วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 12:00:00 น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320552390&grpid=01&catid=01
หลายครั้งที่ "การตัดสินใจ" ใดๆ ได้เปลี่ยนชีวิตใครบางคนไปในแบบที่ "ไม่อาจคาดเดาได้"
แต่ใครคนนั้นคงไม่ชื่อ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ (เงา) ผู้ทิ้งอาชีพ "หมอสูตินารีเวช" มาเป็น "นักการเมือง" ด้วยแรงผลักดันจากความใฝ่ฝันที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ตั้งแต่เด็กๆ
แม้เส้นทางชีวิตช่วงเริ่มต้นจะถูกผลักดันโดยคนรอบข้าง ทำให้ "หมอวรงค์" ผู้มีชื่อเล่นว่า "โก๋" ซึ่งเกิดและเติบโตใน อ.เมือง จ.สุโขทัย ตัดสินใจไปเรียนคณะ แพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"คนสมัยก่อนมีค่านิยมว่าเด็กที่เรียนเก่ง พ่อแม่เพื่อนบ้านก็มักจะบอกว่าอย่างเธอน่าจะเรียนหมอนะ ทั้งที่เราไม่รู้เลยว่าอาชีพหมอเป็นยังไง นอกจากฉีดยารักษาโรค"
ถึงถูกกล่อมเกลาให้กลายเป็นบุรุษผู้เคร่งขรึมในเสื้อกาวน์สีขาว ทว่า "

ว่าที่)หมอโก๋" กลับเน้นทำกิจกรรมมากกว่าอ่านหนังสือเล่มโตๆ
และนับจากเรียนจบ ชีวิตของเขาก็ก้าวเดินไปบน เส้นทางที่เลือกเอง ทั้งการตัดสินใจควงว่าที่ภรรยาไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลไกลปืนเที่ยงแห่งหนึ่งใน อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 1 ปี ต่อด้วยโรงพยาบาลอีกแห่งใน อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย อีก 3 ปี โดยได้ดำรงตำแหน่ง "ผู้อำนวยการโรงพยาบาล"
"พอถึงจุดหนึ่ง ผมถามตัวเองว่าเราจะอยู่อย่างไร เพราะถ้าอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ได้ไปเป็นแค่สาธารณสุขจังหวัด หรืออย่างดีก็แค่เข้ากระทรวง แต่ผมมีความฝันลึกๆ มานานแล้วว่าจะเป็นนักการเมือง จึงคิดว่าน่าจะไปอยู่แถวบ้าน"
จากนั้น "นพ.วรงค์" ก็ขอทุนจากโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก เพื่อกลับไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยครั้งนี้เขาเลือกเรียนต่อด้านสูตินารีเวช แม้ชอบการผ่าตัด ซึ่งควรเลือกเรียนต่อด้านศัลยแพทย์ ทว่า หากเป็น "หมอศัลย์" งานจะโหด หลายครั้งต้องถูกปลุกมาทำงานกลางดึก ส่วน "หมอสูติฯ" งานสบายกว่า แค่ทำคลอดโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
"สูติศาสตร์ มันเกี่ยวกับการเกิดทั้งหมด ไม่ว่าจะคลอดเองหรือการผ่า ส่วนนารีเวชคือปัญหาอื่นๆ ของผู้หญิงตั้งแต่สะดือลงมาจนถึงบริเวณอุ้งเชิงกราน"
ด้วยหลักการตรวจโรคทั่วไป ปกติจะใช้วิธีดู-คลำ-เคาะ-ฟัง แต่สำหรับหมอสูติฯ จะใช้การ "ดู" ร่วมกับการ "ดม" เพราะโรคส่วนใหญ่ของคนไข้ต้องใช้ตกขาวบ่งบอกวิธีการรักษา
