บันทึกสงครามนิรนาม (การปฏิวัติกะเหรี่ยง ค.ศ.1947-2008) สงครามที่ยาวนานที่สุด

ตอนที่ 1 การก่อเกิดสมาคมกะเหรี่ยง


ไม่มีสงครามไหนที่ยาวนานที่สุดเท่าสงครามนี้ มันเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ  มันคือสงครามที่ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชนเผ่าและชาติพันธุ์

ธงชาติกะเหรี่ยง


กลุ่มชาติพันธุ์กลุมหนึ่ง กับ สงครามนิรนามที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ




สงคราม ความทุกยาก



การต้องจรจากบ้านเพื่อหนีสงคราม



พวกเขาต้องถูกฆ่าจากพวกชั่วช้าโจรเถื่อน เผด็จการ ผู้ไม่รู้จักความพอ และไม่มีสัจจะอย่างที่สุด


อูนุ และ เนวิน

นำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ ที่ได้จบชีวิตของผู้คนอย่างนับไม่ท้วน

saw ba u gyi (ซอ บะอูจี )

นี่คือเรื่องราวของพวกเขาที่ท่านจจะได้อ่านต่อไปนี้........
สงครามกลางเมืองในพม่านั้นประทุขึ้นนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑  มูลเหตุของสงครามที่รัฐบาลพม่าต้องเผชิญสามารถอธิบายพอสังเขปดังนี้คือ ๑ อุดมการณ์ที่แตกต่าง  ๒. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการแยกตัวออกมาเป็นอิสระและปกครองตนเอง รัฐบาลพม่าต้องขับเคี่ยวกับศึกหลายด้านชนิดที่ว่าต่อเนื่องและยาวนานแม้ทุกวันนี้สงครามยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ  

อาจกล่าวได้ว่าสงครามกลางเมืองในพม่าเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกปัจจุบันนี้ก็ว่าได้  บทบาททางการเมืองภายในพม่าในช่วงหลังสงครามและภายหลังได้รับเอกราชนอกเหนือจากกลุ่มชาติพันธุ์แล้วการขับเคี่ยวทางการเมืองเห็นจะเป็นบทบาทของมิตรร่วมรบที่กลับกลายมาเป็นศัตรูในภายหลังของฝ่ายเรียกร้องเอกราชที่มี “นายพลอ่องซาน” เป็นผู้นำในนามกลุ่ม “๓๐ สหาย” (Thirty Comrades) หรือจะแปลแบบการทูตว่า “คณะตรีทศมิตร” ก็คงได้ แต่ผมขอเรียกตามศัพท์ฝ่ายซ้ายว่า “๓๐ สหาย” ก็แล้วกัน บรรดา ๓๐ สหายนี่เขาเรียกตัวเองว่า “ทะขิ่น” ภาษาพม่าหมายถึง “เจ้านาย” ไม่ก็ “ฯพณฯ ท่าน” อะไรทำนองนี้  ต่อจากนี้ไปหากมีการกล่าวถึงคำว่า “ทะขิ่น” ก็หมายความว่าบุคคลนั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะกู้ชาตินามว่า “๓๐ สหาย” ก็แล้วกันครับ

ศัตรูอันดับแรกของรัฐบาลประชาธิปไตยพม่าภายใต้นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าคือ “อูนุ” (ทะขิ่นนุ) หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชคือ “พรรคคอมมิวนิสต์พม่า” (Communist Party of Burma) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่มี “กะเหรี่ยง” เป็นผู้นำในการประกาศตัวแยกออกจากพม่าเพื่อสถาปนา “รัฐกะเหรี่ยง” มาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๙๒

“กะเหรี่ยง” เป็นหัวหอกในการประกาศตนเป็นอิสระก่อนพม่าได้รับเอกราชด้วยซ้ำไป  แม้นายพลอ่องซานบิดาแห่งเอกราชพม่าและพ่อของนาง “อ่องซาน ซู จี” ได้พยายามโน้มน้าวให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้มารวมตัวกันเพื่อหาข้อยุติในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษภายใต้ชื่อ “สหภาพพม่า” ที่เมืองปางหลวง (ป๋างโหล๋ง - สำเนียงไทใหญ่)ในรัฐไทใหญ่หรือรัฐฉาน (Shan State) เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ จนเป็นที่มาของ “ข้อตกลงแห่งปางหลวง” (Panglong’s Agreement)

