Eliodomestico
ชาวบ้านอินเดียนับหลายหมื่นคนมักจะขาดแคลนน้ำดื่ม
และหลายคนต้องเดินทางไปไกลมากเพื่อหาน้ำดื่ม
Gabriele Diamanti นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิตาลี
ได้ออกแบบเครื่องผลิตน้ำดื่มที่เรียกว่า Eliodomestico
อุปกรณ์แบบเรียบง่ายที่ทำให้น้ำเค็มกลายเป็นน้ำดื่ม
ด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ (ใช้งานได้ดีตอนกลางวัน)
อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กับขนย้ายได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
รวมทั้งไม่มีต้นทุนดำเนินงาน/ค่าแรง
วัตถุดิบที่ต้องการคือ น้ำทะเล (ฟรี)
ผลงานของ Diamanti ได้ออกแบบให้กับชาวบ้าน
ในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการน้ำดื่ม
ลองคิดถึงเครื่องทำน้ำกาแฟที่ดันไอน้ำขึ้นด้านบน
ก่อนจะอัดไอน้ำเข้าไปในผงกาแฟให้น้ำกาแฟไหลลงในถ้วย
กระบวนการทำงานของ Eliodomestico
จะเริ่มต้นด้วยน้ำทะเลที่อยู่ในภาชนะบรรจุด้านบน
ในระหว่างวันความร้อนจากแสงแดด
ทำให้เกิดไอน้ำที่ลอยขึ้นไปชนฝาด้านบน
แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำไหลหยดลงมาตามท่อน้ำ
หยดลงในภาชนะที่วางไว้ด้านล่างสุดเพื่อให้ยกเข้าออกได้ง่าย ๆ
ส่วนน้ำทะเลอยู่ในภาชนะด้านบนสุด
มีฝาปิดเปิดให้เทน้ำทะเลลงไปได้
(ถ้าแห้งมาก ๆ อาจจะได้เกลือเป็นของแถม)
เครื่องกลั่นน้ำดื่มนี้ขนย้ายไปมาได้ง่าย ๆ
เพื่อเดินหาจุดที่มีแสงแดดจัดมากที่สุด
อุปกรณ์ชิ้นนี้ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
รวมทั้งการดูแลรักษาง่ายมาก
Eliodomestico สามารถผลิตน้ำดื่มได้ถึงวันละ 5 ลิตร
ด้วยต้นทุนการผลิตที่ประมาณการว่าเพียง 50 เหรียญสหรัฐ
Diamanti ต้องการให้โครงการนี้เข้าถึง
ชาวบ้านในประเทศที่ยากจนที่ต้องการน้ำดื่มในแต่ละวัน
อุปกรณ์ชิ้นนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.2005-2012 ส่งเข้าประกวดได้รับรางวัล
1. Finalist at Prix Emile Hermès competition 2011
http://goo.gl/IrURBl
2. Special mention at Well-Tech Award 2012
http://goo.gl/n3ufb8
3. Pro winner of the Core77 Design Awards 2012 social impact category
http://goo.gl/QEmvrG
ร่วมงานแสดงนิทรรศการที่
1. H2O - new scenarios for survival | touring exhibition | 2006-2012;
http://goo.gl/tkK95V
2. Prix Emile Hermès | Musée des Arts Decoratifs, 111 rue de Rivoli, Paris | 18 October 2011;
http://goo.gl/Ho4WIU
3. Dreams of a Faucet - Design with the soul of water |
Roca Barcelona Gallery, 211 Carrer de Joan Güell, Barcelona | 11 February - 13 May 2012
http://goo.gl/InwbxK
4. Well-Tech Award | Palazzo Isimbardi, 35 c.so Monforte, Milano | 17 - 22 April 2012
http://goo.gl/wAQEIo
Prototype/ต้นแบบ ได้รับเงินสนับสนุนจาก Fondation d'entreprise Hermès
http://goo.gl/gpYtJZ
ผู้ออกแบบ : Gabriele Diamanti
ช่วงปีที่พัฒนา : 2005 --> 2012
Creative Commons License
ผลงานนี้อนุญาตให้ใช้สิทธิ์และเผยแพร่ได้ โดยมีเงื่อนไขไม่ใช่เพื่อค้า
CC Attribution-NonCommercial-ShareAlike 2.0 Generic License
Eliodomestico เป็นโครงการเปิด ฟรีสำหรับทุกคนที่จำเป็นต้องใช้
