ทุเรียน ผลไม้ที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน เป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คำว่า ทุเรียน (durian) เป็นคำที่มาจากภาษามาเลย์ คือคำว่า ดูรี (duri แปลว่า หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย –an (เพื่อสร้างเป็นคำนามในภาษามาเลย์) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่างทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังนำมารับประทานได้เมื่อทำให้สุก และเพื่อให้เข้ากับฤดูกาลของผลไม้ที่ชื่อว่า “ทุเรียน” เรามาดูกันว่าชาวอาเซียนมีความผูกพันกับทุเรียนอย่างไรบ้าง
ไทย
เชื่อกันว่าในไทยมีการปลูกทุกเรียนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยมีบันทึกข้อมูลไว้ว่ามีการนำทุเรียนจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า และอีกทางหนึ่งแพร่เข้ามาทางภาคใต้ของไทยจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มแรกมีการปลูกทุเรียนพันธุ์ดีที่ธนบุรีก่อนแล้วแพร่กระจายไปที่นนทบุรีและสมุทรสงคราม แต่เชื่อว่ามีการปลูกเพื่อการค้าครั้งแรกที่นนทบุรี และกระจายไปทางภาคตะวันออกและภาคอื่นๆในปัจจุบัน
ตามรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2554 ประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนอยู่ 25 จังหวัด ในพื้นที่ประมาณ 603,340 ไร่แหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของไทย คือ ภาคตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ภาคใต้ (ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี) พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนีและพันธุ์กระดุมทอง
ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอด ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 600,000 ไร่ ในแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 500,000-550,000 ตัน มูลค่าประมาณ 10,000-12,000 ล้านบาท สามารถนำเงินเข้าประเทศจากมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 5,600 ล้านบาท
มาเลเซีย
มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการปลูกและผลิตทุเรียนในเชิงการค้าเช่นเดียวกับประเทศไทย เนื่องจากมีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศคล้ายกับทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งในอดีตการผลิตหรืออุตสาหกรรมธุรกิจการค้าทุเรียนในมาเลเซียก็คล้ายกับในประเทศไทย คือ เริ่มต้นจากทุเรียนทีเป็นพืชป่าก่อนแล้วพัฒนามาเป็นพืชปลูก ในมาเลเซียนั้นปัจจุบันก็ยังคงมีการเก็บผลทุเรียนธรรมชาติจากป่ามาจำหน่ายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของชาวพื้นเมือง
พันธุ์ทุเรียนที่เป็นการค้าของมาเลเซียที่จัดว่าเป็นพันธุ์ดังเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้บริโภค คือ พันธุ์คุนยิต (kunyit) ซึ่งมีการขนานนามว่าเป็นราชาของทุเรียนมาเลเซีย (Musang King Durian) เลยทีเดียว มีเนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นฉุนรสหวานจัด เมล็ดเล็ก ขนาดผลน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละประมาณ 28-30 ริงกิต (ประมาณ 280-300 บาท) หรือพูละ 150 บาท (มี ๓ เมล็ด) ส่วนราคาขายกิ่งพันธุ์ตกกิ่งละประมาณ 500 บาท นอกจากนั้น ในมาเลเซียเองยังมีทุเรียนเนื้อสีแดง (Red flesh durian) ซึ่งกระจายอยู่ในป่าของรัฐซาบาห์