หลังเป็น "หมอสูติฯ" ได้ระยะหนึ่ง เขาไปรับทุนจากมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ไปดูงานที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 เดือนครึ่ง พอกลับมา นพ.จรัล ใจแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช (เวลานั้น) เลื่อนตำแหน่งให้ "นพ.วรงค์" ไปเป็นหัวหน้าตึกผู้ป่วยนอก
ถือเป็นการพลิกบทบาทสำคัญจากทำงานหน้า "ขาหยั่ง" ไปเป็น "ฝ่ายบริหาร" โดย "หัวหน้าโก๋" เข้าจัดการ "พื้นที่รับผิดชอบ" ของตน ตั้งแต่ปรับปรุงอาคาร ไปกระทั่งเปลี่ยนยูนิฟอร์มพนักงานต้อนรับ เพื่อล้างภาพลักษณ์อึมครึมเยี่ยงโรงหมอทั่วไป
ขณะเดียวกันเขาตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ (นิด้า) วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เองที่กลายเป็น "จุดเปลี่ยน" ให้ชีวิตของชายชื่อ "นพ.วรงค์" ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
"ที่นิด้าจะมีนักการเมืองท้องถิ่นมาเรียนเยอะ ผมอาจเป็นคนที่จับคอนเซ็ปต์ (หลักการ) ได้ดีจึงได้เป็น ติวเตอร์เพื่อนๆ ก็เกิดกระแส ได้รับเสียงชมจากอาจารย์นิด้าเยอะ กระทั่งวันนึงผมไปทำวิจัยก่อนจบ ก็ไปขอสัมภาษณ์คุณเปรมฤดี ชามพูนุท นายกเทศมนตรีพิษณุโลก (ขณะนั้น) ภริยาคุณสุชน เกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานจังหวัด ผมไม่เคยรู้จักเขา ด้วยนะ รู้แค่ว่าเขาเป็นนายกเทศมนตรี บังเอิญเขามาเรียน ป.โทนิด้ารุ่นหลังผม 2 ปี เขาก็คงรู้ว่าผมเก่งเป็นติวเตอร์ และมีชื่อเสียงว่าโรงพยาบาลพุทธชินราช หมอวรงค์เป็นคนทำ ต่อมาในปี 2546 พรรคไทยรักไทยต้องการหาผู้สมัครเตรียมลง ส.ส. เขาจึงส่งคนชวนผมว่าสนใจเล่นการเมืองไหม"
นับแต่นั้นมา หลังเลิกงาน "หมอวรงค์" จะต้องไปเดินตาม "เปรมฤดี" เยี่ยมประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ อยู่เสมอ เป็นช่วงเวลาที่ช่วยขยายโลกทรรศน์จากเดิมที่มีแค่ห้องตรวจเจือกลิ่นฟอร์มาลิน
"โลกของหมอมันต้องมีมาดนิดหน่อย คนไข้เข้ามาต้องสวัสดี แล้วหมอถึงจะอธิบาย แต่ทางการเมืองมันไม่ใช่ มันต้องวิ่งไปหาแล้วทักทายเลยนะ แค่การไหว้มันก็คนละมุมแล้ว ใหม่ๆ ก็งงเหมือนกัน ต้องเข้าไปเรียนรู้ ถึงได้ อ๋อ... ว่าวัฒนธรรมของวิชาชีพมันต่างกัน อาชีพหมอต้องนิ่งๆ ดูสุขุมนิดๆ อาชีพนักการเมืองมันต้องเจาะแจ๊ะ ถ้ามัวแต่นั่งวางฟอร์มเหมือนหมอ คุณไม่มีทางชนะการเลือกตั้ง มันต้องเปลี่ยนบุคลิกอีกแบบ"
เมื่อตั้งใจว่าจะลง ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 ให้ได้ ทำให้ต้องหาเสียงไปไกลกว่าเขตเมือง โดยบุกไปกระทั่งพื้นที่ๆ เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน
