สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาพูดถึง MotoGP นะครับ โดยที่ผมได้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับเพื่อนๆในเบื้องต้นเกี่ยวกับ MotoGP แล้วอยากนำมาบอกต่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ใครหลายๆคน หากมีข้อผิดพลาดประการณ์ใดต้องขออภัยด้วยครับ

กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิ่ง (Grand Prix motorcycle racing) เป็นการแข่งขันชิงแชมป์ที่สำคัญที่สุดของจักรยานยนต์ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่ง 3 รุ่น คือ MotoGP, Moto2 และ Moto3 โดยการแข่งMotoGPจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์สูตรหนึ่ง สมัยก่อนยังใช้ชื่อว่า GP อยู่โดยใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งมีการแข่งขันทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน คือ 125cc, 250cc และ 500cc และได้ถูกเปลี่ยนแปลงในปี 2002 กับกฎระเบียบทางเทคนิคใหม่ที่อนุญาติให้ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะและเพิ่มขนาดของเครื่องยนต์เป็น 990cc ซึ่งเนื่องมาจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะเริ่มไม่เป็นที่นิยมในตลาดและในปี2003มีการบังคับให้ทุกทีมเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น 990cc 4 จังหวะทั้งหมด และได้มีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็น MotoGP ต่อมาปี 2007 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฏกติกาใหม่ โดยจำกัดเครื่องยนต์ที่ 800cc ปี 2010 เริ่มเปลี่ยนรุ่น 250cc ให้เป็น 600cc 4 จังหวะ 4สูบ โดยทาง Honda เป็นผู้จัดเครื่องยนต์ให้ทีมต่างๆ เพื่อความเท่าเทียมกัน เรียกรายการใหม่นี้ว่า Moto2 ในปี 2012 โดยกำหนดให้การแข่งขันMotoGPต้องมีเครื่องยนต์มีขนาด 1000cc 4สูบ
กติกาที่ใช้ในการแข่งขันของแต่ละรุ่น
-Moto GP
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 1000cc 4 สูบ จะเป็นเครื่อง V หรือ inline ก็ได้ ต้องมีแรงม้าไม่ต่ำกว่า 240และจำกัดน้ำหนักต้องไม่ต่ำกว่า 160Kg
-Moto2
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 600cc 4 สูบ inline เป็นเครื่อง Honda ทุกทีมต้องใช้ แรงม้าไม่ต่ำกว่า 140 แรงม้า
ทางHondaจะแจกจ่ายเครื่องยนต์ไปให้ทุกทีม และทุกทีมต้องเอาไปปรับแต่งกันภายในกติกากำหนด
-Moto3
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 250cc 1 สูบ แรงม้า มากกว่า 55 แรงม้า เครื่องยนต์ทีมออกแบบเอง รายการนี้เป็นรายการสำหรับนักบิดหน้าใหม่มากกว่าครับโดยกำหนดนักแข่งอายุไม่เกิน 28 ปี สำหรับคนเข้าแข่งเป็นครั้งแร ต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี และจำกัดน้ำหนักนักขับกับรถต้องไม่น้อยกว่า 148kg
ประวัตินักบิดที่โลกต้องจดจำ
Giacomo Agostini
นักบิดชาวอิตาลี่ ที่ได้รับการบันทึกสถิติชัยชนะในการแข่งขัน Grand Prix ถึง 122 ครั้งในรุ่น 350 cc และเป็นแชมป์ World Championships คลาส 500 cc 15 ครั้ง ซึ่งทำให้ Giacomo Agostini ได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับ 1
