บ้านที่เราเคยอาศัยนั้นเป็นบ้านไม้สักเก่าๆ มีอายุถึง 100 ปี อยู่ติดริมน้ำเจ้าพระยา เดินไปแค่2-3ก้าวแล้วข้ามสะพานไม้ผุๆไป ก็จะเข้าเขตบริเวณวัดหงษ์ปทุมาวาส ซึ่งปัจจุบันนี้ใครๆก็รู้จักเพราะเป็นที่ปล่อยสัตว์ปล่อยปลาที่รองรับผู้ใจบุญได้คราวละมากมาย ซึ่งจะแตกต่างจากสมัยที่เราเคยอยู่เมื่อราวๆปี
พ.ศ.2525-2528 มากมายนัก สมัยนั้นยังไม่มีแพที่สร้างเพื่อปล่อยปลา มีแค่ศาลาริมน้ำที่บันไดทอดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น วัดนี้มีการปลูกสร้างในรูปแบบของชาวมอญ แม้พระสงฆ์ หลวงพ่อเจ้าอาวาส ก็เป็นชาวมอญ ภาษาที่สวดก็ใช้ภาษามอญ เราเป็นชาวไทยที่มีโอกาสได้ไปอาศัยอยู่ในชุมชนของชาวมอญมาตั้งแต่เล็กๆ ร้านค้าในชุมชน เพื่อนบ้านละแวกนั้น ทุกคนพูดภาษามอญ แม่เคยเล่าให้เราฟังว่า ตอนเด็กๆเราก็พูดภาษามอญกับเพื่อนที่วิ่งเล่นด้วยกันเพียงแต่เราจำความไม่ได้เท่านั้นเอง แม่จึงเหมือนเป็นสมุดบันทึกความทรงจำในวัยเด็กของเราได้เป็นอย่างดี
ผู้คนที่ชุมชนวัดหงษ์นี้ รักพระ รักวัดมาก เมื่อคราววันพระ หรือมีงานเทศกาลในทางพระพุทธศาสนา ทุกคนที่นี่จะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ทั้งนั้น สิ่งที่จะเตรียมไปทำบุญที่วัดก็จะทำไปอย่างสุดฝีมือ และทำกันอย่างเต็มที่ เราสัมผัสได้ว่าชาวมอญเป็นคนมีจิตใจดี ชอบทำบุญ เรื่องเข้าวัดเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวมอญไม่คิดจะปฏิเสธ มีกิจกรรมประเพณีอะไรก็แล้วแต่ มักจะไปจัดกันที่วัด ตอนเล็กๆแม่จะจูงลูกทั้ง 3 คนเข้าวัด เราเดินไปบนสะพานไม้ผุๆด้วยความกล้าๆกลัวๆ แต่พอมองเห็นคนแต่งตัวสวยงามเดินหิ้วอาหาร หิ้วปิ่นโต ร่วมทางมาด้วยก็เบาใจว่ามีเพื่อนเดินขึ้นสะพาน ถ้าเราหล่นน้ำไปคงมีคนช่วย ตอนนั้นคิดอย่างนั้นจริงๆ มีการพบปะพูดคุยสนทนาประสาคนรู้จักกันไปตลอดทาง จนเข้าเขตวัด บนศาลาไม้สักหลังใหญ่ พื้นไม้นั้นดูกว้างและแข็งแรง เสาไม้สักต้นโตลำต้นโอบได้ไม่มิด เห็นแล้วรู้สึกดีชอบมองศาลาหลังโบราณนี้เอามากๆ คนที่มาทำบุญก็มีทั้งคนไทยคนมอญ เต็มศาลาวัด เมื่อพระสวดจบ พวกเราถวายเพลเสร็จแล้ว ก็จะมีบางคนกลับเลย ส่วนที่นั่งรอจนฉันเสร็จก็คือชาวมอญที่เป็นชาวบ้านในชุมชนนั้น รวมทั้งครอบครัวของเราด้วยนั่นเอง หลังจากนั้นจะมีคนยกสำรับอาหารจากที่พระฉันมาตั้งไว้เป็นวงๆ ให้พวกเราได้เข้าไปร่วมรับประทานกัน เมื่อได้ลิ้มรสแล้วรู้สึกอร่อยและประณีตมาก ที่ชอบเป็นพิเศษคือ ข้าวแช่ชาววัง มีกับข้าวให้เลือกกินมากมายแถมยังอร่อยอีกด้วย ถึงไม่แปลกใจเลยว่าชาวมอญส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้มีอันจะกิน เป็นเศรษฐีซะส่วนมาก เป็นเพราะเขาเต็มที่กับการสร้างบุญสร้างกุศลนั่นเอง
เทศกาลต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ที่กล่าวไว้ตอนต้น ก็จะมีผู้คนมากมายมากันเต็มวัด บางทีถึงกับแออัดยัดเยียดเลยทีเดียว เพราะประเพณีชาวมอญนั้นไม่ธรรมดา ช่างเป็นประเพณีที่สนุกสนานและครีเอทมาก สำหรับเด็กๆอย่างเรา คือทุกอย่างมันมีความเชื่อ ความศรัทธาแฝงอยู่ในกิจกรรมเหล่านั้น นอกจากการนับถือพระพุทธเจ้า นับถือพระสงฆ์ แล้วยังมีอีกความเชื่อที่เรารู้สึกแปลกประหลาดและหวาดเสียวทุกครั้งที่ได้ยินเรื่องเหล่านี้คือ เป็นความเชื่อว่าใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไป พิกัดศาลาริมน้ำที่ยื่นไปในแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เป็นที่อยู่ของจระเข้ ซึ่งชาวมอญแถวนั้นเรียกว่า เจ้าพ่อจระเข้ ซึ่งมีตัวตนจริงๆ ตัวเป็นๆ ที่คนแถวนั้นเคยเห็น จนถึงกับสร้างศาลเจ้าพ่อจระเข้ ไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ ในบริเวณวัดริมน้ำนั่นเอง