"ผมต้องไปหารถกระบะคันหนึ่งขับไปตามตำบลต่างๆ ตอนแรกไม่รู้ไปไหน ก็นึกถึงสถานีอนามัย ไปคุยกับหัวหน้าสถานีว่า ผมหมอวรงค์อยากจะลง ส.ส. เขาก็ไม่อยากเชื่อ เพราะชื่อนี้ไม่มีใครรู้จักทางการเมือง แต่เขาก็บอกว่าเวลาประชุม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข) เขาจะบอกให้ มันยากมากนะการเริ่มต้นการเมืองโดยที่ไม่รู้จักใครสักคน เวลาไปใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับ ไปงานเขาก็ไม่สนใจ จำได้เลยว่าเวลาขับรถกลับบ้าน บางครั้งคิดว่าทำไมชีวิตเราต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องทรมานขนาดนี้ แต่มันก็มีอีกความรู้สึกว่าถ้ามันจะเกิดอะไรก็ต้องเกิด อย่างดีก็แค่แพ้"
หลายครั้งที่ไปแล้วถูกหลอกให้เลี้ยงข้าวฟรีให้เจ็บใจเล่น แต่สุดท้ายเขาก็มีมุขเด็ดที่คิดขึ้นเองในการหาเสียงเป็นครั้งแรกๆ ด้วยการกระโดดขึ้นเวทีจับไมค์แล้วร้องเพลงลูกทุ่ง เพราะเชื่อว่า "เพลง" เป็นสื่อในการลดช่องว่างระหว่าง "คนแปลกหน้า" ได้
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาสดใสของ "ว่าที่นักการเมืองหน้าใหม่" รายนี้ถึงคราวยุติลงราวกลางปี 2547 เมื่อรู้ว่าท้ายที่สุดแล้วผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 ของ ทรท.ไม่ได้ชื่อ "วรงค์" เพราะหัวหน้า ทรท.ที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดึงอดีต ส.ส.รายหนึ่งให้มาลงในตำแหน่งที่ควรเป็นของเขา?
"สมัยอยู่ ทรท.เขาให้ผมทำอะไรก็ทำ วันเกิดคุณเยาวภา (วงศ์สวัสดิ์ แกนนำ ทรท.กลุ่มวังบัวบาน) เราก็ไปบ้าง แต่ไม่ได้สนิท เพราะเราโนเนม ได้เจอแค่ 1-2 ครั้ง ถือว่าห่างมาก วันที่รู้ว่าเขาไม่เอาก็มีความรู้สึกว่า เฮ้ย.. เขาหลอกผมนี่หว่า(น้ำตาซึม)"
ชีวิตการ(อยาก)เป็นผู้แทนฯ ของ "หมอวรงค์" เกือบจะจบลงตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่ม ทว่า เหมือนฟ้ากำหนดว่าอย่างไรเสียเขาก็ต้องเป็น "นักการเมือง" เมื่อ "แม่ยกแฟนเพลง" เชียร์ให้เขาย้ายไปลงสมัคร ส.ส.ในนาม ปชป.แทน
โดยมี นคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก ปชป.ในขณะนั้น มาชวนอย่างจริงจัง
"วันที่ผมมาสมัคร ปชป.แล้วกลับไป มันเริ่มมีกระแสเห็นใจผม เพราะผมขึ้นป้าย ทรท.ก่อนหน้านี้ วันที่ผมไปรื้อป้าย มีคนไปช่วยงาน 2-3 คน คนจอดให้กำลังใจเยอะ จำได้ว่ารถจอดเหมือนรถติดเลยเพื่อลงมาคุยกับผม ไม่ต้องกลัวนะ ยังไงก็ช่วย"
ในวันที่เข็มทิศการเมืองเบนไปสู่พรรคคู่แข่ง คน ทรท. เริ่มเสียดาย "นพ.วรงค์" จึงพยายามติดต่อให้กลับไปเป็นสมาชิก ทรท. โดย "เจ๊แดง" ลงทุนนัดพบเพื่อกล่อมให้เขากลับไปอยู่พรรคเดิม โดยรับปากให้ลง ส.ส.บัญชีรายชื่อในลำดับที่ได้เป็น ส.ส.แน่
