล้วเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
3 ขาดความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในการใช้รถใช้ถนน เช่น ขาดความรู้เรื่องความเร็วกับรถ คาดคะเนความเร็ว หรือกะระยะทางไม่ถูกต้อง ไม่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลักษณะของยวดยานที่ใช้ขับ ไม่รู้กฎจราจร เป็นต้น
พูดภาษาชาวบ้านคือพวกมือใหม่ ยังขับรถไม่ค่อยเป็น เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรดี จะห้ามมือใหม่ไม่ให้ขับก็ไม่ได้เพราะเราเองทุกคนก็ล้วนเคยเป็นมือใหม่ด้วยกันมาก่อน หามาตรการป้องกันการซื้อใบขับขี่จะดีหรือไม่ หรือเข้มงวดด้านการสอบปฏิบัติก่อนได้ใบขับขี่ให้มากและละเอียดกว่าที่เป็นอยู่ และจับปรับให้หนักสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านการสอบใบขับขี่แล้วมาขับยวดยานพาหนะบนถนนหลวง เป็นต้นครับ
4 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น ขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้ารถอื่นระยะกระชั้นชิด ขับรถล้ำช่องทางเดินรถ ขับรถแซงซ้าย หรือแซงขวาในที่คับขัน ขับรถตามหลังคนอื่นอย่างกระชั้นชิด ฝ่าฝืนป้ายหยุดขณะออกจากทางร่วม ขับรถย้อนศรทางเดินรถ ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร หยุดรถโดยกระชั้นชิด ฯลฯ
ไอ้พวกนี้แหละคือตัวแสบที่สุดในมุมมองของผม บทลงโทษตามกฎหมายเอาผิดพวกนี้น้อยเกินไปหรือไม่ หากไปเทียบกับพวกนั่งกะบะหลังที่สมัครใจเข้ามาเสี่ยงเอง แต่กับไอ้พวกนี้ไม่ได้เรียกร้องเอาความเสี่ยงตายมาจากพวกมันเลย พวกมันเอามามอบให้ถึงที่ทุกที สายมุด สายเลื้อย สายลาก สายปาดมีให้ผมเห็นทุกวัน หากรัฐบาลจะตั้งโฟกัสไปที่เรื่องการลดอุบัติเหตุ ผมสนับสนุนให้มุ่งตรงไปที่พวกนี้เลยครับเป็นอันดับแรก และตรงกับข้อมูลสถิติของกรมทางหลวงว่าพวกขับขี่แบบนี้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
5 ไม่รู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขับรถด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง ความเร่งรีบในการเดินทาง เสพยากระตุ้นประสาท ดื่มสุราขณะขับรถ ฯลฯ
คนพวกนี้ผมถือว่าเป็นภัยต่อทั้งในและนอกถนน แต่ยังดีที่โทษตามกฎหมายมีเพียงพอที่จะทำให้คนกลุ่มนี้หวาดกลัว สนับสนุนเต็มที่ให้รัฐดำเนินการจับกุมต่อไปครับ แต่อยากให้เน้นตรงพวกขับรถประมาทกับเร่งรีบในการเดินทางให้มากขึ้น ทุกวันนี้ที่เห็นเป็นส่วนมากคือเน้นเป่าแอลกอออล์เพราะมียอดเปอร์เซ็นต์ค่าปรับที่สูงและปรับส่งขึ้นศาลทันที
สาเหตุอื่นๆที่เกิดจากบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่ เช่น การข้ามถนนของผู้คนแบบไม่ระมัดระวัง การไม่ข้ามถนนตามสะพานลอย-ทางม้าลาย ไม่เดินบนทางเท้า เมาสุราแล้วเดินมาเซลงบนถนน เป็นต้น เพราะฉะนั้นทั้งภาครัฐและประชาชนจะต้องรวมมือกันในการแก้ปัญหาร่วมกันครับ เพราะเรื่องบางเรื่องกำหมายก็บังคับไม่ถึงและละเอียดเกินไปที่รัฐจะไปควบคุมได้
ปัจจุบันมีการขับไปเล่นโซเชียลไป เคสนี้น่ากลัวครับในโลกปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นที่มีการ live สดได้ สมาธิในการขับขี่จะลดลงไปตามสมาธิในการนำเสนอ ทางภาครับจะใส่ใจและแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร เพราะวัฒนธรรมการ live สดในขณะขับขี่พึ่งมีมาได้ไม่นาน และยังไม่เกิดเหตุต่อหน้าต่อตาในโลกโซเชียล หรือว่าเราจะวัวหายแล้วล้อมคอกแบบไหนกันดี ?
