โพสนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเห็นโดยสุจริตร่วมกัน ถึงการบังคับใช้กฎหมาย ใครที่จะแสดงความเห็นในทางเอามัน เอาสนุก ขอได้โปรดงดนะครับ
เนื่องจากกรณีดังกล่าว มีประเด็นขึ้นในโลกโซเชียล ที่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย พูดคุย ถกเถียงกัน ถึงการใช้อำนาจของตำรวจว่าแท้ที่จริงแล้วถูกต้องหรือไม่ ท่านคิดเห็นอย่างไรกับการชี้แจงของ ผกก.สภ.บางพลี ถึงการออกมาชี้แจง กรณีการใช้อำนาจของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างถึง มาตรา 59 ซึ่งหมวด 4 การหยุดรถ การจอดรถ ในความคิดผม น่าจะหมายถึงพฤติการที่ผู้ขับขี่อยู่ในภาวะปกติ อยู่ในขณะใช้รถ พารถนั้นไปแล้ว หยุดรถ จอดรถ ตามวรรคแรกของ ม.55 ในขณะเดียวกัน วรรค2 ของ ม.55 ได้มีข้อยกเว้นไว้ ไล่ไปเรื่อยจนถึง ม. 59 ตามที่ ผกก แจงในข่าว หากพิจารณากันโดยถ่องแท้แล้ว การใช้อำนาจตาม ม.59 คงยังต้องคำนึงบถึงพฤติการหลักที่เกิดมาแต่ต้นคือ ม.55 วรรค1 และต้องคำนึงถึง ม.55 วรรค2 ที่กล่าวไว้ว่า ความในวรรค1 มิให้ใช้กับ......(ดู ม.55 วรรค2 ท้ายนี้ที่แนบมา) การจะดำเนินไปยังมาตราต่อๆไป จึงไม่ควรตัดมูลเหตุที่เกิดและข้อยกเว้นที่มีมาแต่ต้นหรือไม่ จะมองท่อนเดียวแล้วบอกว่าใช้ ม.59 ซึ่งเป็นบทที่บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจรว่าจะจัดการกับกรณีข้างต้นที่เกิดมาตั้งแต่ ม.55 โดยไม่มองให้ครบทุกวรรคได้หรือไม่ หรือ ม.55 วรรค2 บัญญัตยกเว้นไว้ แต่ เจ้าพนักงานจะบังคับตาม ม.59 ได้เลย คือบังคับกับเหตุที่เกิดมาจากต้นทาง คือ ม.55 โดยไม่ต้องสนใจวรรค2 ของ ม.55 หรือไม่อย่างไร
เรื่อยไปจนถึง ม.56 ที่ระบุให้รีบเคลื่อนย้ายโดยเร็วที่สุด จากกรณีนี้ รถยนต์เสียบนสะพานกลับรถ อยู่บนเนิน ถ้าคนเข็นเพื่อจะหลบออกจากทางเดินรถคงเข็นไม่ได้ได้โดยทันทีแน่นอน เข็นออกข้างๆก็ไม่ได้ ติดแท่งแบริเออกันตก เข็นขึ้นก็คงไม่ง่ายเหมือนเข็นมอเตอร์ไซต์ ปล่อยไหลถอยหลังลงเนินสะพาน คงไม่ใช่ใช่วิธีที่ปลอดภัยแน่ๆ ถ้าต้องรอรถยก รถยกจะมาได้ทันทีโดยรวดเร็วหรือไม่ ไม่ว่าจะของตำรวจหรือของเอกชน ถ้ารีบแจ้งแล้วรถยกออกมาแล้วแต่การจราจรติดขัดระหว่างทางกว่าจะมาถึงใช้เวลานานมาก และเวลานานมากน้อยเพียงใดจึงจะเรียกว่าโดยเร็วที่สุด กี่ชั่วโมง กี่นาที ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพ และข้อจำกัดจากสภาพแวดล้อมที่อาจไม่สามารถควบคุมได้ พอเป็นเวลานาน จพง.จราจร บอกว่าต้องใช้อำนาจตาม ม.59 แล้ว เพราะนานเกินไป ไม่เคลื่อนย้ายรถออกจากทางเดินรถโดยเร็ว เขียนใบสั่ง
สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ ขอทุกสาขาอาชีพ ยิ่งเป็นทนายความ ผู้รู้กฎหมายยิ่งดีครับ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนที่เข้ามาอ่านจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น ได้รู้วิธีปฏิบัติตนหากพบเจอเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้
ถ้ามีท่านที่มีความรู้ทางช่างยนต์ และสามารถมาอธิบายเหตุที่คนทั่วไปก็อาจไม่คิดว่ารถจะมาเสียโดยไม่คาดคิด ก็ยิ่งดีครับและท่านผู้ที่มีข้อมูลทางกฎหมายมาช่วยปรับเข้ากับเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ ที่ผู้รู้ทางช่างยนต์ได้แสดงความเห็นไว้ยิ่งดีครับ อย่างน้อยเพื่อยังประโยชน์ความรู้ให้กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน
ปล.แทกผิดถูกอย่างไร ขออภัยและชี้แนะเพิ่มเติมได้ครับ
ที่มาของข่าว
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_136273
ขอแนบเนื้อหาใน พรบ จราจรทางบกดังด้านล่างนี้ประกอบครับ
หมวด ๔
การหยุดรถและจอดรถ
มาตรา ๕๔ การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา ๓๗ หรือไฟสัญญาณตามมาตรา ๓๘ ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น
มาตรา ๕๕ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
(๑) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(๒) บนทางเท้า
(๓) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(๔) ในทางร่วมทางแยก
(๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(๖) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(๗) ในเขตปลอดภัย
(๘)[๑๙] ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ซึ่งจำเป็นต้องหยุดรถเพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถ หรือเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องหรือในกรณีที่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๗ เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ
(๑) บนทางเท้า
(๒) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(๓) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
(๔) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
(๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
(๖) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
(๗) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
(๘) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
(๙) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
(๑๐) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
