อีกไม่กี่วันข้างหน้าก็จะเป็นวันคริสตมาสแล้ว ทุกปีเวลาใกล้เทศกาลคริสตมาสทีไรก็มักจะได้ยินเพลงที่เกี่ยวกับเทศกาลคริสตมาส และหนึ่งในเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเพลงจิงเกิลเบลล์ (Jingle Bells) เรียกว่าไปไหนมาไหนเดี๋ยวก็จะได้ยินเสียงเพลง Jingle Bells, Jingle Bells, Jingle all the way กันเป็นประจำ
Dashing thro' the snow,
In a one-horse open sleigh,
O'er the hills we go,
Laughing all the way;
Bells on bob tail ring,
Making spirits bright,
Oh what sport to ride and sing
A sleighing song tonight.
|: chorus

Jingle bells, jingle bells,
Jingle all the way;
Oh! what joy it is to ride
In a one-horse open sleigh.
A day or two ago
I tho't I'd take a ride
And soon Miss Fannie Bright
Was seated by my side.
The horse was lean and lank
Misfortune seemed his lot
He got into a drifted bank
And we—we got upsot.
แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว เพลงจิงเกิลเบลล์ เมื่อแรกสุดนั้น ไม่ใช่เพลงที่แต่งขึ้นสำหรับเทศกาลคริสตมาสแต่อย่างใด !!!!!
เพลงจิงเกิลเบลล์แต่งขึ้นโดยเจมส์ ลอร์ด เพียร์พอนต์ (James Lord Pierpont) นักแต่งเพลงชาวอเมริกา เมื่อปี 1857 ในเวลานั้นเพียร์พอนต์กำลังต้องการแต่งเพลงสำหรับให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนที่สอนวันอาทิตย์ในเมืองซาวันนาห์ (Savannah) รัฐจอร์เจีย ได้ขับร้องกันที่โบสถ์ในเมือง ใน "วันขอบคุณพระเจ้า" (Thankgiving day) ของชาวอเมริกา (ตรงกับวันพฤหัสครั้งที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน) เพียร์พอนต์จึงได้นำความประทับใจจากการไปชมการแข่งขันเลื่อนหิมะ (Sleigh) ที่เมืองเมดฟอร์ด (Medford) รัฐแมสซาชูเซตต์ เมื่อปี 1851 มาแต่งเป็นเพลงสำหรับให้เด็กกลุ่มดังกล่าวร้อง
เพลงนี้ตอนแรกได้ตั้งชื่อว่า The One Horse Open Sleigh แต่ต่อมาเมื่อมีการนำบทเพลงนี้มาปรับปรุงแนวทำนองและตีพิมพ์ในปี 1859 จึงได้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น Jingle Bells อย่างที่รู้จักกันในทุกวันนี้
ส่วนที่ว่าทำไมเพลงจิงเกิลเบลล์ถึงได้กลายเป็นเพลงสำหรับเทศกาลคริสตมาสไปได้นั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นเพราะเมื่อมีเทคโนโลยีการบันทึกเสียงครั้งแรกด้วยกระบอกเสียงของเอดิสันในปี 1898 นั้น วงดนตรี Edison Male Quartette ได้บรรเลงชุดเกี่ยวกับเทศกาลคริสตมาส แล้วได้นำเพลงจิงเกิลเบลล์ไปรวมอยู่ในเพลงชุดนั้นด้วย จึงอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดว่าเพลงจิงเกิลเบลล์เป็นเพลงสำหรับเทศกาลคริสต์มาส รวมถึงเนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องกับเลื่อน หิมะ

และเสียงกระดิ่ง

ก็ทำให้ถูกโยงเข้ากับซานตาคลอสที่เดินทางด้วยเลื่อนเทียมกวางเรนเดียร์ไปด้วย

ิสุดท้ายก็เลยเข้าใจอย่างนั้นกันต่อ ๆ กันมาจนทำให้จิงเกิลเบลล์กลายเป็นเพลงของเทศกาลคริสตมาสไปในที่สุด
ทุกวันนี้จิงเกิลเบลล์เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก เป็นเพลงที่มีการนำมาบันทึกเสียงบ่อยครั้งที่สุดในอันดับต้น ๆ ของโลก มีศิลปินดัง ๆ มากหน้าหลายตาที่ได้เคยร้องเพลงจิงเกิลเบลล์ลงในอัลบั้มเพลงกันมาแล้ว รวมถึงมีการแปลเนื้อเพลงเป็นภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา
นอกจากนั้น จิงเกิลเบลล์ยังได้รับเกียรติให้เป็นเพลงแรกของโลกที่มีการถ่ายทอดเสียงจากยานอวกาศกลับมายังพื้นโลกอีกด้วย โดย ทอม สแตฟฟอร์ด (Tom Stafford) และวอลลี่ เชียร์รา (Wally Schirra) นักบินอวกาศของยานเจมินี 6 ได้ร้องเพลงนี้ถ่ายทอดเสียงกลับมายังโลกในขณะที่ยานโคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1965
เรียบเรียงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Jingle_Bells
http://mentalfloss.com/article/29329/jingle-bells-was-originally-written-thanksgiving
http://www.christmassongs.net/one-horse-open-sleigh
ปิดท้ายด้วยเพลงจิงเกิลเบลล์เวอร์ชั่นนี้ ที่เรียบเรียงโดย Robert Smith ใช้ชื่อว่า Jingle Bells Forever โดยนำเพลงจิงเกิลเบลล์มาเรียบเรียงใหม่เป็นสไตล์เพลงมาร์ช แบบ The Star and Stripes Forever ของจอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักแต่งเพลงมาร์ชผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกา
ฟังแล้วอดนึกไม่ได้ว่า ซานตาคลอสเวอร์ชั่นนี้ น่ากลัวจะไม่ได้นั่งรถเลื่อนเทียมกวางเรนเดียร์ แต่น่าจะนั่งรถถัง

