คอลัมน์ แวะชิมริมทาง โดย เพลิดเพลิน นสพ.มติชนรายวัน
ช่วงนี้ใครเดินทางไปเที่ยวตลาดนัดใหญ่ๆ หลายแห่ง คงมีโอกาสได้เห็นลูกลานเชื่อมวางขาย รูปร่างหน้าตาลูกใสๆ กลมๆ เหมือนลูกชิดเชื่อมแต่เป็นทรงกลม พ่อค้าแม่ค้าบางเจ้า อาจบรรยายสรรพคุณที่ฟังแล้วถึงกับอึ้ง แต่เป็นเรื่องจริง
นั่นก็คือออกลูกตอนต้นอายุหลายสิบปี บ้างก็ว่า 20 ปี บ้างก็ว่า 50 ปี ที่สำคัญคือ พอออกลูกแล้วต้นจะตาย จึงเป็นที่มาของ "ลูกฆ่าแม่" บางคนถือกับเรื่องอย่างนี้ แต่ถ้าศึกษาดูรายละเอียดให้ดี จะพบว่าเป็นธรรมชาติของมัน เหมือนกับต้นไม้อีกหลายชนิด ออกลูกแล้วตาย ออกดอกแล้วตาย
ลาน ชื่อสามัญ แฟน ปาล์ม (Fan palm) ลอนทาร์ ปาล์ม (Lontar palm) ทาลิพอท ปาล์ม (Talipot palm) ชื่อวิทยาศาสตร์ โครีฟา อัมบราคิวลิเฟอรา แอล. (Corypha umbraculifera L.) จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ลานบ้าน ลานวัด ลานหมื่นเถิดเทิง ปาล์มพัด เป็นต้น
ต้นลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปร่างเหมือนต้นปาล์ม เพราะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน มีถิ่นมีกำเนิดอยู่ในอเมริกาและในแถบเมดิเตอร์เรเนียน มักจะขึ้นที่มีอากาศชื้นเย็นและมีฝนตกมาก ทนทานต่อภัยธรรมชาติได้ดี ต้นเล็กแม้ว่าจะถูกไฟไหม้แต่ก็สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ เนื่องจากมีรากลึกมาก มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิดทั่วโลก แต่ในไทยพบเพียง 3 ชนิด ได้แก่
-ลานพรุ (gehang palm, ebang Palm) กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ รวมไปถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลียและไทย พบได้มากในแถบภาคใต้แถวๆ นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่และพังงา มักขึ้นตามแนวชายฝั่งแม่น้ำหรือในพื้นที่ชุ่มน้ำ ลำต้นสูงคล้ายต้นตาล สูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นไม่รวมกาบใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร มักขึ้นรวมกันเป็นจำนวนมากในที่ราบท้องทุ่ง แม้ในบริเวณที่มีน้ำขัง
-ลานป่า หรือลานทุ่ง (Indochinese fan palm) พบได้ในไทยและเวียดนาม เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย พบมากที่ปราจีนบุรี ขอนแก่น และสระบุรี พบได้ทั่วไปในลพบุรี ตาก นครปฐม และพิษณุโลก ต้นลานป่าจะมีขนาดใหญ่ไม่เท่าลานวัด มีความสูงประมาณ 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นไม่รวมกาบใบประมาณ 45-75 เซนติเมตร
-ลานวัด หรือลานบ้าน หรือลานหมื่นเถิดเทิง เป็นปาล์มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในศรีลังกาและอินเดีย และยังเป็นต้นไม้ประจำชาติของศรีลังกาด้วย สำหรับในประเทศจะไม่พบตามธรรมชาติ แต่มักนำมาเพาะปลูกในภาคเหนือ
ต้นลาน เมื่อแก่แล้วหรือมีอายุราว 20-80 ปี เมื่ออายุ 20-30 ปี ลำต้นจะมีความสูงถึง 25 เมตร ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนต้นลานจะออกดอกและผล นั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลาน ผลเมื่อแก่แล้วจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน เมล็ดในผลจะงอกเป็นต้นลานขึ้นมาใหม่มากมาย
ผลลาน หรือลูกลาน หรือลูกต้นลาน ผลมีลักษณะกลม มีสีเขียวหรือเขียวเข้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด
เนื้อในของลูกลานจะคล้ายกับลูกชิดแต่จะมีลักษณะกลม มีรสชาติจืดและเหนียวหนืด สรรพคุณของลูกลาน ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ และช่วยระบาย
ถือว่าเป็นขนมหวานที่มีให้เห็นไม่บ่อยนัก
บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466780420
