NBC NEWS รายงานข่าวว่า ในขณะที่ใกล้ถึงวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 45 นายโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 20 มกราคม นี้ แต่ทว่าจากการรายงานของโตรอนโต สตาร์ สื่อแคนาดา วันที่ 6 ม.ค ล่าสุดชี้ว่า บรูซ เฮย์แมน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำแคนาดา ที่ถูกแต่งในสมัยประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ปี 2014 ได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่ง และจะมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม นี้
มีข่าวเล็ดลอดกันออกมาว่า ทีมงานจัดการเปลี่ยนผ่านอำนาจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้ทูตสหรัฐฯทั่วโลกที่ถูกแต่งตั้งภายใต้รัฐบาลพรรคเดโมแครตของ บารัค โอบามา ต้องลาออกจากตำแหน่งภายในวันพิธีสาบานตน
ผลจากคำสั่งดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อเอกอัครราชทูตอเมริกาใน 80 ประเทศทั่วโลก เช่น ทูตสหรัฐฯประจำจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย อังกฤษ เยอรมัน และทั่วยุโรป รวมไปถึง แคนาดา นิวซีแลนด์ และประเทศไทย
และสื่อแคนาดายังรายงานเพิ่มเติมว่า การประกาศลาออกของ บรูซ เฮย์แมน นั้นเกิดขึ้นไม่นานหลังจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำนิวซีแลนด์ มาร์ก กิลเบิร์ต แถลงการณ์ผ่านทางทวิตเตอร์ไปยังรอยเตอร์แสดงความจำนงยื่นใบลาออก โดยระบุว่าผมจะลาออกในวันที่ 20 มกราคม นี้
ทางด้าน มาร์ก กิลเบิร์ตเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เป็นคำสั่งของทีมงานจัดการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งผ่านทางเคเบิลการติดต่อทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ โดยลงนามในวันที่ 23 ธ.ค 2016 สั่งการให้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯทุกคนที่ถูกแต่งตั้งในสมัย บารัค โอบามา ลาออกภายในวันพิธีสาบานตนประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยไม่มีข้อยกเว้น
ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศสหรัฐฯได้ออกมาเปิดเผยกับ NBC NEWS ล่าสุดในวันอาทิตย์ว่า อันตรายอย่างร้ายแรงต่อคำสั่งการปลดทูตสหรัฐฯทั่วโลกพร้อมกัน นั้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนเป็นระยะเวลาร่วมเดือนต่อจุดที่อ่อนไหวในบางพื้นที่ของโลก และกระทบตรงไปยังสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จุดยืนของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในการที่ต้องการให้เอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางการเมืองต้องออกจากตำแหน่ง โดยไม่มีข้อยกเว้น เกิดขึ้นในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นเสี่ยงที่ สหรัฐฯจะถูกตัดช่องทางการสื่อสารทางตรงไปยังประธานาธิบดีสหรัฐฯในขณะที่รัฐสภาคองเกรสต้องอยู่กับกระบวนการที่ใช้ระยะเวลาในการแต่งตั้งผู้ที่จะมารับทำหน้าที่ต่อจากคนเหล่านั้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องกฎข้อบังคับที่ระบุว่า เอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะสิ้นสุดจากสมัยการดำรงตำแหน่ง จะต้องลาออกภายในสมัยสุดท้ายของประธานาธิบดีคนนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องปฎิบัติทางพฤตินัยที่พบว่า มีนักการทูตสหรัฐฯบางส่วนใช้ระยะเวลาที่จะทำการลาออกจากตำแหน่งหลังจากนั้น โดยอาจจะยืดระยะเวลาออกไปเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่แล้ว
เอกอัคคราชทูตใน 80 ประเทศที่ถูกแต่งตั้งภายใต้รัฐบาลของบารัค โอบามา ต้องลาออกจากตำแหน่งพร้อมกันภายในเที่ยงวันศุกร์นี้จริง จะทำให้ตำแหน่งผู้ควบคุมสถานทูตสหรัฐฯในประเทศสำคัญทั่วโลก รวมไปถึง จีน ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และประจำหน่วยงานระหว่างประเทศ เป็นต้นว่า ประจำองค์การหน่วยงานปัญหาด้านสตรี จะต้องว่างลงพร้อมกันในทันที
ขณะที่การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาคองเกรส แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่พรรคการเมืองของนายโดนัลด์ ทรัมป์ คุมทั้งสองสภา แต่กระนั้นเชื่อว่า นักการทูตเหล่านี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยร่วมเดือนจึงจะได้รับการเห็นชอบ”

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
http://inter.tnews.co.th/contents/bg/220455/
โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ฑูตทั่วโลก 80 ประเทศรวมไทย ลาออกภายใน 20วัน มีผลอะไรไหม ?
