สนองคลังจูงใจผู้ประกอบการรายย่อยเข้ารับ e-Payment ลดอัตราโดยหัก ณ ที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 2% ผ่าน "e-Withholding Tax" หลัง คณะรัฐมนตรี เห็นชอบแก้ไขประมวลรัษฎากร รองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดเริ่มใช้ได้หลังทำ e-Tax Invoice กับ e-Receipt เสร็จก่อนปลายปี′59
"ประชาชาติธุรกิจ" (
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1472639785) รายงานว่านายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ให้ข้อมูลเรื่องลดอัตราหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายปกติจะเสียที่อัตรา 3-5% ให้เหลือ 2% นั้น กรมสรรพากรพิจารณาแล้วสามารถดำเนินการได้ แม้ว่าจะเป็นการลดให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ได้ลดให้เป็นการทั่วไปก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการนิติบุคคลต้องเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20% อยู่ดี เพียงแต่จะถูกหัก ณ ที่จ่ายน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและมีทุนหมุนเวียนใช้ในธุรกิจได้มากขึ้น
ให้เฉพาะนิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการอีเพย์เมนต์นั้นสามารถทำได้ เพราะถึงลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่สุดท้ายรัฐก็ได้เก็บภาษีนิติบุคคล 20% เหมือนเดิม ซึ่งตรงนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนทั้งของผู้ประกอบการและกรมสรรพากร เพราะพอผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนลง เขาก็นำส่งได้เร็วขึ้น กรมก็ประหยัดต้นทุนเรื่องการจ้างคนคีย์ข้อมูล การเก็บเอกสารต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในข่าวยังระบุอีกว่า กรมสรรพากรจะดำเนินการเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากทำระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เรียบร้อยแล้ว โดยจะดำเนินการต่อเนื่องกันไปในช่วงตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2559 (หรือต้นปีงบประมาณ 2560)
"สรรพากร" เล็งลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
"ประชาชาติธุรกิจ" (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1472639785) รายงานว่านายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ให้ข้อมูลเรื่องลดอัตราหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายปกติจะเสียที่อัตรา 3-5% ให้เหลือ 2% นั้น กรมสรรพากรพิจารณาแล้วสามารถดำเนินการได้ แม้ว่าจะเป็นการลดให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ได้ลดให้เป็นการทั่วไปก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการนิติบุคคลต้องเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20% อยู่ดี เพียงแต่จะถูกหัก ณ ที่จ่ายน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและมีทุนหมุนเวียนใช้ในธุรกิจได้มากขึ้น
ให้เฉพาะนิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการอีเพย์เมนต์นั้นสามารถทำได้ เพราะถึงลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่สุดท้ายรัฐก็ได้เก็บภาษีนิติบุคคล 20% เหมือนเดิม ซึ่งตรงนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนทั้งของผู้ประกอบการและกรมสรรพากร เพราะพอผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนลง เขาก็นำส่งได้เร็วขึ้น กรมก็ประหยัดต้นทุนเรื่องการจ้างคนคีย์ข้อมูล การเก็บเอกสารต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในข่าวยังระบุอีกว่า กรมสรรพากรจะดำเนินการเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากทำระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เรียบร้อยแล้ว โดยจะดำเนินการต่อเนื่องกันไปในช่วงตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2559 (หรือต้นปีงบประมาณ 2560)