มีสปอยนะครับ
พอดีเฟสบุ๊คมันเตือนมา เป็นคำเขียนอธิบายตอนที่ออกจากโรงหนังเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์ตุ๊กแกรักแป้งมาก เลยมาเขียนความรุ้สึกหลังจากได้ชม
พึ่งมีโอกาสได้ดู "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" หลายคนให้ทรรศนะว่านี่คือหนังดีเรื่องหนึ่งแห่งปี แต่ทรรศนะส่วนตัวมีความเห็นว่า ดี อย่างเดียวนี่ยังดูไม่ครบองค์เสียเท่าไหร่สำหรับหนังเรื่องนี้ เพราะนี่คือ "ภาพยนตร์สารคดีเสียดสีอุตสาหกรรมหนังไทยชั้นเลิศ" (มีสปอยเล็กน้อย)
ความคาดหวังในการดูหนังเรื่องนี้ก็แค่หนังน่ารักสักเรื่องตามที่ผู้กำกับเคยออกมาปรารภ ไหนได้อารัมภบทเริ่มเรื่องจากเฮียปลาที่กล่าวด่าลอยๆ แต่โดยลึกแล้วกลับเสียดสีอุตสาหกรรมหนังไทยที่สนใจเพียงรายได้ โดยให้คุณค่าเพียงชื่อเรื่องตามกระแสตลาด และชอบเอาหนังเก่าๆทั้งหลายมารีเมคกันอยู่ร่ำไป ซึ่งหาได้สนใจ Content ตัวบทและการเล่าเรื่อง หากแต่ต้องการเพียงชื่อที่จะขายได้เป็นพอ สิ่งนี้ถูกย้ำเตือนในซีนหนึ่งซึ่งถ่ายหน้าโรงหนังสกาล่า ที่มีชื่อเรื่องหน้าโรงว่า "พ่อมากพระโขนง 3001" ซึ่งให้ความหมายก็ตรงตัวว่า ต่อให้ผ่านไปพันปีก็จะยังวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
"บทดีๆกำลังจะตายHAไปกับวงการหนังไทย" ตัวดำเนินเรื่องอย่างเก้าจิรายุถูกถ่ายทอดออกมาให้เป็นผู้ที่รักและเข้าใจในจุดยืนของหนังและให้ความสำคัญการถ่ายทอดเรื่องราวถึงผู้ดูด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวงการหนังคือ ต่อให้บทหนังดีตายห่าอย่างไร หรือมีคนเห็นค่ามากขนาดไหน(ธนิตย์ จิตนุกูลในเรื่อง) แต่พื้นฐานการตัดสินใจในการทำหนัง ก็ไม่ใช่ด้วยคุณค่าของบทหรือเรื่องราว หากแต่เป็นธุรกิจและการลงทุนต่างหาก ซึ่งถึงแม้ว่ามีคนที่ยอมเสี่ยงลงทุนทำ ก็มีความจำเป็นที่จะลดความเสี่ยงโดยเลือกใช้ผู้กำกับที่มีชื่อ หรือนางเอกไฟแรงที่ที่มีอนาคต เพื่อเพิ่มเครดิตที่จะมาประคับประคองตัวหนัง โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มความสำเร็จด้านธุรกิจ ซึ่งจุดๆนี้ก็ไม่วายกัดจิกแกรมมี่ตามหลักนิยมยุทธเลิศ จากเคสของโอเนกาทีฟที่ถูกอุปไมยเป็นหนึ่งมิตรชิดใกล้ (ใครเคยดูจะรู้จากชื่อว่ามันคือเรื่องเดียวกัน และเป็นหนังที่ถูกเปลี่ยนผู้กำกับเช่นกัน ) สุดท้ายสิ่งเหล่านี้ก็กำลังจะตายไปเฉกเช่นคนทำงานหนังอย่างละเมียด (อดิเรก วัฏลีลาหรืออังเคิล) ที่ถูกอุปมาเป็นช่างเขียนคัตเอ้าท์หนังด้วยมือ
