By มาร์ตี้ แม็คฟราย
หลังจากที่เปิดจักรวาลใหม่ด้วย Star Wars: The Force Awakens ไปเมื่อปีที่แล้ว ลูคัสฟิล์มภายใต้การบริหารของแคธลีน เคนเนดี ในฐานะบริษัทลูกของ ดิสนีย์ ก็ออกแพลนหนังออกมาคล้ายกับ มาร์เวล ที่วางแผนขยายจักรวาลยังไงอย่างนั้น โดยในปีนี้จะพาเราไปเห็นภารกิจเล็ก ๆที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในเวลาที่ต่อมา เป็นเรื่องราวที่ทำให้เกิดภาค Star Wars: Episode 4 - A New Hope ที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มาประกอบและทำให้เรื่องราวสมบูรณ์มากขึ้น กับเรื่องราวภารกิจของกลุ่มขบถที่ต้องขโมยแบบแปลนดาวมรณะ หรือ เดธสตาร์ นั้นเอง
ตำนานที่ไม่เคยถูกเล่า
จากเรื่องเล่าในฉากเปิดของ Episode 4 ที่ว่าด้วยการขโมยแบบแปลนเดธสตาร์ นำมาสู่หนังภาคแยกที่เล่าถึงภารกิจที่หลายคนลืมไป โดย จิน เออร์โซ ลูกสาวของนักวิทยาศาสตร์กลับใจผู้ที่สร้างเดธสตาร์ ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการรับรู้ถึงวิธีการล้มจักรวรรดิ์ โดยมีพรรคพวกที่บังเอิญเจอกัน ที่นำไปสู่การร่วมมือกันทำภารกิจที่เป็นเหมือนการฆ่าตัวตาย แต่ก็ต้องทำ เพราะเป็นเหมือนความหวังเดียวที่จะสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งได้
ที่ก่อนอื่นต้องชมวิธีการคิดเรื่องให้สอดคล้องและเป็นในแบบที่ Episode 4 เป็น (โดยเชื่ออย่างมากว่าทีมเขียนบทนั้นมี Episode 4 เป็นแบบแปลนที่เป็นดั่งจุดมุ่งหมายของเรื่องในภาคนี้อย่างเห็นได้ชัด) ดังนั้นคนดูจะสามารถเห็นถึงอารมณ์ สถาปัตยกรรม คอสตูม และสถานการณ์ต่าง ๆที่ผสานกับเหตุการณ์ใน Episode 4 ได้อย่างแนบเนียน รวมถึงแก้ไขช่องโหว่ในคำครหาที่เกิดใน Episode 4 ได้อีกด้วยถึงฉากที่ เดธสตาร์ ระเบิดได้อย่างง่ายดายเหลือเกินนั้นมันเพราะอะไร ซึ่งกับภาคนี้คนเขียนบทก็สามารถสร้างเรื่องราวให้เป็นแบบนั้นได้โดยชอบธรรม โดยจะมีผลอย่างยิ่งกับแฟนแดนตายของสตาร์วอร์ส และผู้ที่เคยได้ชมไตรภาค Episode 4-6
แต่ตัวละครนั้นควรถูกเล่า (มากกว่านี้)
แม้จะว่าหนังจะสร้างเรื่องราวที่ดี และสอดคล้องกับตำนานที่เคยถูกเล่ามามากแค่ไหน แต่ปัญหาของหนังที่เห็นได้ชัดที่สุด คงหนีไม่พ้น ตัวละคร
ในหนังเรื่องนี้มีหลากหลายตัวละคร เพราะหากนับตัวละครในกลุ่มที่ทำภารกิจแดนตายนี้ก็มีถึง 5 คนเข้าไปแล้ว ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือบทหนังไม่สามารถให้มิติตัวละครทั้ง 5 ตัวได้อย่างดีเลยสักคน เพราะแต่ละคนนั้นเหมือนเป็นการตกกระไดพลอยโจนไปกับเหตุการณ์ที่บังเอิญนำทั้งหมดมารวมกันเสียมากกว่า ข้อดียังมีตรงที่อย่างน้อยพื้นฐานและแคแรกเตอร์แต่ละตัวละครยังมีความน่าสนใจในตัวเองมากพอ แต่ปัญหาใหญ่ต่อมาก็คือ บทหนังกลับไม่นำความน่าสนใจเหล่านั้นมาพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์อันใด
