ไวยากรณ์ในภาษาไทยทำไมดูคล้ายๆภาษาอังกฤษเรามีของเราอยู่แล้ว หรือพึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก?

กระทู้คำถาม
ไวยากรณ์ในภาษาไทยทำไมดูคล้ายๆภาษาอังกฤษเรามีของเราอยู่แล้ว หรือพึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก?

ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ไวยากรณ์มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกภาษาอยู่แล้ว มันเกิดมาพร้อมกับภาษา ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมีใครมาวิเคราะห์เรียบเรียงมันออกมาเป็นตำราหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ตำราหลักไวยากรณ์ภาษาไทย ถูกรวบรวมและแต่งขึ้นเป็นตำราทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีอยู่ 4 เล่มด้วยกัน คือ อักขรวิธี, วจีวิภาค, วากยสัมพันธ์ และ ฉันทลักษณ์ และในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือแบบเรียนให้เราได้เรียนกันครับ

การจัดชนิดกลุ่มคำในไวยากรณ์ภาษาไทยจะดูคล้าย Parts of speech ของภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ มันก็เป็นแบบนี้กับทุกภาษาในโลก ชนิดของกลุ่มคำอาจดูคล้ายกัน แต่วิธีการใช้คำแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องวิธีการสร้างประโยคนี่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ภาษาไทยไม่มีการผันรูปคำตามเท้นส์แบบภาษาอังกฤษ เช่น eat ate eaten ภาษาไทยเราใช้คำเดิมตลอด เปลี่ยนเท้นส์โดยการเติมคำระบุเวลาเข้าไป เช่น เดี๋ยวนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ ... แล้วยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

สรุปคือ เราไม่ได้ก็อปไวยากรณ์เขามาครับ มันมีอยู่ในภาษาแต่แรกอยู่แล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่