ท้ายสุดแล้ว การทำหนังที่จะสื่อถึงเรื่องราวระหว่างบทกับคนดูโดยตรงก็ช่างเป็นอะไรที่ดูยากเข็น และต้องเสี่ยงที่จะทำ และในกรณีที่ตุ๊กแกหลอกเฮียปลาก็ไม่ต่างจากที่โนแลนด์เสี่ยงทำแบทแมนไตรภาค โดยหลอกผู้ลงทุนว่าเป็นหนังฮีโร่ธรรมดาๆ ส่วนตัวแล้วในหลายจุดของหนังเรื่องนี้พยามยามสอดแทรกซีนหนังดังๆ (อาทิฟอเรส กัมพ์และแฟนฉัน) เพื่อให้เห็นความเรียบง่ายละหวนให้ถึงอดีตที่สื่อกันด้วยอารมณ์ หาใช่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ สุดท้ายยุทธเลิศอาจเพียงต้องการย้ำเตือนวงการหนังว่า จุดเริ่มของหนังจริงๆแล้วคืออะไร เรียบง่ายตรงไปตรงมาแค่ไหน เฉกเช่นชื่อหนังกับบทเรื่องนี้ที่ไม่มีอะไรมากมายซับซ้อน เพียงชายคนหนึ่งที่เฝ้าทำตามฝันและทำตามสัญญาที่ให้กับหญิงอันเป็นที่รักเท่านั้น มันก็แค่ "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" ก็เท่านั้นเอง
ท้ายสุด ผมไม่รู้กระทู้จะมีดราม่าอะไรหรือปล่าว ออกตัวไว้ก่อนในที่นี้ ผมก็แค่มองย้อนใน 2 ปีที่ผ่านมา ว่ามีภาพยนตร์เรื่องไหนถ่ายทอดจุดยืนหรือการเล่าเรื่อง ที่บริสุทธ์ใจตรงไปตรงมาหรือไม่ ผ่านภาพความทรงจำที่ผมเคยพิมพ์ไว้เมื่อคราวก่อน ส่วนัวผมเองไม่ต้องการสร้างเครดิตหรือหนังเรื่องนี้แต่อย่างใด ผมไม่มีส่วนได้เสีย แค่นึกได้กับสิ่งที่เคยพิมพ์ไว้เมื่อสองปีก่อนเฉยๆ
รีวิวตุ๊กแกรักแป้งมาก กับสองปีที่พ้นผ่านไป กับวงการหนังไทยที่...
พอดีเฟสบุ๊คมันเตือนมา เป็นคำเขียนอธิบายตอนที่ออกจากโรงหนังเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์ตุ๊กแกรักแป้งมาก เลยมาเขียนความรุ้สึกหลังจากได้ชม
พึ่งมีโอกาสได้ดู "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" หลายคนให้ทรรศนะว่านี่คือหนังดีเรื่องหนึ่งแห่งปี แต่ทรรศนะส่วนตัวมีความเห็นว่า ดี อย่างเดียวนี่ยังดูไม่ครบองค์เสียเท่าไหร่สำหรับหนังเรื่องนี้ เพราะนี่คือ "ภาพยนตร์สารคดีเสียดสีอุตสาหกรรมหนังไทยชั้นเลิศ" (มีสปอยเล็กน้อย)
ความคาดหวังในการดูหนังเรื่องนี้ก็แค่หนังน่ารักสักเรื่องตามที่ผู้กำกับเคยออกมาปรารภ ไหนได้อารัมภบทเริ่มเรื่องจากเฮียปลาที่กล่าวด่าลอยๆ แต่โดยลึกแล้วกลับเสียดสีอุตสาหกรรมหนังไทยที่สนใจเพียงรายได้ โดยให้คุณค่าเพียงชื่อเรื่องตามกระแสตลาด และชอบเอาหนังเก่าๆทั้งหลายมารีเมคกันอยู่ร่ำไป ซึ่งหาได้สนใจ Content ตัวบทและการเล่าเรื่อง หากแต่ต้องการเพียงชื่อที่จะขายได้เป็นพอ สิ่งนี้ถูกย้ำเตือนในซีนหนึ่งซึ่งถ่ายหน้าโรงหนังสกาล่า ที่มีชื่อเรื่องหน้าโรงว่า "พ่อมากพระโขนง 3001" ซึ่งให้ความหมายก็ตรงตัวว่า ต่อให้ผ่านไปพันปีก็จะยังวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