ส่วนสาเหตุอื่นๆที่มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุนอกเหนือจากผู้ขับขี่เช่น
สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ สภาพของรถ สภาพถนนและดินฟ้าอากาศ
1. สาเหตุจากสภาพของรถ
- ยางระเบิดหรือยางแตก ทำให้รถเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะรถที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง และถนนลื่น เบรกแตก เบรกลื่น ทำให้รถไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วลงได้ตามความต้องการ
- เพลาหลุดหรือเพลาขาด ทำให้รถหมดกำลังในการขับเคลื่อน รถจะไม่แล่น แม้ว่าจะเหยียบคันเร่งอย่างไรก็ตาม ทำให้ยากแก่การควบคุมความเร็ว และง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- คันส่งหลุด ทำให้พวงมาลัยใช้การไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมรถได้
- อุปกรณ์ประจำรถชำรุดหรือขัดข้อง เช่น ไม่มีไฟหน้า-หลัง ไฟใหญ่มีข้างเดียว หรือไม่มีเลย ไฟเลี้ยวชำรุด ไม่ได้ซ่อมแซมหรือแก้ไข พวงมาลัยสั่นขณะขับ เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เช่น การเพิ่มแรงเครื่อง ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความคะนองและขับรถเร็ว การแปลงสภาพรถตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสภาพรถที่ได้รับการออกแบบมา
2. สาเหตุจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพถนนและสภาพแสงสว่าง
- บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ทางแยก ทางโค้ง ทางตรง ทางเบี่ยงสะพาน วงเวียน ทางตัดทางรถไฟ ทางลาดชัน/เนินเขา ทางเข้าออกทางด่วน ทางเชื่อมโยงทางแยก ทางเชื่อมอาคารที่พักอาศัย ฯลฯ ซึ่งบริเวณที่มักเกิดเหตุบ่อยที่สุดคือ ทางตรง โดยสภาพเส้นที่ดีเรียบ มักทำให้ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวังและขับรถด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้จะพบว่าถนน 3 ช่องทางจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าถนน 2 ช่องทาง และถนน 4 ช่องทาง และถนนสี่แยกจะอันตรายกว่าสามแยก
- สภาพถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีโคลนตม มีเครื่องกีดขวางมากๆ หรือถนนที่แคบ ถนนที่ลื่น มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
- สภาพแสงสว่างบนถนน เช่น แสงสว่างที่ส่องจากรถคันที่สวนมาโดยการเปิดไฟสูงและมีความสว่างสูง ทำให้ตามัวมองไม่ชัดเจน หรือไม่มีไฟส่องสัญญาณทางแยก บนท้องถนนมืดไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่าง ทำให้มองไม่เห็นทาง หรือมองไกลไม่ได้ ย่อมเป็นอันตรายต่อการขับรถ อย่างไรก็ตามแสงสว่างในเวลากลางวัน หรือความสว่างของ ถนนก็มักทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเวลากลางคืน แต่ความรุนแรงจะเกิดในเวลากลางคืนมากกว่า
3. สาเหตุจากดินฟ้าอากาศ
- ฝนตกหนัก น้ำท่วม ทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นหล่มโคลน ถนนลื่น ทำให้รถตกถนน พลิกคว่ำ
- การเกิดพายุหรือหมอกลงจัด ทำให้มีควันปกคลุมมองไม่เห็นทาง เกิดอุบัติเหติได้ง่าย
- สภาพดินฟ้าอากาศที่ดี อุบัติเหตุมักเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ดีเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูง และขาดความระมัดระวังอันตราย
สาเหตุจากกฎหมาย กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้
- การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกคนทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ ในการฝ่าฝืนกฎต่างๆ ทำให้ประชาชนขาดจิตสำนักและฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งมีผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
- บทลงโทษหรือค่าปรับยังไม่เหมาะสม ทำให้มีการฝ่าฝืนกำจราจร หรือกฎระเบียบต่างๆ อยู่เสมอ
- การกวดขัน จับกุม หรือยังไม่จริงจังหรือเข้มงวดในการพิจารณาดำเนินคดีหรือจับกุม ผู้กระทำผิด เป็นสาเหตุให้ขับรถหรือใช้รถใช้ถนนอย่างเสรี ตามอำเภอใจ ซึ่งมักทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จากที่ไล่สาเหตุต่างๆของการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน สามารถที่จะหาทางออกร่วมกันได้โดยที่ไม่ต้องไปกระทบกับวิถีการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนด้วยการใช้รถกะบะเป็นพาหนะ ถึง ณ เวลานี้จึงอยากวิงวอนให้ภาครัฐเข้าใจ และร่วมหาทางออกให้กับประชาชน ไม่ใช่ถึงแค่ 18 เม.ย.60 นี้เท่านั้น แต่ตลอดไปครับ
ขอบพระคุณฐานข้อมูลประกอบการตั้งกระทู้
http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/E4-2-1.html
ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยสวัสดิภาพทั้งขาไปและขากลับครับ
The Mario 6 เม.ย. 60
หลังจบเทศกาลสงกรานต์เรื่องห้ามนั่งแคปกับกะบะหลัง รัฐบาลจะมีแนวทางหาทางออกร่วมกันกับประชาชนผู้ใช้รถกะบะอย่างไร
ก่อนอื่นขอแสดงความดีใจ (ชั่วคราว) ให้กับผู้ใช้รถกะบะและผุ้ที่มีความจำเป็นต้องใช้รถกะบะในการเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปพบกับครอบครัว คนที่รัก และเพื่อนฝูงญาติมิตร รัฐบาลยอมผ่อนปรนชั่วคราวไปจนถึงวันที่ 18 เม.ย. 60
แต่หลังจากวันที่ 18 เป็นต้นไป จะมีทิศทางใดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ?
คำสั่งมาตรา44 ที่14-15/2559 ให้บังคับใช้กฎหมายด้านจราจร ด้วยใช้เหตุผลว่าแคปมีไว้แค่บรรทุกของกับเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่อีกด้านสำหรับผู้ใช้รถก็มีเหตุผลในการขอความเห็นใจจากรัฐบาลด้วยเหตุผลด้านความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจครัวเรือน วิถีชีวิต วิถีสังคมท้องถิ่น การประกอบอาชีพ ประเพณี งานบุญ ความจำเป็นสำหรับการขนส่งบุตรหลาน รวมไปถึงเจตนาในการเลือกซื้อหารถกะบะมาใช้เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งานให้กับชีวิตตนเองและครอบครัว
แม้รัฐบาลจะยอมถอยมาหนึ่งก้าวแต่เป็นเพียงก้าวสั้นๆในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้แท่านั้น ตัวผมเองกลับมองไปที่หลังสงกรานต์เสียมากกว่าเพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อผู้ใช้รถกะบะในระยะยาว เป็นเรื่องของการกลับมาใช้ชีวิตตามปดติจริงๆ ว่าการบังคับตามคำสั่งนี้จะมีผลกระทบต่อประชาชนจริงๆหากนำมาบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนและยากต่อการปฏิบัติ หรืออาจเป็นการเปิดช่องให้เกิดการจับปรับของ จนท ตำรวจได้ตลอดไปเนื่องจากกฏหมายที่ออกมาไม่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนไทยจริงๆ แม้จะมาด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยก็ตาม