แต่ "หมอ" ที่เพิ่งถ่าย "เลือดสีฟ้า" เข้าสู่ร่างกายปฏิเสธ เพราะกลัวถูกหลอกอีก
กระทั่งวันหนึ่ง "พ.ต.ท.ทักษิณ" โทร.หาผู้ใหญ่คนหนึ่งเพื่อนัดให้เขาไปพบที่ทำเนียบรัฐบาล
"ผมสะดุ้งเลย อุ้ย! คุณทักษิณจะให้ผมไปเจอ ก็มาคุยกับทีมงานว่าเอายังไงดี ก่อนตัดสินใจว่า อย่าไปเลย เดี๋ยวเขาเอาเสื้อมาใส่ต่อหน้านักข่าว หรือจะเจอบารมีเขา สุดท้ายก็เลยไม่ได้ไป"
หลังผ่านมรสุมชีวิต (การเมือง) ในช่วงตั้งไข่ "นพ.วรงค์" ก็คลอดออกมาเป็น ส.ส. เป็นหนแรกของชีวิตได้สำเร็จ เมื่อประชาชนกว่า 3.9 หมื่นคน เทคะแนนให้เขา ชนะคู่แข่งที่ได้เพียง 2.2 หมื่นคะแนน
ถึงวันนี้เขาเป็น ส.ส.มาแล้ว 3 สมัย ไม่เคยสอบตก นอกจากนี้ยังมีบทบาทใน ปชป.มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งได้เป็นถึงรัฐมนตรี (เงา)
เขายอมรับว่าเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเป็น "รัฐมนตรี" สักกระทรวงหนึ่ง แม้จะรู้ว่าด้วยวัฒนธรรมของ ปชป.อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
"แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ และถ้ามีโอกาส ผมก็จะทำให้เต็มที่"!!!
ที่มา หน้า 8,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2554
"หมอ วรงค์"เคยเป็นเด็ก ทรท. แต่ทำไมปัจจุบันนี้ ถึงจัดหนัก นส.เจ้านายเก่าแบบนั้น ?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320552390&grpid=01&catid=01
หลายครั้งที่ "การตัดสินใจ" ใดๆ ได้เปลี่ยนชีวิตใครบางคนไปในแบบที่ "ไม่อาจคาดเดาได้"
แต่ใครคนนั้นคงไม่ชื่อ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ (เงา) ผู้ทิ้งอาชีพ "หมอสูตินารีเวช" มาเป็น "นักการเมือง" ด้วยแรงผลักดันจากความใฝ่ฝันที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ตั้งแต่เด็กๆ
แม้เส้นทางชีวิตช่วงเริ่มต้นจะถูกผลักดันโดยคนรอบข้าง ทำให้ "หมอวรงค์" ผู้มีชื่อเล่นว่า "โก๋" ซึ่งเกิดและเติบโตใน อ.เมือง จ.สุโขทัย ตัดสินใจไปเรียนคณะ แพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"คนสมัยก่อนมีค่านิยมว่าเด็กที่เรียนเก่ง พ่อแม่เพื่อนบ้านก็มักจะบอกว่าอย่างเธอน่าจะเรียนหมอนะ ทั้งที่เราไม่รู้เลยว่าอาชีพหมอเป็นยังไง นอกจากฉีดยารักษาโรค"
ถึงถูกกล่อมเกลาให้กลายเป็นบุรุษผู้เคร่งขรึมในเสื้อกาวน์สีขาว ทว่า "
และนับจากเรียนจบ ชีวิตของเขาก็ก้าวเดินไปบน เส้นทางที่เลือกเอง ทั้งการตัดสินใจควงว่าที่ภรรยาไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลไกลปืนเที่ยงแห่งหนึ่งใน อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 1 ปี ต่อด้วยโรงพยาบาลอีกแห่งใน อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย อีก 3 ปี โดยได้ดำรงตำแหน่ง "ผู้อำนวยการโรงพยาบาล"
