การเป็นไปได้ในการเลื่อนยศทหารเรือ

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ คือผมมีคำถามเล็กๆน้อยๆแหละครับอยากให้ช่วยกันตอบตอบมาเยอะๆ เกี่ยวกับทหารเรือแหละครับ
  เริ่มเลยนะครับ
1.คือผมอยากทราบว่านักเรียนจ่าทหารเรือที่ติดยศเป็นจ่าตรีแล้วจะมีโอกาสไปถึงเรือตรีไหม

2.แล้วถ้าเราติดยศเป็นจ่าตรีแล้ว จะเรียนปริญญาต่อกี่ปี และควรจะเรียนคณะไหนดีครับที่เหมาะกับอาชีพทหารเรือ

3.ถ้าจบปริญญาแล้วจะมีสิทธิพิเศษในการสอบ เลื่อนตำแหน่งต่างๆหรือไม่ครับ

4.ส่วนใหญ่เห็นคนพูดว่า เป็นจ่าตรียศที่สามารถไปได้อย่างเก่งก็เรือตรี หรอครับ

5.เป็นนักเรียนจ่า จะถูกนักเรียนเตรียมทหารเรือเบ่งใส่หรือหยามกันจริงรึป่าวครับ

6.จากที่เคยได้ยินมาว่า เหล่า พรรค ทหารเรือ ที่มีความก้าวหน้าทางยศจากจ่าตรีไปเป็นยศต่างๆได้รวดเร็วคือ แพทย์ นาวิกโยธิน จริงรึป่าวครับ

7.แล้วคนที่เลือกลงนาวิกโยธิน ต้องลงใต้อย่างเดียวจริงไหม

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงประสบการณ์จากที่เคยได้ยิน ได้อ่านจากหลายๆกระทู้ ผมจึงรวบรวมมาตั้งเป็นคำถาม และไม่ได้พาดพิงถึงใครที่กล่าวมาเป็นเพียงคำถามคาใจ อยากให้ทุกคนร่วมตอบนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1.ได้ครับ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด การเลื่อนยศของ นายทหารชั้น ข. ที่กำเนิดจาก นรจ. จ่าตรี 6 เดือน จ่าโท ประมาณ 8 เดือน จ่าเอก 1 ปี หลังจากนั้นสอบเพื่อเป็นพันจ่า หากสอบติดจะเข้าเรียนที่โรงเรียนพันจ่า จบออกมา ได้ พันจ่าตรี 1 ปี พันจ่าโท 1 ปี พันจ่าเอก 1 ปี หลังจากนั้นสอบอีก 1 หน หากสอบติดจะเข้าเรียนอีกครั้งที่โรงเรียนพันจ่าเหมือนเดิม จบออกมาได้ เรือตรี แต่มีข้อแม้ว่าหากอายุราชการยังไม่ถึง 7 ปีต้องครองยศพันจ่าเอกก่อนจนครบ ช่วงนี้จะถูกเรียกว่า "นายทหารทำการ" (สิทธิเทียบเท่าสัญญาบัตรแต่ครองยศพันจ่าเอก) หลังจากนั้นครองยศเรือตรี 4 ปี เรือโท 4 ปี เรือเอก 4 ปี จึงมีสิทธิ์สอบเป็นนายนาวา (เท่าที่เคยได้ยินมาบางเหล่า ต้องสอบเพื่อเป็นเรือเอกด้วย รูสึกว่าจะเป็น นย.ที่ต้องสอบแต่ก็ไม่แน่ใจว่าจริงหรือเปล่าครับ) หลังจากนั้นครองยศนาวาตรี และนาวาโท อย่างละ 4 หรือ 5 ปีผมไม่แนใจ แล้วต้องสอบอีกครั้งเพื่อครองยศนาวาเอก หากได้ก็ครองยศนี้จนเกษียรครับ ตอนผมเป็น นรจ. มีนายภาคท่านหนึ่งเป็นนายทหารชั้น ข. เหมือนกันครับ เกษียรที่ยศ พล.ร.ต. ครับ

