คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 49
ผมเริ่มโดยการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ สมัยที่เรียนชั้นประถม 6 ก็อ่าน Student Weekly และ Junoir และไม่เคยใช้ดิกชันนารี English - Thai เลยเป็นเวลา 10 กว่าปี ดิกชันนารี English - English เล่มแรกของผมคือ Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English (Third Edition) by A S Hornby เมื่อติดคำศัพท์ก็เปิดดูความหมายรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้บ้าง แต่สิ่งที่ได้คือได้ความรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นจากคำนิยาม และสามารถนำคำ ๆ นั้นมาสร้างประโยคได้อย่างถูกต้อง และก็สร้างสมุดศัพท์มาเล่มนึงสำหรับจด ๆ ๆ ๆ ศัพท์ลงไปพร้อมตัวอย่างประโยคที่เข้าใจง่ายๆ การจดแม้ภายหลังจะไม่ได้มาเปิดดูอีก แต่ทำให้ผมจำคำศัพท์นั้นได้ดีกว่าครับ
ในระหว่างนั้น ก็หัดเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการ ซึ่งจะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นเงิน จำนวนไม่มาก พร้อมกับผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ พร้อมกับฝึกทำ Crossword Puzzle ซึ่งมีทุกฉบับ การฝึกทำอักษรไขว้ภาษาอังกฤษ จะมีปัญหามากในช่วงแรก ๆ เพราะเราตีโจทย์ไม่แตก บางฉบับต้องใช้เวลาถึง 3 วัน กว่าจะสำเร็จ เมื่อทำเสร็จแล้วก็ส่งไปให้เขาจับรางวัลผู้โชคดีอีกคราวละ 5 คน โชคดีที่ผมได้รับรางวัลบ่อย บ่อยจนเจอชื่อตัวเองเกือบทุกฉบับ ยิ่งทำนาน ๆ ก็ยิ่งคล่องแคล่วมากขึ้น จนไปเจอหนังสือเล่นหนึ่งเป็นดิกชั่นนารีสำหรับการนี้โดยเฉพาะ คือ webster's Official Crossword Puzzle Dictionay เล่มใหญ่มาก หนังสือเล่มนี้ ทำให้เราฝึกเล่นเกมอักษรไขว้ได้สนุกมาก และง่ายมาก ๆ สิ่งตอบแทนก็คือ รางวัลทำให้เรามีกำลังใจที่จะเรียนภาษาอังกฤษต่อไปเรื่อย ๆ
เมื่อรู้ศัพท์เยอะขึ้นจากการเขียนจดหมาย (เรียงความ) ถึงบรรณาธิการ จากการเล่นเกมอักษรไขว้ ทำให้ผมสามารถอ่านข่าว บทความต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ได้ดีขึ้น จนอ่านรู้เรื่องแทบไม่แตกต่างจากภาษาไทยไปโดยอัตโนมัติในที่สุด แต่สำหรับทักษะการพูดและการฟัง ผมมีน้อยมาก และในตอนหลังก็หาเทปสนทนามาช่วยอีกแรง จึงไม่มีปัญหา
ยุคนั้นเพื่อน ๆ ผมหลายคนเถียงว่า ใช้ดิกต่างประเทศจะแปลรู้เรื่องอย่างไรเวลาที่เราติดศัพท์ ก็ต้องอธิบายว่าเหมือนกับที่เราเปิดพจนานุกรมภาษาไทยเป็นไทยนะแหละ ดิกเล่มดี ๆ เขาจะอธิบายจนเข้าใจได้ดีจากตัวอย่างประกอบ แต่แรก ๆ ก็เจอปัญหาบ้างเพราะเป็นศัพท์บัญญัติที่เราไม่สามารถแปลเป็นไทยได้ แต่เราก็เข้าใจความหมายอยู่ดี เช่น คำว่า นวัตกรรม นิทรรศการ จินตนาการ เป็นต้น ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติที่มาจากการสนธิ และสมาธิจากคำในภาษาบาลีเป็นต้น ผมก็แก้ปัญหาโดยไปซื้อนิตยสารภาษาอังกฤษที่เป็นลักษณะการแปลข่าวมาอีกเล่มนึง ขอโทษจำชื่อหนังสือเล่มนั้นไม่ได้จริง ๆ คือมันมีข่าวหรือบทความอังกฤษ แล้วตามด้วยคำแปลภาษาไทยให้พร้อมสรรพในตอนท้าย เพื่อช่วยนักศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการแปลโดยเฉพาะ แต่ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ผมเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ ในเวลาต่อมา และไม่เคยใช้ดิกอังกฤษ-ไทย เลยจนเวลาผ่านมาจนผมเริ่มทำงาน ผมจำเป็นต้องแปลเอกสารบางอย่าง จึงไปซื้อ Thai - English Dictionay เล่มแรกมาเล่มนึงชื่อว่า A new English - Thai Dictionary (Library Edition)