"พอถึงจุดหนึ่ง ผมถามตัวเองว่าเราจะอยู่อย่างไร เพราะถ้าอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ได้ไปเป็นแค่สาธารณสุขจังหวัด หรืออย่างดีก็แค่เข้ากระทรวง แต่ผมมีความฝันลึกๆ มานานแล้วว่าจะเป็นนักการเมือง จึงคิดว่าน่าจะไปอยู่แถวบ้าน"
จากนั้น "นพ.วรงค์" ก็ขอทุนจากโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก เพื่อกลับไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยครั้งนี้เขาเลือกเรียนต่อด้านสูตินารีเวช แม้ชอบการผ่าตัด ซึ่งควรเลือกเรียนต่อด้านศัลยแพทย์ ทว่า หากเป็น "หมอศัลย์" งานจะโหด หลายครั้งต้องถูกปลุกมาทำงานกลางดึก ส่วน "หมอสูติฯ" งานสบายกว่า แค่ทำคลอดโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
"สูติศาสตร์ มันเกี่ยวกับการเกิดทั้งหมด ไม่ว่าจะคลอดเองหรือการผ่า ส่วนนารีเวชคือปัญหาอื่นๆ ของผู้หญิงตั้งแต่สะดือลงมาจนถึงบริเวณอุ้งเชิงกราน"
ด้วยหลักการตรวจโรคทั่วไป ปกติจะใช้วิธีดู-คลำ-เคาะ-ฟัง แต่สำหรับหมอสูติฯ จะใช้การ "ดู" ร่วมกับการ "ดม" เพราะโรคส่วนใหญ่ของคนไข้ต้องใช้ตกขาวบ่งบอกวิธีการรักษา
หลังเป็น "หมอสูติฯ" ได้ระยะหนึ่ง เขาไปรับทุนจากมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ไปดูงานที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 เดือนครึ่ง พอกลับมา นพ.จรัล ใจแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช (เวลานั้น) เลื่อนตำแหน่งให้ "นพ.วรงค์" ไปเป็นหัวหน้าตึกผู้ป่วยนอก
ถือเป็นการพลิกบทบาทสำคัญจากทำงานหน้า "ขาหยั่ง" ไปเป็น "ฝ่ายบริหาร" โดย "หัวหน้าโก๋" เข้าจัดการ "พื้นที่รับผิดชอบ" ของตน ตั้งแต่ปรับปรุงอาคาร ไปกระทั่งเปลี่ยนยูนิฟอร์มพนักงานต้อนรับ เพื่อล้างภาพลักษณ์อึมครึมเยี่ยงโรงหมอทั่วไป
ขณะเดียวกันเขาตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ (นิด้า) วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เองที่กลายเป็น "จุดเปลี่ยน" ให้ชีวิตของชายชื่อ "นพ.วรงค์" ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
"ที่นิด้าจะมีนักการเมืองท้องถิ่นมาเรียนเยอะ ผมอาจเป็นคนที่จับคอนเซ็ปต์ (หลักการ) ได้ดีจึงได้เป็น ติวเตอร์เพื่อนๆ ก็เกิดกระแส ได้รับเสียงชมจากอาจารย์นิด้าเยอะ กระทั่งวันนึงผมไปทำวิจัยก่อนจบ ก็ไปขอสัมภาษณ์คุณเปรมฤดี ชามพูนุท นายกเทศมนตรีพิษณุโลก (ขณะนั้น) ภริยาคุณสุชน เกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานจังหวัด ผมไม่เคยรู้จักเขา ด้วยนะ รู้แค่ว่าเขาเป็นนายกเทศมนตรี บังเอิญเขามาเรียน ป.โทนิด้ารุ่นหลังผม 2 ปี เขาก็คงรู้ว่าผมเก่งเป็นติวเตอร์ และมีชื่อเสียงว่าโรงพยาบาลพุทธชินราช หมอวรงค์เป็นคนทำ ต่อมาในปี 2546 พรรคไทยรักไทยต้องการหาผู้สมัครเตรียมลง ส.ส. เขาจึงส่งคนชวนผมว่าสนใจเล่นการเมืองไหม"