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของทุเรียน นิตยสารเคหการเกษตรของไทยและนิตยสารทรูบูชของอินโดนีเซียได้มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียนของอินโดนีเซียไว้อย่างน่าสนใจว่า “อินโดนีเซียมีพันธุ์ทุเรียนที่เป็นทั้งพืชป่าและเป็นพืชที่ปลูกทั่วไป มีผลผลิตทุเรียนออกตลาดในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงธันวาคม ทั้งนี้เนื่องจากอินโดนีเซียมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตร จึงมีความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น มีทั้งทุเรียนเนื้อสีเหลืองจนถึงสีรุ้งหรือสีแดง เป็นต้น”
ชาวอินโดนีเซียนิยมชมชอบทุเรียนที่มีเนื้อเละ สุกจัด กลิ่นแรงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียนที่มาจากธรรมชาติหรือเรียกว่าทุเรียนป่า ส่วนทุเรียนปลูกนั้นนิยมพันธุ์หมอนทองจากประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อการค้าแล้ว นอกจากทุเรียนเนื้อสีเหลืองๆ ที่เราพบเห็นกันเป็นประจำอยู่แล้ว ในอินโดนีเซียยังมีทุเรียนที่มีสีเนื้อเป็นสีอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเพื่อเป็นการค้าในอนาคต เนื่องจากการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสีแดงหรือม่วงเป็นแนวโน้มใหม่ของการบริโภค คือ การทานเพื่อรักษาสุขภาพนั่นเอง
ฟิลิปปินส์
หากเราจัดว่าประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในอาเซียนที่มีการผลิตทุเรียนเป็นการค้า อันดับสองในอาเซียนก็น่าจะเป็นประเทศฟิลิปปินส์ แต่หากจะกล่าวถึงทุเรียนในแง่ของความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของผู้คนแล้ว ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่ทุเรียนมีบทบาทกับสังคมในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผลไม้ที่ชื่อว่า ทุเรียน มากกว่าเยอะ จนมีการกล่าวว่าทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นสาธารณรัฐทุเรียน เนื่องจากทุเรียนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์ปลูกที่เกาะมินดาเนานั่นเอง และศูนย์กลางการปลูกทุเรียนอยู่ที่เมืองดาเวา เพราะที่เมืองนี้ใช้ทุเรียนเป็นสัญลักษณ์ และขนานนามว่าเมืองดาเวา คือ “นครแห่งทุเรียน”
ปัจจุบันการปลูกทุเรียนในฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีพันธุ์ทุเรียนที่มีชื่อเสียงอยู่ 2 พันธุ์ คือ DES 806 กับ DES 916 และมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีก 4 พันธุ์ โดยใช้ต้นแม่และพ่อจากพันธุ์ชะนี พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ยูมาลิและพันธุ์ CA 3266 นอกจากนั้น ยังมีพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนอีกนับร้อยสายพันธุ์
กัมพูชา
ในกัมพูชามีการปลูกทุเรียนมากในเขตจังหวัดกัมปอตและจังหวัดกัมปงจาม โดยใช้พันธุ์พื้นบ้านและพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือ พันธุ์หมอนทองจากประเทศไทย
ทุเรียนจากสวนในกัมพูชาจะมีราคาสูงกว่าทุเรียนที่นำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 30 เพราะประชาชนนิยมบริโภคทุเรียนที่มีลักษณะเนื้อนิ่มและมีกลิ่นแรงกว่าสายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในกัมพูชาพบ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กระดองกิต ชะนี และหมอนทอง พันธุ์กระดองกิตนั้นเกษตรกรในกัมพูชาเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากประเทศเวียดนาม ลักษณะผลยาว เนื้อสีเหลือง ไม่เละง่าย แต่เมล็ดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมมาก ส่วนการปลูกทุเรียนพันธุ์ชะนีและหมอนทองจำนวนพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ และผลผลิตมีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับทุเรียนของประเทศไทย
เวียดนาม
ทุเรียนที่ปลูกในเวียดนามเป็นการนำเข้าไปจากประเทศไทยและฟิลิปปินส์เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีการเพาะปลูกมากทางตอนใต้ของประเทศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ เบนเตร เทียนเกียง และทางตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ดองไน