กลายเป็นเกือบทุกตัวละครมีความแบนราบ ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์ใด ๆกับคนดูมากเท่าที่ควร เพราะหนังแทบไม่มีเหตุการณ์ใดที่พาให้คนดูไปรู้นิสัยใจคอ หรือเรียนรู้ทัศนคติความคิด เหมือนตัวละครถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเพียงผลจากกระทำที่ส่งส่งเสริมกันเพื่อทำภารกิจเพียงเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อเกิดการตัดจบตัวละครใดออกไป มันจึงส่งผลต่อความรู้สึกของคนดูที่ไม่ได้รู้สึกเอาใจช่วยมากตั้งแต่แรก ก็ไม่ได้รู้สึกอะไรมากนัก
ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะหนังไม่สามารถทำให้เรา เข้าถึง เข้าใจ และอินไปกับตัวละครได้ ไม่เหมือนกับ ลุค สกายวอลเกอร์ ฮัน โซโล เจ้าหญิงเลอา หรือแม้แต่กับดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเมื่อหนังต่อให้คนดูไปถึงตัวละครไม่ได้ มันจึงช่วยไม่ได้เลยหากคนดูจะตามไปแค่เรื่องราว และละทิ้งตัวละครต่าง ๆไว้ข้างทาง ในแบบที่มีหรือไม่มีก็คงไม่ต่างกัน
ช่วงองค์หนึ่งที่ชวนง่วง
ปัญหาอีกอย่าง คือหนังในช่วงองก์หนึ่งนั้น เดินช้า และเสียเวลากับการเล่าอะไรที่ไม่จำเป็นเกินไป ทั้งที่หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่จะช่วยให้หลากหลายเส้นเรื่องมาบรรจบกันได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพราะการเล่าเรื่องในช่วงแรกหนังที่มีเส้นเรื่องโยงกันไปมาเยอะแยะไปหมด เมื่อหนังเดินมาสู่การเริ่มภารกิจ รายละเอียดทั้งหลายที่มีให้เห็นในช่วงแรกก็ไม่ถูกหยิบมาใช้อยู่ดี เหมือนเสียเวลาไปเล่าอะไรที่ไม่ได้มีผลอะไรกับเรื่อง สู้เอาเวลาเหล่านั้นไปพัฒนาแคแรกเตอร์ตัวละครและความสัมพันธ์อันเป็นผลกับไคล์แมกซ์จะยังดูเข้าท่าเสียกว่า บวกกับจังหวะเรื่องโดยรวมก็ยังไม่ลงตัวหนัง เพราะเมื่อหนังเดินหน้า ก็เดินหน้าเต็มสูบเสียจนไม่มีการหยุดพัก ทำให้การวางจังหวะและลำดับชั้นเชิงของการเล่าภารกิจนั้นดูไม่ราบรื่น
แต่เขารู้ ..ว่าเราอยากเห็นอะไร
แต่ไม่ว่าจะเจอปัญหาในจุดใดของหนังก็ตาม ต้องยอมรับหนังยังดูสนุก และมีผลมากที่สุดกับคนที่เป็นแฟนสตาร์วอร์ส เพราะหนังมีหลายฉากที่ทำให้เหล่าแฟน ๆต้องร้องกรี๊ด ทั้งสถานการณ์ รวมไปถึงตัวละครจากภาคก่อน ๆ รวมถึงหุ่นยนต์ในความทรงจำทั้งหลาย ที่ออกมาเซอร์ไพรส์คนดู ที่ต้องบอกว่าจุดเซอร์ไพรส์เหล่านั้นเป็นส่วนช่วยให้หนังดูดีและน่าติดตามขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกับฉากของ เสด็จพ่ออย่าง ดาร์ธ เวเดอร์ ที่ออกมาน้อย แต่ได้มากเหลือเกิน เพราะทุกฉากที่ออกมานั้นมีความหมาย และเสน่ห์ของตัวละครที่แข็งแรงมากจนทำให้ทุกฉากที่เวเดอร์ปรากฎตัว จะเป็นฉากที่พลังสูงจนสะกดทุกสายตา จุดนี้ต้องชมผู้กำกับที่กำกับฉากของเวเดอร์ทั้งเรื่องออกมาได้อย่างที่ควรจะเป็น อย่างน้อยมันทำให้แฟนแดนตายได้หายคิดถึงพลางคิดว่า นี่แหละคือเวเดอร์ที่เราอยากจะเห็น
