ที่มาจากเดลินิวครับ
จยย.ห้ามขึ้นสะพานถาวรเตรียมออกข้อบังคับใช้ต่อไม่รอศาลตัดสิน หากสร้างสะพานใหม่ให้เพิ่มเลนจยย.ด้วย... อ่านต่อที่ :
http://dailynews.co.th/bangkok/503081
เมื่อวันที่16 มิ.ย.59 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) เรียกประชุมผู้ปฏิบัติงานจราจร รองผู้กำกับจราจร สารวัตรจราจรเพื่อร่วมพิจารณาในเรื่อง การห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนเดินบนสะพานทางร่วมทางแยกและอุโมงค์ลอดแยกร่วมกับ ตัวแทนจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) แขวงการทางกรุงเทพ สำนักจราจรและขนส่ง( สจส.)กรุงเทพมหานคร(กทม.) และสำนักการโยธา กทม. เข้าร่วมประชุม
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า หลังได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยกและอุโมงค์ทางลอดแยกจำนวน 39 สะพาน 6อุโมงค์เป็นการชั่วคราวระยะเวลา90 วันเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.59 และจะสิ้นสุดข้อบังคับในปลายเดือนมิ.ย.59 นี้ ดังนั้น ทางบช.น.ได้มีการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการประเมินในด้านวิศกรรมจราจร คำนวนการเกิดอุบัติเหตุ และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออกข้อบังคับถาวรต่อไป สำหรับสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ เฉลี่ยปีละ 1 หมื่นกว่าราย ทั้งบาดเจ็บ และเสียชีวิต โดยพบว่าเกิดขึ้นบริเวณ สะพานและอุโมงค์ เฉลี่ยปีละ 500 กว่าราย เช่น อุโมงค์ลอดแยกเกษตรที่พบบ่อยครั้ง ด้านสำหรับผลการสำรวจความพึงพอใจจากส่วนมากยังเห็นว่ารถจักรยานยนต์เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและไม่สะดวกต่อการขับขี่ร่วมไปถึงทำให้เกิดการจราจรที่ล่าช้า แต่การใช้สะพานข้ามแยกและอุโมงค์ลอดแยกถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชน
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า ทังนี้ในที่ประชุมหน่วยงานต่างๆได้เสนอความคิดเห็นว่าควรมีการทำเลนจักรยานยนต์เพิ่มบนสะพานข้ามทางแยกหากมีการก่อสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ เพราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ รวมทั้งรถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วต่ำเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้ง่าย ทั้งนี้ในบางสะพานที่ยังไม่ได้มีการสำรวจตนได้กำชับทั้ง 88 สน.ให้ไปสำรวจสะพานในพื้นที่ของตัวเองหากจุดใดสามารถผ่อนปรนให้รถจักรยานยนตใช้ทางได้ก็ให้ดำเนินการแต่จะต้องกำหนดช่องทางเดินรถให้ชัดเจน แต่หากเป็นสะพานที่ไม่มีไหล่ทางรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งจะต้องหาป้ายสัญลักษณ์จราจรมาติดตั้งให้ชัดเจนเพื่อใประชาชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ตามตนได้สั่งให้สน.ท้องที่ไปสำรวจสะพานข้ามแยกเพิ่มเติมในพื้นที่มีนำเสนอเพื่อพิจารณาออกข้อบังคับอีกครั้งในวันที่ 20 มิ.ย. 59 อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ก็เป็นกระบวนการทางศาลโดยเมื่อผลตัดสินเป็นเช่นไรบช.น.ก็พร้อมปฎิบัติตาม.... อ่านต่อที่ :
http://dailynews.co.th/bangkok/503081
คืออ่านแล้วก็ตามเนื้อข่าวครับ แต่ผมก็สงสัยในการทำงานของตำรวจจริงๆ
