สัพเพเหระกับหมวยอินดี้ ตอน สัตยาเคราะห์ โดย "อหิงสา" ในแบบของ มหาตมะ คานธี

#หมวยอินดี้ #สัพเพเหระ #คานธี #Gandhi #อหิงสา #สัตยาเคราะห์


สวัสดีค่ะ วันนี้ ขอเยื่อนห้องศาสนาสักหน่อย เพราะวันที่ผ่านมา เห็นมีประเด็นศาสนากับการเมืองให้ได้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง บ้างก็ถามว่า พระ ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไหม หรือการกระทำของพระบางรูป ถือเป็นการผิดศิลหรือไม่อย่างไร ซึ่ง จขกทเอง ไม่สามารถตัดสินได้อย่างชัดเจน

แต่มั่นใจว่า การต่อสู้แบบ อหิงสา เป็นวิธีที่สมณะทั้งหลายพึงกระทำ

การต่อสู้แบบอหิงสาที่เคยมีมาในอดีต คงไม่มีใครไม่รู้จักเขาผู้นี้ มหาตมะ คานธี



ประวัติโดยย่อของเขาผู้นี้ ก็คือ เกิดที่อินเดียแล้วไปเรียนกฏหมายที่อังกฤษ ได้เป็นทนายและไปว่าความให้ลูกค้าที่ แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชีวิตของเขาเลยทีเดียว เมื่อเราถูกโยนออกจากชั้น First class ไปอยู่ Third Class ทั้งๆที่ซื้อตัว first class โดยเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่า fisrt class สร้างขึ้นมาเพื่อคนผิดขาวเท่านั้น (ตลกป่ะล่ะ ทั้งๆที่ซื้อตั๋ว First Class เอาไว้แท้ๆ)

จากนั้นเขาก็ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำที่แอฟริกาใต้

คานธี ได้เรียนรู้วิธี “สัตยาเคราะห์” (Satyagraha) เป็นอาวุธทางการเมือง สัตยาเคราะห์คืออาวุธแห่งสัจจะและความรัก ความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “สัตยาเคราะห์” เป็นการทดลองความจริงทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่และทรงพลังที่สุดของคานธี ขบวนการสัตยาเคราะห์จะยึดมั่นอยู่แต่ในหลักแห่ง “อหิงสธรรม” จะอุทิศตนและทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความถูกต้องและความยุติธรรม

หลักสำคัญที่คานธีถือปฏิบัติในเรื่อง “อหิงสา” ก็คือ การยอมทนทุกข์เพื่อชำระจิตใจของตัวเองและเปลี่ยนจิตใจของผู้ที่ทำผิด คานธีได้อดอาหารนับจำนวนครั้งไม่ถ้วนในชีวิต เมื่อเห็นผู้ร่วมงานใช้วิธีการรุนแรงหรือกระทำผิด ด้วยความเสียสละและการยอมทนทุกข์ของคานธี ผู้กระทำผิดได้สำนึกกลับตัวเสียใหม่ คานธีถือว่าการอดอาหารเป็นการชำระจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ และเป็นการชำระจิตสำนึกของส่วนรวมให้บริสุทธิ์ด้วย

ด้วยการปฏิบัติแบบ “อหิงสา” ความจริงหรือคุณธรรมในตัวของมนุษย์จะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นในจิตสำนึก และไม่ว่ามิตรหรือศัตรูก็จะกลายเป็นบุคคลที่รักความจริงและความเป็นธรรมในที่สุด ถ้าเป็นมิตรก็จะเป็นมิตรที่ดียิ่งขึ้น ถ้าเป็นศัตรูก็จะค่อยๆ เปลี่ยนท่าทีจากศัตรูกลายเป็นมิตรในที่สุด คานธีมีความเชื่อมั่นในมนุษยชาติมาก ว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลว หากได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้ทุกคนไม่มียกเว้น

ดังนั้น การใช้ความรุนแรง การประหัตประหาร หรือสงคราม จึงถือเป็นความผิดอย่างมหันต์ เพราะเท่ากับเป็นการสิ้นหวังในมนุษยชาติ เป็นการทำลายคุณธรรมและความจริงที่ซ่อนอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน และเป็นการปลุกธรรมชาติฝ่ายต่ำของมนุษย์ให้แสดงพละกำลังออกมา อันกลายเป็นการจองล้างจองผลาญไม่มีที่สิ้นสุด วิธีที่จะเอาชนะความชั่วจึงไม่ได้อยู่ที่การทำลายคนชั่ว แต่อยู่ที่การเปลี่ยนจิตใจของคนชั่วโดยไม่ทำความชั่วตอบ คานธีได้ย้ำเตือนอยู่เสมอว่า ให้เกลียดชังความเลวแต่อย่าเกลียดชังคนเลว เพราะทุกคนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีได้เสมอ



