คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ที่มาของการเปรียบเปรย หลักแหลม ไม่ใช่หลักกิโลหัวข้างบนแหลม อย่างในรูป
แต่หมายถึงเป็นด้านที่ปักลงดิน
ไม้หลักที่ต้องการความมั่นคง ต้องปักลงในดินให้ลึกๆ ไม้ที่ทำปลายให้แหลมหรืออย่างน้อย เหลาให้เกิดมุมเอียงแหลมมากเท่าไหร่ ยิ่งปักยิ่งตอกลงง่ายสบาย เทียบกับไม้ทู่ๆ ทื่อๆ ต้องออกแรงมาก
คนฉลาดเปรียบเทียบกับไม้หลักแหลม เพราะสติปํญญาที่แหลมคม มองเรื่องอะไร คิดอะไรทะลุแจ้งแทงตลอด มองอะไรง่ายไปหมด
บ่อยครั้ง ใช้คำว่า "แหลม" คู่กับ "คม" เป็นคำว่า "แหลมคม" ใช้ทั้งกับเรื่องที่เป็นทางกายภาพ และเรื่องเปรียบเปรยสติปัญญาด้วย
ถ้าจะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ คือมันมีมุมเอียง เลยมีมีแรงเฉือน แหวกพื้นลงไป เหมือนคมมีดเฉียง
ของแหลม ก็คือมีดคม แต่เป็นทรงกรวยเรียวยาวนั่นเอง
แต่หมายถึงเป็นด้านที่ปักลงดิน
ไม้หลักที่ต้องการความมั่นคง ต้องปักลงในดินให้ลึกๆ ไม้ที่ทำปลายให้แหลมหรืออย่างน้อย เหลาให้เกิดมุมเอียงแหลมมากเท่าไหร่ ยิ่งปักยิ่งตอกลงง่ายสบาย เทียบกับไม้ทู่ๆ ทื่อๆ ต้องออกแรงมาก
คนฉลาดเปรียบเทียบกับไม้หลักแหลม เพราะสติปํญญาที่แหลมคม มองเรื่องอะไร คิดอะไรทะลุแจ้งแทงตลอด มองอะไรง่ายไปหมด
บ่อยครั้ง ใช้คำว่า "แหลม" คู่กับ "คม" เป็นคำว่า "แหลมคม" ใช้ทั้งกับเรื่องที่เป็นทางกายภาพ และเรื่องเปรียบเปรยสติปัญญาด้วย
ถ้าจะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ คือมันมีมุมเอียง เลยมีมีแรงเฉือน แหวกพื้นลงไป เหมือนคมมีดเฉียง
ของแหลม ก็คือมีดคม แต่เป็นทรงกรวยเรียวยาวนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
ทำไม"ฉลาด" แล้วต้อง"หลักแหลม"ด้วยล่ะครับ