- จากเหตุผลที่ว่า รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด แต่ ไม่เคยมีการจดว่าเกิดจากอะไร เช่น ล้มเอง หรือโดนรถอื่นชน แต่เอามาอ้างว่า เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด อันนี้ก็น่าแปลกใจใช่ไหม ถ้าตีความตามนี้ ผมขับรถจักรยานยนต์แล้วโดนรถเบียดตกข้างถนน หรือลื่นน้ำมันล้ม ก็กลายเป็นว่า ผมเป็น 1 ในสถิติที่เอามาบอกว่า 2 ล้ออันตรายๆ ทั้งๆ ที่ผมถูกกระทำเชานนั้นหรือ เหมือน คนเดินถนนแล้วมีเด็กเอาก้อนหินปาหัวแตก แต่กลับบอกว่าถนนนี้อันตราย ห้ามคนเดินผ่านนะ แต่ไม่จัดการกับเด็กที่คอยเอาก้อนหินปาหัว แบบนี้ถูกหรือไม่
- พราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ อันนี้แปลกๆ ถนนในกทม หรือเมืองไทย มีช่องสำหรับจักรยานยนโดยเฉพาะหรือไม่ ตอบไม่มี เท่าที่ผมเห็นมีแค่เส้นบางนาตราดเท่านั้น ที่ตีช่องไว้ แล้วถนนในกทม ปกติ ก็มีช่องมีเลนขนาดเท่ากับบนสะพาน แล้วไม่รองรับตรงไหน เพราะตามกฏหมาย จักรยานยนต์ ก็ใช้ช่องเดียวกับรถยนต์ ใช่หรือไม่
- รวมทั้งรถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วต่ำเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้ง่าย " กฏหมายเมืองไทย กำหนดความเร็วบนถนน ไม่เกิน 80 นะครับ แล้วบนสะพานหรือในอุโมงค์บางส่วน ก็กำหนดความเร็ว 40 หรือ 30 นะครับ ซึ่งพูดง่ายๆ ว่า ถ้าขับตามกฏหมาย รถทุกชนิดก็วิ่งด้วยความเร็วไม่ต่างกัน แต่ ทำใมมาโทษว่าจักรยานยนต์ความเร็วต่ำ ละครับ ทั้งๆ ที่กฏหมายก็มีอยู่แล้ว
- อันนี้อ่านแล้ว เครียดเลย "ทั้งนี้ในบางสะพานที่ยังไม่ได้มีการสำรวจตนได้กำชับทั้ง 88 สน.ให้ไปสำรวจสะพานในพื้นที่ของตัวเองหากจุดใดสามารถผ่อนปรนให้รถจักรยานยนตใช้ทางได้ก็ให้ดำเนินการแต่จะต้องกำหนดช่องทางเดินรถให้ชัดเจน แต่หากเป็นสะพานที่ไม่มีไหล่ทางรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งจะต้องหาป้ายสัญลักษณ์จราจรมาติดตั้งให้ชัดเจนเพื่อใประชาชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ **** ครับ สะพานที่มีช่องทางจักรยานยนต์ติดมาตั้งแต่สร้าง ท่านก็เอาออก สะพานไม่มีไหล่ทางท่านก็บอกว่าอันตราย ส่วนสะพานที่มีไหล่ทาง ท่านก็เปิดให้รถยนต์วิ่งกันบนไหล่ทาง ตกลงว่า พวกผมนี่ไม่มีที่จะขับกันเลยสินะ
- อันนี้อ่านแล้วตลก "พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า ทังนี้ในที่ประชุมหน่วยงานต่างๆได้เสนอความคิดเห็นว่าควรมีการทำเลนจักรยานยนต์เพิ่มบนสะพานข้ามทางแยกหากมีการก่อสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ เพราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ*** สะพานไทยเบลเยี่ยมที่ท่านห้ามขึ้นนั้น เป็นสะพานตัวอย่างที่ออกแบบมาให้มีช่องทางเดินรถจักรยานยนต์ แต่ พวกท่านเองก็ไปเอาป้ายออก แล่วก็ติดป้ายห้ามขึ้นซะเอง แบบนี้ต่อให้มีสร้างไหม่อีก 100 สะพาน แล้วทุกสะพานมีเลนสำหรับจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ท่านก็ห้ามขึ้นอยู่ดีจริงไหม
** สุดท้าย ผมค่อนข้างเหนื่อยกับการจราจรทุกวันนี้ ที่ตำรวจแทนที่จะรักษากฏ กลับกลายเป็นคนที่ชี้นำให้คนทำผิดกฏเสียเอง เช่น เปิดให้รถวิ่ง บนไหล่ทาง ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เลนสำหรับรถวิ่ง เปิดให้เลี้ยวได้ 2-3 เลน ทั้งๆ ที่ เลนนั้นออกแบบมาให้ตรงไป เปิดเลนย้อนศรบ้าง หรือช่วยอำนวยความสะดวกให้ บริษัทใหญ่ๆ หรือห้างใหญ่ๆ สามารถปิดถนน เพื่อให้รถของตัวเองออกจากห้างได้อย่างสะดวก การที่ตำรวจทำผิดกฏจราจรซะเองแบบนี้ คนเราจะรักษากฏกันเหรอครับ
อ่านข่าวนี้แล้วจะตลกหรือเสียใจดีนะชาวสองล้อ "จยย.ห้ามขึ้นสะพานถาวร จ่อบังคับใช้ต่อไม่รอศาลตัดสิน... "
