"เดินเรือคลองรังสิต" ระยะทาง 13 กม. แก้วิกฤต'ถนนรังสิต-นครนายก' ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท
เมื่อโครงการเดินเรือคลองรังสิตมาเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เดินทางระยะสั้นๆ จะเป็นความหวังช่วยแก้ปัญหารถติด ไม่ต้องทนแกร่วอยู่บนท้องถนน และเปลี่ยนมาใช้บริการทางเรือแทน
นับเป็นข่าวดีไม่น้อย เมื่อ นายวิฑูรย์ อึ้งเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี ออกมาระบุว่า จังหวัดปทุมธานี เตรียมเปิดบริการ “เดินเรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์” เร็วๆ นี้ เพื่อแก้ปัญหารถติดบนถนนรังสิต-นครนายก ที่ขนานคลองรังสิต ซึ่งกำลังวิกฤติอย่างหนัก
แม้ถนนขนานคลองสายนี้จะมีช่องจราจร 6-8 ช่อง ไปกลับฝั่งละ 3-4 ช่อง แต่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางสนนราคา 1-3 ล้านบาท ถูกกว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นวิมานน้อยๆ ได้พอซื้อหามาครอบครอง หมู่บ้านเกิดใหม่จึงผุดขึ้นมากมาย ประกอบกับความเจริญของเมืองขยายตัว เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ สถาบันการศึกษา รวมทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ปริมาณยนต์ส่วนตัวจึงพุ่งกระฉูด เกินขีดความสามารถของ ถนนรังสิต-นครนายก จะรองรับการเดินทางได้ ทั้งผู้ที่ทำงานย่านนี้ มีกิจธุระ และขับรถจากบ้านพักไปทำงานในเมืองกรุง
ก่อนหน้านี้ จังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เคยคิดหลายโครงการยักษ์มาแก้ปัญหา อาทิ การขยายถนนท้องถิ่นฝั่งเลียบคลองรังสิต สร้างทางยกระดับบนถนนรังสิต-นครนายกโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที แต่ก็เงียบหายไป อาจเป็นเพราะขาดงบประมาณก่อสร้าง เมื่อโครงการไม่ได้รับการผลักดัน ปัญหาการจราจรยิ่งทวีความรุนแรง
โดยเฉพาะช่วงคลอง 1-6 ระยะทางประมาณ 15 กม. ใช้เวลาช่วงเร่งด่วน เช้าเดินทางจากคลอง 6 ไปคลอง 1 หรือตลาดรังสิตนานนับชั่วโมง ส่วนรถโดยสารประจำทางชั่วโมงกว่า เพราะรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะเกยรังสิตยังมาไม่ถึงนะเธอ...ต้องรอปี 2565 โน่น
เมื่อโครงการเดินเรือคลองรังสิตมาเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เดินทางระยะสั้นๆ จะเป็นความหวังช่วยแก้ปัญหารถติด ไม่ต้องทนแกร่วอยู่บนท้องถนน และเปลี่ยนมาใช้บริการทางเรือแทน
นายกนกศักดิ์ ท่าวังผา ผู้จัดการโครงการเดินเรือคลองรังสิตฯ จากบริษัททีซีเอสเอส ที่ได้รับสัมปทานการเดินเรือ ให้รายละเอียด ว่า จังหวัดปทุมธานี สร้างท่าเรือรวม 14 ท่า ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท เสร็จตั้งแต่ปลายปี 58 ต้นทางจากท่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ถึงคลอง 7 ระยะทาง 13 กม. เป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เดิมกำหนดเปิดเดินเรือตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่ติดปัญหาการร่างกฏระเบียบระหว่างภาครัฐและเอกชนเข้าเดินเรือในคลองรังสิตฯ ที่กำกับดูแลโดยกรมชลประทาน ไม่ใช่กรมเจ้าท่า นอกจากนี้ยังประสบปัญหาภัยแล้งน้ำคลองไม่เพียงพอ ล่าสุดทาง จังหวัดปทุม นัดผู้เกี่ยวข้องเข้าประชุมเดือนนี้ เพื่อตรวจความพร้อมก่อนเปิดบริการ