ซึ่งมีสาระสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในข้อตกลงที่ว่า ภายหลังจากการรวมตัวกันและได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วภายใน ๑๐ ปีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆสามารถที่จะตัดสินอนาคตของตนเองได้ว่าจะรวมอยู่ภายใต้ธงของ “สหภาพพม่า” หรือจะแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งกลุ่มต่างๆที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นมีตัวแทนจาก ไทใหญ่/ฉาน คะฉิ่น และฉิ่น เท่านั้นที่เข้าร่วมประชุมและร่วมลงนามในข้อตกลงปางหลวง  แต่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่ไม่ยอมเข้าร่วมอาทิ มอญ ยะไข่/อาระกัน ว้า นากา ลาฮู/มูเซอร์ พะโอ/ตองซู่ ปะหล่อง โกก้าง ฯลฯ รวมทั้ง “กะเหรี่ยง” (แยกเป็นกะเหรี่ยง “กอทูเล”- รัฐกะเหรี่ยง และ “กะเหรี่ยงแดง” แห่งรัฐคะยา)

ภายหลังข้อตกลงที่ปางหลวงไม่นานนายพลอ่องซานก็ถูกสังหารโดยผู้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของเขาก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเพียงไม่กี่เดือน “ทะขิ่นนุ (อูนุ)” มิตรร่วมรบเพื่อเอกราชของเขาจึงได้รับการสืบทอดอำนาจต่อมา จากข้อตกลงที่ปางหลวงทำให้กลุ่มที่เข้าร่วมประชุมเริ่มทวงสัญญาเมื่อเวลาใกล้ถึง ๑๐ ปี  ในระหว่างนี้รัฐบาลพม่าต้องทำสงครามกับ “พรรคคอมมิวนิสต์พม่า” และ “กะเหรี่ยง” ไปพร้อมๆกัน  ในเวลาต่อมากลุ่มกะเหรี่ยงได้จัดตั้งพันธมิตรร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระหรือปกครองตนเองขึ้นในชื่อ “แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ” (National Democratic Front – NDF)  


ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าในอดีตและปัจจุบัน

พรรคคอมมิวนิสต์พม่า – ก่อตั้งเมื่อ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒  ที่กรุงย่างกุ้ง ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๙ได้มีการแยกตัวออกมาของกลุ่มที่ต้องการให้การปฏิวัติเป็นไปแบบรุนแรงเร้าร้อนและเรียกตนเองว่า “พรรคคอมมิวนิสต์พม่า – ธงแดง” (Communist Party of Burma- Red Flag) นำโดย “ทะขิ่นโซ” มีฐานที่มั่นแถบภูยะไข่หรือเทือกเขาแห่งอาระกันและพม่าตอนบน ต่อมา “ทะขิ่นโซ” ถูกทหารพม่าจับได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทำให้ถึงจุดอวสานของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า - ธงแดงไปโดยปริยาย

ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่เป็นต้นกำเนิดยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการทหารต่อไปและเป็นที่รู้จักกันในนาม “พรรคคอมมิวนิสต์พม่า – ธงขาว” (Communist Party of Burma – White Flag) มีฐานที่มั่นสำคัญในระยะเริ่มต้นแถบเทือกเขาพะโค (Pegu Yoma), เทือกเขาแห่งอาระกัน/ยะไข่ (Arakan Yoma) และในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีแต่ในหลายปีต่อมาถูกกองทัพพม่าตีต้องถอยร่นไปตั้งฐานที่มั่นติดชายแดนจีนในตอนเหนือของรัฐไทใหญ่/รัฐฉาน  พรรคคอมมิวนิสต์พม่า(ธงขาว)มีประธานพรรคฯตามลำดับต่อไปนี้ “ทะขิ่นทาน ทุน” (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๕๑๑) “ทะขิ่นซิน” (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๑ – ๒๕๑๘) และ “ทะขิ่นบา เต็น ติน” (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๓๒) ส่วนเลขาธิการพรรคคนสุดท้ายคือ "คิน หม่อง ยี"  เท่าที่จำได้จากเวบของป้าซอท์ล (๒๕๑๙ ข้าเอง-www.2519me.com)ได้บันทึกไว้ว่าเคยมีอดีตนักรบท.ป.ท. หลายท่าน ที่ถูกส่งไปจีนขากลับมาเมืองไทยต้องผ่านฐานที่มั่นแห่งสุดท้ายของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่ “ปางซาง”หลังจากพำนักอยู่ระยะหนึ่งก็ได้วางแผนเดินทางกลับมาตุภูมิหวังจะทำการปฏิวัติต่อผ่านทางรัฐไทใหญ่และต้องผ่านเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายต่อหลายกลุ่ม  และกว่าจะเดินทางมาถึงแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่นักรบท.ป.ทเหล่านี้ยังไม่ทราบว่าสงครามประชนที่ต้องต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพคท./ทปท.ได้ยุติลงแล้ว

การสลายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ธงขาว)ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒  เนื่องจากมีการยึดอำนาจภายในและการไม่ยอมรับอำนาจของส่วนกลาง (Mutiny)โดยชนชาติว้าซึ่งเป็นกองกำลังทหารหลัก  พวกว้ากล่าวหาว่าคณะกรรมกลางส่วนใหญ่มีแต่พม่าไม่มีชนเผ่าเป็นสมาชิก แถมยังเอารัดเอาเปรียบชนเผ่าที่เป็นสมาชิกพรรคฯ  เท่าที่ทราบจากทหารว้าเมื่อครั้งไปผมเยือน “ปางซาง” ในปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ทะขิ่นบา เต็น ติน ถูกอุ้มใส่แคร่ไม้ไผ่เพราะแก่มากแล้วหาบข้ามน้ำข่ามอบให้กับทางการจีนรับตัวไปยังสถานคนชราที่ “เมืองอ่า” เขตปกครองพิเศษ “ลานซาง/ล้านช้าง” ในมณฑลยูนนานตรงข้ามกับ ”ปางซาง” ปัจจุบันทางการจีนได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำข่าค่อนข้างถาวรเชื่อมโยงระหว่างเมืองอ่ากับปางซาง
--------------------------------------------------------

ก่อนเข้าสู่เรื่องราวการปฏิวัติกะเหรี่ยงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับประเทศเบอร์มา(พม่า)อยู่หลายเรื่อง ตัวอย่างคือ ปีค.ศ. 1824 กองทัพอังกฤษบุกโจมตีประเทศพม่าครั้งแรก และได้ครอบครองพื้นที่ภาคตะนาวศรี และรัฐอาระกัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1852 อังกฤษโจมตีทัพพม่าเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนั้นได้ครอบครองพื้นที่ภาคพะโคส่วนกลางของประเทศพม่าเพิ่มเติม กระทั่งปี ค.ศ. 1885 กองทัพอังกฤษโจมตีพม่าอีกครั้งเข้ายึดเมืองทางเหนือของพม่าได้ ทำให้พม่าตกอยู่ในการปกครองอังกฤษทั่วประเทศ และถูกประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1886 บันทึกที่รวบรวมไว้ได้เกี่ยวกับการปฏิวัติของกะเหรี่ยงนั้น เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1881 โดยผู้นำกะเหรี่ยงอย่าง สร่า ถี่ส่าพย่า, สร่า เมียะเซอโพแคว, อู หลู่หนี่, สร่า ซอ เต และ อู ส่าโล พวกเขาได้ก่อตั้งสมาคมกะเหรี่ยง หรือ Karen National Association (KNA) ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางการเมืองของประชาชนกะเหรี่ยง และเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกรัฐสภากลาง เพื่อจะได้เป็นตัวแทนและกระบอกเสียงเสนอเรื่องราวของประชาชนกะเหรี่ยง รวมถึงกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆของกลุ่มองค์กรกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดขึ้นก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 กิจกรรมส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นการเคลื่อนไหวเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา การจัดการวัฒนธรรมและภาษากะเหรี่ยง รวมถึงกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับชาวกะเหรี่ยงทั้งหมด การดำเนินการของ KNA มีการประสานความร่วมมือกับ สหพันธ์คริสต์เตียนกะเหรี่ยง