ลูกลานเชื่อม กับความเชื่อ ′ลูกฆ่าแม่′
คอลัมน์ แวะชิมริมทาง โดย เพลิดเพลิน นสพ.มติชนรายวัน
ช่วงนี้ใครเดินทางไปเที่ยวตลาดนัดใหญ่ๆ หลายแห่ง คงมีโอกาสได้เห็นลูกลานเชื่อมวางขาย รูปร่างหน้าตาลูกใสๆ กลมๆ เหมือนลูกชิดเชื่อมแต่เป็นทรงกลม พ่อค้าแม่ค้าบางเจ้า อาจบรรยายสรรพคุณที่ฟังแล้วถึงกับอึ้ง แต่เป็นเรื่องจริง
นั่นก็คือออกลูกตอนต้นอายุหลายสิบปี บ้างก็ว่า 20 ปี บ้างก็ว่า 50 ปี ที่สำคัญคือ พอออกลูกแล้วต้นจะตาย จึงเป็นที่มาของ "ลูกฆ่าแม่" บางคนถือกับเรื่องอย่างนี้ แต่ถ้าศึกษาดูรายละเอียดให้ดี จะพบว่าเป็นธรรมชาติของมัน เหมือนกับต้นไม้อีกหลายชนิด ออกลูกแล้วตาย ออกดอกแล้วตาย
ลาน ชื่อสามัญ แฟน ปาล์ม (Fan palm) ลอนทาร์ ปาล์ม (Lontar palm) ทาลิพอท ปาล์ม (Talipot palm) ชื่อวิทยาศาสตร์ โครีฟา อัมบราคิวลิเฟอรา แอล. (Corypha umbraculifera L.) จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ลานบ้าน ลานวัด ลานหมื่นเถิดเทิง ปาล์มพัด เป็นต้น
ต้นลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปร่างเหมือนต้นปาล์ม เพราะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน มีถิ่นมีกำเนิดอยู่ในอเมริกาและในแถบเมดิเตอร์เรเนียน มักจะขึ้นที่มีอากาศชื้นเย็นและมีฝนตกมาก ทนทานต่อภัยธรรมชาติได้ดี ต้นเล็กแม้ว่าจะถูกไฟไหม้แต่ก็สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ เนื่องจากมีรากลึกมาก มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิดทั่วโลก แต่ในไทยพบเพียง 3 ชนิด ได้แก่
-ลานพรุ (gehang palm, ebang Palm) กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ รวมไปถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลียและไทย พบได้มากในแถบภาคใต้แถวๆ นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่และพังงา มักขึ้นตามแนวชายฝั่งแม่น้ำหรือในพื้นที่ชุ่มน้ำ ลำต้นสูงคล้ายต้นตาล สูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นไม่รวมกาบใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร มักขึ้นรวมกันเป็นจำนวนมากในที่ราบท้องทุ่ง แม้ในบริเวณที่มีน้ำขัง
-ลานป่า หรือลานทุ่ง (Indochinese fan palm) พบได้ในไทยและเวียดนาม เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย พบมากที่ปราจีนบุรี ขอนแก่น และสระบุรี พบได้ทั่วไปในลพบุรี ตาก นครปฐม และพิษณุโลก ต้นลานป่าจะมีขนาดใหญ่ไม่เท่าลานวัด มีความสูงประมาณ 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นไม่รวมกาบใบประมาณ 45-75 เซนติเมตร
-ลานวัด หรือลานบ้าน หรือลานหมื่นเถิดเทิง เป็นปาล์มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในศรีลังกาและอินเดีย และยังเป็นต้นไม้ประจำชาติของศรีลังกาด้วย สำหรับในประเทศจะไม่พบตามธรรมชาติ แต่มักนำมาเพาะปลูกในภาคเหนือ
ต้นลาน เมื่อแก่แล้วหรือมีอายุราว 20-80 ปี เมื่ออายุ 20-30 ปี ลำต้นจะมีความสูงถึง 25 เมตร ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนต้นลานจะออกดอกและผล นั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลาน ผลเมื่อแก่แล้วจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน เมล็ดในผลจะงอกเป็นต้นลานขึ้นมาใหม่มากมาย
ผลลาน หรือลูกลาน หรือลูกต้นลาน ผลมีลักษณะกลม มีสีเขียวหรือเขียวเข้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด
เนื้อในของลูกลานจะคล้ายกับลูกชิดแต่จะมีลักษณะกลม มีรสชาติจืดและเหนียวหนืด สรรพคุณของลูกลาน ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ และช่วยระบาย
ถือว่าเป็นขนมหวานที่มีให้เห็นไม่บ่อยนัก
บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466780420