Valentino Rossi
นักแข่งจากอิตาลี วัย 36 ปี มีฉายาว่า “The Doctor” เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก9สมัย และเป็นรองแชมป์ในการเเข่งขัน MotoGP ในปี2015 ปัจจุบันสังกัดทีม Movistar Yamaha MotoGP ที่ผ่านมาคว้าชัยชนะไปทั้งสิ้น 112 ครั้ง
Jorge Lorenzo
นักแข่งหนุ่มจากสเปนเจ้าของฉายา “ไอ้หนุ่มจูปาจุ๊ป” เนื่องจากถ้าเขาชนะเขาจะอมจูปาจุ๊ปขึ้นโพเดียมทุกครั้ง ปัจจุบันสังกัดทีม Movistar Yamaha MotoGP และยังเป็นเจ้าของแชมป์โลกMotoGP ในปี 2015 ที่ผ่านมาคว้าชัยชนะไปแล้วทั้งหมด 61 ครั้ง
Marc Marquez
เด็กหนุ่มนักบิดจาก สเปน ด้วยวัย 22 ปี เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากด้วยการคว้าเเชมป์เมื่อปี 2013 Marquez ก็สามารถดับรัศมีรุ่นพี่อย่าง Jorge Lorenzo แชมป์โลก 2 สมัย และ Valentino Rossi ครองแชมป์ด้วยสถิติอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ในวัยเพียง 20 ปี กับ 63 วัน และป้องกันแชมป์ในปีถัดมา ปัจจุบันสังกัดทีม Repsol Honda Team โดยที่ผ่านมา Marquez คว้าเเชมป์ไปทั้งสิ้น 50 ครั้ง
ตำแหน่งแชมป์(ที่ผ่านมา)
กติกาการแข่งขัน
1.การแข่งขัน MotoGP 1 ฤดูกาล มีการแข่งขันกันทั้งหมด 18 สนาม เป็นการเก็บคะแนน
2.คะแนนสะสมตามตำแหน่งเป็นดังนี้
ที่ 1 = 25 คะแนน
ที่ 2 = 20 คะแนน
ที่ 3 = 16 คะแนน
ที่ 4 = 13 คะแนน
ที่ 5 = 11 คะแนน
ที่ 6 = 10 คะแนน
ที่ 7 = 9 คะแนน
ที่ 8 = 8 คะแนน
ที่ 9 = 7 คะแนน
ที่ 10 = 6 คะแนน
ที่ 11 = 5 คะแนน
ที่ 12 = 4 คะแนน
ที่ 13 = 3 คะแนน
ที่ 14 = 2 คะแนน
ที่ 15 = 1 คะแนน
จบลำดับต่ำกว่าที่ 15 ไม่ได้คะแนน
3.การแข่งขันแต่ละสนาม จะใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน โดยปกติจะเป็น วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ โดยแต่ละวันจะมีโปรแกรมดังนี้
วันศุกร์ FP1 และ FP2
วันเสาร์ FP3, FP4, Q1 และ Q2
วันอาทิตย์ WUP และ RAC
FP = Free Practice ซ้อมอิมระ
Q1,Q2 = Qualifying คัดเลือกตำแหน่งจากกริกสตาร์ต
WUP = Warmup วอร์มอัพ
RAC = Race แข่งขัน
แต่ละเซสชั่นมีความหมายยังไงบ้าง
FP1, FP2, FP3 จะทำการจับเวลา และเลือกเวลาที่ดีที่สุดจากทั้ง 3 เซสชั่นของนักแข่งแต่ละคน มาจัดลำดับ และคัดเอา 10 ลำดับแรกเข้าสู่รอบ Q2 สำหรับนักแข่งนอกจาก 10 ลำดับแรกจะเข้าสู่รอบ Q1
FP4 เป็นการซ้อมครั้งสุดท้ายก่อนทำการ Qualify (Q1,Q2) สำหรับเซสชั่นนี้เวลาที่ทำได้ไม่มีผลต่อการ Qualify เป็นการปรับเซ็ตรถให้มั่นใจ ก่อน Qualify เท่านั้น
รอบ Q1 รอบนี้คือการจัดอันดับบนกริดสตาร์ต ตั้งแต่อันดับที่ 13 ลงมา ในรอบ Q1 นี้ จะคัดเอานักแข่งที่ทำเวลาดีที่สุด 2 อันดับแรกเข้าสู่รอบ Q2 ต่อไป นอกจาก 2 อันดับแรก อันดับที่ 3,4,5… จนถึงสุดท้าย
จะได้ตำแหน่งจากกริดสตาร์ตในวันแข่งจริงตั้งแต่ 13,14,15 …. ตามลำดับ เรียงไปจนถึงคนสุดท้าย
รอบ Q2 รอบนี้คือการคัดเลือกตำแหน่งจากกริดสตาร์ตที่ดีที่สุด 12 อันดับแรก (10 คน จาก FP1, FP2, FP3 + 2 จาก Q1 ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น)