หลายวันมานี้เราคงได้อ่านเหตุผลต่างๆของผู้คัดค้านการบังคับใช้นี้มาก็มากแล้วทั้ง ใน pantip เอง หรือตามโซเชียลมีเดียร์ต่างๆ ส่วนทางด้านผู้ประกาศบังคับใช้ก่อนหน้านี้ก็จะเน้นเรื่องความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักแต่ไม่ได้ขยายความอะไรได้เท่ากับเหตุผลของประชาชนผู้คัดค้าน กระทู้นี้ผมจึงขออนุญาตพุดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักบ้าง เพราะการบังคับใช้ กม. ตามมาตรา 44 รัฐบาลใช้เหตุผลด้านความปลอดภัยมาบังคับใช้ห้ามนั่งแคปและกะบะ ส่วนผมจะขอยกเอาเหตุผลความปลอดภัยที่นอกเหนือจากการห้ามนั่งแคปและกะบะท้ายมาวิเคราะห์กัน โดยที่มุ่งเน้นไปที่สมมุติฐานว่าอุบัติเหตุมันเกิดจากคนขับไม่ใช่คนนั่ง เผื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านและเป็นฟันเฟืองเล็กๆในการช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงไปได้ ไม่ใช่แค่สงกรานต์นะครับ แต่รวมถึงทุกช่วงเวลาด้วย
สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จากสถิติของกรมทางหลวง พบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางหลวงมากที่สุด คือการขับรถเร็ว รองลงมาคือการขับรถระยะกระชั้นชิด กระทู้นี้ผมจึงมุ่งเน้นไปที่บุคคลผู้ขับขี่เป็นหลัก
เรามาดูสาเหตุจากบุคคลผู้ขับยวดยานพาหนะกันครับว่าแบบไหนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ จะได้หาทางแก้ไขร่วมกันทั้งรับบาลและตัวประชาชนเอง
1 มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือหลับในสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว โรคลมชัก ตาบอดสี ตาพร่า น้ำตาลในเลือดต่ำ
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาส่วนบุคคล เราควรให้ความตระหนักเป็นอย่างมากในการเข้าไปจัดการกับปัญหา เราจะควบคุมบุคคลเหล่านี้ให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะได้อย่างไร เมื่อประมาณ 2-3 ปีมานี้ผมเคยจำได้ว่าเคยเกิดเหตุผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นลมชักในขณะขับรถใรโรงเรียนและควบคุมตัวเองไม่ได้ ชนเด็กนักเรียนตายคาโรงเรียน 4 ศพ ยังไม่รวมกรณีอื่นๆที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวอีกมากมาย เช่นหลับในข้ามเลนไปประสานงากับฝั่งที่วิ่งมาตรงข้ามเป็นต้น ทั้งนี้ทุกคนต้องรู้จักตัวเองด้วยสำคัญที่สุดว่าพร้อมหรือไม่พร้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคมแค่ใน สำนึกในความปลอดภัยของคนอื่นแค่ไหน และภาครัฐมีวิธีจัดการกับปัญหานี้อย่างไรต้องมาช่วยกันครับ อาจจะนำแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจร่างกายสำหรับผู้ขับขี่ที่ส่อว่าจะมีอาการดังกล่าว หากใช้วิธีนี้จะดีหรือไม่และประโยชน์ต่อประชาชนในทางอ้อมคือช่วยแก้ปัญหาด่านลอยของตำรวจนอกรีดได้
2 มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความกลัดกลุ้มใจ วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว มีความตึงเครียดทางอารมณ์
คนจำเทือกนี้ในทางปฏิบัติอันตรายพอๆกับเมาแล้วขับ ภาครัฐเข้าไปจัดการลำบากเพราะไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามกลุ้ม ห้ามวิตก ห้ามหงุดหงิด ห้ามเครียด ฯลฯ ผมเจอมาค่อนข้างเยอะพวกโมโหผัว โมโหเมีย โมโหเพื่อนร่วมงาน โมโหเพื่อนบ้าน เจ๊งบอล เสียไพ่ แล้วขับ อันตรายพอๆกับเมาแล้วขับเพราะพวกนี้สติจะไม่อยุ่กับร่องกับรอย ร่างกายหลั่งสารอะไรก็ไม่รู้ให้บ้าคลั่งเหยียบรถเอาความเร็วความที่ได้ปลดปล่อยมากกว่าสำนึกด้านความปลอดภัย ทางป้องกันไม่ให้พวกโมโหแล้วขับทำได้ยาก นอกเสียจากเพิ่มโทษคนพวกนี้ให้หนักหากขับขี่ยานพาหนะแล้วเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