โดยสรุป เพื่อที่จะตอบคำถามของ จขกท.ที่ว่ามีหลักการจำศัพท์อย่างไร ผมอยากจะตอบว่า ต้องอ่านเยอะ ๆ และมีเครื่องมือดี ๆ นั่นคือดิกชั่นนารี และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ก็หาแนวร่วมที่มีความสนใจเหมือนกัน รับรองว่า ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียวครับ
ปัจจุบันผมมีดิกชันนารีในครอบครอง เกือบสิบเล่ม เป็น English - Eglish เสียมากกว่า และแต่ละเล่มก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป แต่หากให้ผมแนะนำดิกอังกฤษ - ไทย เล่มเล็ก ๆ สักเล่มสำหรับการพกพาไปไหนสะดวกละก็ ผมแนะนำ ดิกจาก อักษรเจริญทัศน์ ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะชื่อว่า Aksorn' s Learner Dictionary ครับ ราคาไม่น่าจะถึง 200 ไม่ปัจจุบัน เพราะผมพบว่าเล่มนี้แม้จะเล็กแต่ก็มีครบเครื่องเหมือนจะเป็นฉบับย่อของ Oxford Advanced Dictionary ตัวที่ผมแนะนำข้างต้นนะครับ

แต่ละคนย่อมมีหลักการ เทคนิคในการจำศัพท์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ผมคิดว่าวิธีการของผม น่าจะสามารถใช้ได้กับทุกคน ยิ่งยุคนี้ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ตรงมีดิกชันนารีออนไลน์ รวมทั้งแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ทั้ง Android และ IOS ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผุ้เรียนได้มาก ขอให้โชคดีและสนุกกับการเรียนภาษานะครับ
ในระหว่างนั้น ก็หัดเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการ ซึ่งจะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นเงิน จำนวนไม่มาก พร้อมกับผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ พร้อมกับฝึกทำ Crossword Puzzle ซึ่งมีทุกฉบับ การฝึกทำอักษรไขว้ภาษาอังกฤษ จะมีปัญหามากในช่วงแรก ๆ เพราะเราตีโจทย์ไม่แตก บางฉบับต้องใช้เวลาถึง 3 วัน กว่าจะสำเร็จ เมื่อทำเสร็จแล้วก็ส่งไปให้เขาจับรางวัลผู้โชคดีอีกคราวละ 5 คน โชคดีที่ผมได้รับรางวัลบ่อย บ่อยจนเจอชื่อตัวเองเกือบทุกฉบับ ยิ่งทำนาน ๆ ก็ยิ่งคล่องแคล่วมากขึ้น จนไปเจอหนังสือเล่นหนึ่งเป็นดิกชั่นนารีสำหรับการนี้โดยเฉพาะ คือ webster's Official Crossword Puzzle Dictionay เล่มใหญ่มาก หนังสือเล่มนี้ ทำให้เราฝึกเล่นเกมอักษรไขว้ได้สนุกมาก และง่ายมาก ๆ สิ่งตอบแทนก็คือ รางวัลทำให้เรามีกำลังใจที่จะเรียนภาษาอังกฤษต่อไปเรื่อย ๆ
เมื่อรู้ศัพท์เยอะขึ้นจากการเขียนจดหมาย (เรียงความ) ถึงบรรณาธิการ จากการเล่นเกมอักษรไขว้ ทำให้ผมสามารถอ่านข่าว บทความต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ได้ดีขึ้น จนอ่านรู้เรื่องแทบไม่แตกต่างจากภาษาไทยไปโดยอัตโนมัติในที่สุด แต่สำหรับทักษะการพูดและการฟัง ผมมีน้อยมาก และในตอนหลังก็หาเทปสนทนามาช่วยอีกแรง จึงไม่มีปัญหา