------------ มีตอนต่อไป โปรดติดตาม --------------


เด็กหลังวัดหงษ์ (ตอนที่1)
พ.ศ.2525-2528 มากมายนัก สมัยนั้นยังไม่มีแพที่สร้างเพื่อปล่อยปลา มีแค่ศาลาริมน้ำที่บันไดทอดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น วัดนี้มีการปลูกสร้างในรูปแบบของชาวมอญ แม้พระสงฆ์ หลวงพ่อเจ้าอาวาส ก็เป็นชาวมอญ ภาษาที่สวดก็ใช้ภาษามอญ เราเป็นชาวไทยที่มีโอกาสได้ไปอาศัยอยู่ในชุมชนของชาวมอญมาตั้งแต่เล็กๆ ร้านค้าในชุมชน เพื่อนบ้านละแวกนั้น ทุกคนพูดภาษามอญ แม่เคยเล่าให้เราฟังว่า ตอนเด็กๆเราก็พูดภาษามอญกับเพื่อนที่วิ่งเล่นด้วยกันเพียงแต่เราจำความไม่ได้เท่านั้นเอง แม่จึงเหมือนเป็นสมุดบันทึกความทรงจำในวัยเด็กของเราได้เป็นอย่างดี
ผู้คนที่ชุมชนวัดหงษ์นี้ รักพระ รักวัดมาก เมื่อคราววันพระ หรือมีงานเทศกาลในทางพระพุทธศาสนา ทุกคนที่นี่จะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ทั้งนั้น สิ่งที่จะเตรียมไปทำบุญที่วัดก็จะทำไปอย่างสุดฝีมือ และทำกันอย่างเต็มที่ เราสัมผัสได้ว่าชาวมอญเป็นคนมีจิตใจดี ชอบทำบุญ เรื่องเข้าวัดเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวมอญไม่คิดจะปฏิเสธ มีกิจกรรมประเพณีอะไรก็แล้วแต่ มักจะไปจัดกันที่วัด ตอนเล็กๆแม่จะจูงลูกทั้ง 3 คนเข้าวัด เราเดินไปบนสะพานไม้ผุๆด้วยความกล้าๆกลัวๆ แต่พอมองเห็นคนแต่งตัวสวยงามเดินหิ้วอาหาร หิ้วปิ่นโต ร่วมทางมาด้วยก็เบาใจว่ามีเพื่อนเดินขึ้นสะพาน ถ้าเราหล่นน้ำไปคงมีคนช่วย ตอนนั้นคิดอย่างนั้นจริงๆ มีการพบปะพูดคุยสนทนาประสาคนรู้จักกันไปตลอดทาง จนเข้าเขตวัด บนศาลาไม้สักหลังใหญ่ พื้นไม้นั้นดูกว้างและแข็งแรง เสาไม้สักต้นโตลำต้นโอบได้ไม่มิด เห็นแล้วรู้สึกดีชอบมองศาลาหลังโบราณนี้เอามากๆ คนที่มาทำบุญก็มีทั้งคนไทยคนมอญ เต็มศาลาวัด เมื่อพระสวดจบ พวกเราถวายเพลเสร็จแล้ว ก็จะมีบางคนกลับเลย ส่วนที่นั่งรอจนฉันเสร็จก็คือชาวมอญที่เป็นชาวบ้านในชุมชนนั้น รวมทั้งครอบครัวของเราด้วยนั่นเอง หลังจากนั้นจะมีคนยกสำรับอาหารจากที่พระฉันมาตั้งไว้เป็นวงๆ ให้พวกเราได้เข้าไปร่วมรับประทานกัน เมื่อได้ลิ้มรสแล้วรู้สึกอร่อยและประณีตมาก ที่ชอบเป็นพิเศษคือ ข้าวแช่ชาววัง มีกับข้าวให้เลือกกินมากมายแถมยังอร่อยอีกด้วย ถึงไม่แปลกใจเลยว่าชาวมอญส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้มีอันจะกิน เป็นเศรษฐีซะส่วนมาก เป็นเพราะเขาเต็มที่กับการสร้างบุญสร้างกุศลนั่นเอง
เทศกาลต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ที่กล่าวไว้ตอนต้น ก็จะมีผู้คนมากมายมากันเต็มวัด บางทีถึงกับแออัดยัดเยียดเลยทีเดียว เพราะประเพณีชาวมอญนั้นไม่ธรรมดา ช่างเป็นประเพณีที่สนุกสนานและครีเอทมาก สำหรับเด็กๆอย่างเรา คือทุกอย่างมันมีความเชื่อ ความศรัทธาแฝงอยู่ในกิจกรรมเหล่านั้น นอกจากการนับถือพระพุทธเจ้า นับถือพระสงฆ์ แล้วยังมีอีกความเชื่อที่เรารู้สึกแปลกประหลาดและหวาดเสียวทุกครั้งที่ได้ยินเรื่องเหล่านี้คือ เป็นความเชื่อว่าใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไป พิกัดศาลาริมน้ำที่ยื่นไปในแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เป็นที่อยู่ของจระเข้ ซึ่งชาวมอญแถวนั้นเรียกว่า เจ้าพ่อจระเข้ ซึ่งมีตัวตนจริงๆ ตัวเป็นๆ ที่คนแถวนั้นเคยเห็น จนถึงกับสร้างศาลเจ้าพ่อจระเข้ ไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ ในบริเวณวัดริมน้ำนั่นเอง
------------ มีตอนต่อไป โปรดติดตาม --------------