เรือที่บริษัทต่อไว้มี 18 ลำ ขนาด 2.50 เมตร เป็นเรืออะลูมิเนียม ลำละ 5 - 6 ล้าน ออกแบบให้ก่อคลื่นน้อย และเสียงเบา รองรับผู้โดยสารได้ 80 คน แผนที่วางไว้จะให้บริการชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-19.00 น. ออกเรือทุก 14 นาที ใช้เวลาเดินทางจากท่าที่ 1- 14 ประมาณ 1 ชม. 10 นาที ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท จากฐานราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาท
หลังชั่วโมงเร่งด่วน จะเปิดเป็นเรือท่องเที่ยวล่องคลองรังสิตฯ สามารถเหมาลำ หรือปรับเป็นเรือเที่ยวพิเศษ อู่เรืออยู่หน้าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ โดย กรมชลประทาน ต้องควบคุมระดับน้ำ ส่วน เทศบาลนครรังสิต รับหน้าที่ขุดลอกสภาพคลองไม่ให้ตื้นเขินอำนวยความสะดวกการเดินเรือ
ช่วงแรกบริษัทต้องรับภาระขาดทุน แต่คาดว่าจุดคุ้มทุนอยู่ในปีที่ 4 เพราะขณะนี้สภาพการจราจรถนนรังสิต-นครนายกติดขัดอย่างมาก โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน นอกจากนี้หาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้บริการในอนาคตธุรกิจยิ่งสดใส ผู้โดยสารสามารถขึ้นเรือท่าที่ 1 ต่อรถไฟฟ้าได้ ส่วนท่าที่จะมีผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ “ท่าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต” เพราะเชื่อมต่อรถเมล์ และรถตู้หน้าโรงหนังเมเจอร์รังสิต
ท่าเรืออยู่จุดเดียวกับป้ายรถเมล์และใกล้สะพานลอยคนข้าม เพื่อความสะดวกของประชาชน แต่ละท่ามีโป๊ะรองรับผู้โดยสารได้ 25 คน ทั้ง 14 ท่า มีดังนี้ 1. ท่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ 2. ท่าโรงเรียนประชาธิปัตย์ 3. ท่าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต 4. ท่าสะพานแดง 5. ท่าคลองสาม 6. ท่าดรีมเวิล์ด 7. ท่าโลตัสคลองสี่ 8. ท่าสะพานพระองค์สาย 9. ท่าหมู่บ้านฟ้าลากูน 10. ท่าวัดมูลจินดาราม 11. ท่าตรงข้ามอำเภอธัญบุรี 12. ท่าตรงข้ามห้างบิ๊กซีคลองเจ็ด 13. ท่าทางแยกลำลูกกา และ14. ท่าเรือฝั่งตรงข้ามห้างโลตัสคลองเจ็ด
นอกจากการเดินทางทางน้ำแล้ว ฝาก จังหวัดปทุมธานี ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาถนนสายวิกฤติ อาทิ การพิจารณาสร้างจุดกลับรถเกือกม้าเพื่อลดจุดตัด พิจารณาปิดจุดกลับรถอย่าให้ใกล้กันถี่ยิบเหมือนตอนนี้ ตำรวจจราจรต้องจัดการรถจอดไหล่ทาง โดยเฉพาะหน้าโรงเรียนนานาชาติ ที่ผู้ปกครองมักจอดกินเลนถนน รวมทั้งเรื่องเส้นจราจร
หลังจากยกระดับถนนจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อ ปี 2554 ตั้งแต่คลอง 1-3 ตีเส้นจราจรเพี้ยนไปจากเดิม พอมาตีใหม่ก็ทับเส้นเก่าแต่ลบไม่หมด เลอะเทอะไปหมด บางจุดมีเส้นทะแยง หากขับตามเส้นไปชนอีกเลนก็มี เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผู้ใช้รถใช้ถนนต่อว่ากันมานาน แต่ผู้เกี่ยวข้องไม่เคยแยแส
นอกจากความหวังจากการเปิด “เดินเรือคลองรังสิต” แล้ว มาตรการจัดการปัญหาเหล่านี้ หากหน่วยงานใส่ใจแก้ไข รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจรแล้วจะช่วยให้ “วิกฤติรถติดถนนรังสิต-นครนายก” บรรเทาลง
….......................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
http://www.dailynews.co.th/article/512858
