ความจริงแล้ว ศาสนาพุทธในรัฐมอญ เคยเกิดความแตกแยกอย่างหนัก แต่ปัจจุบันนี้ความแตกแยกนั้นได้สลายลงไปด้วยอิทธิพลของคนรุ่นใหม่ไปแล้ว
สำหรับคณะสงฆ์มอญในเมืองไทย เห็นสังคมไทยเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นแหละ ไม่แตกต่างกันเลย
สำหรับคณะสงฆ์มอญในพม่า มีสภาพแตกต่างจากคณะสงฆ์มอญในไทย
เดิมทีคณะสงฆ์มอญในพม่า ไม่มีความแตกแยกกันเพราะมีนิกายเดียว คือ รามัญนิกาย
หลังจากมอญตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า รัฐบานพม่าใช้นโยบาย divide and rule จึงแยกคณะสงฆ์มอญออกเป็น 3 นิกายดังนี้
นิกายเล็กสุด ชื่อว่า ชเวจิน สืบมาจากพระมอญที่ได้รับการบวชมาจากพระพม่านิกายนี้
นิกายขนาดกลาง ชื่อว่า มหาเย็น สืบมาจากพระสงฆ์มอญธรรมยุติกนิกายรูปหนึ่งจากประเทศไทย ท่านมีชื่อว่ามหาเย็น ท่านเดินทางไปสร้างวัดที่รัฐมอญ และสร้างโรงเรียนพระปริยัติขึ้นที่นั่นจนกลายเป็นเจ้าสำนักนิกาย
นิกายที่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า สัทธัมมา เป็นนิกายที่พม่าตั้งขี้นมา วัดที่ไม่ได้สังกัดนิกายตามที่ระบุไว้ข้างบน รัฐบาลพม่ารวมไว้ให้เป็นนิกายนี้หมด
รามัญนิกาย พม่าไม่ยอมให้ขึ้นทะเบียนเป็นนิกายที่เป็นทางการ ทำให้คณะสงฆ์มอญที่สังกัดนิกายนี้กลายเป็นนิกายสัทธัมมาไปโดยปริยาย
ถ้าจะเปรียบกับนิกายของไทย สัทธัมมา เปรียบได้กับ มหานิกาย นิกายมหาเย็น เปรียบได้กับ ธรรมยุติกนิกาย
แต่ละนิกายไม่ร่วมสังฆกรรมกัน ถ้าพระจากนิกายสัทธัมมามีความประสงค์จะไปอยู่วัดของนิกายมหาเย็น จะต้องบวชใหม่ถึงจะให้อยู่ นิกายชเวจินและนิกายมหาเย็นไม่ฉันร่วมกับสัทธัมมานิกาย นี้คือความแตกแยกที่คณะสงฆ์มอญได้เคยเป็นกันมา
อย่างไรก็ดี คณะสงฆ์มอญที่สังกัดรามัญนิกายไม่ย่อท้อ ถึงแม้ทางการพม่าไม่ยอมรับ คณะสงฆ์กลุ่มนี้ตั้งศูนย์กลางขึ้นมาในเมืองเมาะละแหม่งซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญภายใต้พม่าปกครอง มีการจัดสอบปริยัติมอญแบบฉบับของมอญเองในศูนย์นี้ทุกปี ในแต่ละปีมีพระสงฆ์มอญมาสอบกันร่วมเป็นหมื่น จนทำให้รัฐบาลพม่าเป็นห่วงเรื่องความมั่งคงของประเทศ เพื่อลดความตื่นเครียดลง รัฐบาลพม่าต้องประกาศให้พระสงฆ์มอญเข้าสอบพระปริยัติเป็นภาษามอญให้เป็นทางการตามจังหวัดต่างตามที่รัฐบาลพม่าจัดให้ และรับรองวุฒิบัตรเสมือนกับของพม่า
ถึงแม้ทางการพม่าไม่ยอมรับระบบการศึกษาของพระสงฆ์มอญที่จัดสอบกันเอง แต่มอญก็ยอมรับกันเอง พระเณรที่สอบผ่านในระบบรามัญนิกาย ถือว่าสุดยอดเพราะต้องสอบทั้งข้อเขียนและปากเปล่า เป็นการสอบที่ยากที่สุดในวงการพระสงฆ์ ดังนั้น พระเณรมอญที่เคยเรียนพระปริยัติมา สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ทุกรูป ถ้าผ่านชั้นนักธรรมเอกมาแล้วก็ สามารถท่องจำพระวินัยทั้งภิกษุและภิกษุณี บาลีไวยากรณ์ และพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์บวกกับอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นภาษาบาลีได้หมด มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถสอบผ่านได้ เมื่อบวชเป็นพระเณรแล้ว จะอยู่เฉย ๆ ไม่เรียนพระปริยัติไม่ได้ ทุกรูปต้องเรียนหมด ในแต่วันไม่มีเวลาว่างยกเว้นวันพระเพราะต้องท่องจำบาลีให้ขึ้นใจ พระสงฆ์ทุกรูปต้องสวดปาฏิโมกข์ได้ยกเว้นพระที่บวชระยะสั้น
เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ เนื่องจากชาวมอญต่อต้านความแตกแยกคณะสงฆ์มอญที่เกิดจากต่างนิกาย จึงทำให้พระสงฆ์มอญทุกนิกายต้องสามัคคีกัน ต้องร่วมสังฆกรรมกัน ต้องฉันร่วมกัน ปัจจุบันนี้ ไม่มีความแตกแยกนั้นแล้ว ทุกวัดมอญเติมคำว่า รามัญนิกาย ต่อท้ายจากชื่อวัดเพื่อแสดงต่อทางการรับทราบว่า มอญมีนิกายเดียว คือ รามัญนิกาย ถึงแม้ทางการไม่รับรองก็ตาม คณะสงฆ์มอญรับรองกันเองโดยไม่เกร็งกลัวว่าจะถูกทางการพม่าเอาเรื่อง
ธรรมยุติกนิกายของไทยก็สืบมาจากรามัญนิกาย หัวหน้าฝ่ายสงฆ์ของมอญในเมืองไทยได้รับแต่งตั้งให้มีตำเหน่งเป็นทางการซึ่งเรียกว่า รามัญมุนี เทียบเท่ากับสังฆราชของฝ่ายมอญในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ไม่มีทำเนียมนั้นแล้ว ไม่ทราบว่าเพราะสาเหตุอะไร ถ้าจะยังคงรักษาทำเนียมนี้ไว้ก็ ตำแหน่งรามัญมุนีปัจจุบัน น่าจะเป็นท่านเจ้าคุณวัดอาสา พระประแดง สมุทรปราการ
ในขณะที่ศาสนาพุทธในมอญมีความสามัคคีมากขึ้น แต่ศาสนาพุทธในไทย เริ่มเกิดรอยร้าว ทำไมเป็นเช่นนั้นไปได้
สำหรับคณะสงฆ์มอญในเมืองไทย เห็นสังคมไทยเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นแหละ ไม่แตกต่างกันเลย
สำหรับคณะสงฆ์มอญในพม่า มีสภาพแตกต่างจากคณะสงฆ์มอญในไทย
เดิมทีคณะสงฆ์มอญในพม่า ไม่มีความแตกแยกกันเพราะมีนิกายเดียว คือ รามัญนิกาย
หลังจากมอญตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า รัฐบานพม่าใช้นโยบาย divide and rule จึงแยกคณะสงฆ์มอญออกเป็น 3 นิกายดังนี้
นิกายเล็กสุด ชื่อว่า ชเวจิน สืบมาจากพระมอญที่ได้รับการบวชมาจากพระพม่านิกายนี้
นิกายขนาดกลาง ชื่อว่า มหาเย็น สืบมาจากพระสงฆ์มอญธรรมยุติกนิกายรูปหนึ่งจากประเทศไทย ท่านมีชื่อว่ามหาเย็น ท่านเดินทางไปสร้างวัดที่รัฐมอญ และสร้างโรงเรียนพระปริยัติขึ้นที่นั่นจนกลายเป็นเจ้าสำนักนิกาย
นิกายที่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า สัทธัมมา เป็นนิกายที่พม่าตั้งขี้นมา วัดที่ไม่ได้สังกัดนิกายตามที่ระบุไว้ข้างบน รัฐบาลพม่ารวมไว้ให้เป็นนิกายนี้หมด
รามัญนิกาย พม่าไม่ยอมให้ขึ้นทะเบียนเป็นนิกายที่เป็นทางการ ทำให้คณะสงฆ์มอญที่สังกัดนิกายนี้กลายเป็นนิกายสัทธัมมาไปโดยปริยาย
ถ้าจะเปรียบกับนิกายของไทย สัทธัมมา เปรียบได้กับ มหานิกาย นิกายมหาเย็น เปรียบได้กับ ธรรมยุติกนิกาย