เช่นกัน นักแข่งที่ทำเวลาได้ดีที่สุดในรอบ Q2 นี้จะได้ตำแหน่งจากกริดสตาร์ตในวันแข่งจริงตามลำดับ ตั้งแต่อันดับที่ 1 ไปจนถึงอันดับที่ 12
WUP คือ การวอร์มอัพ เป็นครั้งสุดท้ายก่อนการแข่งขัน โดยยังสามารถปรับเซ็ทรถได้อีกครั้งก่อนแข่ง
RAC จะมีรอบวอร์มอัพอีก 1 รอบสนามเท่านั้น เมื่อนักแข่งวนครบ 1 รอบ จะกลับมาประจำตำแหน่งจากกริดสตาร์ตของตัวเอง เพื่อเตรียมทำการแข่งขัน ถ้ารถเกิดปัญหาในช่วงวอร์มอัพ 1 รอบนี้ หรือนักแข่งอยากเปลี่ยนรถ ก็ต้องเข้าพิท และต้องออกสตาร์ตจากพิทเลนเท่านั้น จะไม่ได้ออกจากตำแหน่งสตาร์ตที่ได้จากการ Qualify
Credit : MotoGP Replay
ตารางการแข่งขันฤดูกาล 2016
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในฤดูกาล 2016
การเปลี่ยนแปลงกฎในฤดูกาลนี้มี 2 เรื่องใหญ่คือรถทุกคันจะเปลี่ยนมาใช้ Standard ECU และการเปลี่ยนยางจาก Bridgestone ไปเป็น Michelin ทำให้เกิดผลกระทบกับตัวรถคือ
การเพิ่มปริมาณน้ำมันขึ้นไปเป็น 22 ลิตร ทำให้รถของ Honda กับ Yamaha ต้องปรับขนาดของถังน้ำมันให้ใหญ่ขึ้น
เปลี่ยนขนาดวงล้อจาก 16.5 นิ้วไปเป็น 17 นิ้ว
การเปลี่ยนยางทำให้เป็นปัญหาสำหรับนักแข่งอยู่ตอนนี้คือเรื่องยางหน้า ทำให้ยังคงมีการล้มค่อนข้างเยอะในการทดสอบ นักแข่งส่วนใหญ่บอกว่าเวลาที่ยางหน้าจะหมดสภาพโดยไม่มีสัญญาเตือนก่อน ซึ่งต่างจากยางหน้าของ Bridgestone ที่จะส่งสัญญาเตือนก่อนล่วงหน้า ทำให้นักแข่งไม่สามารถรู้สภาพของยางในตอนนี้ของรถตัวเองเป็นอย่างไร อีกอย่างหนึ่ง Aleix Espargaro บอกว่าจังหวะที่เบรคหนักๆยางหน้าจะมีการถูกบีบเพื่อให้ยึดเกาะกับผิวสนาม แต่จังหวะที่เริ่มปล่อยเบรคยางมันยังคงผิดรูปอยู่ ถ้าเปิดคันเร่งผิดจังหวะไปรถก็จะกลิ้ง ในส่วนValentino Rossi ออกมาเปิดเผยว่ายาง Michelin มีปัญหากับตัวรถ YZR-M1 ในการถ่ายโอนน้ำหนัก โดยเฉพาะในจังหวะการเข้าโค้ง ส่วนในนักแข่งที่เพิ่งขยับมาแข่งรุ่น MotoGP ในปีก่อนอย่าง Maverick Vinales, Jack Miller หรือ Loris Baz จะไม่ค่อยมีปัญหากับยางใหม่นี้กันมากนัก เนื่องจากนักแข่งเหล่านี้เพิ่งจะเริ่มเข้าแข่งได้แค่ปีเดียว
การเปลี่ยน ECU นั้นสร้างปัญหาให้กับทีมโรงงานอย่างมาก จนทำให้ทีมโรงงานของ Honda และ Yamaha ออกมาบอกว่าการนำ Standard ECU มาใช้เหมือนเป็นการนำซอร์ฟแวร์ปี 2008 – 2009กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะทำให้การตอบสนองของระบบต่างๆ นั้นตอบสนองช้าและไม่ค่อยเสถียร จึงทำให้เป็นเหตุผลที่ทีมโรงงานไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนมาใช้ Standard ECU
ผมขอขอบคุณข้อมูลจากหลายๆแหล่งทั้ง Website และบทความจากผู้เชี่ยวชาญที่ผมได้นำข้อมูลมาเรียบเรียงจนมาเป็นบทความนี้ครับ
***สำหรับใครที่สนใจอยากจะติดตามชมการแข่งขัน MotoGP ในปี 2559 นี้ก็สามารถรับชมกันได้ทางช่อง Fox Sports HD และ Fox Sports 2 ผ่านทาง CTH และ True Visions โดยติดตามการแข่งขันกันได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 เลยครับ ***
MotoGP มันคืออะไร?
กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิ่ง (Grand Prix motorcycle racing) เป็นการแข่งขันชิงแชมป์ที่สำคัญที่สุดของจักรยานยนต์ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่ง 3 รุ่น คือ MotoGP, Moto2 และ Moto3 โดยการแข่งMotoGPจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์สูตรหนึ่ง สมัยก่อนยังใช้ชื่อว่า GP อยู่โดยใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งมีการแข่งขันทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน คือ 125cc, 250cc และ 500cc และได้ถูกเปลี่ยนแปลงในปี 2002 กับกฎระเบียบทางเทคนิคใหม่ที่อนุญาติให้ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะและเพิ่มขนาดของเครื่องยนต์เป็น 990cc ซึ่งเนื่องมาจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะเริ่มไม่เป็นที่นิยมในตลาดและในปี2003มีการบังคับให้ทุกทีมเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น 990cc 4 จังหวะทั้งหมด และได้มีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็น MotoGP ต่อมาปี 2007 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฏกติกาใหม่ โดยจำกัดเครื่องยนต์ที่ 800cc ปี 2010 เริ่มเปลี่ยนรุ่น 250cc ให้เป็น 600cc 4 จังหวะ 4สูบ โดยทาง Honda เป็นผู้จัดเครื่องยนต์ให้ทีมต่างๆ เพื่อความเท่าเทียมกัน เรียกรายการใหม่นี้ว่า Moto2 ในปี 2012 โดยกำหนดให้การแข่งขันMotoGPต้องมีเครื่องยนต์มีขนาด 1000cc 4สูบ
กติกาที่ใช้ในการแข่งขันของแต่ละรุ่น
-Moto GP
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 1000cc 4 สูบ จะเป็นเครื่อง V หรือ inline ก็ได้ ต้องมีแรงม้าไม่ต่ำกว่า 240และจำกัดน้ำหนักต้องไม่ต่ำกว่า 160Kg
-Moto2
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 600cc 4 สูบ inline เป็นเครื่อง Honda ทุกทีมต้องใช้ แรงม้าไม่ต่ำกว่า 140 แรงม้า
ทางHondaจะแจกจ่ายเครื่องยนต์ไปให้ทุกทีม และทุกทีมต้องเอาไปปรับแต่งกันภายในกติกากำหนด
-Moto3
ต้องใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 250cc 1 สูบ แรงม้า มากกว่า 55 แรงม้า เครื่องยนต์ทีมออกแบบเอง รายการนี้เป็นรายการสำหรับนักบิดหน้าใหม่มากกว่าครับโดยกำหนดนักแข่งอายุไม่เกิน 28 ปี สำหรับคนเข้าแข่งเป็นครั้งแร ต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี และจำกัดน้ำหนักนักขับกับรถต้องไม่น้อยกว่า 148kg
ประวัตินักบิดที่โลกต้องจดจำ
Giacomo Agostini
นักบิดชาวอิตาลี่ ที่ได้รับการบันทึกสถิติชัยชนะในการแข่งขัน Grand Prix ถึง 122 ครั้งในรุ่น 350 cc และเป็นแชมป์ World Championships คลาส 500 cc 15 ครั้ง ซึ่งทำให้ Giacomo Agostini ได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับ 1
Valentino Rossi