"เดินเรือคลองรังสิต" ระยะทาง 13 กม. แก้วิกฤต'ถนนรังสิต-นครนายก' ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท
เมื่อโครงการเดินเรือคลองรังสิตมาเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เดินทางระยะสั้นๆ จะเป็นความหวังช่วยแก้ปัญหารถติด ไม่ต้องทนแกร่วอยู่บนท้องถนน และเปลี่ยนมาใช้บริการทางเรือแทน
นับเป็นข่าวดีไม่น้อย เมื่อ นายวิฑูรย์ อึ้งเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี ออกมาระบุว่า จังหวัดปทุมธานี เตรียมเปิดบริการ “เดินเรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์” เร็วๆ นี้ เพื่อแก้ปัญหารถติดบนถนนรังสิต-นครนายก ที่ขนานคลองรังสิต ซึ่งกำลังวิกฤติอย่างหนัก
แม้ถนนขนานคลองสายนี้จะมีช่องจราจร 6-8 ช่อง ไปกลับฝั่งละ 3-4 ช่อง แต่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางสนนราคา 1-3 ล้านบาท ถูกกว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นวิมานน้อยๆ ได้พอซื้อหามาครอบครอง หมู่บ้านเกิดใหม่จึงผุดขึ้นมากมาย ประกอบกับความเจริญของเมืองขยายตัว เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ สถาบันการศึกษา รวมทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ปริมาณยนต์ส่วนตัวจึงพุ่งกระฉูด เกินขีดความสามารถของ ถนนรังสิต-นครนายก จะรองรับการเดินทางได้ ทั้งผู้ที่ทำงานย่านนี้ มีกิจธุระ และขับรถจากบ้านพักไปทำงานในเมืองกรุง
ก่อนหน้านี้ จังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เคยคิดหลายโครงการยักษ์มาแก้ปัญหา อาทิ การขยายถนนท้องถิ่นฝั่งเลียบคลองรังสิต สร้างทางยกระดับบนถนนรังสิต-นครนายกโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที แต่ก็เงียบหายไป อาจเป็นเพราะขาดงบประมาณก่อสร้าง เมื่อโครงการไม่ได้รับการผลักดัน ปัญหาการจราจรยิ่งทวีความรุนแรง
โดยเฉพาะช่วงคลอง 1-6 ระยะทางประมาณ 15 กม. ใช้เวลาช่วงเร่งด่วน เช้าเดินทางจากคลอง 6 ไปคลอง 1 หรือตลาดรังสิตนานนับชั่วโมง ส่วนรถโดยสารประจำทางชั่วโมงกว่า เพราะรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะเกยรังสิตยังมาไม่ถึงนะเธอ...ต้องรอปี 2565 โน่น
เมื่อโครงการเดินเรือคลองรังสิตมาเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้เดินทางระยะสั้นๆ จะเป็นความหวังช่วยแก้ปัญหารถติด ไม่ต้องทนแกร่วอยู่บนท้องถนน และเปลี่ยนมาใช้บริการทางเรือแทน
นายกนกศักดิ์ ท่าวังผา ผู้จัดการโครงการเดินเรือคลองรังสิตฯ จากบริษัททีซีเอสเอส ที่ได้รับสัมปทานการเดินเรือ ให้รายละเอียด ว่า จังหวัดปทุมธานี สร้างท่าเรือรวม 14 ท่า ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท เสร็จตั้งแต่ปลายปี 58 ต้นทางจากท่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ถึงคลอง 7 ระยะทาง 13 กม. เป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เดิมกำหนดเปิดเดินเรือตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่ติดปัญหาการร่างกฏระเบียบระหว่างภาครัฐและเอกชนเข้าเดินเรือในคลองรังสิตฯ ที่กำกับดูแลโดยกรมชลประทาน ไม่ใช่กรมเจ้าท่า นอกจากนี้ยังประสบปัญหาภัยแล้งน้ำคลองไม่เพียงพอ ล่าสุดทาง จังหวัดปทุม นัดผู้เกี่ยวข้องเข้าประชุมเดือนนี้ เพื่อตรวจความพร้อมก่อนเปิดบริการ