รวมถึงฉากสู้รบว่าต้องยกเครดิตให้ผู้กำกับ แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส์ ที่ถ่ายทอดฉากสู้รบระหว่างกลุ่มกบฏและพวกสตอร์มทรูปเปอร์ ที่ทำออกมาได้ซีเรียส จริงจัง ดุดัน และให้ความรู้สึกรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นตั้งนานแล้ว เพราะที่ผ่านมาในหนังไตรภาคแรก ฉากสู้รบนั้นดูไม่มีความหมายและไม่มีอารมณ์ร่วมกับคนดูมากนัก เพราะหนังไปโฟกัสแต่เพียง ฮัน โซโล เจ้าหญิงเลอา และลุค สกายวอล์คเกอร์ ว่าตัวละครเหล่านี้จะเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง
และสุดท้ายคือไคล์แมกซ์สุดท้าย ที่ทำได้ดี มีพลัง และเชื่อมโยงกับ Episode 4 ได้อย่างแนบเนียนเหลือเกิน ชนิดที่ดูจบแล้วสามารถหยิบแผ่น Episode 4 มาเปิดต่อได้ทันที
จากทั้งหมดนี้ มันจึงคล้ายว่า จุดประสงค์ของ Rogue One: A Star Wars Story ถูกสร้างมาเพื่อเป็นจิกซอว์สำคัญหนึ่งชิ้นที่หายไปเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ประเด็นหลัก มันคือหนังที่ออกมาเพื่อเซอร์วิสแฟนคลับรุ่นเก่าโดยเฉพาะ เหมือนลูคัสฟิล์มนั้นตั้งใจให้เรากลับไปเจอเพื่อนเก่าเพื่อให้หายคิดถึง แล้วมารอ Star Wars: Episode 8 กันต่อในปีหน้านะจ๊ะ ...
ขอบคุณภาพจาก Fanpage FB : Star Wars
หากอ่านแล้วชอบสามารถติดตามบทความจากหนังได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft/ นะครับ
รีวิว Rogue One: A Star Wars Story : เขารู้ ..ว่าเราอยากเห็นอะไร
By มาร์ตี้ แม็คฟราย
หลังจากที่เปิดจักรวาลใหม่ด้วย Star Wars: The Force Awakens ไปเมื่อปีที่แล้ว ลูคัสฟิล์มภายใต้การบริหารของแคธลีน เคนเนดี ในฐานะบริษัทลูกของ ดิสนีย์ ก็ออกแพลนหนังออกมาคล้ายกับ มาร์เวล ที่วางแผนขยายจักรวาลยังไงอย่างนั้น โดยในปีนี้จะพาเราไปเห็นภารกิจเล็ก ๆที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในเวลาที่ต่อมา เป็นเรื่องราวที่ทำให้เกิดภาค Star Wars: Episode 4 - A New Hope ที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มาประกอบและทำให้เรื่องราวสมบูรณ์มากขึ้น กับเรื่องราวภารกิจของกลุ่มขบถที่ต้องขโมยแบบแปลนดาวมรณะ หรือ เดธสตาร์ นั้นเอง
ตำนานที่ไม่เคยถูกเล่า
จากเรื่องเล่าในฉากเปิดของ Episode 4 ที่ว่าด้วยการขโมยแบบแปลนเดธสตาร์ นำมาสู่หนังภาคแยกที่เล่าถึงภารกิจที่หลายคนลืมไป โดย จิน เออร์โซ ลูกสาวของนักวิทยาศาสตร์กลับใจผู้ที่สร้างเดธสตาร์ ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการรับรู้ถึงวิธีการล้มจักรวรรดิ์ โดยมีพรรคพวกที่บังเอิญเจอกัน ที่นำไปสู่การร่วมมือกันทำภารกิจที่เป็นเหมือนการฆ่าตัวตาย แต่ก็ต้องทำ เพราะเป็นเหมือนความหวังเดียวที่จะสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งได้
