ก่อนจะเล่าถึงตอนจบ เรามาย้อนดูตั้งแต่เริ่มแรกกัน
การเดินทางที่แสนยาวนาน
องค์อวกาศยุโรปหรืออีซ่า (ESA) ได้ตั้งเป้าหมายที่จะศึกษาดาวหางที่มีชื่อยาวมากๆว่า 67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค (67P/Churyumov–Gerasimenko) ตามเชื่อนักดาราศาสตร์ชาวโซเวียต(รัสเซีย)ผู้ค้นพบทั้ง 2 คน ขอเรียกสั้นๆว่า 67P
จึงได้ออกแบบยานลงจอด (Lander) ชื่อว่า Philae (ฟายเล/ฟิเล/ไฟลี) เป็นยานลงจอดอยู่กับที่ไม่มีล้อ มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาพื้นผิวของดาวหาง[หากมีล้อเรียกว่ายานโวเวอร์(Rover)] อีกยานหนึ่งเป็นยานโคจรชื่อว่า Rosetta (โรเซตตา) เพื่อศึกษาลักษณะภูมิประเทศและศึกษาฝุ่นและก๊าซต่างๆจากระยะไกล ยานทั้งสองถูกยิงขึ้นสู่อวกาศไปทีเดียวพร้อมกัน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 หรือเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว จากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศเกียนาในเฟรนช์เกียนา จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในอเมริกาใต้
การเดินทางไปยังดาวหาง 67P ซับซ้อนกว่าปกติมากและใช้เวลาเดือนทางเป็น 10 ปี
ภาพจาก ESA
ลำดับการเดินทางเป็นดังนี้
-ออกจากโลก 2 มีนาคม 2547
-จากนั้นโคจรไปพร้อมกับโลกและอีกปีต่อมากลับมาโคจรผ่านโลก(Fly by)ครั้งที่ 1 เมื่อ 4 มีนาคม 2548
-จากนั้นอีกสองปีโคจรผ่านดาวอังคาร เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2550 ยานเคลื่อนที่ผ่านเงามืดของดาวอังคารเป็นเวลา 15 นาที ซึ่งแบตเตอรี่ของยานไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อการนี้ การโคจรครั้งนี้ถูกเรียกว่า “พนันพันล้านยูโร” (The Billion Euro Gamble) แต่ยานก็โคจรผ่านไปได้ด้วยดี และยานก็ได้ถ่ายภาพดาวอังคารไว้ด้วย ภาพถ่ายโดยกล้อง CIVA ของยาน Philae ที่ความสูง 1,000 กิโลเมตร
ภาพจาก ESA
-ช่วงปลายปียานกลับมาโคจรผ่านโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2550 ครั้งนี้มีนักดาราศาสตร์ท่านหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกจึงตั้งให้มันว่า 2007 VN84 ต่อมาจึงเข้าใจว่าเป็นยาน Rosetta นี่ถ้าเป็นยานเอเลี่ยนผ่านมาจะคิดว่าเป็นอย่างอื่นมั๊ยเนี่ย
-อีกปีต่อมาโคจรผ่านดาวเคราะห์น้อย 2867 Šteins วัตถุจากแถบดาวเคราะห์น้อย เมื่อ 5 กันยายน 2551 ตั้ง และได้ถ่ายภาพด้วยกล้อง OSIRIS ที่ระยะห่าง 800 กิโลเมตร
ภาพจาก ESA
-ปีต่อมากลับมาโคจรผ่านโลกอีกครั้ง 3 เมื่อ 13 พศจิกายน 2552 การโคจรผ่านโลกและดาวอังคารหลายครั้งเป็นการเพิ่มความเร็วของยานช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิง
-ปีต่อมาโคจรผ่านดาวเคราะห์น้อย 21 Lutetia เมื่อ 10 กรกฎาคม 2553 และได้ถ่ายภาพ ที่ระยะห่าง 3,162 กิโลเมตร
ภาพจาก ESA
-ปีต่อมาจึงให้ยานเข้าสู่โหมดหลับไหล เมื่อ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อประหยัดพลังงาน
-อีกสามปีต่อมายานถูกปลุกขึ้นมา เมื่อ 20 มกราคม 2557
คลิปการเดินทางเป็นการ์ตูนน่ารัก
-ประมานช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 ยานติดเครื่องยนต์ลดความเร็วสัมพัทธระหว่างยานและดาวหาง 67P จาก 775 เมตรต่อวินาทีเหลือ 7.9 เมตรต่อวินาที
-ประมาณเดือนสิงหาคม 2557 ยานมาถึงดาวหาง 67P จนได้ ณ จุดๆนี้ ยานอยู่ห่างจากโลกประมาณ 405 ล้านกิโลเมตร อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัส ดาวหางมีคาบการโคจร 6.44 ปีต่อหนึ่งรอบ ยานได้ใช้กล้อง OSIRIS ถ่ายดาวหางที่ระยะห่าง 285 กิโลเมตร
ภาพจาก ESA
มาถึงแล้วจะลงจอดตรงไหนดีนะ จึงมีการตั้งคณะคัดเลือกจุดลงจอดขึ้นมาประกอบด้วยวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์พิจารณาจุดลงจอดที่เป็นไปได้ 5 จุด ในที่สุดก็เลือกจุดลงจอด J
ภาพจาก ESA
ภาพจาาก ESA
จากนั้นทำการเข้าสู่วงโคจรที่ซับซ้อนมากๆเพื่อปล่อยยานแลนเดอร์ ขนาดคนเล่นเกม Kerbal space program อย่างผมยังอึ้ง