พันธุ์ทุเรียนที่พบในเวียดนามมีหลายสายพันธุ์ส่วนที่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน เช่น Ri6, Chin Hoa, Rieng Bi, Kho Qua Xanh และพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ หมอนทอง ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการรับประทานคือ Ri6 ส่วนทุเรียนหมอนทองจากประเทศไทยนิยมปลูกเพื่อการส่งออกเนื่องจากประเทศเวียดนามมีนโยบายชัดเจนในการผลิตทุเรียนหมอนทองเพื่อส่งตลาดจีน ดังนั้น ผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 90% จึงเพื่อการส่งออกและอีก 10% ใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังกัมพูชา ปัจจุบันคาดว่าเวียดนามทางตอนใต้น่าจะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่แล้ว
ลาว
ชาวลาวนิยมบริโภคทุเรียนเช่นเดียวกับชาวไทย และยังต้องนำเข้าจากประเทศไทยส่วนการปลูกเพื่อเป็นการค้าใน สปป.ลาวเมืองปากซองเป็นแหล่งเดียวที่มีสวนทุเรียนหมอนทอง โดยนำกิ่งตอนไปจากประเทศไทยไปปลูก โดยทุเรียนหมอนทองที่ปลูกจากสวนเมืองปากซองมีคุณภาพดี ลูกโต พูสวย และรสชาติหวานสนิท ไม่แพ้พันธุ์เดียวกันที่ปลูกในภาคตะวันออกของไทย และราคาไม่แพงสำหรับตลาดในประเทศ
พม่า
ทุเรียนในภาษาพม่า เรียกว่า Duyin หากเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกันแล้วความรู้เกี่ยวกับเรื่องของทุเรียนในพม่านั้นมีน้อยมาก แม้ว่าเราจะรับทราบว่าทุเรียนเป็นพืชที่มีกำเนิดและกระจายตัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่ ดึกดำบรรพ์แล้วก็ตาม
จากข้อมูลงานวิจัยของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ทุเรียนที่มีจำหน่ายในพม่าที่เป็นทุเรียนจากประเทศไทยแต่ถูกส่งมาจากทางใต้ของประเทศจีน เข้าใจว่าจะเป็นทุเรียนไทยที่ส่งไปยังตลาดในกวางเจาแล้วถูกส่งผ่านมายังยูนนานและเข้ามาจำหน่ายในพม่าอีกทอดหนึ่ง
ข้อมูลจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.meekhao.com/foods/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
อาเซียนร่วมใจ กินทุเรียน ราชาผลไม้แห่งอาเซียน
ไทย
เชื่อกันว่าในไทยมีการปลูกทุกเรียนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยมีบันทึกข้อมูลไว้ว่ามีการนำทุเรียนจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า และอีกทางหนึ่งแพร่เข้ามาทางภาคใต้ของไทยจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มแรกมีการปลูกทุเรียนพันธุ์ดีที่ธนบุรีก่อนแล้วแพร่กระจายไปที่นนทบุรีและสมุทรสงคราม แต่เชื่อว่ามีการปลูกเพื่อการค้าครั้งแรกที่นนทบุรี และกระจายไปทางภาคตะวันออกและภาคอื่นๆในปัจจุบัน
ตามรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2554 ประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนอยู่ 25 จังหวัด ในพื้นที่ประมาณ 603,340 ไร่แหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของไทย คือ ภาคตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ภาคใต้ (ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี) พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนีและพันธุ์กระดุมทอง
ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอด ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 600,000 ไร่ ในแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 500,000-550,000 ตัน มูลค่าประมาณ 10,000-12,000 ล้านบาท สามารถนำเงินเข้าประเทศจากมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 5,600 ล้านบาท
มาเลเซีย
มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการปลูกและผลิตทุเรียนในเชิงการค้าเช่นเดียวกับประเทศไทย เนื่องจากมีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศคล้ายกับทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งในอดีตการผลิตหรืออุตสาหกรรมธุรกิจการค้าทุเรียนในมาเลเซียก็คล้ายกับในประเทศไทย คือ เริ่มต้นจากทุเรียนทีเป็นพืชป่าก่อนแล้วพัฒนามาเป็นพืชปลูก ในมาเลเซียนั้นปัจจุบันก็ยังคงมีการเก็บผลทุเรียนธรรมชาติจากป่ามาจำหน่ายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของชาวพื้นเมือง
พันธุ์ทุเรียนที่เป็นการค้าของมาเลเซียที่จัดว่าเป็นพันธุ์ดังเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้บริโภค คือ พันธุ์คุนยิต (kunyit) ซึ่งมีการขนานนามว่าเป็นราชาของทุเรียนมาเลเซีย (Musang King Durian) เลยทีเดียว มีเนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นฉุนรสหวานจัด เมล็ดเล็ก ขนาดผลน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละประมาณ 28-30 ริงกิต (ประมาณ 280-300 บาท) หรือพูละ 150 บาท (มี ๓ เมล็ด) ส่วนราคาขายกิ่งพันธุ์ตกกิ่งละประมาณ 500 บาท นอกจากนั้น ในมาเลเซียเองยังมีทุเรียนเนื้อสีแดง (Red flesh durian) ซึ่งกระจายอยู่ในป่าของรัฐซาบาห์
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของทุเรียน นิตยสารเคหการเกษตรของไทยและนิตยสารทรูบูชของอินโดนีเซียได้มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียนของอินโดนีเซียไว้อย่างน่าสนใจว่า “อินโดนีเซียมีพันธุ์ทุเรียนที่เป็นทั้งพืชป่าและเป็นพืชที่ปลูกทั่วไป มีผลผลิตทุเรียนออกตลาดในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงธันวาคม ทั้งนี้เนื่องจากอินโดนีเซียมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตร จึงมีความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น มีทั้งทุเรียนเนื้อสีเหลืองจนถึงสีรุ้งหรือสีแดง เป็นต้น”
ชาวอินโดนีเซียนิยมชมชอบทุเรียนที่มีเนื้อเละ สุกจัด กลิ่นแรงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียนที่มาจากธรรมชาติหรือเรียกว่าทุเรียนป่า ส่วนทุเรียนปลูกนั้นนิยมพันธุ์หมอนทองจากประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อการค้าแล้ว นอกจากทุเรียนเนื้อสีเหลืองๆ ที่เราพบเห็นกันเป็นประจำอยู่แล้ว ในอินโดนีเซียยังมีทุเรียนที่มีสีเนื้อเป็นสีอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเพื่อเป็นการค้าในอนาคต เนื่องจากการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสีแดงหรือม่วงเป็นแนวโน้มใหม่ของการบริโภค คือ การทานเพื่อรักษาสุขภาพนั่นเอง
ฟิลิปปินส์
หากเราจัดว่าประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในอาเซียนที่มีการผลิตทุเรียนเป็นการค้า อันดับสองในอาเซียนก็น่าจะเป็นประเทศฟิลิปปินส์ แต่หากจะกล่าวถึงทุเรียนในแง่ของความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของผู้คนแล้ว ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่ทุเรียนมีบทบาทกับสังคมในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผลไม้ที่ชื่อว่า ทุเรียน มากกว่าเยอะ จนมีการกล่าวว่าทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นสาธารณรัฐทุเรียน เนื่องจากทุเรียนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์ปลูกที่เกาะมินดาเนานั่นเอง และศูนย์กลางการปลูกทุเรียนอยู่ที่เมืองดาเวา เพราะที่เมืองนี้ใช้ทุเรียนเป็นสัญลักษณ์ และขนานนามว่าเมืองดาเวา คือ “นครแห่งทุเรียน”