ที่ก่อนอื่นต้องชมวิธีการคิดเรื่องให้สอดคล้องและเป็นในแบบที่ Episode 4 เป็น (โดยเชื่ออย่างมากว่าทีมเขียนบทนั้นมี Episode 4 เป็นแบบแปลนที่เป็นดั่งจุดมุ่งหมายของเรื่องในภาคนี้อย่างเห็นได้ชัด) ดังนั้นคนดูจะสามารถเห็นถึงอารมณ์ สถาปัตยกรรม คอสตูม และสถานการณ์ต่าง ๆที่ผสานกับเหตุการณ์ใน Episode 4 ได้อย่างแนบเนียน รวมถึงแก้ไขช่องโหว่ในคำครหาที่เกิดใน Episode 4 ได้อีกด้วยถึงฉากที่ เดธสตาร์ ระเบิดได้อย่างง่ายดายเหลือเกินนั้นมันเพราะอะไร ซึ่งกับภาคนี้คนเขียนบทก็สามารถสร้างเรื่องราวให้เป็นแบบนั้นได้โดยชอบธรรม โดยจะมีผลอย่างยิ่งกับแฟนแดนตายของสตาร์วอร์ส และผู้ที่เคยได้ชมไตรภาค Episode 4-6
แต่ตัวละครนั้นควรถูกเล่า (มากกว่านี้)
แม้จะว่าหนังจะสร้างเรื่องราวที่ดี และสอดคล้องกับตำนานที่เคยถูกเล่ามามากแค่ไหน แต่ปัญหาของหนังที่เห็นได้ชัดที่สุด คงหนีไม่พ้น ตัวละคร
ในหนังเรื่องนี้มีหลากหลายตัวละคร เพราะหากนับตัวละครในกลุ่มที่ทำภารกิจแดนตายนี้ก็มีถึง 5 คนเข้าไปแล้ว ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือบทหนังไม่สามารถให้มิติตัวละครทั้ง 5 ตัวได้อย่างดีเลยสักคน เพราะแต่ละคนนั้นเหมือนเป็นการตกกระไดพลอยโจนไปกับเหตุการณ์ที่บังเอิญนำทั้งหมดมารวมกันเสียมากกว่า ข้อดียังมีตรงที่อย่างน้อยพื้นฐานและแคแรกเตอร์แต่ละตัวละครยังมีความน่าสนใจในตัวเองมากพอ แต่ปัญหาใหญ่ต่อมาก็คือ บทหนังกลับไม่นำความน่าสนใจเหล่านั้นมาพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์อันใด
กลายเป็นเกือบทุกตัวละครมีความแบนราบ ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์ใด ๆกับคนดูมากเท่าที่ควร เพราะหนังแทบไม่มีเหตุการณ์ใดที่พาให้คนดูไปรู้นิสัยใจคอ หรือเรียนรู้ทัศนคติความคิด เหมือนตัวละครถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเพียงผลจากกระทำที่ส่งส่งเสริมกันเพื่อทำภารกิจเพียงเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อเกิดการตัดจบตัวละครใดออกไป มันจึงส่งผลต่อความรู้สึกของคนดูที่ไม่ได้รู้สึกเอาใจช่วยมากตั้งแต่แรก ก็ไม่ได้รู้สึกอะไรมากนัก
ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะหนังไม่สามารถทำให้เรา เข้าถึง เข้าใจ และอินไปกับตัวละครได้ ไม่เหมือนกับ ลุค สกายวอลเกอร์ ฮัน โซโล เจ้าหญิงเลอา หรือแม้แต่กับดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเมื่อหนังต่อให้คนดูไปถึงตัวละครไม่ได้ มันจึงช่วยไม่ได้เลยหากคนดูจะตามไปแค่เรื่องราว และละทิ้งตัวละครต่าง ๆไว้ข้างทาง ในแบบที่มีหรือไม่มีก็คงไม่ต่างกัน
ช่วงองค์หนึ่งที่ชวนง่วง