"บทดีๆกำลังจะตายHAไปกับวงการหนังไทย" ตัวดำเนินเรื่องอย่างเก้าจิรายุถูกถ่ายทอดออกมาให้เป็นผู้ที่รักและเข้าใจในจุดยืนของหนังและให้ความสำคัญการถ่ายทอดเรื่องราวถึงผู้ดูด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวงการหนังคือ ต่อให้บทหนังดีตายห่าอย่างไร หรือมีคนเห็นค่ามากขนาดไหน(ธนิตย์ จิตนุกูลในเรื่อง) แต่พื้นฐานการตัดสินใจในการทำหนัง ก็ไม่ใช่ด้วยคุณค่าของบทหรือเรื่องราว หากแต่เป็นธุรกิจและการลงทุนต่างหาก ซึ่งถึงแม้ว่ามีคนที่ยอมเสี่ยงลงทุนทำ ก็มีความจำเป็นที่จะลดความเสี่ยงโดยเลือกใช้ผู้กำกับที่มีชื่อ หรือนางเอกไฟแรงที่ที่มีอนาคต เพื่อเพิ่มเครดิตที่จะมาประคับประคองตัวหนัง โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มความสำเร็จด้านธุรกิจ ซึ่งจุดๆนี้ก็ไม่วายกัดจิกแกรมมี่ตามหลักนิยมยุทธเลิศ จากเคสของโอเนกาทีฟที่ถูกอุปไมยเป็นหนึ่งมิตรชิดใกล้ (ใครเคยดูจะรู้จากชื่อว่ามันคือเรื่องเดียวกัน และเป็นหนังที่ถูกเปลี่ยนผู้กำกับเช่นกัน ) สุดท้ายสิ่งเหล่านี้ก็กำลังจะตายไปเฉกเช่นคนทำงานหนังอย่างละเมียด (อดิเรก วัฏลีลาหรืออังเคิล) ที่ถูกอุปมาเป็นช่างเขียนคัตเอ้าท์หนังด้วยมือ
ท้ายสุดแล้ว การทำหนังที่จะสื่อถึงเรื่องราวระหว่างบทกับคนดูโดยตรงก็ช่างเป็นอะไรที่ดูยากเข็น และต้องเสี่ยงที่จะทำ และในกรณีที่ตุ๊กแกหลอกเฮียปลาก็ไม่ต่างจากที่โนแลนด์เสี่ยงทำแบทแมนไตรภาค โดยหลอกผู้ลงทุนว่าเป็นหนังฮีโร่ธรรมดาๆ ส่วนตัวแล้วในหลายจุดของหนังเรื่องนี้พยามยามสอดแทรกซีนหนังดังๆ (อาทิฟอเรส กัมพ์และแฟนฉัน) เพื่อให้เห็นความเรียบง่ายละหวนให้ถึงอดีตที่สื่อกันด้วยอารมณ์ หาใช่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ สุดท้ายยุทธเลิศอาจเพียงต้องการย้ำเตือนวงการหนังว่า จุดเริ่มของหนังจริงๆแล้วคืออะไร เรียบง่ายตรงไปตรงมาแค่ไหน เฉกเช่นชื่อหนังกับบทเรื่องนี้ที่ไม่มีอะไรมากมายซับซ้อน เพียงชายคนหนึ่งที่เฝ้าทำตามฝันและทำตามสัญญาที่ให้กับหญิงอันเป็นที่รักเท่านั้น มันก็แค่ "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" ก็เท่านั้นเอง
ท้ายสุด ผมไม่รู้กระทู้จะมีดราม่าอะไรหรือปล่าว ออกตัวไว้ก่อนในที่นี้ ผมก็แค่มองย้อนใน 2 ปีที่ผ่านมา ว่ามีภาพยนตร์เรื่องไหนถ่ายทอดจุดยืนหรือการเล่าเรื่อง ที่บริสุทธ์ใจตรงไปตรงมาหรือไม่ ผ่านภาพความทรงจำที่ผมเคยพิมพ์ไว้เมื่อคราวก่อน ส่วนัวผมเองไม่ต้องการสร้างเครดิตหรือหนังเรื่องนี้แต่อย่างใด ผมไม่มีส่วนได้เสีย แค่นึกได้กับสิ่งที่เคยพิมพ์ไว้เมื่อสองปีก่อนเฉยๆ