คลิปสรุปภาพรวมการเดินทาง
ลาก่อน Philae หลับให้สบายบนดาวหาง 67P
การเดินทางที่แสนยาวนาน
องค์อวกาศยุโรปหรืออีซ่า (ESA) ได้ตั้งเป้าหมายที่จะศึกษาดาวหางที่มีชื่อยาวมากๆว่า 67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค (67P/Churyumov–Gerasimenko) ตามเชื่อนักดาราศาสตร์ชาวโซเวียต(รัสเซีย)ผู้ค้นพบทั้ง 2 คน ขอเรียกสั้นๆว่า 67P
จึงได้ออกแบบยานลงจอด (Lander) ชื่อว่า Philae (ฟายเล/ฟิเล/ไฟลี) เป็นยานลงจอดอยู่กับที่ไม่มีล้อ มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาพื้นผิวของดาวหาง[หากมีล้อเรียกว่ายานโวเวอร์(Rover)] อีกยานหนึ่งเป็นยานโคจรชื่อว่า Rosetta (โรเซตตา) เพื่อศึกษาลักษณะภูมิประเทศและศึกษาฝุ่นและก๊าซต่างๆจากระยะไกล ยานทั้งสองถูกยิงขึ้นสู่อวกาศไปทีเดียวพร้อมกัน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 หรือเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว จากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศเกียนาในเฟรนช์เกียนา จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในอเมริกาใต้
การเดินทางไปยังดาวหาง 67P ซับซ้อนกว่าปกติมากและใช้เวลาเดือนทางเป็น 10 ปี
ลำดับการเดินทางเป็นดังนี้
-ออกจากโลก 2 มีนาคม 2547
-จากนั้นโคจรไปพร้อมกับโลกและอีกปีต่อมากลับมาโคจรผ่านโลก(Fly by)ครั้งที่ 1 เมื่อ 4 มีนาคม 2548
-จากนั้นอีกสองปีโคจรผ่านดาวอังคาร เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2550 ยานเคลื่อนที่ผ่านเงามืดของดาวอังคารเป็นเวลา 15 นาที ซึ่งแบตเตอรี่ของยานไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อการนี้ การโคจรครั้งนี้ถูกเรียกว่า “พนันพันล้านยูโร” (The Billion Euro Gamble) แต่ยานก็โคจรผ่านไปได้ด้วยดี และยานก็ได้ถ่ายภาพดาวอังคารไว้ด้วย ภาพถ่ายโดยกล้อง CIVA ของยาน Philae ที่ความสูง 1,000 กิโลเมตร
-ช่วงปลายปียานกลับมาโคจรผ่านโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2550 ครั้งนี้มีนักดาราศาสตร์ท่านหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกจึงตั้งให้มันว่า 2007 VN84 ต่อมาจึงเข้าใจว่าเป็นยาน Rosetta นี่ถ้าเป็นยานเอเลี่ยนผ่านมาจะคิดว่าเป็นอย่างอื่นมั๊ยเนี่ย
-อีกปีต่อมาโคจรผ่านดาวเคราะห์น้อย 2867 Šteins วัตถุจากแถบดาวเคราะห์น้อย เมื่อ 5 กันยายน 2551 ตั้ง และได้ถ่ายภาพด้วยกล้อง OSIRIS ที่ระยะห่าง 800 กิโลเมตร
-ปีต่อมากลับมาโคจรผ่านโลกอีกครั้ง 3 เมื่อ 13 พศจิกายน 2552 การโคจรผ่านโลกและดาวอังคารหลายครั้งเป็นการเพิ่มความเร็วของยานช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิง
-ปีต่อมาโคจรผ่านดาวเคราะห์น้อย 21 Lutetia เมื่อ 10 กรกฎาคม 2553 และได้ถ่ายภาพ ที่ระยะห่าง 3,162 กิโลเมตร
-ปีต่อมาจึงให้ยานเข้าสู่โหมดหลับไหล เมื่อ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อประหยัดพลังงาน
-อีกสามปีต่อมายานถูกปลุกขึ้นมา เมื่อ 20 มกราคม 2557
-ประมานช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 ยานติดเครื่องยนต์ลดความเร็วสัมพัทธระหว่างยานและดาวหาง 67P จาก 775 เมตรต่อวินาทีเหลือ 7.9 เมตรต่อวินาที
-ประมาณเดือนสิงหาคม 2557 ยานมาถึงดาวหาง 67P จนได้ ณ จุดๆนี้ ยานอยู่ห่างจากโลกประมาณ 405 ล้านกิโลเมตร อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัส ดาวหางมีคาบการโคจร 6.44 ปีต่อหนึ่งรอบ ยานได้ใช้กล้อง OSIRIS ถ่ายดาวหางที่ระยะห่าง 285 กิโลเมตร
มาถึงแล้วจะลงจอดตรงไหนดีนะ จึงมีการตั้งคณะคัดเลือกจุดลงจอดขึ้นมาประกอบด้วยวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์พิจารณาจุดลงจอดที่เป็นไปได้ 5 จุด ในที่สุดก็เลือกจุดลงจอด J
จากนั้นทำการเข้าสู่วงโคจรที่ซับซ้อนมากๆเพื่อปล่อยยานแลนเดอร์ ขนาดคนเล่นเกม Kerbal space program อย่างผมยังอึ้ง