เรือที่บริษัทต่อไว้มี 18 ลำ ขนาด 2.50 เมตร เป็นเรืออะลูมิเนียม ลำละ 5 - 6 ล้าน ออกแบบให้ก่อคลื่นน้อย และเสียงเบา รองรับผู้โดยสารได้ 80 คน แผนที่วางไว้จะให้บริการชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-19.00 น. ออกเรือทุก 14 นาที ใช้เวลาเดินทางจากท่าที่ 1- 14 ประมาณ 1 ชม. 10 นาที ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท จากฐานราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาท
หลังชั่วโมงเร่งด่วน จะเปิดเป็นเรือท่องเที่ยวล่องคลองรังสิตฯ สามารถเหมาลำ หรือปรับเป็นเรือเที่ยวพิเศษ อู่เรืออยู่หน้าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ โดย กรมชลประทาน ต้องควบคุมระดับน้ำ ส่วน เทศบาลนครรังสิต รับหน้าที่ขุดลอกสภาพคลองไม่ให้ตื้นเขินอำนวยความสะดวกการเดินเรือ
ช่วงแรกบริษัทต้องรับภาระขาดทุน แต่คาดว่าจุดคุ้มทุนอยู่ในปีที่ 4 เพราะขณะนี้สภาพการจราจรถนนรังสิต-นครนายกติดขัดอย่างมาก โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน นอกจากนี้หาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดให้บริการในอนาคตธุรกิจยิ่งสดใส ผู้โดยสารสามารถขึ้นเรือท่าที่ 1 ต่อรถไฟฟ้าได้ ส่วนท่าที่จะมีผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ “ท่าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต” เพราะเชื่อมต่อรถเมล์ และรถตู้หน้าโรงหนังเมเจอร์รังสิต
ท่าเรืออยู่จุดเดียวกับป้ายรถเมล์และใกล้สะพานลอยคนข้าม เพื่อความสะดวกของประชาชน แต่ละท่ามีโป๊ะรองรับผู้โดยสารได้ 25 คน ทั้ง 14 ท่า มีดังนี้ 1. ท่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ 2. ท่าโรงเรียนประชาธิปัตย์ 3. ท่าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต 4. ท่าสะพานแดง 5. ท่าคลองสาม 6. ท่าดรีมเวิล์ด 7. ท่าโลตัสคลองสี่ 8. ท่าสะพานพระองค์สาย 9. ท่าหมู่บ้านฟ้าลากูน 10. ท่าวัดมูลจินดาราม 11. ท่าตรงข้ามอำเภอธัญบุรี 12. ท่าตรงข้ามห้างบิ๊กซีคลองเจ็ด 13. ท่าทางแยกลำลูกกา และ14. ท่าเรือฝั่งตรงข้ามห้างโลตัสคลองเจ็ด
นอกจากการเดินทางทางน้ำแล้ว ฝาก จังหวัดปทุมธานี ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาถนนสายวิกฤติ อาทิ การพิจารณาสร้างจุดกลับรถเกือกม้าเพื่อลดจุดตัด พิจารณาปิดจุดกลับรถอย่าให้ใกล้กันถี่ยิบเหมือนตอนนี้ ตำรวจจราจรต้องจัดการรถจอดไหล่ทาง โดยเฉพาะหน้าโรงเรียนนานาชาติ ที่ผู้ปกครองมักจอดกินเลนถนน รวมทั้งเรื่องเส้นจราจร
หลังจากยกระดับถนนจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อ ปี 2554 ตั้งแต่คลอง 1-3 ตีเส้นจราจรเพี้ยนไปจากเดิม พอมาตีใหม่ก็ทับเส้นเก่าแต่ลบไม่หมด เลอะเทอะไปหมด บางจุดมีเส้นทะแยง หากขับตามเส้นไปชนอีกเลนก็มี เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผู้ใช้รถใช้ถนนต่อว่ากันมานาน แต่ผู้เกี่ยวข้องไม่เคยแยแส
นอกจากความหวังจากการเปิด “เดินเรือคลองรังสิต” แล้ว มาตรการจัดการปัญหาเหล่านี้ หากหน่วยงานใส่ใจแก้ไข รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจรแล้วจะช่วยให้ “วิกฤติรถติดถนนรังสิต-นครนายก” บรรเทาลง
….......................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด” http://www.dailynews.co.th/article/512858