นับแต่นั้นมา หลังเลิกงาน "หมอวรงค์" จะต้องไปเดินตาม "เปรมฤดี" เยี่ยมประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ อยู่เสมอ เป็นช่วงเวลาที่ช่วยขยายโลกทรรศน์จากเดิมที่มีแค่ห้องตรวจเจือกลิ่นฟอร์มาลิน
"โลกของหมอมันต้องมีมาดนิดหน่อย คนไข้เข้ามาต้องสวัสดี แล้วหมอถึงจะอธิบาย แต่ทางการเมืองมันไม่ใช่ มันต้องวิ่งไปหาแล้วทักทายเลยนะ แค่การไหว้มันก็คนละมุมแล้ว ใหม่ๆ ก็งงเหมือนกัน ต้องเข้าไปเรียนรู้ ถึงได้ อ๋อ... ว่าวัฒนธรรมของวิชาชีพมันต่างกัน อาชีพหมอต้องนิ่งๆ ดูสุขุมนิดๆ อาชีพนักการเมืองมันต้องเจาะแจ๊ะ ถ้ามัวแต่นั่งวางฟอร์มเหมือนหมอ คุณไม่มีทางชนะการเลือกตั้ง มันต้องเปลี่ยนบุคลิกอีกแบบ"
เมื่อตั้งใจว่าจะลง ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 ให้ได้ ทำให้ต้องหาเสียงไปไกลกว่าเขตเมือง โดยบุกไปกระทั่งพื้นที่ๆ เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน
"ผมต้องไปหารถกระบะคันหนึ่งขับไปตามตำบลต่างๆ ตอนแรกไม่รู้ไปไหน ก็นึกถึงสถานีอนามัย ไปคุยกับหัวหน้าสถานีว่า ผมหมอวรงค์อยากจะลง ส.ส. เขาก็ไม่อยากเชื่อ เพราะชื่อนี้ไม่มีใครรู้จักทางการเมือง แต่เขาก็บอกว่าเวลาประชุม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข) เขาจะบอกให้ มันยากมากนะการเริ่มต้นการเมืองโดยที่ไม่รู้จักใครสักคน เวลาไปใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับ ไปงานเขาก็ไม่สนใจ จำได้เลยว่าเวลาขับรถกลับบ้าน บางครั้งคิดว่าทำไมชีวิตเราต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องทรมานขนาดนี้ แต่มันก็มีอีกความรู้สึกว่าถ้ามันจะเกิดอะไรก็ต้องเกิด อย่างดีก็แค่แพ้"
หลายครั้งที่ไปแล้วถูกหลอกให้เลี้ยงข้าวฟรีให้เจ็บใจเล่น แต่สุดท้ายเขาก็มีมุขเด็ดที่คิดขึ้นเองในการหาเสียงเป็นครั้งแรกๆ ด้วยการกระโดดขึ้นเวทีจับไมค์แล้วร้องเพลงลูกทุ่ง เพราะเชื่อว่า "เพลง" เป็นสื่อในการลดช่องว่างระหว่าง "คนแปลกหน้า" ได้
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาสดใสของ "ว่าที่นักการเมืองหน้าใหม่" รายนี้ถึงคราวยุติลงราวกลางปี 2547 เมื่อรู้ว่าท้ายที่สุดแล้วผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 ของ ทรท.ไม่ได้ชื่อ "วรงค์" เพราะหัวหน้า ทรท.ที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดึงอดีต ส.ส.รายหนึ่งให้มาลงในตำแหน่งที่ควรเป็นของเขา?