ปัจจุบันการปลูกทุเรียนในฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีพันธุ์ทุเรียนที่มีชื่อเสียงอยู่ 2 พันธุ์ คือ DES 806 กับ DES 916 และมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีก 4 พันธุ์ โดยใช้ต้นแม่และพ่อจากพันธุ์ชะนี พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ยูมาลิและพันธุ์ CA 3266 นอกจากนั้น ยังมีพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนอีกนับร้อยสายพันธุ์
กัมพูชา
ในกัมพูชามีการปลูกทุเรียนมากในเขตจังหวัดกัมปอตและจังหวัดกัมปงจาม โดยใช้พันธุ์พื้นบ้านและพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือ พันธุ์หมอนทองจากประเทศไทย
ทุเรียนจากสวนในกัมพูชาจะมีราคาสูงกว่าทุเรียนที่นำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 30 เพราะประชาชนนิยมบริโภคทุเรียนที่มีลักษณะเนื้อนิ่มและมีกลิ่นแรงกว่าสายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในกัมพูชาพบ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กระดองกิต ชะนี และหมอนทอง พันธุ์กระดองกิตนั้นเกษตรกรในกัมพูชาเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากประเทศเวียดนาม ลักษณะผลยาว เนื้อสีเหลือง ไม่เละง่าย แต่เมล็ดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมมาก ส่วนการปลูกทุเรียนพันธุ์ชะนีและหมอนทองจำนวนพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ และผลผลิตมีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับทุเรียนของประเทศไทย
เวียดนาม
ทุเรียนที่ปลูกในเวียดนามเป็นการนำเข้าไปจากประเทศไทยและฟิลิปปินส์เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีการเพาะปลูกมากทางตอนใต้ของประเทศในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ เบนเตร เทียนเกียง และทางตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ดองไน
พันธุ์ทุเรียนที่พบในเวียดนามมีหลายสายพันธุ์ส่วนที่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน เช่น Ri6, Chin Hoa, Rieng Bi, Kho Qua Xanh และพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ หมอนทอง ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการรับประทานคือ Ri6 ส่วนทุเรียนหมอนทองจากประเทศไทยนิยมปลูกเพื่อการส่งออกเนื่องจากประเทศเวียดนามมีนโยบายชัดเจนในการผลิตทุเรียนหมอนทองเพื่อส่งตลาดจีน ดังนั้น ผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 90% จึงเพื่อการส่งออกและอีก 10% ใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังกัมพูชา ปัจจุบันคาดว่าเวียดนามทางตอนใต้น่าจะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่แล้ว
ลาว
ชาวลาวนิยมบริโภคทุเรียนเช่นเดียวกับชาวไทย และยังต้องนำเข้าจากประเทศไทยส่วนการปลูกเพื่อเป็นการค้าใน สปป.ลาวเมืองปากซองเป็นแหล่งเดียวที่มีสวนทุเรียนหมอนทอง โดยนำกิ่งตอนไปจากประเทศไทยไปปลูก โดยทุเรียนหมอนทองที่ปลูกจากสวนเมืองปากซองมีคุณภาพดี ลูกโต พูสวย และรสชาติหวานสนิท ไม่แพ้พันธุ์เดียวกันที่ปลูกในภาคตะวันออกของไทย และราคาไม่แพงสำหรับตลาดในประเทศ
พม่า
ทุเรียนในภาษาพม่า เรียกว่า Duyin หากเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกันแล้วความรู้เกี่ยวกับเรื่องของทุเรียนในพม่านั้นมีน้อยมาก แม้ว่าเราจะรับทราบว่าทุเรียนเป็นพืชที่มีกำเนิดและกระจายตัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่ ดึกดำบรรพ์แล้วก็ตาม
จากข้อมูลงานวิจัยของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ทุเรียนที่มีจำหน่ายในพม่าที่เป็นทุเรียนจากประเทศไทยแต่ถูกส่งมาจากทางใต้ของประเทศจีน เข้าใจว่าจะเป็นทุเรียนไทยที่ส่งไปยังตลาดในกวางเจาแล้วถูกส่งผ่านมายังยูนนานและเข้ามาจำหน่ายในพม่าอีกทอดหนึ่ง
ข้อมูลจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้