ที่มาของคำว่า "ไตรลักษณ์" แบบสมบุรณ์

เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม สามารถเห็นนิพพานได้บ้างแล้ว คือ


[๒๐]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย..........


  [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?


คือต้องตรัสให้รู้ความไม่เที่ยงก่อน แล้วถึงตรัสให้เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์อย่างไร
แล้วตรัสต่อไปแบบเป็นเหตุเป็นผลเป็นนิยามว่า เมื่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มันสมควรหรือไม่ที่จะยึดถือเอาว่า
มันเป็นตัวตน

เมื่อนั้นญาณย่อมเกิดขึ้นว่า ที่แท้มันเป็นของไม่ใช่ตัวตนนั่นเอง.

ไม่ใช่จู่ๆจะให้เห็นว่ามันเป็นอนัตตาเลยที่เดียว นั่นย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะฉนั้นใครๆจะมาบอกว่า เห็นนิพพานเป็นอนัตตาอย่างเดียว
โดยไม่ต้องเห็น 2 ข้อแรกก่อนนั้นย่อมไม่มีทาง และเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว

และในทำนองเดียวกันการพิจาณาเห็นว่านิพพานเที่ยง เป็นสุข แต่กลับไปเห็นว่า
นิพพานเป็นอนัตตา นั่นมันไข่หมูไปแล้ว อยู่บนดาวดวงไหนก็ไม่รู้


ไม่ต้อการให้ใครเครียด  เชิญพิจารณาตามแต่ปัญญาเอื้ออำนวย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่