

ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ 


จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 30 ค่ะ
ถาม - อยากให้ท่านยกตัวอย่างแนวทางปฏิบัติธรรมจากพระสูตร
เพื่อพวกเราจะได้สนใจศึกษาพระไตรปิฎกเพิ่มมากขึ้น
พระสูตรแรกสุดในพระไตรปิฎกคือ พรหมชาลสูตร
เป็นพระสูตรที่พระศาสดาทรงแสดงเรื่องทิฏฐิประเภทต่างๆ
และมีผู้นำมาตั้งกระทู้หลายคราวแล้ว
ผมจึงขออนุญาตไม่กล่าวถึงพรหมชาลสูตร
แต่จะเริ่มกล่าวถึงพระสูตรถัดไป คือ
สามัญญผลสูตร
อันเป็นพระสูตรที่ ๒ ปรากฏในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
เพียงพระสูตรแรกที่ยกมานี้เราก็จะพบว่า
กระบวนการปฏิบัติธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงในพระสูตรนี้
แตกต่างออกไปบ้างจากตำราที่เราได้ยินได้ฟังกันจนคุ้นหู
คือในตำราที่เราได้ยินกันในปัจจุบันนี้
มักจะสอนกันว่า
ให้ทำสมาธิเพื่อข่มนิวรณ์
จากนั้นจึงใช้จิตที่ปราศจากนิวรณ์ไปเจริญวิปัสสนา
คำสอนอย่างนี้มีปัญหากับผู้ปฏิบัติบางท่าน
ที่ไม่ว่าจะทำสมาธิอย่างไรก็ทำไม่สำเร็จ
เพราะจิตหาความสงบไม่ได้เลย
ไม่ว่าจะกำหนดลมหายใจ เพ่งกสิณ หรือเจริญอนุสติใดๆ
ดังนั้น จึงไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เสียที
แต่สามัญญผลสูตรกลับสอนถึงขั้นตอนที่กลับข้างกับสิ่งที่เราเคยทราบ
คือท่านสอนให้
จัดการกับนิวรณ์เสียก่อน เพื่อทำสัมมาสมาธิ
อันเป็นเครื่องมือสร้างสติสัมปชัญญะและอุเบกขา
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำวิปัสสนา
คำสอนของท่านดังกล่าวนี้ ง่ายสำหรับการปฏิบัติ
ดังจะขอชวนเชิญพวกเราติดตามศึกษากันต่อไป





ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 30 - 31 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 30 ค่ะ
ถาม - อยากให้ท่านยกตัวอย่างแนวทางปฏิบัติธรรมจากพระสูตร
เพื่อพวกเราจะได้สนใจศึกษาพระไตรปิฎกเพิ่มมากขึ้น
พระสูตรแรกสุดในพระไตรปิฎกคือ พรหมชาลสูตร
เป็นพระสูตรที่พระศาสดาทรงแสดงเรื่องทิฏฐิประเภทต่างๆ
และมีผู้นำมาตั้งกระทู้หลายคราวแล้ว
ผมจึงขออนุญาตไม่กล่าวถึงพรหมชาลสูตร
แต่จะเริ่มกล่าวถึงพระสูตรถัดไป คือ สามัญญผลสูตร
อันเป็นพระสูตรที่ ๒ ปรากฏในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
เพียงพระสูตรแรกที่ยกมานี้เราก็จะพบว่า
กระบวนการปฏิบัติธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงในพระสูตรนี้
แตกต่างออกไปบ้างจากตำราที่เราได้ยินได้ฟังกันจนคุ้นหู
คือในตำราที่เราได้ยินกันในปัจจุบันนี้
มักจะสอนกันว่า ให้ทำสมาธิเพื่อข่มนิวรณ์
จากนั้นจึงใช้จิตที่ปราศจากนิวรณ์ไปเจริญวิปัสสนา
คำสอนอย่างนี้มีปัญหากับผู้ปฏิบัติบางท่าน
ที่ไม่ว่าจะทำสมาธิอย่างไรก็ทำไม่สำเร็จ
เพราะจิตหาความสงบไม่ได้เลย
ไม่ว่าจะกำหนดลมหายใจ เพ่งกสิณ หรือเจริญอนุสติใดๆ
ดังนั้น จึงไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เสียที
แต่สามัญญผลสูตรกลับสอนถึงขั้นตอนที่กลับข้างกับสิ่งที่เราเคยทราบ
คือท่านสอนให้ จัดการกับนิวรณ์เสียก่อน เพื่อทำสัมมาสมาธิ
อันเป็นเครื่องมือสร้างสติสัมปชัญญะและอุเบกขา
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำวิปัสสนา
คำสอนของท่านดังกล่าวนี้ ง่ายสำหรับการปฏิบัติ
ดังจะขอชวนเชิญพวกเราติดตามศึกษากันต่อไป