นักแข่งจากอิตาลี วัย 36 ปี มีฉายาว่า “The Doctor” เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก9สมัย และเป็นรองแชมป์ในการเเข่งขัน MotoGP ในปี2015 ปัจจุบันสังกัดทีม Movistar Yamaha MotoGP ที่ผ่านมาคว้าชัยชนะไปทั้งสิ้น 112 ครั้ง
Jorge Lorenzo
นักแข่งหนุ่มจากสเปนเจ้าของฉายา “ไอ้หนุ่มจูปาจุ๊ป” เนื่องจากถ้าเขาชนะเขาจะอมจูปาจุ๊ปขึ้นโพเดียมทุกครั้ง ปัจจุบันสังกัดทีม Movistar Yamaha MotoGP และยังเป็นเจ้าของแชมป์โลกMotoGP ในปี 2015 ที่ผ่านมาคว้าชัยชนะไปแล้วทั้งหมด 61 ครั้ง
Marc Marquez
เด็กหนุ่มนักบิดจาก สเปน ด้วยวัย 22 ปี เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากด้วยการคว้าเเชมป์เมื่อปี 2013 Marquez ก็สามารถดับรัศมีรุ่นพี่อย่าง Jorge Lorenzo แชมป์โลก 2 สมัย และ Valentino Rossi ครองแชมป์ด้วยสถิติอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ในวัยเพียง 20 ปี กับ 63 วัน และป้องกันแชมป์ในปีถัดมา ปัจจุบันสังกัดทีม Repsol Honda Team โดยที่ผ่านมา Marquez คว้าเเชมป์ไปทั้งสิ้น 50 ครั้ง
ตำแหน่งแชมป์(ที่ผ่านมา)
กติกาการแข่งขัน
1.การแข่งขัน MotoGP 1 ฤดูกาล มีการแข่งขันกันทั้งหมด 18 สนาม เป็นการเก็บคะแนน
2.คะแนนสะสมตามตำแหน่งเป็นดังนี้
ที่ 1 = 25 คะแนน
ที่ 2 = 20 คะแนน
ที่ 3 = 16 คะแนน
ที่ 4 = 13 คะแนน
ที่ 5 = 11 คะแนน
ที่ 6 = 10 คะแนน
ที่ 7 = 9 คะแนน
ที่ 8 = 8 คะแนน
ที่ 9 = 7 คะแนน
ที่ 10 = 6 คะแนน
ที่ 11 = 5 คะแนน
ที่ 12 = 4 คะแนน
ที่ 13 = 3 คะแนน
ที่ 14 = 2 คะแนน
ที่ 15 = 1 คะแนน
จบลำดับต่ำกว่าที่ 15 ไม่ได้คะแนน
3.การแข่งขันแต่ละสนาม จะใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน โดยปกติจะเป็น วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ โดยแต่ละวันจะมีโปรแกรมดังนี้
วันศุกร์ FP1 และ FP2
วันเสาร์ FP3, FP4, Q1 และ Q2
วันอาทิตย์ WUP และ RAC
FP = Free Practice ซ้อมอิมระ
Q1,Q2 = Qualifying คัดเลือกตำแหน่งจากกริกสตาร์ต
WUP = Warmup วอร์มอัพ
RAC = Race แข่งขัน
แต่ละเซสชั่นมีความหมายยังไงบ้าง
FP1, FP2, FP3 จะทำการจับเวลา และเลือกเวลาที่ดีที่สุดจากทั้ง 3 เซสชั่นของนักแข่งแต่ละคน มาจัดลำดับ และคัดเอา 10 ลำดับแรกเข้าสู่รอบ Q2 สำหรับนักแข่งนอกจาก 10 ลำดับแรกจะเข้าสู่รอบ Q1
FP4 เป็นการซ้อมครั้งสุดท้ายก่อนทำการ Qualify (Q1,Q2) สำหรับเซสชั่นนี้เวลาที่ทำได้ไม่มีผลต่อการ Qualify เป็นการปรับเซ็ตรถให้มั่นใจ ก่อน Qualify เท่านั้น
รอบ Q1 รอบนี้คือการจัดอันดับบนกริดสตาร์ต ตั้งแต่อันดับที่ 13 ลงมา ในรอบ Q1 นี้ จะคัดเอานักแข่งที่ทำเวลาดีที่สุด 2 อันดับแรกเข้าสู่รอบ Q2 ต่อไป นอกจาก 2 อันดับแรก อันดับที่ 3,4,5… จนถึงสุดท้าย
จะได้ตำแหน่งจากกริดสตาร์ตในวันแข่งจริงตั้งแต่ 13,14,15 …. ตามลำดับ เรียงไปจนถึงคนสุดท้าย
รอบ Q2 รอบนี้คือการคัดเลือกตำแหน่งจากกริดสตาร์ตที่ดีที่สุด 12 อันดับแรก (10 คน จาก FP1, FP2, FP3 + 2 จาก Q1 ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น)
