รู้สึกว่าหมู่นี้ผมเริ่มชราภาพเสียแล้วสิครับ ดูจากกระทู้ที่ผ่านมาดันเลขซ้ำกันจนได้
เอาเป็นว่าทำเป็นลืมๆ ไปก็แล้วกัน ว่าด้วยกระทู้ตามคำขอของพี่เฉิ่มดีกว่า
ภาพจากคุณทองดี สาลีมา
ห่างจากตัวอำเภอเมืองลพบุรี ไปตามเส้นทางถนนพหลโยธินประมาณ ๒๘ กม. ตรงหลัก กม.ที่ ๑๗๘ มีทางแยกเลี้ยวขวาอีก ๕ กม. ตั้งอยู่ในเขต ต.ห้วยโป่ง อ.โคกสำโรง บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดไปสู่ยอดเขาประมาณ ๓,๗๙๙ ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๖๕๐ เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว ๑,๖๘๐ เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ ๒ ชั่วโมง

สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา สถานที่นี้เป็นแหล่งสะสมวัตถุโบราณ ของหายากมากมาย และพระพิมพ์ต่างๆมากมาย เพราะ หลวงปู่ฟัก เจ้าอาวาสท่านเป็นนักส่องพระมาก่อน ที่ท่านจะบวช ซึ่งมีการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ได้ชมกันอีกด้วย ปัจจุบันมีพระครูสมถวิกรม หรือหลวงปู่ฟัก เป็นเจ้าอาวาส
ว่ากันถึงด้วยเรื่องตำนานท้าวกกขนากดีกว่า

ท้าวกกขนาก เป็นยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระรามที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จึงถูกพระรามแผลงศร โดนตัวยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้ หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย (ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาฆ้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม
แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย ฝ่ายนางนงประจันทร์ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมาเพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนแอ้งแม้งอยู่ในถ้ำยอดเขานี้ และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาฆ้อนมาตอกศร
ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ ปัจจุบัน ความเชื่อนี้ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา รวมถึงไฟไหม้ตลาดลพบุรีทุกรอบ ๕ ปี ซึ่งชาวลพบุรียังเชื่อว่ามาจากไฟที่ติดหางหนุมานคราวที่เผากรุงลงกานั้นด้วย
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี ได้ขึ้นมาบนเขานี้ และเห็นว่าบริเวณเขาทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปเขาโค้ง มองทางไหนก็เห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงขนานนามว่า "เขาวงพระจันทร์"
ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้ และไกลจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้างและรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพลจีน หรือฝ่ายมหายานอยู่มาก
เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้คนรู้จักเมืองลพบุรีมาช้านาน
............................................................
ข้อมูลจากเว็บไซต์ wikipediathai.com
กระทู้ยามบ่าย (๑๕๔)
เอาเป็นว่าทำเป็นลืมๆ ไปก็แล้วกัน ว่าด้วยกระทู้ตามคำขอของพี่เฉิ่มดีกว่า
ห่างจากตัวอำเภอเมืองลพบุรี ไปตามเส้นทางถนนพหลโยธินประมาณ ๒๘ กม. ตรงหลัก กม.ที่ ๑๗๘ มีทางแยกเลี้ยวขวาอีก ๕ กม. ตั้งอยู่ในเขต ต.ห้วยโป่ง อ.โคกสำโรง บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดไปสู่ยอดเขาประมาณ ๓,๗๙๙ ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๖๕๐ เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว ๑,๖๘๐ เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ ๒ ชั่วโมง
สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา สถานที่นี้เป็นแหล่งสะสมวัตถุโบราณ ของหายากมากมาย และพระพิมพ์ต่างๆมากมาย เพราะ หลวงปู่ฟัก เจ้าอาวาสท่านเป็นนักส่องพระมาก่อน ที่ท่านจะบวช ซึ่งมีการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ได้ชมกันอีกด้วย ปัจจุบันมีพระครูสมถวิกรม หรือหลวงปู่ฟัก เป็นเจ้าอาวาส
ว่ากันถึงด้วยเรื่องตำนานท้าวกกขนากดีกว่า
ท้าวกกขนาก เป็นยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระรามที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จึงถูกพระรามแผลงศร โดนตัวยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้ หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย (ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาฆ้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม
แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย ฝ่ายนางนงประจันทร์ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมาเพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนแอ้งแม้งอยู่ในถ้ำยอดเขานี้ และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาฆ้อนมาตอกศร
ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ ปัจจุบัน ความเชื่อนี้ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา รวมถึงไฟไหม้ตลาดลพบุรีทุกรอบ ๕ ปี ซึ่งชาวลพบุรียังเชื่อว่ามาจากไฟที่ติดหางหนุมานคราวที่เผากรุงลงกานั้นด้วย
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี ได้ขึ้นมาบนเขานี้ และเห็นว่าบริเวณเขาทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปเขาโค้ง มองทางไหนก็เห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงขนานนามว่า "เขาวงพระจันทร์"
ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้ และไกลจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้างและรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพลจีน หรือฝ่ายมหายานอยู่มาก
เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้คนรู้จักเมืองลพบุรีมาช้านาน
............................................................
ข้อมูลจากเว็บไซต์ wikipediathai.com