วานนี้ (8 ก.พ.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีการปฏิรูปตำรวจในแนวทางยกระดับสถานีตำรวจในการให้บริการประชาชน
ว่าการปฏิรูปองค์กรตำรวจมีความคืบหน้าไปมาก โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.แบ่งการปฏิรูปเป็น 2 ส่วน 1. ในภาพรวม โดยดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดโรดแมประยะ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 20 ปี ซึ่งปรับลดจาก 10 ด้านเหลือ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การปฎิรูปด้านโครงสร้าง การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม, ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กร, ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ และด้านการสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งการปรับเป็นไปตามขั้นตอนโดยมีคณะทำงานขึ้นมาดูแล คาดว่าในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้จะนำเสนอแนวทางการปฏิรูป ในส่วน ตร.เสนอต่อรัฐบาลได้ 2. การปฏิรูปเฉพาะหน้า การปฏิรูปสถานีตำรวจซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรอง ผบ.ตร.ที่มีการจัดทีมสืบสวนสอบสวน
“การปฏิรูปสถานีตำรวจในครั้งนี้จะดำเนินการการบริการประชาชน ทุกรูปแบบทั้งในและนอกสถานีตำรวจ เน้นในภาพรวม ตำรวจมีกิริยาวาจาสุภาพในการบริการประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม การบริการนอกสถานที่รวดเร็ว อยู่ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน โดย ผบ.ตร.สั่งการไปยังตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ผบ.ตร.ประชุมกับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ ถึงผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่รับผิดชอบพื้นที่ให้ลงไปขับเคลื่อนการปฏิรูปโรงพัก 1,482 สถานี และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด โดยใช้วิธีลงพื้นที่ตรวจอย่างเป็นทางการและการสุ่มตรวจโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบว่าได้ทำตามที่มอบหมายหรือไม่ นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เพื่อตอบสนองการบริการประชาชนให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ คาดว่าจะเสนอแนวทางการปฏิรูป 6 ด้านให้รัฐบาลได้ปลายเดือน ก.พ.นี้ ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้าจะเริ่มลงพื้นที่สุ่มตรวจเพื่อดูการปฏิบัติว่าเป็นตามแนวทางที่มอบหมายหรือไม่ มีพัฒนาการตามที่ประชาชนมุ่งหวังหรือไม่ โดยเฉพาะสถานีตำรวจที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน
พล.ต.อ.รุ่งโรจน์กล่าวด้วยว่า ในการปฏิรูปด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้นยอมรับว่ายังติดขัดเรื่องของงบประมาณ การเสนอของบประมาณมาจัดซื้อต้องใช้เวลา แต่อย่างไรก็ตาม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอให้มีการนำกล้องติดในรถตำรวจ และกล้องติดตัวตำรวจ ที่ดำเนินการจัดซื้อแล้ว 60,000 ตัว และจะดำเนินการให้ครบ 1.5 แสนตัว เนื่องการติดตั้งกล้องนั้นจะช่วยให้การทำงานการอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใส เพราะใช้เป็นหลักฐานในการทางคดีได้
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000013744
ยกระดับโรงพักปฏิรูปตำรวจ สตช.เล็งจัดซื้อกล้องติดตัว
วานนี้ (8 ก.พ.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีการปฏิรูปตำรวจในแนวทางยกระดับสถานีตำรวจในการให้บริการประชาชน ว่าการปฏิรูปองค์กรตำรวจมีความคืบหน้าไปมาก โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.แบ่งการปฏิรูปเป็น 2 ส่วน 1. ในภาพรวม โดยดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดโรดแมประยะ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 20 ปี ซึ่งปรับลดจาก 10 ด้านเหลือ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การปฎิรูปด้านโครงสร้าง การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม, ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กร, ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ และด้านการสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งการปรับเป็นไปตามขั้นตอนโดยมีคณะทำงานขึ้นมาดูแล คาดว่าในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้จะนำเสนอแนวทางการปฏิรูป ในส่วน ตร.เสนอต่อรัฐบาลได้ 2. การปฏิรูปเฉพาะหน้า การปฏิรูปสถานีตำรวจซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรอง ผบ.ตร.ที่มีการจัดทีมสืบสวนสอบสวน
“การปฏิรูปสถานีตำรวจในครั้งนี้จะดำเนินการการบริการประชาชน ทุกรูปแบบทั้งในและนอกสถานีตำรวจ เน้นในภาพรวม ตำรวจมีกิริยาวาจาสุภาพในการบริการประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม การบริการนอกสถานที่รวดเร็ว อยู่ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน โดย ผบ.ตร.สั่งการไปยังตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ผบ.ตร.ประชุมกับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ ถึงผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่รับผิดชอบพื้นที่ให้ลงไปขับเคลื่อนการปฏิรูปโรงพัก 1,482 สถานี และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด โดยใช้วิธีลงพื้นที่ตรวจอย่างเป็นทางการและการสุ่มตรวจโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบว่าได้ทำตามที่มอบหมายหรือไม่ นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เพื่อตอบสนองการบริการประชาชนให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ คาดว่าจะเสนอแนวทางการปฏิรูป 6 ด้านให้รัฐบาลได้ปลายเดือน ก.พ.นี้ ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้าจะเริ่มลงพื้นที่สุ่มตรวจเพื่อดูการปฏิบัติว่าเป็นตามแนวทางที่มอบหมายหรือไม่ มีพัฒนาการตามที่ประชาชนมุ่งหวังหรือไม่ โดยเฉพาะสถานีตำรวจที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน
พล.ต.อ.รุ่งโรจน์กล่าวด้วยว่า ในการปฏิรูปด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้นยอมรับว่ายังติดขัดเรื่องของงบประมาณ การเสนอของบประมาณมาจัดซื้อต้องใช้เวลา แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เสนอให้มีการนำกล้องติดในรถตำรวจ และกล้องติดตัวตำรวจ ที่ดำเนินการจัดซื้อแล้ว 60,000 ตัว และจะดำเนินการให้ครบ 1.5 แสนตัว เนื่องการติดตั้งกล้องนั้นจะช่วยให้การทำงานการอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใส เพราะใช้เป็นหลักฐานในการทางคดีได้
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000013744