จยย.ห้ามขึ้นสะพานถาวรเตรียมออกข้อบังคับใช้ต่อไม่รอศาลตัดสิน หากสร้างสะพานใหม่ให้เพิ่มเลนจยย.ด้วย... อ่านต่อที่ : http://dailynews.co.th/bangkok/503081
เมื่อวันที่16 มิ.ย.59 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) เรียกประชุมผู้ปฏิบัติงานจราจร รองผู้กำกับจราจร สารวัตรจราจรเพื่อร่วมพิจารณาในเรื่อง การห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนเดินบนสะพานทางร่วมทางแยกและอุโมงค์ลอดแยกร่วมกับ ตัวแทนจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) แขวงการทางกรุงเทพ สำนักจราจรและขนส่ง( สจส.)กรุงเทพมหานคร(กทม.) และสำนักการโยธา กทม. เข้าร่วมประชุม
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า หลังได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยกและอุโมงค์ทางลอดแยกจำนวน 39 สะพาน 6อุโมงค์เป็นการชั่วคราวระยะเวลา90 วันเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.59 และจะสิ้นสุดข้อบังคับในปลายเดือนมิ.ย.59 นี้ ดังนั้น ทางบช.น.ได้มีการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการประเมินในด้านวิศกรรมจราจร คำนวนการเกิดอุบัติเหตุ และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออกข้อบังคับถาวรต่อไป สำหรับสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ เฉลี่ยปีละ 1 หมื่นกว่าราย ทั้งบาดเจ็บ และเสียชีวิต โดยพบว่าเกิดขึ้นบริเวณ สะพานและอุโมงค์ เฉลี่ยปีละ 500 กว่าราย เช่น อุโมงค์ลอดแยกเกษตรที่พบบ่อยครั้ง ด้านสำหรับผลการสำรวจความพึงพอใจจากส่วนมากยังเห็นว่ารถจักรยานยนต์เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและไม่สะดวกต่อการขับขี่ร่วมไปถึงทำให้เกิดการจราจรที่ล่าช้า แต่การใช้สะพานข้ามแยกและอุโมงค์ลอดแยกถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชน
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า ทังนี้ในที่ประชุมหน่วยงานต่างๆได้เสนอความคิดเห็นว่าควรมีการทำเลนจักรยานยนต์เพิ่มบนสะพานข้ามทางแยกหากมีการก่อสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ เพราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ รวมทั้งรถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วต่ำเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้ง่าย ทั้งนี้ในบางสะพานที่ยังไม่ได้มีการสำรวจตนได้กำชับทั้ง 88 สน.ให้ไปสำรวจสะพานในพื้นที่ของตัวเองหากจุดใดสามารถผ่อนปรนให้รถจักรยานยนตใช้ทางได้ก็ให้ดำเนินการแต่จะต้องกำหนดช่องทางเดินรถให้ชัดเจน แต่หากเป็นสะพานที่ไม่มีไหล่ทางรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งจะต้องหาป้ายสัญลักษณ์จราจรมาติดตั้งให้ชัดเจนเพื่อใประชาชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ตามตนได้สั่งให้สน.ท้องที่ไปสำรวจสะพานข้ามแยกเพิ่มเติมในพื้นที่มีนำเสนอเพื่อพิจารณาออกข้อบังคับอีกครั้งในวันที่ 20 มิ.ย. 59 อย่างไรก็ตามสำหรับประเด็นที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ก็เป็นกระบวนการทางศาลโดยเมื่อผลตัดสินเป็นเช่นไรบช.น.ก็พร้อมปฎิบัติตาม.... อ่านต่อที่ : http://dailynews.co.th/bangkok/503081
คืออ่านแล้วก็ตามเนื้อข่าวครับ แต่ผมก็สงสัยในการทำงานของตำรวจจริงๆ