มหาตมะ คานธี ยอมรับว่า มนุษยชาติยากที่จะพัฒนาไปถึงภาวะที่ปราศจากความขัดแย้ง หรือแม้แต่ภาวะที่ความขัดแย้งจะได้รับการแก้ไขโดยไม่ต้องใช้กำลัง คานธีพยายามค้นหาวิธีการอื่นที่จะมาใช้แทนสงคราม วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงและไม่ทำให้ความเป็นมนุษย์ต้องตกต่ำลง ด้วยความมุ่งหมายอันนี้ทำให้ท่านเสนอหลัก “สัตยาเคราะห์” ขึ้น โดยใช้จริยธรรมขั้นสูงมาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ตามตัวอักษรแล้วคำว่า “สัตยาเคราะห์” หมายถึง “การยืนหยัดอยู่ในหลักแห่งความจริง” สมมติฐานเบื้องต้นของสัตยาเคราะห์ก็คือ ไม่มีใครค้นพบสัจธรรมโดยถ่องแท้ทุกแง่ทุกมุม ดังนั้น ใครก็ตามย่อมไม่มีสิทธิยัดเยียดสัจธรรมในบางแง่มุมที่ตนยึดถืออยู่ให้แก่ผู้อื่น อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้น ที่จะสามารถดำเนินชีวิตตามทรรศนะของตนเองและต่อต้านในสิ่งที่เขาเห็นว่าผิด

นักสัตยาเคราะห์ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ ต่อระบบของสังคมที่ไร้ความเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็จะสร้างวิถีชีวิตขึ้นมาใหม่ในลักษณะที่เห็นว่าถูกต้องเป็นธรรม ดังนั้นสัตยาเคราะห์จึงมองได้สองแง่ แง่หนึ่งได้แก่การสร้างสรรค์ อีกแง่หนึ่งได้แก่การต่อสู้คัดค้านอย่างสงบต่อความไม่ถูกต้องทั้งปวง

ในการคัดค้านต่อต้านดังกล่าว นักสัตยาเคราะห์จะเผชิญกับความรุนแรงทุกชนิดที่ “ฝ่ายตรงข้าม” อาจกระทำต่อเขาด้วยความอดทนและด้วยความกล้าหาญ แต่จะไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามเป็น “ศัตรู” จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ การเปลี่ยนจิตใจของฝ่ายตรงข้ามมากกว่า สำหรับพวกเขาแล้วจะไม่มีคำว่ามิตรหรือศัตรู ทุกคนอยู่ในครอบครัวของมนุษยชาติเดียวกันทั้งหมด

ในสงครามหรือการประหัตประหาร ผู้ที่มีความรุนแรงเหนือกว่าจะหยิบยื่นความจริงเพียงแง่มุมเดียวให้แก่บุคคลอื่น ชัยชนะไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ผู้ชนะจะเป็นฝ่ายถูกต้องชอบธรรมมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าผู้ชนะมักจะอ้างเช่นนี้เสมอก็ตาม ความสามารถในการสู้รบในสงครามเป็นคนละเรื่องกับความถูกต้องชอบธรรม และเกือบจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย


การทำสัตยาเคราะห์ระดับชาติ อาจใช้รูปแบบการไม่ให้ความร่วมมือ (non-cooperation) กับรัฐบาล ดังที่มหาตมะคานธีบริหารจัดการให้เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดีย เรียกว่า Civil Disobedience Movements (ขบวนการอารยะดื้อแพ่ง หรือ อารยะขัดขืน) ระหว่างช่วงปี 1920-1922, 1930-1934, และ 1940-1944 การไม่ให้ความร่วมมืออาจแสดงออกโดย:
-- คืนตำแหน่งหรือเกียรติยศต่างๆที่เคยได้จากรัฐบาล
-- ลาออกจากราชการ ถอนตัวออกจากงานตำรวจ งานทหาร
-- งดการเสียภาษี
-- ประท้วงคว่ำบาตรศาลยุติธรรม
-- ปิดโรงเรียนหรือไม่ไปโรงเรียน และคว่ำบาตรสภานิติบัญญัติหรือรัฐสภา แล้วให้ก่อตั้งและบริหารจัดการสถาบันใหม่ของตนขึ้นมาแทนสถาบันหรือองค์กรที่ประท้วงไม่ร่วมมือด้วยดังกล่าว



อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/197869
คัดลอกและเรียบเรียงใหม่ จาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18430
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ หน้าต่างความจริง โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11145
โพสโดยคุณบัวทอง
และ wikipedia
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B2_%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B5


วันนี้ ขอแวะมาห้องศาสนาหน่อยเป็นขาจร ยังไง ช่วยต้อนรับ อย่างอบอุ่นด้วยนะคะ





กระทู้นี้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแต่คนน่ารัก



ใครๆก็เข้าได้ กติกามีอย่างเดียวคือ อย่าทะเลาะกัน
หากใคร พอใจจะเข้ามามีส่วนร่วม
แบ่งปันความรู้ จะสาระบ้างไม่สาระบ้าง
การเมืองได้ เศรษฐกิจก็ได้ ศาสนาก็ไม่เกี่ยง
อวดรู้ได้ อวดดีได้ อวดเก่งก็ได้มาเลย.. ชอบ
ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบจิก ชอบกัด ชอบให้คนรักกัน (ฮิ้ววว)
กระทู้นี้ยินดีเปิดให้ทุกคนได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์
เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศอันดีให้แก่กันและกันค่ะ
แขวะได้ แซะได้ พองาม แต่อย่ามากไป และอย่าโกรธกัน



ความเดิมตอนที่แล้ว
สัพเพเหระกับหมวยอินดี้ ตอน เรื่องของเศรษฐกิจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่