(๑๑) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
(๑๒) ในที่คับขัน
(๑๓) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
(๑๔) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
(๑๕) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
มาตรา ๕๘ การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้น ผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อรถนั้นไว้
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
มาตรา ๕๙[๒๐] เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้
การเคลื่อนย้ายรถหรือใช้เครื่องมือบังคับให้รถที่หยุดหรือจอดอยู่ไม่ให้เคลื่อนย้ายได้ตามวรรคสอง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามมาตรานี้ เว้นแต่ความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการที่รถถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่าคันละห้าร้อยบาทและค่าดูแลรักษาไม่น้อยกว่าวันละสองร้อยบาท
เงินที่ได้จากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซึ่งชำระตามวรรคสี่ เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาตามวรรคสี่ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหน่วงรถนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว โดยในระหว่างที่ยึดหน่วงนั้นให้คำนวณค่าดูแลรักษาเป็นรายวัน ถ้าพ้นกำหนดสามเดือนแล้วเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ยังไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำรถนั้นออกขายทอดตลาดได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้างชำระแล้ว เหลือเงินเท่าใดให้คืนแก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิที่แท้จริงต่อไป
[คำว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๙]
มาตรา ๖๐ การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร
มาตรา ๖๑ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๒ ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ถ้าปรากฏว่า
(๑) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(๒) มีสิ่งปิดกั้นหรือมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(๓) มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไป
ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปได้
มาตรา ๖๓ ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้
มาตรา ๖๔ ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้
จากกรณี ตำรวจจราจร สภ.บางพลีออกใบสั่งปรับรถที่จอดเสียบนสะพานกลับรถ และข่าว ผกก.แจงว่าออกใบสั่งว่าทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
เนื่องจากกรณีดังกล่าว มีประเด็นขึ้นในโลกโซเชียล ที่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย พูดคุย ถกเถียงกัน ถึงการใช้อำนาจของตำรวจว่าแท้ที่จริงแล้วถูกต้องหรือไม่ ท่านคิดเห็นอย่างไรกับการชี้แจงของ ผกก.สภ.บางพลี ถึงการออกมาชี้แจง กรณีการใช้อำนาจของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างถึง มาตรา 59 ซึ่งหมวด 4 การหยุดรถ การจอดรถ ในความคิดผม น่าจะหมายถึงพฤติการที่ผู้ขับขี่อยู่ในภาวะปกติ อยู่ในขณะใช้รถ พารถนั้นไปแล้ว หยุดรถ จอดรถ ตามวรรคแรกของ ม.55 ในขณะเดียวกัน วรรค2 ของ ม.55 ได้มีข้อยกเว้นไว้ ไล่ไปเรื่อยจนถึง ม. 59 ตามที่ ผกก แจงในข่าว หากพิจารณากันโดยถ่องแท้แล้ว การใช้อำนาจตาม ม.59 คงยังต้องคำนึงบถึงพฤติการหลักที่เกิดมาแต่ต้นคือ ม.55 วรรค1 และต้องคำนึงถึง ม.55 วรรค2 ที่กล่าวไว้ว่า ความในวรรค1 มิให้ใช้กับ......(ดู ม.55 วรรค2 ท้ายนี้ที่แนบมา) การจะดำเนินไปยังมาตราต่อๆไป จึงไม่ควรตัดมูลเหตุที่เกิดและข้อยกเว้นที่มีมาแต่ต้นหรือไม่ จะมองท่อนเดียวแล้วบอกว่าใช้ ม.59 ซึ่งเป็นบทที่บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจรว่าจะจัดการกับกรณีข้างต้นที่เกิดมาตั้งแต่ ม.55 โดยไม่มองให้ครบทุกวรรคได้หรือไม่ หรือ ม.55 วรรค2 บัญญัตยกเว้นไว้ แต่ เจ้าพนักงานจะบังคับตาม ม.59 ได้เลย คือบังคับกับเหตุที่เกิดมาจากต้นทาง คือ ม.55 โดยไม่ต้องสนใจวรรค2 ของ ม.55 หรือไม่อย่างไร
เรื่อยไปจนถึง ม.56 ที่ระบุให้รีบเคลื่อนย้ายโดยเร็วที่สุด จากกรณีนี้ รถยนต์เสียบนสะพานกลับรถ อยู่บนเนิน ถ้าคนเข็นเพื่อจะหลบออกจากทางเดินรถคงเข็นไม่ได้ได้โดยทันทีแน่นอน เข็นออกข้างๆก็ไม่ได้ ติดแท่งแบริเออกันตก เข็นขึ้นก็คงไม่ง่ายเหมือนเข็นมอเตอร์ไซต์ ปล่อยไหลถอยหลังลงเนินสะพาน คงไม่ใช่ใช่วิธีที่ปลอดภัยแน่ๆ ถ้าต้องรอรถยก รถยกจะมาได้ทันทีโดยรวดเร็วหรือไม่ ไม่ว่าจะของตำรวจหรือของเอกชน ถ้ารีบแจ้งแล้วรถยกออกมาแล้วแต่การจราจรติดขัดระหว่างทางกว่าจะมาถึงใช้เวลานานมาก และเวลานานมากน้อยเพียงใดจึงจะเรียกว่าโดยเร็วที่สุด กี่ชั่วโมง กี่นาที ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพ และข้อจำกัดจากสภาพแวดล้อมที่อาจไม่สามารถควบคุมได้ พอเป็นเวลานาน จพง.จราจร บอกว่าต้องใช้อำนาจตาม ม.59 แล้ว เพราะนานเกินไป ไม่เคลื่อนย้ายรถออกจากทางเดินรถโดยเร็ว เขียนใบสั่ง
สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ ขอทุกสาขาอาชีพ ยิ่งเป็นทนายความ ผู้รู้กฎหมายยิ่งดีครับ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนที่เข้ามาอ่านจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น ได้รู้วิธีปฏิบัติตนหากพบเจอเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้
ถ้ามีท่านที่มีความรู้ทางช่างยนต์ และสามารถมาอธิบายเหตุที่คนทั่วไปก็อาจไม่คิดว่ารถจะมาเสียโดยไม่คาดคิด ก็ยิ่งดีครับและท่านผู้ที่มีข้อมูลทางกฎหมายมาช่วยปรับเข้ากับเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ ที่ผู้รู้ทางช่างยนต์ได้แสดงความเห็นไว้ยิ่งดีครับ อย่างน้อยเพื่อยังประโยชน์ความรู้ให้กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน
ปล.แทกผิดถูกอย่างไร ขออภัยและชี้แนะเพิ่มเติมได้ครับ
ที่มาของข่าว https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_136273
ขอแนบเนื้อหาใน พรบ จราจรทางบกดังด้านล่างนี้ประกอบครับ
หมวด ๔
การหยุดรถและจอดรถ
มาตรา ๕๔ การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนตามมาตรา ๓๗ หรือไฟสัญญาณตามมาตรา ๓๘ ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น
มาตรา ๕๕ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
(๑) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(๒) บนทางเท้า
(๓) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(๔) ในทางร่วมทางแยก
(๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(๖) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(๗) ในเขตปลอดภัย
(๘)[๑๙] ในลักษณะกีดขวางการจราจร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ซึ่งจำเป็นต้องหยุดรถเพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถ หรือเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องหรือในกรณีที่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๗ เว้นแต่จะได้มีบทบัญญัติ กฎ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ
(๑) บนทางเท้า
(๒) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(๓) ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก
(๔) ในทางข้าม หรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม
(๕) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
(๖) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
(๗) ในระยะสิบเมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
(๘) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน
(๙) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
(๑๐) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
(๑๑) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
(๑๒) ในที่คับขัน
(๑๓) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีกสามเมตร
(๑๔) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
(๑๕) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
มาตรา ๕๘ การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้น ผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อรถนั้นไว้
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
มาตรา ๕๙[๒๐] เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้
การเคลื่อนย้ายรถหรือใช้เครื่องมือบังคับให้รถที่หยุดหรือจอดอยู่ไม่ให้เคลื่อนย้ายได้ตามวรรคสอง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามมาตรานี้ เว้นแต่ความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการที่รถถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่าคันละห้าร้อยบาทและค่าดูแลรักษาไม่น้อยกว่าวันละสองร้อยบาท
เงินที่ได้จากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซึ่งชำระตามวรรคสี่ เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาตามวรรคสี่ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหน่วงรถนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว โดยในระหว่างที่ยึดหน่วงนั้นให้คำนวณค่าดูแลรักษาเป็นรายวัน ถ้าพ้นกำหนดสามเดือนแล้วเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ยังไม่ชำระค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำรถนั้นออกขายทอดตลาดได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด ค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้างชำระแล้ว เหลือเงินเท่าใดให้คืนแก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิที่แท้จริงต่อไป
[คำว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๙]
มาตรา ๖๐ การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร
มาตรา ๖๑ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๒ ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ถ้าปรากฏว่า
(๑) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(๒) มีสิ่งปิดกั้นหรือมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(๓) มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไป
ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปได้
มาตรา ๖๓ ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้
มาตรา ๖๔ ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้