หรือไม่ก็เครื่องบินขับไล่ มาแจกของขวัญให้เด็ก ๆ ในวันคริสตมาสเสียมากกว่า
เรื่องจริง ๆ ของเพลงจิงเกิลเบลล์ (Jingle Bells) ไม่ใช่เพลงที่ตั้งใจแต่งสำหรับเทศกาลคริสตมาส!!!
Dashing thro' the snow,
In a one-horse open sleigh,
O'er the hills we go,
Laughing all the way;
Bells on bob tail ring,
Making spirits bright,
Oh what sport to ride and sing
A sleighing song tonight.
|: chorus
Jingle bells, jingle bells,
Jingle all the way;
Oh! what joy it is to ride
In a one-horse open sleigh.
A day or two ago
I tho't I'd take a ride
And soon Miss Fannie Bright
Was seated by my side.
The horse was lean and lank
Misfortune seemed his lot
He got into a drifted bank
And we—we got upsot.
แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว เพลงจิงเกิลเบลล์ เมื่อแรกสุดนั้น ไม่ใช่เพลงที่แต่งขึ้นสำหรับเทศกาลคริสตมาสแต่อย่างใด !!!!!
เพลงจิงเกิลเบลล์แต่งขึ้นโดยเจมส์ ลอร์ด เพียร์พอนต์ (James Lord Pierpont) นักแต่งเพลงชาวอเมริกา เมื่อปี 1857 ในเวลานั้นเพียร์พอนต์กำลังต้องการแต่งเพลงสำหรับให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนที่สอนวันอาทิตย์ในเมืองซาวันนาห์ (Savannah) รัฐจอร์เจีย ได้ขับร้องกันที่โบสถ์ในเมือง ใน "วันขอบคุณพระเจ้า" (Thankgiving day) ของชาวอเมริกา (ตรงกับวันพฤหัสครั้งที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน) เพียร์พอนต์จึงได้นำความประทับใจจากการไปชมการแข่งขันเลื่อนหิมะ (Sleigh) ที่เมืองเมดฟอร์ด (Medford) รัฐแมสซาชูเซตต์ เมื่อปี 1851 มาแต่งเป็นเพลงสำหรับให้เด็กกลุ่มดังกล่าวร้อง
เพลงนี้ตอนแรกได้ตั้งชื่อว่า The One Horse Open Sleigh แต่ต่อมาเมื่อมีการนำบทเพลงนี้มาปรับปรุงแนวทำนองและตีพิมพ์ในปี 1859 จึงได้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น Jingle Bells อย่างที่รู้จักกันในทุกวันนี้
ส่วนที่ว่าทำไมเพลงจิงเกิลเบลล์ถึงได้กลายเป็นเพลงสำหรับเทศกาลคริสตมาสไปได้นั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นเพราะเมื่อมีเทคโนโลยีการบันทึกเสียงครั้งแรกด้วยกระบอกเสียงของเอดิสันในปี 1898 นั้น วงดนตรี Edison Male Quartette ได้บรรเลงชุดเกี่ยวกับเทศกาลคริสตมาส แล้วได้นำเพลงจิงเกิลเบลล์ไปรวมอยู่ในเพลงชุดนั้นด้วย จึงอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดว่าเพลงจิงเกิลเบลล์เป็นเพลงสำหรับเทศกาลคริสต์มาส รวมถึงเนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องกับเลื่อน หิมะ
ทุกวันนี้จิงเกิลเบลล์เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก เป็นเพลงที่มีการนำมาบันทึกเสียงบ่อยครั้งที่สุดในอันดับต้น ๆ ของโลก มีศิลปินดัง ๆ มากหน้าหลายตาที่ได้เคยร้องเพลงจิงเกิลเบลล์ลงในอัลบั้มเพลงกันมาแล้ว รวมถึงมีการแปลเนื้อเพลงเป็นภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา
นอกจากนั้น จิงเกิลเบลล์ยังได้รับเกียรติให้เป็นเพลงแรกของโลกที่มีการถ่ายทอดเสียงจากยานอวกาศกลับมายังพื้นโลกอีกด้วย โดย ทอม สแตฟฟอร์ด (Tom Stafford) และวอลลี่ เชียร์รา (Wally Schirra) นักบินอวกาศของยานเจมินี 6 ได้ร้องเพลงนี้ถ่ายทอดเสียงกลับมายังโลกในขณะที่ยานโคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1965
เรียบเรียงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Jingle_Bells
http://mentalfloss.com/article/29329/jingle-bells-was-originally-written-thanksgiving
http://www.christmassongs.net/one-horse-open-sleigh
ปิดท้ายด้วยเพลงจิงเกิลเบลล์เวอร์ชั่นนี้ ที่เรียบเรียงโดย Robert Smith ใช้ชื่อว่า Jingle Bells Forever โดยนำเพลงจิงเกิลเบลล์มาเรียบเรียงใหม่เป็นสไตล์เพลงมาร์ช แบบ The Star and Stripes Forever ของจอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักแต่งเพลงมาร์ชผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกา
ฟังแล้วอดนึกไม่ได้ว่า ซานตาคลอสเวอร์ชั่นนี้ น่ากลัวจะไม่ได้นั่งรถเลื่อนเทียมกวางเรนเดียร์ แต่น่าจะนั่งรถถัง