มีข่าวเล็ดลอดกันออกมาว่า ทีมงานจัดการเปลี่ยนผ่านอำนาจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้ทูตสหรัฐฯทั่วโลกที่ถูกแต่งตั้งภายใต้รัฐบาลพรรคเดโมแครตของ บารัค โอบามา ต้องลาออกจากตำแหน่งภายในวันพิธีสาบานตน
ผลจากคำสั่งดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อเอกอัครราชทูตอเมริกาใน 80 ประเทศทั่วโลก เช่น ทูตสหรัฐฯประจำจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย อังกฤษ เยอรมัน และทั่วยุโรป รวมไปถึง แคนาดา นิวซีแลนด์ และประเทศไทย
และสื่อแคนาดายังรายงานเพิ่มเติมว่า การประกาศลาออกของ บรูซ เฮย์แมน นั้นเกิดขึ้นไม่นานหลังจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำนิวซีแลนด์ มาร์ก กิลเบิร์ต แถลงการณ์ผ่านทางทวิตเตอร์ไปยังรอยเตอร์แสดงความจำนงยื่นใบลาออก โดยระบุว่าผมจะลาออกในวันที่ 20 มกราคม นี้
ทางด้าน มาร์ก กิลเบิร์ตเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เป็นคำสั่งของทีมงานจัดการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งผ่านทางเคเบิลการติดต่อทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ โดยลงนามในวันที่ 23 ธ.ค 2016 สั่งการให้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯทุกคนที่ถูกแต่งตั้งในสมัย บารัค โอบามา ลาออกภายในวันพิธีสาบานตนประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยไม่มีข้อยกเว้น
ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศสหรัฐฯได้ออกมาเปิดเผยกับ NBC NEWS ล่าสุดในวันอาทิตย์ว่า อันตรายอย่างร้ายแรงต่อคำสั่งการปลดทูตสหรัฐฯทั่วโลกพร้อมกัน นั้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนเป็นระยะเวลาร่วมเดือนต่อจุดที่อ่อนไหวในบางพื้นที่ของโลก และกระทบตรงไปยังสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จุดยืนของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในการที่ต้องการให้เอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางการเมืองต้องออกจากตำแหน่ง โดยไม่มีข้อยกเว้น เกิดขึ้นในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นเสี่ยงที่ สหรัฐฯจะถูกตัดช่องทางการสื่อสารทางตรงไปยังประธานาธิบดีสหรัฐฯในขณะที่รัฐสภาคองเกรสต้องอยู่กับกระบวนการที่ใช้ระยะเวลาในการแต่งตั้งผู้ที่จะมารับทำหน้าที่ต่อจากคนเหล่านั้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องกฎข้อบังคับที่ระบุว่า เอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะสิ้นสุดจากสมัยการดำรงตำแหน่ง จะต้องลาออกภายในสมัยสุดท้ายของประธานาธิบดีคนนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องปฎิบัติทางพฤตินัยที่พบว่า มีนักการทูตสหรัฐฯบางส่วนใช้ระยะเวลาที่จะทำการลาออกจากตำแหน่งหลังจากนั้น โดยอาจจะยืดระยะเวลาออกไปเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่แล้ว
เอกอัคคราชทูตใน 80 ประเทศที่ถูกแต่งตั้งภายใต้รัฐบาลของบารัค โอบามา ต้องลาออกจากตำแหน่งพร้อมกันภายในเที่ยงวันศุกร์นี้จริง จะทำให้ตำแหน่งผู้ควบคุมสถานทูตสหรัฐฯในประเทศสำคัญทั่วโลก รวมไปถึง จีน ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และประจำหน่วยงานระหว่างประเทศ เป็นต้นว่า ประจำองค์การหน่วยงานปัญหาด้านสตรี จะต้องว่างลงพร้อมกันในทันที
ขณะที่การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาคองเกรส แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่พรรคการเมืองของนายโดนัลด์ ทรัมป์ คุมทั้งสองสภา แต่กระนั้นเชื่อว่า นักการทูตเหล่านี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยร่วมเดือนจึงจะได้รับการเห็นชอบ”
เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
http://inter.tnews.co.th/contents/bg/220455/