ตอบคำถามข้อ 4 ของกระทู้ ... คำถามจาก Independence Day Resurgence นอกเรื่องจากหนัง สาระวิทยฯ

ขออนุญาตตอบข้อ 4 ครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของโลกใหม่ครับ ดูเหมือนเกือบจะทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ผิดครับ โดยที่เข้าใจว่าใต้พื้นโลกลงไปจะเป็นแมกม่าทั้งหมด ซึ่งตามความเป็นจริงจากการศึกษาไม่เป็นแบบนั้น จะมีแค่ 3 จุดเท่านั้นทำให้หินหลอมละลายเป็นแมกม่าได้คือ

1. จุดที่แผ่นเปลือกโลกชนกันแล้วเกิดการมุดตัว หรือ subduction zone โดยแผ่นมหาสมุทรจะมุดลงใต้แผ่นทวีป เพราะมีความหนาแน่นมากกว่า แล้วเกิดการหลอมละลายเป็นแมกม่าใต้พิ้นโลกบริเวณนั้นแล้วเกิดเป็นภูเข้าไฟ เช่นหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอินโดนีเซีย ...

2. จุดที่แผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน หรือ Divergent Boundary เช่น ตรงกลางมหาสมุทรแอตตแลนติก ซึ่งเป็นการแยกตัวออกจากกันของ แผ่นอเมริกา (เหนือ-ใต้) กับแผ่นยูเรเซียและแอฟริกา จุดแยกที่มันโผ่นขึ้นให้เห็นบนพื้นดิน ก็คือ เกาะ ไอซ์แลนด์

3. จุดที่เป็น Hot spot เช่น หมู่เกาะฮาวาย....

ต่อไปเป็นรายละเอียดของโครงสร้างของโลก

โครงสรางของโลก (structure of the Earth) แบงโดยอาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ (physical/mechanical properties) เปน 3 ชั้นได้แก่ธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) ธรณีภาคชั้นกลาง(asthenosphere) และธรณีภาคชั้นใน(mesosphere)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของโลกใหม่ครับ ดูเหมือนเกือบจะทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ผิดครับ โดยที่เข้าใจว่าใต้พื้นโลกลงไปจะเป็นแมกม่าทั้งหมด ซึ่งตามความเป็นจริงจากการศึกษาไม่เป็นแบบนั้น จะมีแค่ 3 จุดเท่านั้นทำให้หินหลอมละลายเป็นแมกม่าได้คือ

1. จุดที่แผ่นเปลือกโลกชนกันแล้วเกิดการมุดตัว หรือ subduction zone โดยแผ่นมหาสมุทรจะมุดลงใต้แผ่นทวีป เพราะมีความหนาแน่นมากกว่า แล้วเกิดการหลอมละลายเป็นแมกม่าใต้พิ้นโลกบริเวณนั้นแล้วเกิดเป็นภูเข้าไฟ เช่นหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอินโดนีเซีย ...

2. จุดที่แผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน หรือ Divergent Boundary เช่น ตรงกลางมหาสมุทรแอตตแลนติก ซึ่งเป็นการแยกตัวออกจากกันของ แผ่นอเมริกา (เหนือ-ใต้) กับแผ่นยูเรเซียและแอฟริกา จุดแยกที่มันโผ่นขึ้นให้เห็นบนพื้นดิน ก็คือ เกาะ ไอซ์แลนด์

3. จุดที่เป็น Hot spot คือเป็นกระเปาะของแมกม่าอยู่แค่ตรงนั้น เช่น อุทธยานแห่งชาติ Yellow stone และ หมู่เกาะฮาวาย....

ต่อไปเป็นรายละเอียดของโครงสร้างของโลก

โครงสร้างของโลก (structure of the Earth) แบ่งโดยอาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ (physical/mechanical properties) เป็น 3 ชั้นได้แก่ธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) ธรณีภาคชั้นกลาง(asthenosphere) และธรณีภาคชั้นใน(mesosphere)

ธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) (0-225 กิโลเมตร) ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความหนาของเปลือกโลก (crust) และประเภทของเปลือกโลก ธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) มีความหนืดประมาณ 10^23 ปัวส์ (poise)

ธรณีภาคชั้นกลาง (asthenosphere) (225-700 กิโลเมตร) มีความหนืดประมาณ 10^21 ปัวส์ ความหนืดเป็นคุณสมบัติของของเหลวที่จะต้านการ เคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลว ถ้าหากของเหลวมีความหนาแน่นมากๆ จะมีความหนืดมาก แรงต้านภายใน ของของเหลวต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่าน เรียกว่า แรงหนืด และ 1 ปัวส์ หรือ 1 นิวตัน-วินาที/เมตร^2 คือ ความเค้น เฉือน 1 นิวตัน/เมตร^2 กระทํากับของเหลวทําให้เกิด strain rate 1.0 วินาที-1 เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ลองนึกถึงกรณีที่เราว่ายน้ําหรือเดินในน้ําความหนืดของน้ําประมาณ 0.008 ปัวส์ กรณีเดินในน้ําผึ้ง โดยน้ําผึ้ง มีความหนืดประมาณ 4 ปัวส์ กรณีเดินในจารบี โดยจารบีมีความหนืดประมาณ 10^7 ปัวส์ หรือเดินในนํ้าแข็ง โดยนํ้าแข็งมีความหนืดประมาณ 10^12 ปัวส์ หรือเดินในหินทราย โดยหินทรายมีความหนืดประมาณ 10^18 ปัวส์ จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นว่าความหนืดของธรณีภาคชั้นกลาง นั้นมีมากกว่าหินทราย ดังนั้นธรณีภาคชั้น กลาง จึงไม่เป็นของเหลวแต่อย่างใด แต่เมื่อเทียบกับธรณีภาคชั้นนอกแล้วมีความหนืดน้อยกว่า จึงทําให้ธรณี ภาคชั้นนอก (lithosphere) เคลื่อนที่อยู่บนธรณีภาคชั้นกลาง (asthenosphere)

ธรณีภาคชั้นใน (mesosphere) หรือ lower mantle ก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันกับ ธรณีภาคชั้นกลาง (asthenosphere)

แก่นโลก (core) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด อยู่ลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตรต่อจากธรณีภาคชั้นกลาง (asthenosphere) แก่นโลกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชั้น คือ แก่นโลกชั้นนอก (outer core) และแก่นโลกชั้นใน (inner core) แก่นโลกชั้นนอกเป็นของเหลว (เป็นโลหะเหลวซึ่งมีสถานะเป็นไอออนลบเพราะความร้อน และเคลื่อนที่วนไปทั้งชั้นเป็นเสมือนกระแสไฟฟ้า มีการสัญนิฐานว่าสนามแม่เหล็กโลกก็น่าจะเกิดจากการไหลวนของชั้น outer core นี้) เพราะสังเกตจากคลื่นเฉือน (shear wave) ที่ไม่สามารถเดินทางผ่านเข้าไปในชั้นนี้ได้  ส่วนแก่นโลกชั้นในอยู่ที่ความลึกประมาณ 5,150 กิโลเมตร ใต้ผิวดิน แก่นโลกชั้นในเป็นส่วนประกอบของแร่เหล็ก และนิเกิล ที่อัดตัวแน่นเป็นของแข็งมีความหนาแน่นสูง ประมาณ 11,000-16,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เพราะฉะนั้นถ้ามีเทคโนโลยีการขุดเจาะที่สุดยอด สามารถควบคุมเรื่องอุรหภูมิ และความดันที่โหดสุดๆได้ ก็เจาะได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่