ทำให้ยุคนั้นเป็นช่วงเกิดพัฒนาการและความก้าวหน้าด้านภาษาศาสตร์ของกะเหรี่ยง มีหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของชาวกะเหรี่ยงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความรู้ความสามารถของประชาชนกะเหรี่ยงยุคนั้น พัฒนาเทียบเคียงกับนานาประเทศได้ในหลายด้าน จากนั้นเริ่มมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้ประชาชนกะเหรี่ยงสามารถปกครองตนเองได้ มีการจัดตั้งโรงเรียนของคนกะเหรี่ยงทำให้ประชาชนได้รับการศึกษา และเข้าทำงานในส่วนราชการต่างๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งพื้นที่เขตการศึกษาต่างๆที่เป็นเขตชุมชนกะเหรี่ยงมีผู้อำนวยการเขตการศึกษาเป็นคนกะเหรี่ยง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในยุคของ KNA คือ 1. โรงเรียนที่ก่อตั้งโดยคนกะเหรี่ยงเองตั่งแต่ระดับประถมต้น – มัธยมปลายได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลกลาง 2. มีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่จัดการโดยคนกะเหรี่ยงเอง 3. คนกะเหรี่ยงได้เรียนภาษากะเหรี่ยงในโรงเรียนของตนเอง แทนที่หลักสูตรและตำราเรียนภาษาพม่า 4. นอกจากวิชาภาษาพม่าแล้ว ในวิชาอื่นๆนั้นมีการจัดทำหลักสูตรและตำราเรียนเป็นภาษากะเหรี่ยง 5. โรงเรียนภายใต้ระบบการศึกษาของกะเหรี่ยง มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียนโดยคนกะเหรี่ยงเอง 6. มีการใช้คำนำหน้าชื่อว่า ซอ กับชายกะเหรี่ยงสะกอ และคำนำหน้าชื่อว่า หน่อ กับหญิงกระเหรี่ยงสะกอ ส่วนชายกะเหรี่ยงโปวนั้นใช้คำนำหน้าชื่อว่า มาน และหญิงโปวนั้นใช้คำนำหน้าชื่อว่า นาน 7. สภาชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีมติรับรองเพลงชาติกะเหรี่ยง ซึ่งเขียนเนื้อเพลงโดย พะโด่ ส่านบะ และแต่ทำนองโดย พะโด่ ส่าเอจี 8. KNA กำหนดชุดประจำชาติของกะเหรี่ยง และปรับตามความเหมาะสมของยุคสมัย ซึ่งกำหนดให้ชุดประจำชาติของผู้หญิง เสื้อเชโหม่ซุ และนุ่งผ้าซิ่น (ตามทำเนียบดั่งเดิม เชโหม่ซู จะสวมใส่เฉพาะหญิงที่ครองเรือนแล้วเท่านั้น) 9. ซอ จอนส์สัน ดีโพมิน ให้รัฐบาลรับรองวันปีใหม่ของกะเหรี่ยงตรงกับ วันที่ 1ของ เดือนสะเล และได้รับการอนุมัติ จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองปีใหม่กะเหรี่ยง และกำหนดให้เป็นวันหยุดของประชาชนกะเหรี่ยงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1939 (เดือนสะเล อยู่ระหว่างช่วงปลายเดือนธันวาคม หรือ ต้นเดือนมกราคม ในปี ค.ศ. 2016 นี้ ปีใหม่กะเหรี่ยงวันที่ 1 เดือนสะเล ตรงกับ วันที่ 10 มกราคม) 10. ธงที่มีรูปพระอาทิตย์ 9 แฉก และ โกล่ (กลองมโหระทึก) อยู่บนผืนธงได้รับการยมรับให้เป็นธงประจำรัฐชาติของกะเหรี่ยง ————-


ติดตามตอนที่ 2 ได้จากข้างล่างนี้นะครับ
ตอนที่ 2 การร้องขอเขตปกครองรัฐกะเหรี่ยง http://pantip.com/topic/34945912
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่