สำนวนความในบทนั้นๆ มีความหมายและคุณค่าแท้ในเชิงวรรณกรรม แต่ไม่ใช่ปาฐะเพื่อการอ้างอิงข้อเท็จจริง ที่ใครๆจะสามารถยึดถือได้

พระไตรปิฎกมีคุณค่าในเชิงวรรณกรรม และพระสงฆ์สามารถร่วมกันกระทำให้สิ้นสุดด้วยสังคายนาอีกครั้ง เมื่อไหร่ก็ได้  หากสิ่งนั้น สำนวนนั้นสงฆ์ไม่รับรอง  ก็เป็นอันว่าต้องล่วงเลยหรือตกไป   ข้อว่า ตนเองจะคิดเองเห็นเองกระทำหาเหตุด้วยกันกะกรณีนี้อย่างไรบ้าง มีดังนี้

   ค้นหาจาก: พระวินัยปิฎก

ฉบับ มมร. เล่ม๗ หน้า๑๗๗-๑๗๘ บรรทัด๒๑,๒๒-๑,๔

สองบทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ คือเราด้วย ท่านทั้งหลายด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ นี้ อย่างนี้ว่า ความ
แล่นไป ความท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วแก่เราด้วย แก่ท่านทั้งหลายด้วย.
บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา  มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ
ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น
ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.

   ข้ออ้างจากบทที่มีมา และด้วยสุตตะนั้นๆ เช่น เรื่องเชือก

เรื่องเชือกเห็นจะเคยได้ยินการศึกษากัน  ว่ากันว่า เป็นภาษาสื่อสารกันในมนุษย์ ในการที่จะสร้างสัญลักษณ์เครื่องหมายแรกๆเพื่อใช้เป็นการสื่อสาร แทนคำสั่ง และความหมาย  โดยกำหนดร่วมกันเป็นภาษาปมเชือกหรือลายเชือกแบบต่างๆ  ปมเชือก การถักทอ เป็นเริ่มต้นแห่งอารยธรรมแห่งมนุษย์ด้วยการวัฒนาสถาพรมานับแต่นั้น จนถึงสมัยปัจจุบันนี้เอง  มีภาษามีสัญลักษณ์ และสมการ ต่างๆ (code)มากมายแล้ว  แต่! เป็นเหตุให้ไสู่ภพ ด้วยบทนั้นๆ ว่า ภวเนตฺตี สมูหตา  เป็นต้น

   ข้ออ้างหมายเหตุ ด้วยสำนวน และคติอื่นๆ เช่น

บ้างว่า
จงศึกษาอย่างถ่อมตน แต่จงสู้อย่างผู้ชนะ      

บ้างว่า
แน่ะ! เชือกวัดอยู่ในมือเจ้าแล้ว จงเงยหน้ามองดูสิ่งที่พึงแลเห็น เจ้ากะลังจะใช้เชือกวัดในมือของเจ้าทำอะไร?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่