"สมัยอยู่ ทรท.เขาให้ผมทำอะไรก็ทำ วันเกิดคุณเยาวภา (วงศ์สวัสดิ์ แกนนำ ทรท.กลุ่มวังบัวบาน) เราก็ไปบ้าง แต่ไม่ได้สนิท เพราะเราโนเนม ได้เจอแค่ 1-2 ครั้ง ถือว่าห่างมาก วันที่รู้ว่าเขาไม่เอาก็มีความรู้สึกว่า เฮ้ย.. เขาหลอกผมนี่หว่า(น้ำตาซึม)"
ชีวิตการ(อยาก)เป็นผู้แทนฯ ของ "หมอวรงค์" เกือบจะจบลงตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่ม ทว่า เหมือนฟ้ากำหนดว่าอย่างไรเสียเขาก็ต้องเป็น "นักการเมือง" เมื่อ "แม่ยกแฟนเพลง" เชียร์ให้เขาย้ายไปลงสมัคร ส.ส.ในนาม ปชป.แทน
โดยมี นคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก ปชป.ในขณะนั้น มาชวนอย่างจริงจัง
"วันที่ผมมาสมัคร ปชป.แล้วกลับไป มันเริ่มมีกระแสเห็นใจผม เพราะผมขึ้นป้าย ทรท.ก่อนหน้านี้ วันที่ผมไปรื้อป้าย มีคนไปช่วยงาน 2-3 คน คนจอดให้กำลังใจเยอะ จำได้ว่ารถจอดเหมือนรถติดเลยเพื่อลงมาคุยกับผม ไม่ต้องกลัวนะ ยังไงก็ช่วย"
ในวันที่เข็มทิศการเมืองเบนไปสู่พรรคคู่แข่ง คน ทรท. เริ่มเสียดาย "นพ.วรงค์" จึงพยายามติดต่อให้กลับไปเป็นสมาชิก ทรท. โดย "เจ๊แดง" ลงทุนนัดพบเพื่อกล่อมให้เขากลับไปอยู่พรรคเดิม โดยรับปากให้ลง ส.ส.บัญชีรายชื่อในลำดับที่ได้เป็น ส.ส.แน่
แต่ "หมอ" ที่เพิ่งถ่าย "เลือดสีฟ้า" เข้าสู่ร่างกายปฏิเสธ เพราะกลัวถูกหลอกอีก
กระทั่งวันหนึ่ง "พ.ต.ท.ทักษิณ" โทร.หาผู้ใหญ่คนหนึ่งเพื่อนัดให้เขาไปพบที่ทำเนียบรัฐบาล
"ผมสะดุ้งเลย อุ้ย! คุณทักษิณจะให้ผมไปเจอ ก็มาคุยกับทีมงานว่าเอายังไงดี ก่อนตัดสินใจว่า อย่าไปเลย เดี๋ยวเขาเอาเสื้อมาใส่ต่อหน้านักข่าว หรือจะเจอบารมีเขา สุดท้ายก็เลยไม่ได้ไป"
หลังผ่านมรสุมชีวิต (การเมือง) ในช่วงตั้งไข่ "นพ.วรงค์" ก็คลอดออกมาเป็น ส.ส. เป็นหนแรกของชีวิตได้สำเร็จ เมื่อประชาชนกว่า 3.9 หมื่นคน เทคะแนนให้เขา ชนะคู่แข่งที่ได้เพียง 2.2 หมื่นคะแนน
ถึงวันนี้เขาเป็น ส.ส.มาแล้ว 3 สมัย ไม่เคยสอบตก นอกจากนี้ยังมีบทบาทใน ปชป.มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งได้เป็นถึงรัฐมนตรี (เงา)
เขายอมรับว่าเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเป็น "รัฐมนตรี" สักกระทรวงหนึ่ง แม้จะรู้ว่าด้วยวัฒนธรรมของ ปชป.อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
"แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ และถ้ามีโอกาส ผมก็จะทำให้เต็มที่"!!!
ที่มา หน้า 8,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2554