ยุคนั้นเพื่อน ๆ ผมหลายคนเถียงว่า ใช้ดิกต่างประเทศจะแปลรู้เรื่องอย่างไรเวลาที่เราติดศัพท์ ก็ต้องอธิบายว่าเหมือนกับที่เราเปิดพจนานุกรมภาษาไทยเป็นไทยนะแหละ ดิกเล่มดี ๆ เขาจะอธิบายจนเข้าใจได้ดีจากตัวอย่างประกอบ แต่แรก ๆ ก็เจอปัญหาบ้างเพราะเป็นศัพท์บัญญัติที่เราไม่สามารถแปลเป็นไทยได้ แต่เราก็เข้าใจความหมายอยู่ดี เช่น คำว่า นวัตกรรม นิทรรศการ จินตนาการ เป็นต้น ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติที่มาจากการสนธิ และสมาธิจากคำในภาษาบาลีเป็นต้น ผมก็แก้ปัญหาโดยไปซื้อนิตยสารภาษาอังกฤษที่เป็นลักษณะการแปลข่าวมาอีกเล่มนึง ขอโทษจำชื่อหนังสือเล่มนั้นไม่ได้จริง ๆ คือมันมีข่าวหรือบทความอังกฤษ แล้วตามด้วยคำแปลภาษาไทยให้พร้อมสรรพในตอนท้าย เพื่อช่วยนักศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการแปลโดยเฉพาะ แต่ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ผมเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ ในเวลาต่อมา และไม่เคยใช้ดิกอังกฤษ-ไทย เลยจนเวลาผ่านมาจนผมเริ่มทำงาน ผมจำเป็นต้องแปลเอกสารบางอย่าง จึงไปซื้อ Thai - English Dictionay เล่มแรกมาเล่มนึงชื่อว่า A new English - Thai Dictionary (Library Edition)
โดยสรุป เพื่อที่จะตอบคำถามของ จขกท.ที่ว่ามีหลักการจำศัพท์อย่างไร ผมอยากจะตอบว่า ต้องอ่านเยอะ ๆ และมีเครื่องมือดี ๆ นั่นคือดิกชั่นนารี และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ก็หาแนวร่วมที่มีความสนใจเหมือนกัน รับรองว่า ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียวครับ
ปัจจุบันผมมีดิกชันนารีในครอบครอง เกือบสิบเล่ม เป็น English - Eglish เสียมากกว่า และแต่ละเล่มก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป แต่หากให้ผมแนะนำดิกอังกฤษ - ไทย เล่มเล็ก ๆ สักเล่มสำหรับการพกพาไปไหนสะดวกละก็ ผมแนะนำ ดิกจาก อักษรเจริญทัศน์ ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะชื่อว่า Aksorn' s Learner Dictionary ครับ ราคาไม่น่าจะถึง 200 ไม่ปัจจุบัน เพราะผมพบว่าเล่มนี้แม้จะเล็กแต่ก็มีครบเครื่องเหมือนจะเป็นฉบับย่อของ Oxford Advanced Dictionary ตัวที่ผมแนะนำข้างต้นนะครับ

แต่ละคนย่อมมีหลักการ เทคนิคในการจำศัพท์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ผมคิดว่าวิธีการของผม น่าจะสามารถใช้ได้กับทุกคน ยิ่งยุคนี้ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ตรงมีดิกชันนารีออนไลน์ รวมทั้งแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ทั้ง Android และ IOS ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผุ้เรียนได้มาก ขอให้โชคดีและสนุกกับการเรียนภาษานะครับ
แสดงความคิดเห็น
คนเก่งอังกฤษมีวิธีการจำศัพท์อย่างไรครับ
อยากจำให้ได้แบบไม่ลืม
คนเก่งอังกฤษช่วยแชร์วิธีการจำศัพท์ให้ได้เยอะๆด้วยครับ