เช่นกัน นักแข่งที่ทำเวลาได้ดีที่สุดในรอบ Q2 นี้จะได้ตำแหน่งจากกริดสตาร์ตในวันแข่งจริงตามลำดับ ตั้งแต่อันดับที่ 1 ไปจนถึงอันดับที่ 12
WUP คือ การวอร์มอัพ เป็นครั้งสุดท้ายก่อนการแข่งขัน โดยยังสามารถปรับเซ็ทรถได้อีกครั้งก่อนแข่ง
RAC จะมีรอบวอร์มอัพอีก 1 รอบสนามเท่านั้น เมื่อนักแข่งวนครบ 1 รอบ จะกลับมาประจำตำแหน่งจากกริดสตาร์ตของตัวเอง เพื่อเตรียมทำการแข่งขัน ถ้ารถเกิดปัญหาในช่วงวอร์มอัพ 1 รอบนี้ หรือนักแข่งอยากเปลี่ยนรถ ก็ต้องเข้าพิท และต้องออกสตาร์ตจากพิทเลนเท่านั้น จะไม่ได้ออกจากตำแหน่งสตาร์ตที่ได้จากการ Qualify
Credit : MotoGP Replay
ตารางการแข่งขันฤดูกาล 2016
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในฤดูกาล 2016
การเปลี่ยนแปลงกฎในฤดูกาลนี้มี 2 เรื่องใหญ่คือรถทุกคันจะเปลี่ยนมาใช้ Standard ECU และการเปลี่ยนยางจาก Bridgestone ไปเป็น Michelin ทำให้เกิดผลกระทบกับตัวรถคือ
การเพิ่มปริมาณน้ำมันขึ้นไปเป็น 22 ลิตร ทำให้รถของ Honda กับ Yamaha ต้องปรับขนาดของถังน้ำมันให้ใหญ่ขึ้น
เปลี่ยนขนาดวงล้อจาก 16.5 นิ้วไปเป็น 17 นิ้ว
การเปลี่ยนยางทำให้เป็นปัญหาสำหรับนักแข่งอยู่ตอนนี้คือเรื่องยางหน้า ทำให้ยังคงมีการล้มค่อนข้างเยอะในการทดสอบ นักแข่งส่วนใหญ่บอกว่าเวลาที่ยางหน้าจะหมดสภาพโดยไม่มีสัญญาเตือนก่อน ซึ่งต่างจากยางหน้าของ Bridgestone ที่จะส่งสัญญาเตือนก่อนล่วงหน้า ทำให้นักแข่งไม่สามารถรู้สภาพของยางในตอนนี้ของรถตัวเองเป็นอย่างไร อีกอย่างหนึ่ง Aleix Espargaro บอกว่าจังหวะที่เบรคหนักๆยางหน้าจะมีการถูกบีบเพื่อให้ยึดเกาะกับผิวสนาม แต่จังหวะที่เริ่มปล่อยเบรคยางมันยังคงผิดรูปอยู่ ถ้าเปิดคันเร่งผิดจังหวะไปรถก็จะกลิ้ง ในส่วนValentino Rossi ออกมาเปิดเผยว่ายาง Michelin มีปัญหากับตัวรถ YZR-M1 ในการถ่ายโอนน้ำหนัก โดยเฉพาะในจังหวะการเข้าโค้ง ส่วนในนักแข่งที่เพิ่งขยับมาแข่งรุ่น MotoGP ในปีก่อนอย่าง Maverick Vinales, Jack Miller หรือ Loris Baz จะไม่ค่อยมีปัญหากับยางใหม่นี้กันมากนัก เนื่องจากนักแข่งเหล่านี้เพิ่งจะเริ่มเข้าแข่งได้แค่ปีเดียว
การเปลี่ยน ECU นั้นสร้างปัญหาให้กับทีมโรงงานอย่างมาก จนทำให้ทีมโรงงานของ Honda และ Yamaha ออกมาบอกว่าการนำ Standard ECU มาใช้เหมือนเป็นการนำซอร์ฟแวร์ปี 2008 – 2009กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะทำให้การตอบสนองของระบบต่างๆ นั้นตอบสนองช้าและไม่ค่อยเสถียร จึงทำให้เป็นเหตุผลที่ทีมโรงงานไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนมาใช้ Standard ECU
ผมขอขอบคุณข้อมูลจากหลายๆแหล่งทั้ง Website และบทความจากผู้เชี่ยวชาญที่ผมได้นำข้อมูลมาเรียบเรียงจนมาเป็นบทความนี้ครับ
***สำหรับใครที่สนใจอยากจะติดตามชมการแข่งขัน MotoGP ในปี 2559 นี้ก็สามารถรับชมกันได้ทางช่อง Fox Sports HD และ Fox Sports 2 ผ่านทาง CTH และ True Visions โดยติดตามการแข่งขันกันได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 เลยครับ ***