- จากเหตุผลที่ว่า รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด แต่ ไม่เคยมีการจดว่าเกิดจากอะไร เช่น ล้มเอง หรือโดนรถอื่นชน แต่เอามาอ้างว่า เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด อันนี้ก็น่าแปลกใจใช่ไหม ถ้าตีความตามนี้ ผมขับรถจักรยานยนต์แล้วโดนรถเบียดตกข้างถนน หรือลื่นน้ำมันล้ม ก็กลายเป็นว่า ผมเป็น 1 ในสถิติที่เอามาบอกว่า 2 ล้ออันตรายๆ ทั้งๆ ที่ผมถูกกระทำเชานนั้นหรือ เหมือน คนเดินถนนแล้วมีเด็กเอาก้อนหินปาหัวแตก แต่กลับบอกว่าถนนนี้อันตราย ห้ามคนเดินผ่านนะ แต่ไม่จัดการกับเด็กที่คอยเอาก้อนหินปาหัว แบบนี้ถูกหรือไม่
- พราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ อันนี้แปลกๆ ถนนในกทม หรือเมืองไทย มีช่องสำหรับจักรยานยนโดยเฉพาะหรือไม่ ตอบไม่มี เท่าที่ผมเห็นมีแค่เส้นบางนาตราดเท่านั้น ที่ตีช่องไว้ แล้วถนนในกทม ปกติ ก็มีช่องมีเลนขนาดเท่ากับบนสะพาน แล้วไม่รองรับตรงไหน เพราะตามกฏหมาย จักรยานยนต์ ก็ใช้ช่องเดียวกับรถยนต์ ใช่หรือไม่
- รวมทั้งรถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วต่ำเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้ง่าย " กฏหมายเมืองไทย กำหนดความเร็วบนถนน ไม่เกิน 80 นะครับ แล้วบนสะพานหรือในอุโมงค์บางส่วน ก็กำหนดความเร็ว 40 หรือ 30 นะครับ ซึ่งพูดง่ายๆ ว่า ถ้าขับตามกฏหมาย รถทุกชนิดก็วิ่งด้วยความเร็วไม่ต่างกัน แต่ ทำใมมาโทษว่าจักรยานยนต์ความเร็วต่ำ ละครับ ทั้งๆ ที่กฏหมายก็มีอยู่แล้ว
- อันนี้อ่านแล้ว เครียดเลย "ทั้งนี้ในบางสะพานที่ยังไม่ได้มีการสำรวจตนได้กำชับทั้ง 88 สน.ให้ไปสำรวจสะพานในพื้นที่ของตัวเองหากจุดใดสามารถผ่อนปรนให้รถจักรยานยนตใช้ทางได้ก็ให้ดำเนินการแต่จะต้องกำหนดช่องทางเดินรถให้ชัดเจน แต่หากเป็นสะพานที่ไม่มีไหล่ทางรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งจะต้องหาป้ายสัญลักษณ์จราจรมาติดตั้งให้ชัดเจนเพื่อใประชาชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ **** ครับ สะพานที่มีช่องทางจักรยานยนต์ติดมาตั้งแต่สร้าง ท่านก็เอาออก สะพานไม่มีไหล่ทางท่านก็บอกว่าอันตราย ส่วนสะพานที่มีไหล่ทาง ท่านก็เปิดให้รถยนต์วิ่งกันบนไหล่ทาง ตกลงว่า พวกผมนี่ไม่มีที่จะขับกันเลยสินะ
- อันนี้อ่านแล้วตลก "พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า ทังนี้ในที่ประชุมหน่วยงานต่างๆได้เสนอความคิดเห็นว่าควรมีการทำเลนจักรยานยนต์เพิ่มบนสะพานข้ามทางแยกหากมีการก่อสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ เพราะขณะนี้สะพานตัวเดิมทั้ง 39 สะพานไม่สามารถขยายช่องทางสำหรับจักรยานยนต์ได้เพราะไม่มีการออกแบบมารองรับ*** สะพานไทยเบลเยี่ยมที่ท่านห้ามขึ้นนั้น เป็นสะพานตัวอย่างที่ออกแบบมาให้มีช่องทางเดินรถจักรยานยนต์ แต่ พวกท่านเองก็ไปเอาป้ายออก แล่วก็ติดป้ายห้ามขึ้นซะเอง แบบนี้ต่อให้มีสร้างไหม่อีก 100 สะพาน แล้วทุกสะพานมีเลนสำหรับจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ท่านก็ห้ามขึ้นอยู่ดีจริงไหม
** สุดท้าย ผมค่อนข้างเหนื่อยกับการจราจรทุกวันนี้ ที่ตำรวจแทนที่จะรักษากฏ กลับกลายเป็นคนที่ชี้นำให้คนทำผิดกฏเสียเอง เช่น เปิดให้รถวิ่ง บนไหล่ทาง ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เลนสำหรับรถวิ่ง เปิดให้เลี้ยวได้ 2-3 เลน ทั้งๆ ที่ เลนนั้นออกแบบมาให้ตรงไป เปิดเลนย้อนศรบ้าง หรือช่วยอำนวยความสะดวกให้ บริษัทใหญ่ๆ หรือห้างใหญ่ๆ สามารถปิดถนน เพื่อให้รถของตัวเองออกจากห้างได้อย่างสะดวก การที่ตำรวจทำผิดกฏจราจรซะเองแบบนี้ คนเราจะรักษากฏกันเหรอครับ