ผมจะรู้สึกซาบซึ้งมากถ้าช่วยผมพัฒนาโครงการนี้
ที่มา
http://goo.gl/C6b1ae
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/1W33aAt
http://goo.gl/EiMfHP
http://goo.gl/OP3XYs
หมายเหตุ
จากการสอบถามเพื่อนคนที่ชอบแบกเป้(BackPacker)เที่ยวอินเดีย
ท่านเป็นนักเขียนประจำในวารสาร MBA
กับงานเขียนสรรพเพเหระ/วิชาการเศรษฐศาสตร์
สามารถอ่านเขียนภาษาฮินดูได้
นอกเหนือจาก ฝรั่งเศส สเปญ อังกฤษ มลายู
กับเพื่อนอีกคนที่เป็นอดีตภัณฑรักษ์
นักโบราณคดีผู้ชำนาญการเรื่องผ้าอินเดีย
สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในอินเดีย
ตอนนี้ไป ๆ มา ๆ ระหว่างไทยกับอินเดีย
ตามรอยเรื่องผ้าโบราณไทยที่มาจากอินเดีย
ทั้งคู่ต่างให้ข้อมูลเบื้องต้น
ในอินเดียจะมีการปั้นถ้วยชาม
และแก้วน้ำทำด้วยดินเผามาก
แก้วน้ำส่วนมากนิยมกินแล้วขว้างทิ้งเป็นเศษขยะ
เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเกิดการซื้อขาย
กับความเชื่อบางอย่างทางศาสนาในบางแห่ง
ที่คนต่างวรรณะจะใช้แก้วน้ำร่วมกันไม่ได้
เป็นบาปทั้งสองฝ่ายถ้ามาหยิบใช้ร่วมกัน
ต่างกับแก้วน้ำดินเผาในงานวัด/ตลาดนัดของไทย
ที่เป็นส่วนมากมักจะเป็นรูปตุ๊กตา รูปโอ่ง รูปตุ่ม
คนไทยมักเก็บกลับบ้านมาใส่ดอกไม้/ทำแจกัน/ของที่ระลึก
ส่วนพวกสังกะสี กระจก เหล็ก เหล็กฉาก
คนจนแทบจะหาซื้อไม่ได้เลย
เพราะไม่มีเงินทอง/กำลังซื้อที่เพียงพอ
โครงการนี้จึงเน้นหนักในประเทศด้อยพัฒนา
ที่มีแรงงานฝีมือในการปั้นและใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นได้
นั่นคือ บริบทและการได้รับรางวัลผลงานชิ้นนี้
อุปกรณ์ทำน้ำเค็มให้เป็นน้ำดื่มอย่างง่าย
Eliodomestico
ชาวบ้านอินเดียนับหลายหมื่นคนมักจะขาดแคลนน้ำดื่ม
และหลายคนต้องเดินทางไปไกลมากเพื่อหาน้ำดื่ม
Gabriele Diamanti นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิตาลี
ได้ออกแบบเครื่องผลิตน้ำดื่มที่เรียกว่า Eliodomestico
อุปกรณ์แบบเรียบง่ายที่ทำให้น้ำเค็มกลายเป็นน้ำดื่ม
ด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ (ใช้งานได้ดีตอนกลางวัน)
อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กับขนย้ายได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
รวมทั้งไม่มีต้นทุนดำเนินงาน/ค่าแรง
วัตถุดิบที่ต้องการคือ น้ำทะเล (ฟรี)
ผลงานของ Diamanti ได้ออกแบบให้กับชาวบ้าน
ในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการน้ำดื่ม
ลองคิดถึงเครื่องทำน้ำกาแฟที่ดันไอน้ำขึ้นด้านบน
ก่อนจะอัดไอน้ำเข้าไปในผงกาแฟให้น้ำกาแฟไหลลงในถ้วย
กระบวนการทำงานของ Eliodomestico
จะเริ่มต้นด้วยน้ำทะเลที่อยู่ในภาชนะบรรจุด้านบน
ในระหว่างวันความร้อนจากแสงแดด
ทำให้เกิดไอน้ำที่ลอยขึ้นไปชนฝาด้านบน
แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำไหลหยดลงมาตามท่อน้ำ
หยดลงในภาชนะที่วางไว้ด้านล่างสุดเพื่อให้ยกเข้าออกได้ง่าย ๆ
ส่วนน้ำทะเลอยู่ในภาชนะด้านบนสุด
มีฝาปิดเปิดให้เทน้ำทะเลลงไปได้
(ถ้าแห้งมาก ๆ อาจจะได้เกลือเป็นของแถม)
เครื่องกลั่นน้ำดื่มนี้ขนย้ายไปมาได้ง่าย ๆ
เพื่อเดินหาจุดที่มีแสงแดดจัดมากที่สุด
อุปกรณ์ชิ้นนี้ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
รวมทั้งการดูแลรักษาง่ายมาก