3 ขาดความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในการใช้รถใช้ถนน เช่น ขาดความรู้เรื่องความเร็วกับรถ คาดคะเนความเร็ว หรือกะระยะทางไม่ถูกต้อง ไม่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลักษณะของยวดยานที่ใช้ขับ ไม่รู้กฎจราจร เป็นต้น
พูดภาษาชาวบ้านคือพวกมือใหม่ ยังขับรถไม่ค่อยเป็น เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรดี จะห้ามมือใหม่ไม่ให้ขับก็ไม่ได้เพราะเราเองทุกคนก็ล้วนเคยเป็นมือใหม่ด้วยกันมาก่อน หามาตรการป้องกันการซื้อใบขับขี่จะดีหรือไม่ หรือเข้มงวดด้านการสอบปฏิบัติก่อนได้ใบขับขี่ให้มากและละเอียดกว่าที่เป็นอยู่ และจับปรับให้หนักสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านการสอบใบขับขี่แล้วมาขับยวดยานพาหนะบนถนนหลวง เป็นต้นครับ
4 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น ขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้ารถอื่นระยะกระชั้นชิด ขับรถล้ำช่องทางเดินรถ ขับรถแซงซ้าย หรือแซงขวาในที่คับขัน ขับรถตามหลังคนอื่นอย่างกระชั้นชิด ฝ่าฝืนป้ายหยุดขณะออกจากทางร่วม ขับรถย้อนศรทางเดินรถ ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร หยุดรถโดยกระชั้นชิด ฯลฯ
ไอ้พวกนี้แหละคือตัวแสบที่สุดในมุมมองของผม บทลงโทษตามกฎหมายเอาผิดพวกนี้น้อยเกินไปหรือไม่ หากไปเทียบกับพวกนั่งกะบะหลังที่สมัครใจเข้ามาเสี่ยงเอง แต่กับไอ้พวกนี้ไม่ได้เรียกร้องเอาความเสี่ยงตายมาจากพวกมันเลย พวกมันเอามามอบให้ถึงที่ทุกที สายมุด สายเลื้อย สายลาก สายปาดมีให้ผมเห็นทุกวัน หากรัฐบาลจะตั้งโฟกัสไปที่เรื่องการลดอุบัติเหตุ ผมสนับสนุนให้มุ่งตรงไปที่พวกนี้เลยครับเป็นอันดับแรก และตรงกับข้อมูลสถิติของกรมทางหลวงว่าพวกขับขี่แบบนี้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
5 ไม่รู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขับรถด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง ความเร่งรีบในการเดินทาง เสพยากระตุ้นประสาท ดื่มสุราขณะขับรถ ฯลฯ
คนพวกนี้ผมถือว่าเป็นภัยต่อทั้งในและนอกถนน แต่ยังดีที่โทษตามกฎหมายมีเพียงพอที่จะทำให้คนกลุ่มนี้หวาดกลัว สนับสนุนเต็มที่ให้รัฐดำเนินการจับกุมต่อไปครับ แต่อยากให้เน้นตรงพวกขับรถประมาทกับเร่งรีบในการเดินทางให้มากขึ้น ทุกวันนี้ที่เห็นเป็นส่วนมากคือเน้นเป่าแอลกอออล์เพราะมียอดเปอร์เซ็นต์ค่าปรับที่สูงและปรับส่งขึ้นศาลทันที
สาเหตุอื่นๆที่เกิดจากบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่ เช่น การข้ามถนนของผู้คนแบบไม่ระมัดระวัง การไม่ข้ามถนนตามสะพานลอย-ทางม้าลาย ไม่เดินบนทางเท้า เมาสุราแล้วเดินมาเซลงบนถนน เป็นต้น เพราะฉะนั้นทั้งภาครัฐและประชาชนจะต้องรวมมือกันในการแก้ปัญหาร่วมกันครับ เพราะเรื่องบางเรื่องกำหมายก็บังคับไม่ถึงและละเอียดเกินไปที่รัฐจะไปควบคุมได้
ปัจจุบันมีการขับไปเล่นโซเชียลไป เคสนี้น่ากลัวครับในโลกปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นที่มีการ live สดได้ สมาธิในการขับขี่จะลดลงไปตามสมาธิในการนำเสนอ ทางภาครับจะใส่ใจและแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร เพราะวัฒนธรรมการ live สดในขณะขับขี่พึ่งมีมาได้ไม่นาน และยังไม่เกิดเหตุต่อหน้าต่อตาในโลกโซเชียล หรือว่าเราจะวัวหายแล้วล้อมคอกแบบไหนกันดี ?
ส่วนสาเหตุอื่นๆที่มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุนอกเหนือจากผู้ขับขี่เช่น
สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ สภาพของรถ สภาพถนนและดินฟ้าอากาศ
1. สาเหตุจากสภาพของรถ
- ยางระเบิดหรือยางแตก ทำให้รถเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย โดยเฉพาะรถที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง และถนนลื่น เบรกแตก เบรกลื่น ทำให้รถไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วลงได้ตามความต้องการ
- เพลาหลุดหรือเพลาขาด ทำให้รถหมดกำลังในการขับเคลื่อน รถจะไม่แล่น แม้ว่าจะเหยียบคันเร่งอย่างไรก็ตาม ทำให้ยากแก่การควบคุมความเร็ว และง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- คันส่งหลุด ทำให้พวงมาลัยใช้การไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมรถได้
- อุปกรณ์ประจำรถชำรุดหรือขัดข้อง เช่น ไม่มีไฟหน้า-หลัง ไฟใหญ่มีข้างเดียว หรือไม่มีเลย ไฟเลี้ยวชำรุด ไม่ได้ซ่อมแซมหรือแก้ไข พวงมาลัยสั่นขณะขับ เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เช่น การเพิ่มแรงเครื่อง ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความคะนองและขับรถเร็ว การแปลงสภาพรถตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสภาพรถที่ได้รับการออกแบบมา
2. สาเหตุจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพถนนและสภาพแสงสว่าง
- บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ทางแยก ทางโค้ง ทางตรง ทางเบี่ยงสะพาน วงเวียน ทางตัดทางรถไฟ ทางลาดชัน/เนินเขา ทางเข้าออกทางด่วน ทางเชื่อมโยงทางแยก ทางเชื่อมอาคารที่พักอาศัย ฯลฯ ซึ่งบริเวณที่มักเกิดเหตุบ่อยที่สุดคือ ทางตรง โดยสภาพเส้นที่ดีเรียบ มักทำให้ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวังและขับรถด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้จะพบว่าถนน 3 ช่องทางจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าถนน 2 ช่องทาง และถนน 4 ช่องทาง และถนนสี่แยกจะอันตรายกว่าสามแยก
- สภาพถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีโคลนตม มีเครื่องกีดขวางมากๆ หรือถนนที่แคบ ถนนที่ลื่น มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
- สภาพแสงสว่างบนถนน เช่น แสงสว่างที่ส่องจากรถคันที่สวนมาโดยการเปิดไฟสูงและมีความสว่างสูง ทำให้ตามัวมองไม่ชัดเจน หรือไม่มีไฟส่องสัญญาณทางแยก บนท้องถนนมืดไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่าง ทำให้มองไม่เห็นทาง หรือมองไกลไม่ได้ ย่อมเป็นอันตรายต่อการขับรถ อย่างไรก็ตามแสงสว่างในเวลากลางวัน หรือความสว่างของ ถนนก็มักทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเวลากลางคืน แต่ความรุนแรงจะเกิดในเวลากลางคืนมากกว่า
3. สาเหตุจากดินฟ้าอากาศ
- ฝนตกหนัก น้ำท่วม ทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นหล่มโคลน ถนนลื่น ทำให้รถตกถนน พลิกคว่ำ
- การเกิดพายุหรือหมอกลงจัด ทำให้มีควันปกคลุมมองไม่เห็นทาง เกิดอุบัติเหติได้ง่าย
- สภาพดินฟ้าอากาศที่ดี อุบัติเหตุมักเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ดีเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูง และขาดความระมัดระวังอันตราย
สาเหตุจากกฎหมาย กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้
- การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกคนทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ ในการฝ่าฝืนกฎต่างๆ ทำให้ประชาชนขาดจิตสำนักและฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งมีผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
- บทลงโทษหรือค่าปรับยังไม่เหมาะสม ทำให้มีการฝ่าฝืนกำจราจร หรือกฎระเบียบต่างๆ อยู่เสมอ
- การกวดขัน จับกุม หรือยังไม่จริงจังหรือเข้มงวดในการพิจารณาดำเนินคดีหรือจับกุม ผู้กระทำผิด เป็นสาเหตุให้ขับรถหรือใช้รถใช้ถนนอย่างเสรี ตามอำเภอใจ ซึ่งมักทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จากที่ไล่สาเหตุต่างๆของการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน สามารถที่จะหาทางออกร่วมกันได้โดยที่ไม่ต้องไปกระทบกับวิถีการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนด้วยการใช้รถกะบะเป็นพาหนะ ถึง ณ เวลานี้จึงอยากวิงวอนให้ภาครัฐเข้าใจ และร่วมหาทางออกให้กับประชาชน ไม่ใช่ถึงแค่ 18 เม.ย.60 นี้เท่านั้น แต่ตลอดไปครับ
ขอบพระคุณฐานข้อมูลประกอบการตั้งกระทู้ http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/E4-2-1.html
ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยสวัสดิภาพทั้งขาไปและขากลับครับ
The Mario 6 เม.ย. 60