แอลกอฮอล์ลิซึ่มหรือเสพติดแอลกอฮอลล์

คือ  ตอนนี้พ่ออายุ 62        ทุกปีเข้าพรรษา พ่อจะหยุดกินเหล้าได้ครับ  แต่พอออกพรรษาปุป
พ่อจะกินไม่หยุดเลยคับ   อาจจะกินพวก red black blend แต่พอตังเริ่มหมด  พ่อก็จะกินพวก หงษ์ sangsom แต่พ่อต้องกินทุกวันนะครับ

คือปกติถ้าพ่อไม่กิน จะเป็นคนเรียบร้อย ไม่ค่อยพูด ขยันทำงานมาก รับผิดชอบครอบครัว แต่พอเมาปุป พ่อจะเป็นอีกคนทันทีครับ เสียงดัง โวยวาย พูดจาหยาบคาย แล้วก้อชอบด่าคนอื่น พูดไม่รู้เรื่อง  แต่ที่อาการหนักที่ผมต้องการ สอบถามคือ  

พ่อขยับมากิน วันละ แบน ถึงกรม โดยกินแบบ เพรียวๆ แล้วค่อยกินน้ำตาม  เหมือนกินยาดอง อย่างงั้นเลย  ทีนี้   ก็ไม่กินข้าวกินปลา   นอนทั้งวัน  กินแต่เหล้า จนไปทำงานไม่ไหว จะกินอย่างงี้เรื่อยๆ โดยข้าวปลา ไม่กิน  จนพักหลัง  เริ่ม มีอาการ  ป่วย อาเจียน ไม่สบาย  

อาจจะหยุดกินเหล้าได้ ณ ช่วงนั้น แต่พอตกตอนเย็น ก็แอบไปซื้อมากินอีก

มีอาการสั่น  ไม่มีแรงเดิน ตัวร้อนมีไข้ แต่พอได้จิบเหล้าเหมือนจะดีขึ้น  แต่หลังจากนั่นมาก็กลายเป็นว่าอาการหนักขึ้น พ่อเริ่มสั่นมากขึ้น เดินไม่ได้ จะเอื้อมหยิบอะไรยังไม่มีแรงเลย แล้วแกไม่ยอมกินข้าวอะครับ มีอาการทำท่าเหมือนหยิบโทรศัพมา เล่น  แต่จิงๆโทรศัพ วางอยู่ที่พื้นนะครับ เหมือนอาการเห็นภาพหลอนอะครับ จนเมื่อคืนผมเลยตัดสินใจ ขอให้พ่อไปหาหมอ ตี1 ผมก็เอารถออกพาไปหาหมอ แต่หมอแผนกฉุกเฉิน บอกว่า
"หมอ:พ่อมีไข้ คออักเสบ จึงทำให้ทานข้าวไม่ได้  "
"ผม :เลยบอกหมอไปตามตรงว่า พ่อดื่มเหล้า เขาเลยไม่ยอมทานข้าว แล้วไม่มีแรงอะครับ อยากให้หมอให้น้ำเกลือ ให้พ่อเขานอน รพ เลย".
"หมอ:ก็  บอกว่า น้ำตาลในเลือดเขาไม่ต่ำ เลยไม่จำเป็นต้องนอนให้น้ำเกลือ แค่ให้ยาแล้วก็กลับบ้านได้"
ณ ปัจจุบัน พ่อผมไม่มีประกันสังคมแล้ว  มีแต่ 30บาทที่ รพ นี้  แต่มันมีเวลาใช้บัตร ได้แค่ 8โมง-5 โมงเย็น เลยต้องเสียค่ายา เอง เพราะไม่ใช่ คนไข้ฉุกเฉิน   เห้อ

กลับมาบ้านไม่มีแรง  แต่ต้องเดินไป  กินเหล้าให้ได้  เพราะพ่อจะแอบไปซื้อมาเก็บไว้ตามบ้าน  ถ้าเห็นผมก็จะเททิ้งบ้าง ผสมน้ำป่าวเข้าไปบ้าง  อ่านจากหลายๆเวป  ตื่นมาตอนเช้าก็ต้องเดินไปกิน

หลายเวปเขาแนะนำให้ไปพบ  จิตเวช   แต่ทีนี้การที่เราจะพาพ่อไปพบ จิตเวช ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ  

สรุป  ผมควร พูดกับพ่อ เขายังไง  ปรึกษา จิตเวช ที่ไหน มีใครแนะนำ ได้ไหมครับ   ควรไปที่ไหน รพ อะไรครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  แพทย์ โรงพยาบาล สุขภาพจิต ปัญหาชีวิต ยา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่