Eliodomestico สามารถผลิตน้ำดื่มได้ถึงวันละ 5 ลิตร
ด้วยต้นทุนการผลิตที่ประมาณการว่าเพียง 50 เหรียญสหรัฐ
Diamanti ต้องการให้โครงการนี้เข้าถึง
ชาวบ้านในประเทศที่ยากจนที่ต้องการน้ำดื่มในแต่ละวัน
อุปกรณ์ชิ้นนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.2005-2012 ส่งเข้าประกวดได้รับรางวัล
1. Finalist at Prix Emile Hermès competition 2011 http://goo.gl/IrURBl
2. Special mention at Well-Tech Award 2012 http://goo.gl/n3ufb8
3. Pro winner of the Core77 Design Awards 2012 social impact category http://goo.gl/QEmvrG
ร่วมงานแสดงนิทรรศการที่
1. H2O - new scenarios for survival | touring exhibition | 2006-2012; http://goo.gl/tkK95V
2. Prix Emile Hermès | Musée des Arts Decoratifs, 111 rue de Rivoli, Paris | 18 October 2011; http://goo.gl/Ho4WIU
3. Dreams of a Faucet - Design with the soul of water |
Roca Barcelona Gallery, 211 Carrer de Joan Güell, Barcelona | 11 February - 13 May 2012 http://goo.gl/InwbxK
4. Well-Tech Award | Palazzo Isimbardi, 35 c.so Monforte, Milano | 17 - 22 April 2012 http://goo.gl/wAQEIo
Prototype/ต้นแบบ ได้รับเงินสนับสนุนจาก Fondation d'entreprise Hermès http://goo.gl/gpYtJZ
ผู้ออกแบบ : Gabriele Diamanti
ช่วงปีที่พัฒนา : 2005 --> 2012
Creative Commons License
ผลงานนี้อนุญาตให้ใช้สิทธิ์และเผยแพร่ได้ โดยมีเงื่อนไขไม่ใช่เพื่อค้า
CC Attribution-NonCommercial-ShareAlike 2.0 Generic License
Eliodomestico เป็นโครงการเปิด ฟรีสำหรับทุกคนที่จำเป็นต้องใช้
ผมจะรู้สึกซาบซึ้งมากถ้าช่วยผมพัฒนาโครงการนี้
ที่มา http://goo.gl/C6b1ae
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/1W33aAt
http://goo.gl/EiMfHP
http://goo.gl/OP3XYs
หมายเหตุ
จากการสอบถามเพื่อนคนที่ชอบแบกเป้(BackPacker)เที่ยวอินเดีย
ท่านเป็นนักเขียนประจำในวารสาร MBA
กับงานเขียนสรรพเพเหระ/วิชาการเศรษฐศาสตร์
สามารถอ่านเขียนภาษาฮินดูได้
นอกเหนือจาก ฝรั่งเศส สเปญ อังกฤษ มลายู
กับเพื่อนอีกคนที่เป็นอดีตภัณฑรักษ์
นักโบราณคดีผู้ชำนาญการเรื่องผ้าอินเดีย
สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในอินเดีย
ตอนนี้ไป ๆ มา ๆ ระหว่างไทยกับอินเดีย
ตามรอยเรื่องผ้าโบราณไทยที่มาจากอินเดีย
ทั้งคู่ต่างให้ข้อมูลเบื้องต้น
ในอินเดียจะมีการปั้นถ้วยชาม
และแก้วน้ำทำด้วยดินเผามาก
แก้วน้ำส่วนมากนิยมกินแล้วขว้างทิ้งเป็นเศษขยะ
เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเกิดการซื้อขาย
กับความเชื่อบางอย่างทางศาสนาในบางแห่ง
ที่คนต่างวรรณะจะใช้แก้วน้ำร่วมกันไม่ได้
เป็นบาปทั้งสองฝ่ายถ้ามาหยิบใช้ร่วมกัน
ต่างกับแก้วน้ำดินเผาในงานวัด/ตลาดนัดของไทย
ที่เป็นส่วนมากมักจะเป็นรูปตุ๊กตา รูปโอ่ง รูปตุ่ม
คนไทยมักเก็บกลับบ้านมาใส่ดอกไม้/ทำแจกัน/ของที่ระลึก
ส่วนพวกสังกะสี กระจก เหล็ก เหล็กฉาก
คนจนแทบจะหาซื้อไม่ได้เลย
เพราะไม่มีเงินทอง/กำลังซื้อที่เพียงพอ
โครงการนี้จึงเน้นหนักในประเทศด้อยพัฒนา
ที่มีแรงงานฝีมือในการปั้นและใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นได้
นั่นคือ บริบทและการได้รับรางวัลผลงานชิ้นนี้