แต่ละนิกายไม่ร่วมสังฆกรรมกัน ถ้าพระจากนิกายสัทธัมมามีความประสงค์จะไปอยู่วัดของนิกายมหาเย็น จะต้องบวชใหม่ถึงจะให้อยู่ นิกายชเวจินและนิกายมหาเย็นไม่ฉันร่วมกับสัทธัมมานิกาย นี้คือความแตกแยกที่คณะสงฆ์มอญได้เคยเป็นกันมา
อย่างไรก็ดี คณะสงฆ์มอญที่สังกัดรามัญนิกายไม่ย่อท้อ ถึงแม้ทางการพม่าไม่ยอมรับ คณะสงฆ์กลุ่มนี้ตั้งศูนย์กลางขึ้นมาในเมืองเมาะละแหม่งซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญภายใต้พม่าปกครอง มีการจัดสอบปริยัติมอญแบบฉบับของมอญเองในศูนย์นี้ทุกปี ในแต่ละปีมีพระสงฆ์มอญมาสอบกันร่วมเป็นหมื่น จนทำให้รัฐบาลพม่าเป็นห่วงเรื่องความมั่งคงของประเทศ เพื่อลดความตื่นเครียดลง รัฐบาลพม่าต้องประกาศให้พระสงฆ์มอญเข้าสอบพระปริยัติเป็นภาษามอญให้เป็นทางการตามจังหวัดต่างตามที่รัฐบาลพม่าจัดให้ และรับรองวุฒิบัตรเสมือนกับของพม่า
ถึงแม้ทางการพม่าไม่ยอมรับระบบการศึกษาของพระสงฆ์มอญที่จัดสอบกันเอง แต่มอญก็ยอมรับกันเอง พระเณรที่สอบผ่านในระบบรามัญนิกาย ถือว่าสุดยอดเพราะต้องสอบทั้งข้อเขียนและปากเปล่า เป็นการสอบที่ยากที่สุดในวงการพระสงฆ์ ดังนั้น พระเณรมอญที่เคยเรียนพระปริยัติมา สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ทุกรูป ถ้าผ่านชั้นนักธรรมเอกมาแล้วก็ สามารถท่องจำพระวินัยทั้งภิกษุและภิกษุณี บาลีไวยากรณ์ และพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์บวกกับอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นภาษาบาลีได้หมด มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถสอบผ่านได้ เมื่อบวชเป็นพระเณรแล้ว จะอยู่เฉย ๆ ไม่เรียนพระปริยัติไม่ได้ ทุกรูปต้องเรียนหมด ในแต่วันไม่มีเวลาว่างยกเว้นวันพระเพราะต้องท่องจำบาลีให้ขึ้นใจ พระสงฆ์ทุกรูปต้องสวดปาฏิโมกข์ได้ยกเว้นพระที่บวชระยะสั้น
เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ เนื่องจากชาวมอญต่อต้านความแตกแยกคณะสงฆ์มอญที่เกิดจากต่างนิกาย จึงทำให้พระสงฆ์มอญทุกนิกายต้องสามัคคีกัน ต้องร่วมสังฆกรรมกัน ต้องฉันร่วมกัน ปัจจุบันนี้ ไม่มีความแตกแยกนั้นแล้ว ทุกวัดมอญเติมคำว่า รามัญนิกาย ต่อท้ายจากชื่อวัดเพื่อแสดงต่อทางการรับทราบว่า มอญมีนิกายเดียว คือ รามัญนิกาย ถึงแม้ทางการไม่รับรองก็ตาม คณะสงฆ์มอญรับรองกันเองโดยไม่เกร็งกลัวว่าจะถูกทางการพม่าเอาเรื่อง
ธรรมยุติกนิกายของไทยก็สืบมาจากรามัญนิกาย หัวหน้าฝ่ายสงฆ์ของมอญในเมืองไทยได้รับแต่งตั้งให้มีตำเหน่งเป็นทางการซึ่งเรียกว่า รามัญมุนี เทียบเท่ากับสังฆราชของฝ่ายมอญในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ไม่มีทำเนียมนั้นแล้ว ไม่ทราบว่าเพราะสาเหตุอะไร ถ้าจะยังคงรักษาทำเนียมนี้ไว้ก็ ตำแหน่งรามัญมุนีปัจจุบัน น่าจะเป็นท่านเจ้าคุณวัดอาสา พระประแดง สมุทรปราการ