ปัญหาอีกอย่าง คือหนังในช่วงองก์หนึ่งนั้น เดินช้า และเสียเวลากับการเล่าอะไรที่ไม่จำเป็นเกินไป ทั้งที่หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่จะช่วยให้หลากหลายเส้นเรื่องมาบรรจบกันได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพราะการเล่าเรื่องในช่วงแรกหนังที่มีเส้นเรื่องโยงกันไปมาเยอะแยะไปหมด เมื่อหนังเดินมาสู่การเริ่มภารกิจ รายละเอียดทั้งหลายที่มีให้เห็นในช่วงแรกก็ไม่ถูกหยิบมาใช้อยู่ดี เหมือนเสียเวลาไปเล่าอะไรที่ไม่ได้มีผลอะไรกับเรื่อง สู้เอาเวลาเหล่านั้นไปพัฒนาแคแรกเตอร์ตัวละครและความสัมพันธ์อันเป็นผลกับไคล์แมกซ์จะยังดูเข้าท่าเสียกว่า บวกกับจังหวะเรื่องโดยรวมก็ยังไม่ลงตัวหนัง เพราะเมื่อหนังเดินหน้า ก็เดินหน้าเต็มสูบเสียจนไม่มีการหยุดพัก ทำให้การวางจังหวะและลำดับชั้นเชิงของการเล่าภารกิจนั้นดูไม่ราบรื่น
แต่เขารู้ ..ว่าเราอยากเห็นอะไร
แต่ไม่ว่าจะเจอปัญหาในจุดใดของหนังก็ตาม ต้องยอมรับหนังยังดูสนุก และมีผลมากที่สุดกับคนที่เป็นแฟนสตาร์วอร์ส เพราะหนังมีหลายฉากที่ทำให้เหล่าแฟน ๆต้องร้องกรี๊ด ทั้งสถานการณ์ รวมไปถึงตัวละครจากภาคก่อน ๆ รวมถึงหุ่นยนต์ในความทรงจำทั้งหลาย ที่ออกมาเซอร์ไพรส์คนดู ที่ต้องบอกว่าจุดเซอร์ไพรส์เหล่านั้นเป็นส่วนช่วยให้หนังดูดีและน่าติดตามขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกับฉากของ เสด็จพ่ออย่าง ดาร์ธ เวเดอร์ ที่ออกมาน้อย แต่ได้มากเหลือเกิน เพราะทุกฉากที่ออกมานั้นมีความหมาย และเสน่ห์ของตัวละครที่แข็งแรงมากจนทำให้ทุกฉากที่เวเดอร์ปรากฎตัว จะเป็นฉากที่พลังสูงจนสะกดทุกสายตา จุดนี้ต้องชมผู้กำกับที่กำกับฉากของเวเดอร์ทั้งเรื่องออกมาได้อย่างที่ควรจะเป็น อย่างน้อยมันทำให้แฟนแดนตายได้หายคิดถึงพลางคิดว่า นี่แหละคือเวเดอร์ที่เราอยากจะเห็น
รวมถึงฉากสู้รบว่าต้องยกเครดิตให้ผู้กำกับ แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส์ ที่ถ่ายทอดฉากสู้รบระหว่างกลุ่มกบฏและพวกสตอร์มทรูปเปอร์ ที่ทำออกมาได้ซีเรียส จริงจัง ดุดัน และให้ความรู้สึกรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นตั้งนานแล้ว เพราะที่ผ่านมาในหนังไตรภาคแรก ฉากสู้รบนั้นดูไม่มีความหมายและไม่มีอารมณ์ร่วมกับคนดูมากนัก เพราะหนังไปโฟกัสแต่เพียง ฮัน โซโล เจ้าหญิงเลอา และลุค สกายวอล์คเกอร์ ว่าตัวละครเหล่านี้จะเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง
และสุดท้ายคือไคล์แมกซ์สุดท้าย ที่ทำได้ดี มีพลัง และเชื่อมโยงกับ Episode 4 ได้อย่างแนบเนียนเหลือเกิน ชนิดที่ดูจบแล้วสามารถหยิบแผ่น Episode 4 มาเปิดต่อได้ทันที
จากทั้งหมดนี้ มันจึงคล้ายว่า จุดประสงค์ของ Rogue One: A Star Wars Story ถูกสร้างมาเพื่อเป็นจิกซอว์สำคัญหนึ่งชิ้นที่หายไปเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ประเด็นหลัก มันคือหนังที่ออกมาเพื่อเซอร์วิสแฟนคลับรุ่นเก่าโดยเฉพาะ เหมือนลูคัสฟิล์มนั้นตั้งใจให้เรากลับไปเจอเพื่อนเก่าเพื่อให้หายคิดถึง แล้วมารอ Star Wars: Episode 8 กันต่อในปีหน้านะจ๊ะ ...
ขอบคุณภาพจาก Fanpage FB : Star Wars
หากอ่านแล้วชอบสามารถติดตามบทความจากหนังได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft/ นะครับ