วันนี้ 'เอไอเอส-ทรู' ลงนามหย่าศึก จับตาประเด็นร้อนสัญญากลางกสทช.
มติชน ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งเปิดเผยรายละเอียดบันทึกความตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในช่วงมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กับ บริษัท เรียล มูฟ และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นเอ็มโอยูที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ กสทช. เมื่อครั้งที่อยู่ระหว่างการพิจารณาใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ใช้ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูล 4จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ นั้นว่า ไม่ทราบว่าเอกสารดังกล่าวหลุดออกมาได้อย่างไร และพบว่าไม่ใช่เนื้อหาสุดท้ายก่อนมีการลงนามกัน
"ขณะนี้ได้เอ็มโอยูฉบับกลาง หลังจากที่ กสทช.ส่งให้เอไอเอส และทรู นำไปปรับแก้มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหาอย่างละเอียดของเอ็มโอยูได้ในขณะนี้ แต่เนื้อหาจะครอบคลุม 2 ประเด็นคุ้มครองประโยชน์ประชาชน ในการโอนย้ายเลขหมายด้านโทรคมนาคม และส่งเสริมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คาดการลงนามเอ็มโอยูระหว่างเอไอเอส กับทรู วันที่ 26 เมษายนนี้" นายฐากรกล่าว และว่า ความคืบหน้าพิจารณาความเสียหายกรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ล่าสุด คณะทำงานแจ้งธนาคารกรุงเทพขอเลื่อนเวลาให้ธนาคารฯเข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จากวันที่ 26 เมษายน เป็นวันที่ 28 เมษายน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาหลักของ เอ็มโอยูระหว่างเอไอเอสและทรู ที่หลุดก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย 1.ให้ กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบเอกสารการโอนย้ายลูกค้าแบบคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) จากเอไอเอสไปทรู และ 2.ให้เอไอเอสใช้บริการเชื่อมโยงข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) ไปใช้งานโครงข่ายบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ของทรู เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่ค้างในระบบ 2จี ประกอบกับก่อนหน้านี้ นายฐากรเคยให้สัมภาษณ์ก่อนมีคำสั่ง คสช.ว่า เอ็มโอยูจะมีผลให้ทรูไม่ฟ้องร้องหรือขัดขวางการขยายระยะเวลาเยียวยาของเอไอเอส และการจัดประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 9)
วันนี้ 'เอไอเอส-ทรู' ลงนามหย่าศึก จับตาประเด็นร้อนสัญญากลางกสทช.
วันนี้ 'เอไอเอส-ทรู' ลงนามหย่าศึก จับตาประเด็นร้อนสัญญากลางกสทช.
มติชน ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งเปิดเผยรายละเอียดบันทึกความตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในช่วงมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กับ บริษัท เรียล มูฟ และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นเอ็มโอยูที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ กสทช. เมื่อครั้งที่อยู่ระหว่างการพิจารณาใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ใช้ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูล 4จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ นั้นว่า ไม่ทราบว่าเอกสารดังกล่าวหลุดออกมาได้อย่างไร และพบว่าไม่ใช่เนื้อหาสุดท้ายก่อนมีการลงนามกัน
"ขณะนี้ได้เอ็มโอยูฉบับกลาง หลังจากที่ กสทช.ส่งให้เอไอเอส และทรู นำไปปรับแก้มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหาอย่างละเอียดของเอ็มโอยูได้ในขณะนี้ แต่เนื้อหาจะครอบคลุม 2 ประเด็นคุ้มครองประโยชน์ประชาชน ในการโอนย้ายเลขหมายด้านโทรคมนาคม และส่งเสริมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คาดการลงนามเอ็มโอยูระหว่างเอไอเอส กับทรู วันที่ 26 เมษายนนี้" นายฐากรกล่าว และว่า ความคืบหน้าพิจารณาความเสียหายกรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ล่าสุด คณะทำงานแจ้งธนาคารกรุงเทพขอเลื่อนเวลาให้ธนาคารฯเข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จากวันที่ 26 เมษายน เป็นวันที่ 28 เมษายน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาหลักของ เอ็มโอยูระหว่างเอไอเอสและทรู ที่หลุดก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย 1.ให้ กสทช.เป็นผู้ตรวจสอบเอกสารการโอนย้ายลูกค้าแบบคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) จากเอไอเอสไปทรู และ 2.ให้เอไอเอสใช้บริการเชื่อมโยงข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) ไปใช้งานโครงข่ายบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ของทรู เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่ค้างในระบบ 2จี ประกอบกับก่อนหน้านี้ นายฐากรเคยให้สัมภาษณ์ก่อนมีคำสั่ง คสช.ว่า เอ็มโอยูจะมีผลให้ทรูไม่ฟ้องร้องหรือขัดขวางการขยายระยะเวลาเยียวยาของเอไอเอส และการจัดประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 9)