2.เรียนต่อปริญญา แล้วแต่ครับ แต่ส่วนใหญ่หากต้องการปรับ เป็น นายทหารปริญญา ก็จะมีพวกพรรคพิเศษเป็นส่วนใหญ่ครับ เช่นพวก สารบรรณ การเงิน พลาธิการ ฯลฯ ซึ่งเมื่อจบปริญญาก็ต้องมาสอบแข่งกับบุคคลภายนอกตอนที่กองทัพเรือเปิดสอบอีกครั้งครับ

3. อันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่อาจง่ายกว่าบุคคลภายนอกตอนที่สอบสัมภาษณ์ครับ ส่วนคะแนนข้อเขียนผมไม่ทราบจริงๆว่าเขาช่วยหรือเปล่า

4. ไม่จริงครับ เรือตรี หากอยู่จนเกษียรได้ครองยศนี้ทุกคนครับ เพราะถึงคุณจะสอบไม่ผ่านตอนเป็นจ่าเอก แต่ทุกปีก็จะมีคะแนนพิเศษสำหรับ อวุโสให้ครับ ซึ่งจะนำคะแนนนี้ไปรวมกับคะแนนสอบด้วย เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่สมควรคะแนนนี้ก็จะมากพอให้เลื่อนยศได้ครับ

5. อันนี้ไม่จริงครับ เพราะนักเรียนนายเรือจบใหม่ทุกท่าน หน้าที่แรกคือ เป็นครูของนักเรียนจ่าครับ ตอนที่ผมเป็น นรจ. นักเรียนนายเรือจบใหม่ ก็จะมาบรรจุเป็น ผู้บังคับหมวดของนักเรียนจ่า ซึ่งเมื่อจบออกไป นักเรียนจ่าก็จะเรียกผู้บังคับหมวดว่าครู ท่านเหล่านั้นจะคอยช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นลูกศิษย์ เช่นเมื่อท่านครองยศนาวาเอก แล้วได้เป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ส่วนใหญ่ก็จะดึงนักเรียนจ่าที่เป็นลูกศิษย์ไปเป็นเสมียนทูตครับ

6. แต่ละเหล่ามีเส้นทางของตัวเองครับ ไม่มีเร็วมีช้าหรอกครับ แต่ที่บางคนเห็นว่าพรรคพิเศษมักได้เลื่อนยศเร็วเพราะพรรคพิเศษส่วนใหญ่ทำงานบนบกมีเวลาอ่านหนังสือ ทำให้สามารถสู้กับคะแนนอวุโสได้ดีกว่า พรรคนาวินหรือพรรคกลิน แล้วทหารพรรคนาวิน หรือกลินบางท่านไม่ยอมสอบด้วยโดยเหตุผลคือไม่ต้องการย้ายที่ทำงาน(เรือ) เพราะหากสอบได้ต้องบรรจุในตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเปลี่ยนเรือ หรือขึ้นมาอยู่บนบก ทำให้บางท่านที่ได้อยู่ในเรือที่ดีๆไม่อยากสอบ

7. ไม่จริงหรอกครับ แล้วแต่ แต่เชื่อผมเถอะพอจบใหม่ๆนักเรียนจ่าทุกคนอยากไปชายแดน ไม่มีใครอยากอยู่กองพลหรอกครับ อวุโสต้นๆ ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นตอนเลือก ถ้าเป็นพรรคนาวิน ก็จะแย่งกันลงเรือ ต. ส่วนเรือฟริเกต ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอวุโสท้ายๆที่ไม่มีโอกาสได้เลือก ส่วนนย. ผมเห็นอวุโสต้นๆก็ได้อยู่ตามหน่วย ฉก.เหมือนกัน แต่ไม่ทราบจริงๆว่าเลือกเอกหรือถูกจับลงครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่